สิทธิ์ในวันหยุดพักร้อน เมื่อพนักงานถูกเลิกจ้างหรือลาออก

สิทธิ์ในวันหยุดพักร้อน เมื่อพนักงานถูกเลิกจ้างหรือลาออก

สิทธิ์ในวันหยุดพักร้อน เมื่อพนักงานถูกเลิกจ้างหรือลาออก

มีอยู่เรื่องหนึ่ง ที่ HR อาจหลงลืม และพนักงาน ยังไม่ทราบ ว่าด้วย ตามมาตรา 67 (สิทธิ์ในวันหยุดพักร้อน เมื่อเลิกจ้างหรือลาออก) ตาม พรบ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541

มาตรา 67 : ในกรณีที่นายจ้างเลิกจ้างโดยมิใช่กรณีตามมาตรา 119 ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีในปีที่เลิกจ้างตามส่วนของวันหยุดพักผ่อนประจำปีที่ลูกจ้างพึงมีสิทธิได้รับ ตามมาตรา 30 ในกรณีที่ลูกจ้างเป็นฝ่ายบอกเลิกสัญญา หรือนายจ้างเลิกจ้าง ไม่ว่าการเลิกจ้างนั้น เป็นกรณีตามมาตรา 119 หรือไม่ก็ตาม ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีสะสมที่ลูกจ้างพึงมีสิทธิได้รับ ตามมาตรา 30 หลายๆท่านอาจยังไม่เข้าใจ หรือเข้าใจผิด และพนักงานยังไม่ทราบ แต่ในฐานะ HR ต้องรู้กฎหมายข้อนี้เพื่อป้องกันปัญหาการเรียกร้องภายหลัง และแสดงความเป็นมืออาชีพกันซักเล็กน้อยกันครับ

หากได้อ่านแล้ว ความในมาตรา จะมีอยู่ 2 คำที่จะขออธิบายเพิ่มเติมนะครับ

วันหยุดพักผ่อนสะสม

คือ วันหยุดพักผ่อนที่เกิดขึ้นแล้ว สำหรับพนักงานที่ทำงานมาครบปีในแต่ละปี (ตามกฎหมายโดยขั้นต่ำ คือ 6 วัน / ปี) โดยที่พนักงานยังไม่ได้ใช้สิทธิ์ในวันหยุดนั้น (จึงเรียกว่าวันหยุดพักผ่อนสะสมน่ะแหละครับ)

 

วันหยุดพักผ่อนตามส่วน

คือ อัตราส่วนจำนวนวันหยุดพักผ่อน ตามระยะเวลาอายุการทำงานของพนักงานในระหว่างปี (จึงเรียกว่าตามส่วน) หากพนักงานทำงานครบปี ก็จะได้ ตามกฎหมายโดยขั้นต่ำ คือ 6 วัน / ปี

สมมุติว่า ในปีนั้น พนักงานปฏิบัติงาน 6 เดือน สิ้นสุดการทำงานในสิ้นเดือน มิถุนายน ดังนั้น การคำนวณตามอัตราส่วน คือ 6 วัน (จำนวนสิทธิ์วันหยุดพักผ่อน หากพนักงานทำงานครบปี) x 6 เดือน (พนักงานทำงานสิ้นสุดเดือน มิถุนายน) ÷ 12 เดือน = 3 วัน ** สรุปว่า สิทธิ์พักผ่อนตามส่วนของพนักงานที่เกิดขึ้นในปี คือ 3 วัน

** ฉะนั้น ในปีดังกล่าวหากพนักงานสิ้นสุดการทำงาน ต้องมาดูรายละเอียดตามสิทธิ์ของพนักงาน ดังนี้

 


เปลี่ยนออฟฟิศสู่ยุคดิจิทัล ปรับการลงเวลาเข้า-ออกงาน สู่ระบบลาออนไลน์ ด้วย ระบบลาออนไลน์ (Employee Self-Service)
สามารถลงเวลาเข้า-ออกงานผ่านมือถือได้ สะดวก รวดเร็ว ลาได้ทุกที่ ทุกเวลา พนักงานสามารถตรวจสอบสถานการณ์ลาได้ด้วยตนเอง สามารถตรวจสอบข้อมูลการมาทำงาน การลา ขาด สาย หรือออกก่อนเวลา และจำนวนวันลาคงเหลือได้ สามารถดูข้อมูลสรุปการมาทำงาน การลงเวลาทำงาน ประวัติการฝึกอบรม และวันหยุดประจำปี ในรูปแบบของรายงานได้


















ที่มา
:: https://www.facebook.com/105577534122729/posts/331041834909630/?d=n

 68312
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

การทำงานโดยที่คนทำงานไม่มีความสุขนั้นส่งผลกระทบทั้งระบบ ไม่ว่าจะเป็นผลงานที่ไม่มีประสิทธิภาพ องค์กรไม่มีความก้าวหน้า ลองมาดูกันว่า อะไรเป็นปัจจัยที่ทำให้พนักงานไม่มีความสุขกับการทำงาน
1. สัญญาจ้างทำด้วยวาจาก็ได้ 2. นายจ้างไม่มีสิทธิเรียกรับหลักประกันการทำงาน เว้นทำงานเกี่ยวข้องกับเงิน หรือทรัพย์สินของนายจ้าง 3. เมื่อการประกันสิ้นสุดลง นายจ้างต้องคืนหลักประกันให้แก่ลูกจ้างภายใน 7 วัน 4. นายจ้างไม่มีสิทธิหักค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานวันหยุด เว้นแต่เป็นการหักตามที่กฎหมายกำหนด 5. ลูกจ้างลาออกไม่ต้องรอการอนุมัติก็มีผล 6. นายจ้างไล่ออกไม่ต้องเป็นหนังสือไล่ออกก็มีผล
การทำงาน เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของชีวิต ซึ่งรูปแบบของการจ้างงานไม่ได้มีเพียงงานประจำและรอเวลาเกษียณอายุเพียงเท่านั้น แต่ยังมีลักษณะการจ้างงานอีกหลายประเภท ที่สามารถตอบโจทย์การใช้ชีวิตที่แตกต่างกันออกไปได้ ในบทความนี้จะมาสรุปสั้น ๆ ให้เข้าใจได้ง่าย ๆ ว่าการจ้างงานมีกี่ประเภท และแต่ละประเภทมีข้อดีแตกต่างกันอย่างไร
การพาพนักงานไป Outing ถือเป็นหนึ่งในสวัสดิการหลัก ๆ ที่หลายองค์กรมี เพื่อดึงดูดพนักงานทั้งภายในและภายนอกให้อยากมาร่วมงานกันด้วย โดยวัตถุประสงค์หลักของการไป Outing ก็เพื่อเสริมสร้างความสามัคคี และเพื่อตอบแทนพนักงาน ให้ได้ผ่อนคลายจากการทำงานประจำวันอันตึงเครียดมายาวนาน โดยที่บริษัทจะดูแลเรื่องค่าใช้จ่ายไว้ทั้งหมด
ระบบลงเวลาเข้า-ออกของพนักงาน คือ ระบบที่ช่วยในการบันทึกเวลาการทำงานของพนักงาน ผ่านอุปกรณ์ดิจิทัลต่างๆ ตั้งแต่ เครื่องสแกนลายนิ้วมือ (Finger Scanner), สมาร์ทโฟน (Smart Phone), แท็บเล็ต (Tablet), ตลอดจนอุปกรณ์ต่างๆ ที่สามารถยืนยันตัวตนผู้ใช้งานได้อย่างชัดเจน ปลอดภัย และเชื่อมต่อสู่ระบบข้อมูลกลางอย่างระบบคลาวด์ (Cloud System) ได้ โดยจะระบุเวลาที่พนักงานเข้ามาทำงานและออกจากงานในแต่ละวัน ดูสถิติ ขาด ลา มาสาย ระบบนี้มีบทบาทสำคัญในการบริหารจัดการเวลาและการทำงานของพนักงาน ช่วยให้ฝ่ายทรัพยากรบุคคล (HR) และฝ่ายบริหารสามารถติดตามการทำงานของพนักงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงใช้ข้อมูลที่บันทึกเพื่อคำนวณเงินเดือน สวัสดิการ ค่าล่วงเวลา และการจัดทำรายงานการเข้างานได้อย่างแม่นยำ ตอบโจทย์การทำงานในธุรกิจยุคใหม่ได้อย่างสมบูรณ์แบบ
มนุษย์เงินเดือนบางคนอาจจะไม่รู้ด้วยซ้ำว่า ตัวเองมีสิทธิที่จะเรียกร้อง ค่าชดเชยจากนายจ้าง อันนี้เป็นสิทธิ์ของเรานะ พี่ทุยบอกเลยว่า เงินค่าชดเชย เป็นสิ่งที่นายจ้าง ต้องจ่าย ให้กับพนักงานหรือลูกจ้าง เพื่อช่วยเหลือในกรณีให้ออกจากงาน ซึ่งไม่ได้มาจากทำความผิดของพนักงานหรือลูกจ้าง แต่อาจจะด้วยเหตุผลบางอย่างที่จำเป็นต้องลดจำนวนพนักงานลง
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์