081-359-6920
,
02-402-6117
sale@prosofthrmi.com
ลงทะเบียน Demo
Menu
Home
Products
Overview
Key Feature
Business Flow
Organization
Personnel
Time Attendance
Payroll
Approve Center
Recruitment
Training
Welfare
Loan Management
Job Control
Management Information
Dashboard
Reports
Employee Self Service (ESS)
Multi Company
Human Capital Management (HCM)
Services
จองอบรม Online
FAQ Online
E-learning
Manual
System Requirements
New Feature HRMI
E-Newsletter
บริการ Maintenance
วิธีการชำระเงิน
Download Brochure
Customers
ลูกค้าของเรา
Success Stories
บรรยากาศการอบรม
More
News & Events
HR Articles
About Us
Company Profile
Organization
Management Team
Our Business
Award & Standard
Prosoft Group
Our Family
Social Enterprise
Job Opportunity
Gallery
Office Location
นโยบายการรักษาข้อมูล
Contact Us
หน้าแรก
News
HR Articles
Human Resource
8 สัญญาณดี ที่ HR ควรรับคนแบบนี้เข้าทำงาน
8 สัญญาณดี ที่ HR ควรรับคนแบบนี้เข้าทำงาน
ย้อนกลับ
หน้าแรก
News
HR Articles
Human Resource
8 สัญญาณดี ที่ HR ควรรับคนแบบนี้เข้าทำงาน
8 สัญญาณดี ที่ HR ควรรับคนแบบนี้เข้าทำงาน
ย้อนกลับ
8 สัญญาณดี ที่ HR ควรรับคนแบบนี้เข้าทำงาน
หลังจากพิจารณาเรซูเม่และสัมภาษณ์ผู้สมัครงานเสร็จแล้ว ก็ถึงขั้นที่ฝ่ายทรัพยากรบุคคล (HR) จะมาพิจารณาประเมินผล ตลอดจนสรุปคัดเลือกคนที่เหมาะสมที่สุดเข้าทำงาน แน่นอนว่าหากเป็นคนที่ยังไม่เคยร่วมงานกับบริษัทมาก่อน การที่ฝ่าย HR จะรู้จักคนนั้นอย่างถ่องแท้คงเป็นไปได้ยาก แต่หากผู้สมัครงานเหล่านี้แสดงศักยภาพหรือลักษณะบางอย่างให้เราสัมผัสได้ ก็เป็นสัญญาณที่ดีที่มีแต้มต่อให้ฝ่าย HR ตัดสินใจได้ดียิ่งขึ้น มาลองดูกันว่าสัญญาณที่ดีเหล่านี้มีอะไรกันบ้าง
1.มีความรู้ความสามารถในงานที่ทำ
แน่นอนว่าวัตถุประสงค์แรกของการรับสมัครงานก็คือต้องการคนที่มีความรู้ความสามารถเข้ามาทำงานนั้นได้จริง ฝ่าย HR สามารถตรวจสอบเบื้องต้นได้จากประวัติการศึกษาและประวัติการทำงานที่ผ่านมา รวมถึงการสัมภาษณ์ที่เจาะลึกลงรายละเอียดการทำงานนั้นๆ หรือแม้กระทั่งการสอบถามไปยังบริษัทเก่าของผู้สมัคร การเลือกผู้ที่ทำงานเป็น พร้อมเริ่มงานได้เลย นอกจากจะไม่ต้องเสียเวลามากในการสอนงานแล้ว ฝ่าย HR ยังสามารถช่วยหาหลักสูตรในการเสริมทักษะเพื่อพัฒนาศักยะภาพ เพื่อเพิ่มประสิทธิผลให้กับบริษัทได้ดีขึ้นอีกด้วย
2.มันใจในตัวเอง แต่ไม่หลงตัวเอง
คนที่มั่นใจในตัวเองมักจะเป็นคนที่มีความเด็ดขาดในการทำงาน ตัดสินใจไว ทำงานได้ประสิทธิภาพ แต่ความมั่นใจในตัวเองบางทีก็เป็นเหมือนเส้นแบ่งบางๆ ระหว่างความมี “อีโก้ (Ego)” ได้เหมือนกัน สิ่งที่ฝ่าย HR จะเช็คผู้สมัครงานได้เบื้องต้นก็คือลักษณะของการคุยโว โอ้อวด หลงตัวเอง และมักโทษโน่นโทษนี่เสมอ หรือไม่ยอมรับคำติ ไม่ฟังความคิดเห็นจากผู้อื่น ใช้ความคิดเห็นตัวเองเป็นใหญ่จนเกินพอดี และตัวเองมักถูกเสมอ บ่อยครั้งที่พูดอวดตนว่าสามารถทำได้ แต่พอเอาเข้าจริงก็ไม่ยอมทำ หรือทำไม่เป็นดั่งที่อ้างไว้ สิ่งเหล่านี้ฝ่าย HR อาจจะต้องละเอียดรอบคอบในการมองคนให้เป็น สัมภาษณ์อย่างเข้าใจ ประเมินผลให้ถูกต้อง เพื่อไม่ให้เกิดการตัดสินใจที่ผิดพลาด
3.มีทักษะในการวางแผน มีไหวพริบในการแก้ปัญหา
คำถามที่ฝ่าย HR จะสัมภาษณ์ผู้สมัครอยู่เสมอก็คือทักษะในการแก้ปัญหาตลอดจนการเผชิญกับความกดดันต่างๆ ซึ่งในโลกการทำงานจริงนั้นสิ่งเหล่านี้ถือเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเป็นปกติ การได้พนักงานที่สามารถวางแผนการทำงานได้ดีนั้นย่อมทำให้งานมีประสิทธิผลมากขึ้น และอาจเกิดปัญหาน้อยลงได้ โดยส่วนใหญ่ผู้ที่มีการวางแผนการทำงานที่ดีมักจะมีทักษะตลอดจนไหวพริบในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้ดีตามไปด้วย สิ่งที่ฝ่าย HR สามารถเช็คได้เบื้องต้นก็อาจจะมาจากคำถามยอดฮิตอย่างวิธีจัดการปัญหาและการทำงานภายใต้ความกดดัน หรืออาจจะลองสมมติสถานการณ์ขึ้นเพื่อทดสอบวิธีคิดไปจนถึงวิธีแก้ปัญหาของผู้สมัครก็ได้เช่นกัน
4.กระตือรือร้น ขยันขันแข็ง รับผิดชอบ
คุณลักษณะที่ดีทั้งสามอย่างนี้มักจะมาพร้อมกัน และเป็นคุณสมบัติที่ดีสำหรับพนักงานในทุกบริษัท หากฝ่าย HR สามารถรู้ได้ว่าผู้สมัครมีคุณสมบัติดังกล่าวก็ถือว่าเป็นสัญญาณที่ดีที่ควรจะรับบุคคลนั้นเข้าทำงาน ความกระตือรือร้นนั้นอาจดูได้จากบุคลิกไปจนถึงการพูดจาในขณะสัมภาษณ์งาน ไปจนถึงความสนใจในข้อมูลต่างๆ ที่จะนำมาตอบ หรือการตอบสนองการสนทนาที่ช่วยให้การพูดคุยราบรื่นและไม่น่าเบื่อ สร้างเรื่องน่าสนใจได้เสมอ สิ่งดีๆ
หลายอย่างที่เกิดขึ้นนั้นส่วนหนึ่งมาจากความขยัน หากขี้เกียจแล้วไม่ว่าจะมีแนวความคิดดีขนาดไหนสิ่งดีๆ เหล่านั้นก็ไม่อาจเกิดขึ้นได้เหมือนกัน และคงไม่มีบริษัทไหนอยากจะรับพนักงานที่ขี้เกียจเข้าไปทำงานด้วย ส่วนสิ่งสำคัญที่สุดก็คือความรับผิดชอบ หากพนักงานมีความรับผิดชอบแล้วงานก็จะสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี ยามเกิดปัญหาก็ไม่ทิ้งปัญหา ลงมือแก้ไขให้สำเร็จ ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อบริษัท
5.ยอมรับความผิดพลาดได้ พร้อมแก้ไขข้อบกพร่อง
สี่เท้ายังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง ไม่เคยมีใครที่ไม่เคยทำผิดพลาดมาก่อน แต่ผู้ที่รู้จักยอมรับความผิดพลาดของตัวเองได้ พร้อมลุกขึ้นมาแก้ไขข้อบกพร่อง แล้วพร้อมจะเดินต่อ ทำให้ดีขึ้นกว่าเก่า เป็นคนที่น่าปรบมือให้ที่สุด หากบริษัทได้พนักงานที่มีคุณสมบัติแบบนี้เข้ามาทำงานย่อมทำให้บริษัทเติบโตได้อย่างแข็งแกร่ง แต่หากตรงกันข้าม คนที่มักไม่ยอมรับความผิดพลาดของตัวเอง มักจะโทษคนอื่น สร้างความแตกแยก หรือแม้กระทั่งปกปิดข้อบกพร่อง สิ่งเหล่านี้ทำให้บริษัทล่มได้เช่นกัน
คำถามหนึ่งที่เรามักพบบ่อยๆ ในการสัมภาษณ์งานก็คือความล้มเหลวของคุณคืออะไร และรับมือกับมันอย่างไร อย่างนั้นสิ่งนี้ก็สามารถสะท้อนทัศนคติเรื่องนี้ในเบื้องต้นได้เป็นอย่างดี หรือการตรวจสอบข้อมูลไปยังบริษัทเก่าที่ผู้สมัครเคยทำงาน ก็อาจรู้ได้ว่าผู้สมัครคนนั้นมีคุณสมบัติในข้อนี้ดีแค่ไหนได้เช่นกัน
6.ควบคุมอารมณ์ได้ ให้เกียรติคนอื่น
การรู้จักให้เกียรติซึ่งกันและกันในการทำงาน บางทีอาจช่วยลดปัญหาภายในองค์กรได้ และทำให้คนทำงานทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น คนที่ให้เกียรติคนอื่นเป็นมักเป็นคนที่ควบคุมอารมณ์ได้ดี ในทางตรงกันข้ามผู้ที่ไม่รู้จักให้เกียรติคนอื่นมักจะเริ่มเป็นผู้ระบายอารมณ์ใส่คนอื่นก่อน แล้วก็เกิดการถกเถียงที่ไม่ได้ประโยชน์ เกิดปัญหาภายในองค์กรขึ้นได้ เพราะธรรมชาติของมนุษย์ย่อมไม่มีใครชอบการปะทะอารมณ์ใส่กันอยู่แล้ว
ฝ่าย HR อาจจะสังเกตเรื่องนี้ให้ดีจากการสัมภาษณ์งาน อาจลองเตรียมสถานการณ์หรือคำถามที่มีแนวโน้มก่อให้เกิดความไม่พอใจได้ แล้วสังเกตพฤติกรรมที่เกิดขึ้น แต่ควรอยู่บนพื้นฐานที่ฝ่าย HR ต้องไม่สร้างสถานการณ์จนเกินพอดี หรือก้าวก่ายผู้สมัครจนไม่เหมาะสม การแสดงอารมณ์ในบางครั้งอาจสังเกตได้ง่ายจากลักษณะการตอบคำถามแนวแสดงความคิดเห็น เช็คปฎิกิริยาเหล่านี้เบื้องต้นได้จากวิธีการให้เหตุผลของคำตอบที่เห็นต่างกัน
7.ไม่เห็นแก่ตัว ชอบช่วยเหลือผู้อื่น
ไม่มีใครชอบทำงานกับคนที่เห็นแก่ตัว ไม่ชอบช่วยเหลือคนอื่น โดยเฉพาะบริษัทที่ระบบการทำงานแบบทีมเป็นสิ่งสำคัญ สิ่งหนึ่งที่ฝ่าย HR จะสังเกตได้เบื้องต้นนั้นก็คือการร่วมกิจกรรมอื่นๆ นอกเหนืองานของตัวเองตั้งแต่การทำกิจกรรมสมัยเรียนไปจนถึงการทำงานปัจจุบัน สำหรับบริษัทที่มีการสัมภาษณ์ระบบกลุ่ม (Group Interview) หรือมีการสัมภาษณ์ในรูปแบบทำกิจกรรมกลุ่ม (Workshop Interview) จุดนี้ HR อาจสังเกตเห็นเรื่องการมีส่วนร่วมและช่วยเหลือผู้อื่นได้ดีกว่า ประเมินผลในเรื่องนี้จากสถานการณ์จริงได้เช่นกัน
อีกเรื่องที่สามารถใช้ทดสอบในเรื่องความเห็นแก่ตัวได้ก็คือการเจรจาเรื่องเงินเดือน ผลประโยชน์ ตลอดจนสิทธิประโยชน์ต่างๆ ของตำแหน่งงานนั้นๆ คนเห็นแก่ตัวมักจะเอาประโยชน์ของตนเป็นหลัก และไม่ยอมเสียประโยชน์ใดๆ ที่ไม่คุ้มค่า คนกลุ่มนี้อาจมีการเจรจาเรียกร้องผลประโยชน์ให้ได้มากที่สุด โดยอาจเปรียบเทียบกับบริษัทอื่น หรือต่อรองผลประโยชน์จนเกินพอดี ยื้อการเจรจาแบบไม่สมเหตุสมผล แต่กรณีนี้ฝ่าย HR อาจต้องประเมินให้ดี มองให้เป็น ว่านี่คือความเห็นแก่ตัวหรือการรักษาผลประโยชน์ของผู้สมัครที่เป็นสิทธิที่เหมาะสม
8.จริงใจ ไม่โกหก
ข้อนี้อาจสำคัญที่สุดสำหรับการคัดเลือกพนักงาน การเป็นคนจริงใจ ไม่พูดโกหก เป็นคุณสมบัติที่ดีไม่ว่าจะทำงานบริษัทไหนหรือตำแหน่งใดก็ตาม ถึงแม้ว่าหลังจากดูประวัติตลอดจนสัมภาษณ์ผู้สมัครงานเรียบร้อยแล้ว คุณสมบัติครบถ้วนดีเยี่ยมทุกประการ แต่หากทุกเรื่องเป็นเรื่องที่เขาโกหกขึ้นมา ทุกอย่างก็เป็นอันจบ
คนที่เริ่มต้นด้วยความโกหก มักต่อยอดความโกหกในการทำงานด้วย หรือปกปิดข้อมูลบางอย่างที่อาจทำให้บริษัทได้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง เกิดความเสียหายได้ในที่สุด การโกหกนั้นไม่ได้อยู่แค่เรื่องของคำพูด แต่การกระทำที่ปกปิดความจริง หรือแสดงผลไม่ตรงกับความเป็นจริง ก็เป็นการโกหกทางข้อมูลที่ร้ายแรงเช่นกัน
เรื่องสำคัญที่สุดนี้อาจเป็นสิ่งที่ฝ่าย HR เช็คได้ยากที่สุด แต่ก็ควรเป็นสิ่งที่ฝ่าย HR ควรใส่ใจที่สุด ละเอียดรอบคอบ ตั้งแต่การตรวจเอกสาร, การสังเกตพฤติกรรมการพูด, การตั้งคำถามเพื่อเช็คข้อมูล, หรือแม้แต่การเช็คข้อมูลในอดีตจากบริษัทก่อนๆ ล้วนแล้วแต่ช่วยเหลือในเบื้องต้นได้ทั้งสิ้น
แหล่งที่มา :
th.hrnote.asia/recruit/190307-hr-hire-job/
ProsoftHRMI
โปรแกรมบริหารทรัพยากรมนุษย์
โปรแกรมเงินเดือน
ลงทะเบียนใช้งานฟรี 30 วัน
2183
ผู้เข้าชม
บทความที่เกี่ยวข้อง
การจ้างงานมีกี่ประเภท แต่ละแบบมีข้อดีอย่างไร?
การจ้างงานมีกี่ประเภท แต่ละแบบมีข้อดีอย่างไร?
การทำงาน เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของชีวิต ซึ่งรูปแบบของการจ้างงานไม่ได้มีเพียงงานประจำและรอเวลาเกษียณอายุเพียงเท่านั้น แต่ยังมีลักษณะการจ้างงานอีกหลายประเภท ที่สามารถตอบโจทย์การใช้ชีวิตที่แตกต่างกันออกไปได้ ในบทความนี้จะมาสรุปสั้น ๆ ให้เข้าใจได้ง่าย ๆ ว่าการจ้างงานมีกี่ประเภท และแต่ละประเภทมีข้อดีแตกต่างกันอย่างไร
เปลี่ยน Outing ที่น่าเบื่อ ให้กลายเป็นกิจกรรมที่ได้ใจพนักงาน
เปลี่ยน Outing ที่น่าเบื่อ ให้กลายเป็นกิจกรรมที่ได้ใจพนักงาน
การพาพนักงานไป Outing ถือเป็นหนึ่งในสวัสดิการหลัก ๆ ที่หลายองค์กรมี เพื่อดึงดูดพนักงานทั้งภายในและภายนอกให้อยากมาร่วมงานกันด้วย โดยวัตถุประสงค์หลักของการไป Outing ก็เพื่อเสริมสร้างความสามัคคี และเพื่อตอบแทนพนักงาน ให้ได้ผ่อนคลายจากการทำงานประจำวันอันตึงเครียดมายาวนาน โดยที่บริษัทจะดูแลเรื่องค่าใช้จ่ายไว้ทั้งหมด
4 ระบบลงเวลาเข้า-ออกของพนักงาน ที่นิยมใช้และตอบโจทย์พนักงานยุคใหม่
4 ระบบลงเวลาเข้า-ออกของพนักงาน ที่นิยมใช้และตอบโจทย์พนักงานยุคใหม่
ระบบลงเวลาเข้า-ออกของพนักงาน
คือ ระบบที่ช่วยในการบันทึกเวลาการทำงานของพนักงาน ผ่านอุปกรณ์ดิจิทัลต่างๆ ตั้งแต่ เครื่องสแกนลายนิ้วมือ (Finger Scanner), สมาร์ทโฟน (Smart Phone), แท็บเล็ต (Tablet), ตลอดจนอุปกรณ์ต่างๆ ที่สามารถยืนยันตัวตนผู้ใช้งานได้อย่างชัดเจน ปลอดภัย และเชื่อมต่อสู่ระบบข้อมูลกลางอย่างระบบคลาวด์ (Cloud System) ได้ โดยจะระบุเวลาที่พนักงานเข้ามาทำงานและออกจากงานในแต่ละวัน ดูสถิติ ขาด ลา มาสาย ระบบนี้มีบทบาทสำคัญในการบริหารจัดการเวลาและการทำงานของพนักงาน ช่วยให้ฝ่ายทรัพยากรบุคคล (HR) และฝ่ายบริหารสามารถติดตามการทำงานของพนักงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงใช้ข้อมูลที่บันทึกเพื่อคำนวณเงินเดือน
สวัสดิการ
ค่าล่วงเวลา
และการจัดทำรายงานการเข้างานได้อย่างแม่นยำ ตอบโจทย์การทำงานในธุรกิจยุคใหม่ได้อย่างสมบูรณ์แบบ
เมื่อถูกเลิกจ้าง กะทันหัน ลูกจ้างมีสิทธิได้เงินชดเชยเท่าไหร่
เมื่อถูกเลิกจ้าง กะทันหัน ลูกจ้างมีสิทธิได้เงินชดเชยเท่าไหร่
มนุษย์เงินเดือนบางคนอาจจะไม่รู้ด้วยซ้ำว่า ตัวเองมีสิทธิที่จะเรียกร้อง
ค่าชดเชยจากนายจ้าง
อันนี้เป็นสิทธิ์ของเรานะ พี่ทุยบอกเลยว่า
เงินค่าชดเชย
เป็นสิ่งที่นายจ้าง
ต้องจ่าย
ให้กับพนักงานหรือลูกจ้าง เพื่อช่วยเหลือในกรณีให้ออกจากงาน ซึ่งไม่ได้มาจากทำความผิดของพนักงานหรือลูกจ้าง แต่อาจจะด้วยเหตุผลบางอย่างที่จำเป็นต้องลดจำนวนพนักงานลง
ผู้ประกันตนเช็กเงินสะสมประกันสังคมเองได้ง่ายๆ
ผู้ประกันตนเช็กเงินสะสมประกันสังคมเองได้ง่ายๆ
ในแต่ละเดือนที่เราจ่ายเงินสมทบประกันสังคมนั้น ก็จะมีเงินส่วนหนึ่งที่จัดเก็บเข้าเป็นเงินสะสมประกันสังคม ซึ่งเงินส่วนนี้เองเราสามารถเช็คเงินสะสมประกันสังคมได้เองผ่านช่องทางออนไลน์ด้วย มาดูกันครับว่าทำยังไง แล้วยอดเงินประกันสังคมนี้ทำอะไรได้บ้าง
ทำความรู้จักกับ Employee Referral Program
ทำความรู้จักกับ Employee Referral Program
Employee Referral Program หรือ โครงการแนะนำพนักงาน คือระบบที่องค์กรใช้เพื่อกระตุ้นให้พนักงานที่ทำงานอยู่แนะนำบุคคลภายนอกที่มีคุณสมบัติที่เหมาะสมเข้ามาทำงานในตำแหน่งที่เปิดรับ โดยทั่วไปโครงการนี้มักมีการมอบรางวัลหรือโบนัสให้กับพนักงานที่แนะนำคนที่ถูกคัดเลือกและรับเข้าทำงานในองค์กรสำเร็จ โครงการแนะนำพนักงานนี้มีข้อดีหลายประการ เช่น การลดต้นทุนในการจ้างงาน เพิ่มคุณภาพของผู้สมัคร และสร้างความผูกพันให้กับพนักงานในองค์กร
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น
นโยบายคุกกี้
ตั้งค่าคุกกี้
ยอมรับทั้งหมด
×
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว
คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็น
เปิดใช้งานตลอดเวลา
คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็น เพื่อช่วยให้การทำงานหลักของเว็บไซต์ใช้งานได้ รวมถึงการเข้าถึงพื้นที่ที่ปลอดภัยต่าง ๆ ของเว็บไซต์ หากไม่มีคุกกี้นี้เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้อย่างเหมาะสม และจะใช้งานได้โดยการตั้งค่าเริ่มต้น โดยไม่สามารถปิดการใช้งานได้
คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์
คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์ จะช่วยให้เว็บไซต์เข้าใจรูปแบบการใช้งานของผู้เข้าชมและจะช่วยปรับปรุงประสบการณ์การใช้งาน โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลและรายงานผลการใช้งานของผู้ใช้งาน
คุกกี้ในส่วนการตลาด
คุกกี้ในส่วนการตลาด ใช้เพื่อติดตามพฤติกรรมผู้เข้าชมเว็บไซต์เพื่อแสดงโฆษณาที่เหมาะสมสำหรับผู้ใช้งานแต่ละรายและเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการโฆษณาสำหรับผู้เผยแพร่และผู้โฆษณาสำหรับบุคคลที่สาม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี
By SoGoodWeb.com