เกร็ดความรู้ HR นอกตำรา

เกร็ดความรู้ HR นอกตำรา




คดีนี้ลูกจ้างยื่นหนังสือลาออกในวันที่ ๒๘ ธค ๔๓ แต่ให้มีผลวันรับเงินเดือนๆ หน้า คือวันที่ ๓๑ มค ๔๔

นายจ้างอนุมัติในวันที่ ๒๘ ธค ๔๓ (อนุมัติวันยื่นหนังสือลาออก) มีผลเท่ากับสัญญาจ้างจะสิ้นสุดลงวันที่ ๓๑ มค ๔๔
ช่วงเวลาจากยื่นหนังสือลาออก จนถึงวันที่ออกจากงานจริงเท่ากับว่ายังเป็นนายจ้างลูกจ้างกันอยู่ ระหว่างนี้ต้องปฎิบัติตามระเบียบ คำสั่ง ข้อบังคับ และอยู่ภายใต้กฎหมายคุ้มครองแรงงาน

ต่อมาลูกจ้างแกคงเปลี่ยนใจไม่อยากลาออกแล้ว เลยขอดูหนังสือลาออกแล้ว "ฉีกทำลาย" หนังสือลาออก เท่ากับผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ นายจ้างจึงเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยตาม ม. ๑๑๙(๑) เพราะทำผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง

ข้อสังเกต
๑) หนังสือลาออกฉบับนี้เมื่อยื่นให้นายจ้างแล้วย่อมกลายเป็นทรัพย์สินของนายจ้าง การฉีกทำลายจึงมีความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์
๒) ถ้าฉีกหนังสือลาออกก่อนยื่นให้นายจ้างไม่มีความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์เพราะหนังสือเลิกจ้างยังเป็นทรัพย์สินของลูกจ้าง
๓) หลายคนอาจสงสัยว่า "ลาออก" ไปแล้ว ทำไม "เลิกจ้างได้" ต้องเข้าใจว่าแม้หนังสือลาออกจะมีผลเลิกสัญญาแล้ว แต่การขาดจากการเป็นนายจ้าง ลูกจ้างจะมีผลวันที่ ๓๑ มค ๔๔ ดังนั้น ก่อนลาออกยังคงเป็นลูกจ้างอยู่ เมื่อลูกจ้างทำผิดนายจ้างจึงเลิกจ้างได้
๔) เรื่องนี้ลูกจ้างออกโดย "ลาออก" หรือ "ถูกเลิกจ้าง" คำตอบคือ ถูกเลิกจ้าง โดยไม่ได้ค่าชดเชย (แถมได้คดีอาญาฐานทำให้เสียทรัพย์มาเป็นที่ระลึกอีก)

ที่มา: ฎีกาที่ ๑๙๑๙/๒๕๔๖
https://www.facebook.com/265489857320459/posts/755793158290124/?d=n

 1342
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

การทำงาน เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของชีวิต ซึ่งรูปแบบของการจ้างงานไม่ได้มีเพียงงานประจำและรอเวลาเกษียณอายุเพียงเท่านั้น แต่ยังมีลักษณะการจ้างงานอีกหลายประเภท ที่สามารถตอบโจทย์การใช้ชีวิตที่แตกต่างกันออกไปได้ ในบทความนี้จะมาสรุปสั้น ๆ ให้เข้าใจได้ง่าย ๆ ว่าการจ้างงานมีกี่ประเภท และแต่ละประเภทมีข้อดีแตกต่างกันอย่างไร
การพาพนักงานไป Outing ถือเป็นหนึ่งในสวัสดิการหลัก ๆ ที่หลายองค์กรมี เพื่อดึงดูดพนักงานทั้งภายในและภายนอกให้อยากมาร่วมงานกันด้วย โดยวัตถุประสงค์หลักของการไป Outing ก็เพื่อเสริมสร้างความสามัคคี และเพื่อตอบแทนพนักงาน ให้ได้ผ่อนคลายจากการทำงานประจำวันอันตึงเครียดมายาวนาน โดยที่บริษัทจะดูแลเรื่องค่าใช้จ่ายไว้ทั้งหมด
ระบบลงเวลาเข้า-ออกของพนักงาน คือ ระบบที่ช่วยในการบันทึกเวลาการทำงานของพนักงาน ผ่านอุปกรณ์ดิจิทัลต่างๆ ตั้งแต่ เครื่องสแกนลายนิ้วมือ (Finger Scanner), สมาร์ทโฟน (Smart Phone), แท็บเล็ต (Tablet), ตลอดจนอุปกรณ์ต่างๆ ที่สามารถยืนยันตัวตนผู้ใช้งานได้อย่างชัดเจน ปลอดภัย และเชื่อมต่อสู่ระบบข้อมูลกลางอย่างระบบคลาวด์ (Cloud System) ได้ โดยจะระบุเวลาที่พนักงานเข้ามาทำงานและออกจากงานในแต่ละวัน ดูสถิติ ขาด ลา มาสาย ระบบนี้มีบทบาทสำคัญในการบริหารจัดการเวลาและการทำงานของพนักงาน ช่วยให้ฝ่ายทรัพยากรบุคคล (HR) และฝ่ายบริหารสามารถติดตามการทำงานของพนักงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงใช้ข้อมูลที่บันทึกเพื่อคำนวณเงินเดือน สวัสดิการ ค่าล่วงเวลา และการจัดทำรายงานการเข้างานได้อย่างแม่นยำ ตอบโจทย์การทำงานในธุรกิจยุคใหม่ได้อย่างสมบูรณ์แบบ
มนุษย์เงินเดือนบางคนอาจจะไม่รู้ด้วยซ้ำว่า ตัวเองมีสิทธิที่จะเรียกร้อง ค่าชดเชยจากนายจ้าง อันนี้เป็นสิทธิ์ของเรานะ พี่ทุยบอกเลยว่า เงินค่าชดเชย เป็นสิ่งที่นายจ้าง ต้องจ่าย ให้กับพนักงานหรือลูกจ้าง เพื่อช่วยเหลือในกรณีให้ออกจากงาน ซึ่งไม่ได้มาจากทำความผิดของพนักงานหรือลูกจ้าง แต่อาจจะด้วยเหตุผลบางอย่างที่จำเป็นต้องลดจำนวนพนักงานลง
ในแต่ละเดือนที่เราจ่ายเงินสมทบประกันสังคมนั้น ก็จะมีเงินส่วนหนึ่งที่จัดเก็บเข้าเป็นเงินสะสมประกันสังคม ซึ่งเงินส่วนนี้เองเราสามารถเช็คเงินสะสมประกันสังคมได้เองผ่านช่องทางออนไลน์ด้วย มาดูกันครับว่าทำยังไง แล้วยอดเงินประกันสังคมนี้ทำอะไรได้บ้าง

Employee Referral Program หรือ โครงการแนะนำพนักงาน คือระบบที่องค์กรใช้เพื่อกระตุ้นให้พนักงานที่ทำงานอยู่แนะนำบุคคลภายนอกที่มีคุณสมบัติที่เหมาะสมเข้ามาทำงานในตำแหน่งที่เปิดรับ โดยทั่วไปโครงการนี้มักมีการมอบรางวัลหรือโบนัสให้กับพนักงานที่แนะนำคนที่ถูกคัดเลือกและรับเข้าทำงานในองค์กรสำเร็จ โครงการแนะนำพนักงานนี้มีข้อดีหลายประการ เช่น การลดต้นทุนในการจ้างงาน เพิ่มคุณภาพของผู้สมัคร และสร้างความผูกพันให้กับพนักงานในองค์กร
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์