ประกันสังคมจ่ายแน่เดือนละ 5,045-9,300 บาท ลูกจ้างต้องส่งสมทบครบ 6 เดือน

ประกันสังคมจ่ายแน่เดือนละ 5,045-9,300 บาท ลูกจ้างต้องส่งสมทบครบ 6 เดือน

ประกันสังคมจ่ายแน่เดือนละ 5,045-9,300 บาท ลูกจ้างต้องส่งสมทบครบ 6 เดือน



หลังจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 15 เมษายน 2563 มีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงแรงงานเสนอร่างกฎกระทรวงการได้รับผลประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงาน เนื่องจากมี “เหตุสุดวิสัย” อันเกิดจากการระบาดของการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19

ในกรณีที่มีเหตุสุดวิสัยถึงขนาดที่นายจ้างต้องหยุดประกอบกิจการ ไม่ว่าบางส่วนหรือทั้งหมดเป็นการชั่วคราว ไม่ว่าจะหยุดกิจการเอง หรือหยุด-ปิดเพราะคำสั่งของราชการ ลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนที่มีสิทธิ์ได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงาน ไม่สามารถทำงานได้ และไม่ได้รับค่าจ้างในระหว่างนั้น

ให้ลูกจ้างได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานในอัตราร้อยละ 62 ของค่าจ้างรายวัน โดยให้ได้รับตลอดระยะเวลาที่นายจ้างหยุดประกอบกิจการแต่ไม่เกิน 90 วัน

ขณะนี้สำนักงานประกันสังคมมีเงินในส่วนกองทุนว่างงานอยู่ 164,000 ล้านบาท ที่จะนำมาดูแลผู้ประกันตนตามมาตรา 33 คาดว่ามีผู้ที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 และได้รับเงินชดเชยประมาณ 1 ล้านคน โดยเงินชดเชยที่จะจ่ายให้เดือนละ 5,045-9,300 บาท คาดว่าในช่วง 3 เดือนนี้จะใช้เงินจากกองทุนประกันสังคมจ่ายชดเชยให้ผู้ว่างงาน ประมาณ 20,000 ล้านบาท

เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2563 ดร.ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่าสำหรับผู้ประกันตนที่จะได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานมี 2 ประเภท คือ 1) เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 โดยตรงจนต้องหยุดกิจการ ทำให้ว่างงาน หรือไม่สามารถทำงานได้ตามปกติได้

และ 2) ผู้ประกันตนจะต้องมีการส่งเงินสมทบกองทุนประกันสังคมไม่น้อยกว่า 6 เดือน ส่วนกรณีที่จัดส่งเงินสมทบไม่ต่อเนื่อง ให้พิจารณาการส่งเงินในรอบ 15 เดือน ว่ารวมแล้วจะต้องส่งเงินสมทบไม่ต่ำกว่า 6 เดือน

ส่วนบางสถานประกอบการที่แม้จะหยุดการทำงาน แต่ยังคงจ่ายเงินให้กับแรงงานเพื่อรักษาสถานภาพลูกจ้างเอาไว้ ถือเป็นผู้ประกันตนที่ “ไม่เข้าข่าย” ได้รับการเยียวยาจากประกันสังคม เพราะเท่ากับว่าธุรกิจยังมีสภาพคล่อง เพียงแค่รอให้สถานการณ์การะบาดของโรคคลี่คลายลงก่อน จึงจะกลับมาดำเนินกิจการต่อไป

“การผลักดันให้ประกันสังคมเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 นั้น เนื่องจากเราเห็นความเดือดร้อนของผู้ว่างงานที่มีอยู่จำนวนมาก ซึ่งในฐานะหน่วยงานที่กำกับดูแลไม่ต้องการให้สถานประกอบการต่าง ๆ ปิดกิจการ เพราะจะมีคนตกงานเพิ่มขึ้นอีกมาก”

นายสุทธิ สุโกศล ปลัดกระทรวงแรงงาน ระบุว่า ผู้ประกันตนในขณะนี้มียอดรวมทั้งสิ้น 11 ล้านราย แต่บางกิจการก็ไม่ได้รับผลกระทบจากกรณีการระบาดของโควิด-19 และยังดำเนินการตามปกติ เมื่อลองประเมินจากจำนวนดังกล่าวพบว่าจะมีผู้เข้าข่ายราว 7 ล้านคน แต่ไม่ได้หมายความว่าผู้ประกันตนในจำนวนนี้จะเข้ามาลงทะเบียนเพื่อขอรับการเยียวยาทั้งหมด ซึ่งคาดว่าจะมีผู้ประกันตนประมาณ 1 ล้านคนที่จะได้รับการเยียวยา

สำหรับสถานะของกองทุนประกันว่างงานในขณะนี้มีเงินกองอยู่ราว 164,000 ล้านบาท ที่สามารถนำมาดูแลผู้ประกันตนตามมาตรา 33 รวม 1 ล้านคนได้ โดยจะจ่ายเงินชดเชยให้ประมาณ 5,045-9,300 บาท รวมระยะเวลา 3 เดือน ซึ่งคาดว่าจะใช้เงินรวม 20,000 ล้านบาท

“ในบอร์ดประกันสังคมที่หารือกัน เราไม่ต้องการให้มีการเทเงิน 164,000 ล้านบาท ออกมาใช้ทั้งหมด การจ่ายเงินจะต้องอยู่บนฐานที่กฎหมายกำหนดไว้ คือ 62% ของฐานเงินเดือนที่ต่ำสุดคือ 10,500 บาท เพื่อให้ผู้ประกันตนได้รับเงินเยียวยาไม่ต่ำกว่า 5,000 บาท ตัวเลขเหล่านี้เป็นการประเมินการณ์ของบอร์ดเพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรี”

แหล่งที่มา : www.prachachat.net/csr-hr/news-451004


ProsoftHRMI
โปรแกรมบริหารทรัพยากรมนุษย์
โปรแกรมเงินเดือน

 854
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

การทำงาน เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของชีวิต ซึ่งรูปแบบของการจ้างงานไม่ได้มีเพียงงานประจำและรอเวลาเกษียณอายุเพียงเท่านั้น แต่ยังมีลักษณะการจ้างงานอีกหลายประเภท ที่สามารถตอบโจทย์การใช้ชีวิตที่แตกต่างกันออกไปได้ ในบทความนี้จะมาสรุปสั้น ๆ ให้เข้าใจได้ง่าย ๆ ว่าการจ้างงานมีกี่ประเภท และแต่ละประเภทมีข้อดีแตกต่างกันอย่างไร
การพาพนักงานไป Outing ถือเป็นหนึ่งในสวัสดิการหลัก ๆ ที่หลายองค์กรมี เพื่อดึงดูดพนักงานทั้งภายในและภายนอกให้อยากมาร่วมงานกันด้วย โดยวัตถุประสงค์หลักของการไป Outing ก็เพื่อเสริมสร้างความสามัคคี และเพื่อตอบแทนพนักงาน ให้ได้ผ่อนคลายจากการทำงานประจำวันอันตึงเครียดมายาวนาน โดยที่บริษัทจะดูแลเรื่องค่าใช้จ่ายไว้ทั้งหมด
ระบบลงเวลาเข้า-ออกของพนักงาน คือ ระบบที่ช่วยในการบันทึกเวลาการทำงานของพนักงาน ผ่านอุปกรณ์ดิจิทัลต่างๆ ตั้งแต่ เครื่องสแกนลายนิ้วมือ (Finger Scanner), สมาร์ทโฟน (Smart Phone), แท็บเล็ต (Tablet), ตลอดจนอุปกรณ์ต่างๆ ที่สามารถยืนยันตัวตนผู้ใช้งานได้อย่างชัดเจน ปลอดภัย และเชื่อมต่อสู่ระบบข้อมูลกลางอย่างระบบคลาวด์ (Cloud System) ได้ โดยจะระบุเวลาที่พนักงานเข้ามาทำงานและออกจากงานในแต่ละวัน ดูสถิติ ขาด ลา มาสาย ระบบนี้มีบทบาทสำคัญในการบริหารจัดการเวลาและการทำงานของพนักงาน ช่วยให้ฝ่ายทรัพยากรบุคคล (HR) และฝ่ายบริหารสามารถติดตามการทำงานของพนักงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงใช้ข้อมูลที่บันทึกเพื่อคำนวณเงินเดือน สวัสดิการ ค่าล่วงเวลา และการจัดทำรายงานการเข้างานได้อย่างแม่นยำ ตอบโจทย์การทำงานในธุรกิจยุคใหม่ได้อย่างสมบูรณ์แบบ
มนุษย์เงินเดือนบางคนอาจจะไม่รู้ด้วยซ้ำว่า ตัวเองมีสิทธิที่จะเรียกร้อง ค่าชดเชยจากนายจ้าง อันนี้เป็นสิทธิ์ของเรานะ พี่ทุยบอกเลยว่า เงินค่าชดเชย เป็นสิ่งที่นายจ้าง ต้องจ่าย ให้กับพนักงานหรือลูกจ้าง เพื่อช่วยเหลือในกรณีให้ออกจากงาน ซึ่งไม่ได้มาจากทำความผิดของพนักงานหรือลูกจ้าง แต่อาจจะด้วยเหตุผลบางอย่างที่จำเป็นต้องลดจำนวนพนักงานลง
ในแต่ละเดือนที่เราจ่ายเงินสมทบประกันสังคมนั้น ก็จะมีเงินส่วนหนึ่งที่จัดเก็บเข้าเป็นเงินสะสมประกันสังคม ซึ่งเงินส่วนนี้เองเราสามารถเช็คเงินสะสมประกันสังคมได้เองผ่านช่องทางออนไลน์ด้วย มาดูกันครับว่าทำยังไง แล้วยอดเงินประกันสังคมนี้ทำอะไรได้บ้าง

Employee Referral Program หรือ โครงการแนะนำพนักงาน คือระบบที่องค์กรใช้เพื่อกระตุ้นให้พนักงานที่ทำงานอยู่แนะนำบุคคลภายนอกที่มีคุณสมบัติที่เหมาะสมเข้ามาทำงานในตำแหน่งที่เปิดรับ โดยทั่วไปโครงการนี้มักมีการมอบรางวัลหรือโบนัสให้กับพนักงานที่แนะนำคนที่ถูกคัดเลือกและรับเข้าทำงานในองค์กรสำเร็จ โครงการแนะนำพนักงานนี้มีข้อดีหลายประการ เช่น การลดต้นทุนในการจ้างงาน เพิ่มคุณภาพของผู้สมัคร และสร้างความผูกพันให้กับพนักงานในองค์กร
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์