งานสรรหา กับ 5 พฤติกรรม HR อย่าหาทำ

งานสรรหา กับ 5 พฤติกรรม HR อย่าหาทำ


การสรรหาบุคลากร (Recruitment) กล่าวง่ายๆ หมายถึง กระบวนการในการค้นหาตลอดจนคัดเลือกบุคคลที่มีความรู้ความสามารถและมีทักษะที่เหมาะสมเพื่อเข้ามาปฎิบัติงานในตำแหน่งงานตามที่องค์กรต้องการ กระบวนการนี้จะเริ่มต้นตั้งแต่การวางแผนการคัดเลือก การสื่อสารให้เกิดแรงจูงใจกับผู้สมัครเป้าหมายที่ต้องการ และจะสิ้นสุดกระบวนการเมื่อองค์กรนั้นรับบุคคลนั้นๆ เข้าเป็นพนักงานแล้ว

1.เรียกมาสัมภาษณ์โดยไม่แจ้งคุณสมบัติที่ต้องการให้ชัดเจน
ทำให้ผู้สมัครเสียเวลา เสียค่าใช้จ่ายในการเดินทาง เมื่อไปถึงก็พบว่าคุณสมบัติของตนไม่ตรงกับตำแหน่งที่สัมภาษณ์ ทำให้ผู้สมัครบางคนถึงขั้นมองว่า HR ทำแบบนี้เพราะมี KPI ในเรื่องของจำนวนผู้สมัครเท่านั้น ไม่ได้สนใจว่าคุณสมบัติจะตรงไม่ตรง
ก่อนนัดต้องสัมภาษณ์เบื้องต้นต้องแน่ใจ และแจ้งถึงคุณสมบัติที่ต้องการให้ผู้สมัครทราบอย่างชัดเจน ผู้สมัครจะได้นำมาพิจารณาก่อนรับนัดด้วย จะได้ไม่เสียเวลาทั้ง 2 ฝ่าย

2.ปล่อยให้นั่งรอสัมภาษณ์นานเกินเวลานัด
การสัมภาษณ์งาน HR ต้องมีแผนงานที่ชัดเจน พร้อมแจ้งช่วงเวลาสัมภาษณ์กับต้นสังกัดที่เป็นผู้สัมภาษณ์ให้ทราบล่วงหน้า และควรมีแผนสำรองในกรณีเกิดปัญหาในวันจริง จะได้มีวิธีแก้ไขที่เหมาะสมและทันเวลา

3.สัมภาษณ์งานด้วยคำถามที่อ่อนไหว
คำถามที่ไม่ควรถาม ไม่ถามเลยจะดีที่สุด เช่น การเอาชื่อสถาบันมาเปรียบเทียบ ว่าสถาบันไหนดีกว่า รวมถึงการถามเรื่องความเชื่อ, ศาสนา, การเมือง หรืออื่น ๆ ที่เป็นเรื่องอ่อนไหว นอกจากจะเสี่ยงต่อการเกิดความขัดแย้งแล้ว เรื่องเหล่านี้ก็ไม่ได้เกี่ยวข้องกับงาน ไม่จำเป็นต้องนำมาพิจารณา

4.ไม่แจ้งผลสัมภาษณ์
ผู้สมัครรอผลด้วยความหวัง เพราะ HR แจ้งว่าจะติดต่อกลับ หากไม่สะดวกในการแจ้งผลกับทุกคนได้ ควรมีวิธีแก้ไข เช่น บอกผู้สมัครเลยว่า หากไม่ติดต่อกลับภายใน ...........วัน หรือจะใช้อีเมลในการแจ้งก็ได้

5.ยกเลิกนัดเริ่มงานกะทันหัน
ผู้สมัครอาจะเตรียมตัว แจ้งลาออกจากที่เก่าเรียบร้อย บางคนย้ายไปที่พักใหม่ ที่ใกล้ที่ทำงานใหม่ แต่ถูกยกเลิก ผู้สมัครสามารถฟ้องทางแพ่งเพื่อเรียกค่าเสียหายได้ แม้ยังไม่ได้เซ็นสัญญา


ที่มา : jobbkk
 10
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ชี้แจงกรณีที่ กยศ. ได้แจ้งนายจ้างให้หักเงินเดือนเพื่อชำระเงินกู้ยืมคืนจากผู้กู้ยืมที่ค้างชำระหนี้ โดยให้หักเพิ่มรายละ 3,000 บาท สำหรับผู้กู้ยืมที่มีสถานะ ค้างชำระ โดยไม่รวมผู้ที่ได้ทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้กับ กยศ. แล้ว มีผลตั้งแต่เดือนเมษายน 2568 เป็นต้นไป
การมอบสิทธิประโยชน์ทางด้านภาษี เพื่อสนับสนุนคนไทยที่มีศักยภาพที่ทำงานในต่างประเทศให้กลับเข้ามาในงานในประเทศไทย โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ
JD (Job Description) ภาษาไทยเรียกว่า ขอบเขตหน้าที่และความรับผิดชอบงานตำแหน่งงาน หรือ คำบรรยายลักษณะงาน / ใบพรรณนาหน้าที่งาน ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการบรรยายลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบของตำแหน่งงาน รวมถึงคุณสมบัติของคนที่ทำงานในตำแหน่งหน้าที่ที่กำหนด

การเทรนนิ่งพนักงานมี 2 ทางเลือกหลัก หากองค์กรไม่เลือก On the Job Training หรือการฝึกพนักงานให้เรียนรู้จากการทำงานจริง ก็สามารถเลือก Off the Job Training ซึ่งอาจเป็นการจัดคอร์สนอกเวลาหรือจ้าง Outsource มาดูแลการฝึกทักษะต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นภาษา, Soft Skills หรือ Hard Skills

พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 กำหนดให้มีกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างในกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เพื่อสงเคราะห์ลูกจ้าง กรณีออกจากงาน หรือตาย หรือในกรณีอื่นที่กำหนดโดยคณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง มีผลเริ่มใช้วันที่ 1 ตุลาคม 2568

การเสียภาษีเงินได้เป็นการเสียภาษีแบบขั้นบันได ซึ่งหมายความว่าผู้ที่มีรายได้มากขึ้นจะต้องจ่ายภาษีในอัตราที่สูงขึ้นตามระดับรายได้ที่กำหนดไว้ในกฎหมาย โดยแบ่งเป็นช่วงรายได้ต่างๆ ที่มีอัตราภาษีแตกต่างกันไป  มาดูกันว่าใครบ้างที่ต้องเสียภาษีและต้องยื่นภาษีเงินได้
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์