ยื่นภาษี 2563 ทุกคำถามเรามีคำตอบ

ยื่นภาษี 2563 ทุกคำถามเรามีคำตอบ

ยื่นภาษี 2563 ทุกคำถามเรามีคำตอบ



เข้าสู่ปีใหม่ทีไรหลายคนมักจะตั้งเป้าหมาย New Year’s Resolution ลงมือทำสิ่งดี ๆ พัฒนาตัวเอง ถ้าปีที่แล้วยังทำไม่สำเร็จ ก็มาลุยกันต่อในปีนี้ ขณะที่บางคนอาจกำลังลุ้นโบนัสกันตัวโก่ง แต่ไม่ว่าคุณจะมีกิจกรรมมากมายแค่ไหน สิ่งสำคัญที่ไม่ควรลืมเลยคือการยื่นภาษี ซึ่งเป็นหน้าที่ของมนุษย์เงินเดือนอย่างเราที่ต้องวางแผนให้รอบคอบ เช็กให้ชัวร์ว่ารายได้ของทั้งหมดในปี 2562 ต้องจ่ายภาษีเท่าไหร่ เพื่อจะนำไปยื่นภาษีในปี 2563 นี้ และสิทธิลดหย่อนภาษีที่แตกต่างจากปีอื่น ๆ มีอะไรบ้าง มาอัปเดตเงื่อนไขยื่นภาษีปี 2563 พร้อมกันเลย

ใครต้องยื่นภาษีบ้าง?
บุคคลที่มีรายได้ทุกคน ต้องยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่งแม้จะมีรายได้ไม่ถึงเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษี ก็ต้องยื่นแบบภาษีประจำปี ปีละ 1 ครั้ง ระหว่างวันที่ 1 ม.ค. – 31 มี.ค. เพื่อแสดงรายได้สะสมในช่วงปีที่ผ่านมา

ถ้าอยากรู้ว่าเราจะต้องเสียภาษีเท่าไร ให้คำนวณรายได้สุทธิของตัวเองก่อนจากสูตร “เงินได้ - ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อนภาษี = เงินได้สุทธิ” ซึ่งค่าใช้จ่ายจะเหมาจ่าย 50% ของเงินได้ แต่ไม่เกิน 100,000 บาท เมื่อได้จำนวนเงินได้สุทธิแล้วจึงมาเทียบดูอัตราภาษีที่ต้องเสีย ซึ่งปีนี้ยังคงใช้อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเหมือนกับปี 2560 นั่นก็คือการเก็บภาษีตามขั้นบันได ตั้งแต่ 5-35% มีวิธีการคำนวณคือ “ภาษีที่ต้องจ่าย = เงินได้สุทธิ x อัตราภาษี” สามารถดูอัตราภาษีได้จากตารางด้านล่างเลยครับ



อัปเดตรายการลดหย่อนภาษี 5 กลุ่ม รู้ไว้ไม่เสียสิทธิ

ก่อนจะไปเริ่มคำนวณภาษีตามอัตราที่กำหนด เราก็ต้องมาพิจารณาก่อนว่า ตัวเราเองใช้สิทธิลดหย่อนภาษีอะไรได้บ้าง? เพราะถ้าไม่ลดหย่อนอะไรเลยคนที่มีรายได้เยอะก็คงถึงขั้นต้องขอผ่อนจ่ายค่าภาษีกันเลยทีเดียว ฉะนั้นเรามารักษาสิทธิลดหย่อนภาษีให้เต็มที่กันดีกว่านะครับ ซึ่งปีนี้มีรายการลดหย่อนภาษีที่บังคับใช้ใหม่คือ ค่าใช้จ่ายการท่องเที่ยวไทย การซื้ออุปกรณ์กีฬา อุปกรณ์การศึกษา หนังสือ สินค้า OTOP และการซื้อบ้านหลังแรก ตรวจสอบให้ดีว่าค่าใช้จ่ายแบบไหน สินค้าอะไรนำมาลดหย่อนได้บ้าง จะได้คำนวณภาษีเงินได้อย่างถูกต้องกัน

ค่าลดหย่อนภาษี 5 กลุ่มที่คนจ่ายภาษีต้องรู้



กลุ่มที่ 1 ค่าลดหย่อนส่วนตัวและครอบครัว




กลุ่มที่ 2 ค่าลดหย่อนกลุ่มประกัน เงินออมและการลงทุน



กลุ่มที่ 3 ค่าลดหย่อนอสังหาริมทรัพย์



กลุ่มที่ 4 ค่าลดหย่อนกลุ่มเงินบริจาค



กลุ่มที่ 5 ค่าลดหย่อนตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐ



ยื่นอย่างไร ยื่นที่ไหน ยื่นเมื่อไร?

สำหรับใครที่มีรายได้จากเงินเดือนและโบนัส โดยไม่มีรายได้ประเภทอื่น ให้เตรียมหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (50 ทวิ) พร้อมเอกสารประกอบการลดหย่อนภาษี เมื่อเตรียมเอกสารครบแล้ว ให้รีบยื่นแสดงภาษีให้เร็วที่สุด ซึ่งเปิดให้ยื่นได้ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 63 – 31 มี.ค. 63 โดยยื่นได้หลายช่องทาง ได้แก่
ยื่นแบบแสดงภาษีด้วยตัวเองที่กรมสรรพากร
ยื่นออนไลน์ผ่านเว็บไซต์กรมสรรพากร https://www.rd.go.th/ ซึ่งจะสามารถยื่นได้ถึงวันที่ 8 เม.ย. 63
ยื่นผ่านแอปพลิเคชั่น RD Smart Tax แต่ต้องลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์กรมสรรพากรก่อน
เมื่อได้ข้อมูลอัปเดตการยื่นภาษีในปีนี้ไปแล้ว หวังว่าจะทำให้ผู้อ่านมีความเข้าใจในเรื่องของภาษี หลักการคำนวณ และการลดหย่อนภาษีต่าง ๆ มากขึ้น ซึ่งจะช่วยให้เราวางแผนและใช้สิทธิได้คุ้มค่า จ่ายภาษีในอัตราที่ถูกลงและอาจได้รับเงินคืนอีกด้วย เพราะฉะนั้นทุกคนอย่าลืมศึกษาและใช้สิทธิลดหย่อนภาษีของตัวเองกันให้เต็มที่นะครับ

แหล่งที่มา : https://www.krungsri.com/bank/th/plearn-plearn/tax-2563.html


ProsoftHRMI
โปรแกรมบริหารทรัพยากรมนุษย์
โปรแกรมเงินเดือน

 1100
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

การทำงานโดยที่คนทำงานไม่มีความสุขนั้นส่งผลกระทบทั้งระบบ ไม่ว่าจะเป็นผลงานที่ไม่มีประสิทธิภาพ องค์กรไม่มีความก้าวหน้า ลองมาดูกันว่า อะไรเป็นปัจจัยที่ทำให้พนักงานไม่มีความสุขกับการทำงาน
1. สัญญาจ้างทำด้วยวาจาก็ได้ 2. นายจ้างไม่มีสิทธิเรียกรับหลักประกันการทำงาน เว้นทำงานเกี่ยวข้องกับเงิน หรือทรัพย์สินของนายจ้าง 3. เมื่อการประกันสิ้นสุดลง นายจ้างต้องคืนหลักประกันให้แก่ลูกจ้างภายใน 7 วัน 4. นายจ้างไม่มีสิทธิหักค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานวันหยุด เว้นแต่เป็นการหักตามที่กฎหมายกำหนด 5. ลูกจ้างลาออกไม่ต้องรอการอนุมัติก็มีผล 6. นายจ้างไล่ออกไม่ต้องเป็นหนังสือไล่ออกก็มีผล
การทำงาน เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของชีวิต ซึ่งรูปแบบของการจ้างงานไม่ได้มีเพียงงานประจำและรอเวลาเกษียณอายุเพียงเท่านั้น แต่ยังมีลักษณะการจ้างงานอีกหลายประเภท ที่สามารถตอบโจทย์การใช้ชีวิตที่แตกต่างกันออกไปได้ ในบทความนี้จะมาสรุปสั้น ๆ ให้เข้าใจได้ง่าย ๆ ว่าการจ้างงานมีกี่ประเภท และแต่ละประเภทมีข้อดีแตกต่างกันอย่างไร
การพาพนักงานไป Outing ถือเป็นหนึ่งในสวัสดิการหลัก ๆ ที่หลายองค์กรมี เพื่อดึงดูดพนักงานทั้งภายในและภายนอกให้อยากมาร่วมงานกันด้วย โดยวัตถุประสงค์หลักของการไป Outing ก็เพื่อเสริมสร้างความสามัคคี และเพื่อตอบแทนพนักงาน ให้ได้ผ่อนคลายจากการทำงานประจำวันอันตึงเครียดมายาวนาน โดยที่บริษัทจะดูแลเรื่องค่าใช้จ่ายไว้ทั้งหมด
ระบบลงเวลาเข้า-ออกของพนักงาน คือ ระบบที่ช่วยในการบันทึกเวลาการทำงานของพนักงาน ผ่านอุปกรณ์ดิจิทัลต่างๆ ตั้งแต่ เครื่องสแกนลายนิ้วมือ (Finger Scanner), สมาร์ทโฟน (Smart Phone), แท็บเล็ต (Tablet), ตลอดจนอุปกรณ์ต่างๆ ที่สามารถยืนยันตัวตนผู้ใช้งานได้อย่างชัดเจน ปลอดภัย และเชื่อมต่อสู่ระบบข้อมูลกลางอย่างระบบคลาวด์ (Cloud System) ได้ โดยจะระบุเวลาที่พนักงานเข้ามาทำงานและออกจากงานในแต่ละวัน ดูสถิติ ขาด ลา มาสาย ระบบนี้มีบทบาทสำคัญในการบริหารจัดการเวลาและการทำงานของพนักงาน ช่วยให้ฝ่ายทรัพยากรบุคคล (HR) และฝ่ายบริหารสามารถติดตามการทำงานของพนักงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงใช้ข้อมูลที่บันทึกเพื่อคำนวณเงินเดือน สวัสดิการ ค่าล่วงเวลา และการจัดทำรายงานการเข้างานได้อย่างแม่นยำ ตอบโจทย์การทำงานในธุรกิจยุคใหม่ได้อย่างสมบูรณ์แบบ
มนุษย์เงินเดือนบางคนอาจจะไม่รู้ด้วยซ้ำว่า ตัวเองมีสิทธิที่จะเรียกร้อง ค่าชดเชยจากนายจ้าง อันนี้เป็นสิทธิ์ของเรานะ พี่ทุยบอกเลยว่า เงินค่าชดเชย เป็นสิ่งที่นายจ้าง ต้องจ่าย ให้กับพนักงานหรือลูกจ้าง เพื่อช่วยเหลือในกรณีให้ออกจากงาน ซึ่งไม่ได้มาจากทำความผิดของพนักงานหรือลูกจ้าง แต่อาจจะด้วยเหตุผลบางอย่างที่จำเป็นต้องลดจำนวนพนักงานลง
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์