การรับมือโควิด-19 แก้วิกฤตจัดการปัญหาเฉพาะหน้าสู่อนาคต

การรับมือโควิด-19 แก้วิกฤตจัดการปัญหาเฉพาะหน้าสู่อนาคต

การรับมือโควิด-19 แก้วิกฤตจัดการปัญหาเฉพาะหน้าสู่อนาคต



โลกทั้งโลกกำลังระดมสรรพกำลังต่อกรกับ “มหันตภัยโควิด-19” อย่างเต็มที่ เพื่อเอาตัวรอดและปรับสร้างสู่อนาคตด้วยความทุ่มเท มหันตภัยนี้ทำให้มหานคร-เมืองที่เคยคึกคักทั่วโลกต่างปิดตัวเงียบเหงา ผู้คนหดหู่ ซึม เหงา เศร้า ขณะที่บุคลากรในโรงพยาบาลกำลังทำงานแข่งกับความเป็นความตาย…วุ่นวายหมือนอยู่ในสงคราม!
โรงพยาบาลในมหานคร-หลากเมืองในหลายมุมโลก มีคนป่วยล้นโรงพยาบาล คนตายล้นสุสาน! ความวังเวงแผ่กระจายไปทั่วโลก นี่คือวันที่โลกกำลังเผชิญมหันตภัยครั้งร้ายแรงจากไวรัสโควิด!!!

มหันตภัยโควิด-19 ชี้บอกว่าเหตุการณ์เลวร้ายเช่นใดก็เกิดขึ้นได้ทุกที่ หากไม่มีการจัดการที่ดี-เท่าทันเหตุการณ์!

ไม่มีใครคาดคิดมาก่อนว่า ประเทศที่การสาธารณสุขดีอย่าง อิตาลี และ อเมริกา จะกลายเป็นพื้นที่แพร่กระจายของโรคร้ายที่รุนแรงที่สุดในโลก โดยเฉพาะมหานครมิลานและเมืองแบร์กาโมในอิตาลี ที่เผชิญการแพร่ระบาดอย่างหนักหน่วง เช่นกับที่นิวยอร์กในอเมริกา



โลกในวันนี้…อะไรก็เกิดขึ้นได้!!!
ยอดการแพร่ระบาด-การสูญเสียเพิ่มสูงขึ้นจนน่าตกใจ โดยเฉพาะโลกตะวันตก 3 อันดับแรกคือที่ อเมริกา อิตาลี และสเปน
ยอดผู้ติดเชื้อกำลังจะแตะหลักล้านภายในสองวันนี้ ขณะที่ผู้เสียชีวิตสูงเกือบครึ่งแสน แต่มีผู้รักษาหายไม่ถึง 2 แสนคนทั่วโลก!
นายแพทย์ผู้เชี่ยวชาญชาวอิตาลีชี้ว่า ถ้าตื่นตัวจัดการมหันตภัยนี้ได้เท่าทันและเร็วมากเท่าไร ก็ยิ่งจะส่งผลดีเท่านั้น ศึกษาได้จากกรณีของฮ่องกง สิงค์โปร์ และญี่ปุ่น

ประเทศไทยก็เผชิญความสูญเสียมากเช่นกัน ตัวเลขผู้ติดเชื้อวันนี้กำลังวิ่งไปแตะยอดรวมที่ 2,000 ในอีกสองสามวันข้างหน้า! ขณะที่ภาครัฐออกมาตรการเพื่อบริหารจัดการให้อยู่ในจุดพลิกผันระหว่าง “การคุมอยู่” กับ “การคุมไม่อยู่”
หรือเรียกว่าเราอยู่ในช่วง ‘โกลเด้นพีเรียด’ มาสองเดือนแล้ว!



แต่อัตราผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นวันต่อวันยังอยู่ที่กว่าร้อยราย! แพทย์ผู้เชี่ยวชาญชี้ว่าสถานการณ์แบบนี้สามารถแพร่กระจายการติดต่อเพิ่มเป็น 200-300 ราย ได้ภายใน 3 วัน หากไม่มีมาตรการที่ดีมารองรับและจัดการ

ขณะนี้รัฐกำลังทำทุกวิถีทางเพื่อที่จะลดการแพร่ระบาดและยุติความเสี่ยง เพื่อไม่ให้ประเทศไทยก้าวไปสู่สถานการณ์ที่ควบคุมไม่ได้ ซึ่งเป็นเรื่องที่ทุกคนต้องร่วมมือจึงจะควบคุมได้!

การจัดการปัญหานี้กลุ่มที่รับมือหนักที่สุดคือ กลุ่มแพทย์ พยาบาล และบุคลากรด้านการสาธารณสุขทั่วประเทศ ตั้งแต่อาสาสมัครสาธารณสุข ผสส. และ อสม. ที่เฝ้าระวังติดตามดูแลการระบาดอยู่ในเกือบ 80,000 หมู่บ้านทั่วประเทศ ไปจนถึงคณะแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและผู้กำลังศึกษาวิจัยวัคซีน ที่ทำงานเร่งวันเร่งคืนเพื่อค้นให้พบวัคซีนสกัดโรคร้ายนี้
บุคลากรข้างต้นทำงานท่ามกลางภาวะการขาดแคลนเครื่องป้องกัน เครื่องมือ เครื่องใช้ ที่เกือบเหมือนกันทั่วโลก!
นี่คือแรงกายแรงใจของผู้คนด่านหน้าที่เผชิญมหันตภัยครั้งนี้!

เศรษฐกิจก็เผชิญวิกฤตอย่างไม่อาจปฏิเสธได้ เป็นเช่นเดียวกันทั้งโลก!

หายนะจากเชื้อโควิด-19 มีระยะฟักตัวนานราว 2 สัปดาห์ ขณะที่การรักษาผู้ติดเชื้อแต่ละคนยังไม่มียาที่รักษาโดยตรง จึงต้องเฝ้าดูและรักษาตามอาการ ซึ่งใช้เวลายาวนานต่างกันตามสภาพของแต่ละบุคคล และหลังจากหายดีแล้วยังต้องเก็บตัว ตรวจดูผลให้แน่ชัดอีกว่าจะไม่แพร่เชื้อต่อไป
ช่วงเวลาอันยาวนานนี้ส่งผลต่อชีวิตและเศรษฐกิจของแต่ละบุคคลและครัวเรือนอย่างมีนัยสำคัญ รวมถึงส่งผลต่อการงานและเศรษฐกิจโดยตรง!



นี่คือผลรวมที่สร้างหายนะภัยให้เศรษฐกิจครัวเรือนและโลกทั้งใบอย่างรุนแรงในวันนี้!

ธนาคารโลกชี้บอกว่า การเผชิญมหันตภัยโควิด-19 กำลังส่งผลให้เศรษฐกิจโลกเข้าสู่สภาวะถดถอย! หลายประเทศจึงไม่เพียงแก้ปัญหาโควิด-19 แต่ต้องมุ่งแก้ปัญหาเศรษฐกิจอย่างจริงจัง เพราะเป็นเรื่องความเป็นความตายของผู้คนและความพินาศทางสังคมหากจัดการปัญหาเศรษฐกิจไม่ได้!

ตัวอย่างการต่อสู่ดิ้นรนของบางประเทศที่ขอหยิบยกมาให้ดูกัน

สหรัฐอเมริกา ทุ่มทุนร้อยละ 10 ของจีดีพี แก้ปัญหาเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19
มาเลเซีย เพื่อนบ้านไทยใช้งบร้อยละ 17 ของจีดีพี จัดการเศรษฐกิจของประเทศ
สิงคโปร์ มองปัญหาโควิด-19 ว่ามีความรุนแรง ซับซ้อน และใช้เวลายาวนานแน่! จึงทุ่มงบครั้งใหญ่กว่าร้อยละ 11 ของจีดีพี เข้าแก้ปัญหา โดยมองว่าการใช้เงินให้ถูกที่-ถูกเวลา ไม่เพียงจะจัดการปัญหาในวันนี้ แต่จะส่งผลดีถึงอนาคตได้ด้วย

กิจกรรมด้านการเงินและการคลังของหลายประเทศ ทยอยออกมาหลายชุดในช่วงเวลาต่างๆ แต่ สิงคโปร์ ดูจะก้าวหน้าที่สุด ทั้งในแง่การควบคุมการแพร่เชื้อโควิดและการใช้มาตรการการเงิน-การคลังเข้าจัดการปัญหา เพราะสิงคโปร์มองว่าแม้เศรษฐกิจกำลังจมน้ำ แต่จะไม่ยอมให้ผู้คนและกิจการจมน้ำไปด้วย

มาตรการของสิงคโปร์มีทั้ง 1) การจ่ายค่าชดเชยให้บริษัทต่างๆ ร้อยละ 25 เป็นเวลา 9 เดือน 2) กลุ่มอุตสาหกรรมหนัก เช่น การบิน รวมถึงการท่องเที่ยว จ่ายให้ร้อยละ 50-75 ของค่าจ้างนาน 9 เดือน 3) กลุ่มผู้มีอาชีพอิสระ รัฐให้คนละ 1,000 ดอลลาร์สิงคโปร์ นาน 9 เดือน นอกจากนี้ รัฐยังจับมือกับเอกชน สร้างงาน-จ้างงานที่จำเป็นนับหมื่นอัตราเพื่อแก้ปัญหาโควิด ฯลฯ

ส่วน ประเทศไทย มีฐานะการเงินการคลังที่แข็งแกร่งกว่าทั้งอเมริกาและมาเลเซีย ซึ่งธนาคารชาติได้วิเคราะห์สถานการณ์โควิด-19 และคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยจะถดถอยร้อยละ 5.3



ปัจจุบันเราใช้งบประมาณกับมาตรการต่างๆ ไปแล้วราวร้อยละ 4–4.5 ของจีดีพีเท่านั้น จึงมีหลายมุมที่ชวนพิจารณาว่า เราน่าจะต้องรับมือด้วยมาตรการที่ก้าวหน้าและแข็งแกร่งมากกว่านี้ อย่างการใช้การเงิน-การคลังให้ถูกที่ ถูกเวลา และถูกขนาด จะช่วยให้แก้ไขปัญหาได้ทันการณ์และจะส่งผลดีต่ออนาคต

ผู้เชี่ยวชาญหลายสำนักเห็นพ้องกันว่า คนแข็งแกร่งอย่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของไทย ในวันนี้ ดร.อุตตม สาวนายน นั้น มีฝีมือ-พูดน้อยต่อยหนักเสมอ หลายฝ่ายเทใจช่วยเต็มที่ และในยามนี้ก็หยุดเล่นการเมือง ทุ่มเทพาบ้านเมืองให้รอดอย่างที่กำลังทำอยู่ รับรองช่วยพาประเทศผ่านวิกฤตได้แน่!

เพราะทุกวิกฤตล้วนมีโอกาสอยู่ในนั้นเสมอ โดยขึ้นอยู่กับการบริหารประเทศ มองเห็นหรือไม่ในเวลานี้?

แหล่งที่มา : www.salika.co/2020/04/01/coronavirus-pandemic-world-facing-worst-crisis/


ProsoftHRMI
โปรแกรมบริหารทรัพยากรมนุษย์
โปรแกรมเงินเดือน
 1745
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

การพาพนักงานไป Outing ถือเป็นหนึ่งในสวัสดิการหลัก ๆ ที่หลายองค์กรมี เพื่อดึงดูดพนักงานทั้งภายในและภายนอกให้อยากมาร่วมงานกันด้วย โดยวัตถุประสงค์หลักของการไป Outing ก็เพื่อเสริมสร้างความสามัคคี และเพื่อตอบแทนพนักงาน ให้ได้ผ่อนคลายจากการทำงานประจำวันอันตึงเครียดมายาวนาน โดยที่บริษัทจะดูแลเรื่องค่าใช้จ่ายไว้ทั้งหมด
ระบบลงเวลาเข้า-ออกของพนักงาน คือ ระบบที่ช่วยในการบันทึกเวลาการทำงานของพนักงาน ผ่านอุปกรณ์ดิจิทัลต่างๆ ตั้งแต่ เครื่องสแกนลายนิ้วมือ (Finger Scanner), สมาร์ทโฟน (Smart Phone), แท็บเล็ต (Tablet), ตลอดจนอุปกรณ์ต่างๆ ที่สามารถยืนยันตัวตนผู้ใช้งานได้อย่างชัดเจน ปลอดภัย และเชื่อมต่อสู่ระบบข้อมูลกลางอย่างระบบคลาวด์ (Cloud System) ได้ โดยจะระบุเวลาที่พนักงานเข้ามาทำงานและออกจากงานในแต่ละวัน ดูสถิติ ขาด ลา มาสาย ระบบนี้มีบทบาทสำคัญในการบริหารจัดการเวลาและการทำงานของพนักงาน ช่วยให้ฝ่ายทรัพยากรบุคคล (HR) และฝ่ายบริหารสามารถติดตามการทำงานของพนักงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงใช้ข้อมูลที่บันทึกเพื่อคำนวณเงินเดือน สวัสดิการ ค่าล่วงเวลา และการจัดทำรายงานการเข้างานได้อย่างแม่นยำ ตอบโจทย์การทำงานในธุรกิจยุคใหม่ได้อย่างสมบูรณ์แบบ
มนุษย์เงินเดือนบางคนอาจจะไม่รู้ด้วยซ้ำว่า ตัวเองมีสิทธิที่จะเรียกร้อง ค่าชดเชยจากนายจ้าง อันนี้เป็นสิทธิ์ของเรานะ พี่ทุยบอกเลยว่า เงินค่าชดเชย เป็นสิ่งที่นายจ้าง ต้องจ่าย ให้กับพนักงานหรือลูกจ้าง เพื่อช่วยเหลือในกรณีให้ออกจากงาน ซึ่งไม่ได้มาจากทำความผิดของพนักงานหรือลูกจ้าง แต่อาจจะด้วยเหตุผลบางอย่างที่จำเป็นต้องลดจำนวนพนักงานลง
ในแต่ละเดือนที่เราจ่ายเงินสมทบประกันสังคมนั้น ก็จะมีเงินส่วนหนึ่งที่จัดเก็บเข้าเป็นเงินสะสมประกันสังคม ซึ่งเงินส่วนนี้เองเราสามารถเช็คเงินสะสมประกันสังคมได้เองผ่านช่องทางออนไลน์ด้วย มาดูกันครับว่าทำยังไง แล้วยอดเงินประกันสังคมนี้ทำอะไรได้บ้าง

Employee Referral Program หรือ โครงการแนะนำพนักงาน คือระบบที่องค์กรใช้เพื่อกระตุ้นให้พนักงานที่ทำงานอยู่แนะนำบุคคลภายนอกที่มีคุณสมบัติที่เหมาะสมเข้ามาทำงานในตำแหน่งที่เปิดรับ โดยทั่วไปโครงการนี้มักมีการมอบรางวัลหรือโบนัสให้กับพนักงานที่แนะนำคนที่ถูกคัดเลือกและรับเข้าทำงานในองค์กรสำเร็จ โครงการแนะนำพนักงานนี้มีข้อดีหลายประการ เช่น การลดต้นทุนในการจ้างงาน เพิ่มคุณภาพของผู้สมัคร และสร้างความผูกพันให้กับพนักงานในองค์กร
การจัดกะพนักงาน คือ กระบวนการวางแผนและจัดระเบียบเวลาทำงานของพนักงานให้เหมาะสมกับความต้องการขององค์กรในแต่ละช่วงเวลา โดยแบ่งเวลาทำงานออกเป็นหลายช่วง (หรือหลายกะ) เพื่อให้มีพนักงานเพียงพอในการปฏิบัติงานตลอดเวลา เช่น ในกรณีขององค์กรที่เปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมงหรือมีความต้องการกำลังคนที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละช่วงเวลา
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์