10 อาชีพ ไม่ได้รับเงินเยียวยาโควิด-19 (5,000 บาท)

10 อาชีพ ไม่ได้รับเงินเยียวยาโควิด-19 (5,000 บาท)

10 อาชีพ ไม่ได้รับเงินเยียวยาโควิด-19 (5,000 บาท)



โฆษกกระทรวงการคลัง กาง 10 กลุ่ม-อาชีพ อดรับเงิน 5,000 บาท จากการลงทะเบียน www.เราไม่ทิ้งกัน.com เพราะไม่เข้าหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้แต่แรก พร้อมระบุ นิสิตนักศึกษา-เกษตรกร ได้รับการเยียวยาของรัฐแล้ว

นายลวรณ แสงสนิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง กล่าวในรายการ ห้องข่าวเศรษฐกิจ ถึงผู้ที่ลงทะเบียน www.เราไม่ทิ้งกัน.com เพื่อขอรับเงินเยียวยา 5,000 บาท เป็นเวลา 3 เดือนว่า ในวันที่ 8 เม.ย. เป็นต้นไป จะเริ่มทยอยส่ง SMS แจ้งคอนเฟิร์มผู้ที่ผ่านเกณฑ์ราว 1.6 ล้านคน จากนั้นจะทยอยโอนเงินให้ตามที่ผู้ผ่านเกณฑ์ได้ระบุช่องทางการรับเงินไว้ตอนลงทะเบียน

ลงทะเบียนเราไม่ทิ้งกัน คลังเตรียมโอนเงิน 5,000 บาท ล็อตแรกให้คนผ่านเกณฑ์ 1.6 ล้านคน
นอกจากนี้ โฆษกกระทรวงการคลัง ระบุว่า สำหรับกลุ่มคนที่หมดสิทธิ์ขอรับเงินเยียวยา 5,000 บาท ถูกแบ่งออกเป็น 10 กลุ่มด้วยกัน ดังนี้

1.อายุต่ำกว่า 18 ปี : ยังไม่อยู่ในวัยทำงานไม่ใช่แรงงาน
2.คนที่ว่างงานอยู่แล้ว : ไม่ใช่กลุ่มแรงงาน ลูกจ้าง หรืออาชีพอิสระที่เดือนร้อนจาก โควิด-19 เช่น ถูกเลิกจ้าง ถูกลดเงินเดือน หรือสถานประกอบการถูกปิด
3.ผู้รับบำนาญ : ยังได้รับการดูแลจากรัฐอย่างสม่ำเสมอ
4.ข้าราชการ : ยังมีงานทำ และได้รับเงินเดือนปกติ
5.ผู้ได้รับเงินชดเชยกรณีว่างงานจากประกันสังคม
6.นักเรียน/นักศึกษา : เรียนหนังสือเป็นหลัก ไม่ใช่กลุ่มแรงงาน ลูกจ้าง หรืออาชีพอิสระ หากมีหนี้ กยศ. จะได้รับการหักหนี้หลายล้านคน
7.เกษตรกร : รัฐหารือให้ความช่วยเหลือเยียวยาผลกระทบ โควิด-19 ระยะที่ 3 อยู่แล้ว
8.ผู้ค้าขายออนไลน์ : การขนส่งยังดำเนินไปได้ แม้ยอดขายตกก็ถือว่าเป็นไปตามสถานการณ์เศรษฐกิจ
9.คนงานก่อสร้าง : เป็นกลุ่มอาชีพที่ยังดำเนินต่อไปได้ การก่อสร้างยังไม่ถูกระงับ
10.โปรแกรมเมอร์ : อาชีพนี้ยังมีความยืดหยุ่นในการทำงานที่ใดก็ได้ ยังไม่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากโควิด-19

ทั้งนี้ ผู้ที่ไม่หลักเกณฑ์ตามที่กระทรวงการคลังกำหนดไว้แต่ได้ลงทะเบียนไปแล้ว สามารถยกเลิกการลงทะเบียนได้เช่นกัน

แหล่งที่มา : www.sanook.com/money/750567/


ProsoftHRMI
โปรแกรมบริหารทรัพยากรมนุษย์
โปรแกรมเงินเดือน

 1754
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

การพาพนักงานไป Outing ถือเป็นหนึ่งในสวัสดิการหลัก ๆ ที่หลายองค์กรมี เพื่อดึงดูดพนักงานทั้งภายในและภายนอกให้อยากมาร่วมงานกันด้วย โดยวัตถุประสงค์หลักของการไป Outing ก็เพื่อเสริมสร้างความสามัคคี และเพื่อตอบแทนพนักงาน ให้ได้ผ่อนคลายจากการทำงานประจำวันอันตึงเครียดมายาวนาน โดยที่บริษัทจะดูแลเรื่องค่าใช้จ่ายไว้ทั้งหมด
ระบบลงเวลาเข้า-ออกของพนักงาน คือ ระบบที่ช่วยในการบันทึกเวลาการทำงานของพนักงาน ผ่านอุปกรณ์ดิจิทัลต่างๆ ตั้งแต่ เครื่องสแกนลายนิ้วมือ (Finger Scanner), สมาร์ทโฟน (Smart Phone), แท็บเล็ต (Tablet), ตลอดจนอุปกรณ์ต่างๆ ที่สามารถยืนยันตัวตนผู้ใช้งานได้อย่างชัดเจน ปลอดภัย และเชื่อมต่อสู่ระบบข้อมูลกลางอย่างระบบคลาวด์ (Cloud System) ได้ โดยจะระบุเวลาที่พนักงานเข้ามาทำงานและออกจากงานในแต่ละวัน ดูสถิติ ขาด ลา มาสาย ระบบนี้มีบทบาทสำคัญในการบริหารจัดการเวลาและการทำงานของพนักงาน ช่วยให้ฝ่ายทรัพยากรบุคคล (HR) และฝ่ายบริหารสามารถติดตามการทำงานของพนักงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงใช้ข้อมูลที่บันทึกเพื่อคำนวณเงินเดือน สวัสดิการ ค่าล่วงเวลา และการจัดทำรายงานการเข้างานได้อย่างแม่นยำ ตอบโจทย์การทำงานในธุรกิจยุคใหม่ได้อย่างสมบูรณ์แบบ
มนุษย์เงินเดือนบางคนอาจจะไม่รู้ด้วยซ้ำว่า ตัวเองมีสิทธิที่จะเรียกร้อง ค่าชดเชยจากนายจ้าง อันนี้เป็นสิทธิ์ของเรานะ พี่ทุยบอกเลยว่า เงินค่าชดเชย เป็นสิ่งที่นายจ้าง ต้องจ่าย ให้กับพนักงานหรือลูกจ้าง เพื่อช่วยเหลือในกรณีให้ออกจากงาน ซึ่งไม่ได้มาจากทำความผิดของพนักงานหรือลูกจ้าง แต่อาจจะด้วยเหตุผลบางอย่างที่จำเป็นต้องลดจำนวนพนักงานลง
ในแต่ละเดือนที่เราจ่ายเงินสมทบประกันสังคมนั้น ก็จะมีเงินส่วนหนึ่งที่จัดเก็บเข้าเป็นเงินสะสมประกันสังคม ซึ่งเงินส่วนนี้เองเราสามารถเช็คเงินสะสมประกันสังคมได้เองผ่านช่องทางออนไลน์ด้วย มาดูกันครับว่าทำยังไง แล้วยอดเงินประกันสังคมนี้ทำอะไรได้บ้าง

Employee Referral Program หรือ โครงการแนะนำพนักงาน คือระบบที่องค์กรใช้เพื่อกระตุ้นให้พนักงานที่ทำงานอยู่แนะนำบุคคลภายนอกที่มีคุณสมบัติที่เหมาะสมเข้ามาทำงานในตำแหน่งที่เปิดรับ โดยทั่วไปโครงการนี้มักมีการมอบรางวัลหรือโบนัสให้กับพนักงานที่แนะนำคนที่ถูกคัดเลือกและรับเข้าทำงานในองค์กรสำเร็จ โครงการแนะนำพนักงานนี้มีข้อดีหลายประการ เช่น การลดต้นทุนในการจ้างงาน เพิ่มคุณภาพของผู้สมัคร และสร้างความผูกพันให้กับพนักงานในองค์กร
การจัดกะพนักงาน คือ กระบวนการวางแผนและจัดระเบียบเวลาทำงานของพนักงานให้เหมาะสมกับความต้องการขององค์กรในแต่ละช่วงเวลา โดยแบ่งเวลาทำงานออกเป็นหลายช่วง (หรือหลายกะ) เพื่อให้มีพนักงานเพียงพอในการปฏิบัติงานตลอดเวลา เช่น ในกรณีขององค์กรที่เปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมงหรือมีความต้องการกำลังคนที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละช่วงเวลา
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์