เศรษฐกิจโลก 2020 เสี่ยงสูงบนภาวะชะลอตัว

เศรษฐกิจโลก 2020 เสี่ยงสูงบนภาวะชะลอตัว

เศรษฐกิจโลก 2020 เสี่ยงสูงบนภาวะชะลอตัว




เศรษฐกิจโลก 2020
คำถามที่ค้างคาอยู่ในใจทุกคนในยามนี้จึงหนีไม่พ้นคำถามที่ว่า ถึงปีหน้าฟ้าใหม่ สภาพที่ว่านั้นจะกระเตื้องขึ้นหรือย่ำแย่ลง มีโอกาสมากน้อยแค่ไหนที่เศรษฐกิจโดยรวมของทั้งโลกจะสามารถโงหัว ฟื้นตัวจากสภาพเมาหมัดของปีที่ผ่านมา คำตอบอย่างง่ายที่อ้างอิงกันในเวลานี้ก็คือ โอกาสที่เศรษฐกิจโลกจะพลิกฟื้นขึ้นมายืนอยู่บนเส้นทางเติบโตแข็งแกร่งอย่างที่ทุกคนอยากเห็นนั้น มีโอกาสน้อยยิ่งกว่าน้อย ตัวเลขการคาดการณ์อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจในปีหน้าจากสารพัดองค์กรระหว่างประเทศที่ได้รับการยอมรับบอกเป็นเสียงเดียวกันว่า ปีหน้าทั้งปี เศรษฐกิจโลกจะโตกว่าที่ผ่านมาเพียงเล็กน้อยเท่านั้นเอง

องค์การความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจและการพัฒนา (โออีซีดี) ยืนยันเอาไว้ในรายงานสถานการณ์เศรษฐกิจโลกเมื่อเดือนที่แล้วว่า การค้าระหว่างประเทศที่อ่อนแอลง การลงทุนที่หดหายไปเกือบหมดในช่วง 2 ปีหลังมานี้ และสงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐอเมริกาที่ยืดเยื้อต่อไป จะส่งผลให้เศรษฐกิจทั้งโลกขยายตัวเพียง 2.9% นั่นเป็นระดับการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่ปี 2008-2009 ปีแห่งวิกฤตการณ์การเงินในสหรัฐอเมริกาเรื่อยมา ในการมองภาพที่กว้างออกไปมากกว่านั้น นักวิชาการของโออีซีดีเชื่อว่า นโยบายในเชิงรุกที่บรรดาธนาคารกลางของประเทศทั้งหลายประกาศใช้ออกมา จะถูกสกัด เตะถ่วง ถูกชะลอจากรัฐบาล ซึ่งต้องเผชิญหน้ากับปัญหาใหญ่อีก 2 ด้าน พร้อม ๆ กันในปีหน้า หนึ่ง คือ ปัญหาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ หรือที่เรียกกันง่าย ๆ ว่า ภาวะโลกร้อน อีกหนึ่ง คือ การไหลบ่าเข้ามาสู่สังคมมนุษย์ของความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ที่เปลี่ยนแปลงทั้งพฤติกรรมการผลิตและการบริโภค อย่างชนิดพลิกโฉม กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) คาดการณ์สถานการณ์ในเชิงบวกมากกว่าเล็กน้อย ทำนายว่า ปีหน้าเศรษฐกิจโลกจะขยายตัว 3.4% แม้จะเกิดภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวอย่างทั่วถึง ในประเทศต่าง ๆ ไม่น้อยกว่า 90% ของโลกก็ตามที การเมืองยังคงเป็นปัจจัยเสี่ยงที่คาดการณ์ได้ยากที่สุด สำหรับทิศทางในอนาคตของภาวะเศรษฐกิจโลก ปีหน้าเป็นปีแห่งการเลือกตั้งที่สหรัฐอเมริกา โดนัลด์ ทรัมป์ จะชี้ชะตาการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี และนโยบายเศรษฐกิจชาตินิยม ประชานิยมของตน ในต้นเดือน พ.ย. ในขณะที่ในปีที่ผ่านมา ผลการเลือกตั้งในอังกฤษ ส่งผลให้ บอริส จอห์นสัน ก้าวขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรี ที่มีเสียงสนับสนุนจากสภาสามัญอยู่ในมือสูงมาก จน “เบร็กซิต” หรือไม่ ไม่ใช่ข้อกังขาอีกต่อไป ปัญหาอยู่ที่จะเป็น “ฮาร์ดเบร็กซิต” หรือ “ซอฟต์เบร็กซิต” เท่านั้น
สิ่งเหล่านี้ล้วนมีอิทธิพลต่อทิศทางเศรษฐกิจโลกทั้งสิ้น ตัวอย่าง เช่น ในกรณีของทรัมป์นั้น ลูโดวิช ซูบราน หัวหน้าคณะนักเศรษฐศาสตร์ประจำอลิอันซ์ ยักษ์ใหญ่วงการประกันภัยของเยอรมนี เชื่อว่า หากทรัมป์ได้รับการเลือกตั้งกลับมาเป็นประธานาธิบดีอีกครั้ง ก็จะ “เพิ่มเดิมพันในสงครามการค้ากับจีน ขึ้นอีกเป็น 2 เท่า” เป็นต้น

นักวิเคราะห์และผู้สันทัดกรณีทางเศรษฐศาสตร์จึงมองว่า เศรษฐกิจโลกในปี 2020 นี้ ไม่น่าจะมีวิกฤตการณ์ในเชิงระบบเกิดขึ้น แต่ความสุ่มเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาซึ่งส่งผลกระทบใหญ่โตและลุกลามออกไปทั่วโลก ไม่ได้เกิดขึ้นจากปัญหาของระบบเหมือนวิกฤตการณ์หลายครั้งที่ผ่านมา แต่เป็นปัญหาจากปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆที่สามารถส่งผลสะเทือนอย่างกว้างขวาง ซ้ำเติมเข้ากับภาวะชะลอตัวที่แพร่กระจายเป็นวงกว้างอยู่แต่เดิมอยู่แล้ว เช่น ปัจจัยทางการเมือง เป็นต้น
พ้นจากเรื่องการเมือง เงื่อนปมสำคัญยังเกิดขึ้นกับการเปลี่ยนแปลงสำคัญที่ไม่หยุดรอใคร การเปลี่ยนแปลงไปสู่ยุคดิจิทัลก็ดี การเปลี่ยนแปลงไปสู่ยุคอิเล็กทริกโมบิลิตี้ ที่ทุกอย่างขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า ไม่ใช่พลังงานสกปรกจากฟอสซิลก็ดี ล้วนดาหน้าเข้ามาสร้างความปั่นป่วนให้เกิดขึ้นในทุก ๆ อุตสาหกรรม การผูกขาดความก้าวหน้าของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ อาจส่งผลให้เกิดปัญหาการกระจายความมั่งคั่งอย่างรุนแรงมากขึ้นไปอีก ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับสังคมที่เต็มไปด้วยความเหลื่อมล้ำเป็นอย่างไร มีตัวอย่างให้เห็นมากมายในปี 2019 ที่ผ่านมา ตั้งแต่การชุมนุมประท้วงที่ฮ่องกง ไปจนถึงในประเทศชิลี

แหล่งที่มา : www.prachachat.net/world-news/news-407432


ProsoftHRMI
โปรแกรมบริหารทรัพยากรมนุษย์
โปรแกรมเงินเดือน
 624
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

การทำงานโดยที่คนทำงานไม่มีความสุขนั้นส่งผลกระทบทั้งระบบ ไม่ว่าจะเป็นผลงานที่ไม่มีประสิทธิภาพ องค์กรไม่มีความก้าวหน้า ลองมาดูกันว่า อะไรเป็นปัจจัยที่ทำให้พนักงานไม่มีความสุขกับการทำงาน
1. สัญญาจ้างทำด้วยวาจาก็ได้ 2. นายจ้างไม่มีสิทธิเรียกรับหลักประกันการทำงาน เว้นทำงานเกี่ยวข้องกับเงิน หรือทรัพย์สินของนายจ้าง 3. เมื่อการประกันสิ้นสุดลง นายจ้างต้องคืนหลักประกันให้แก่ลูกจ้างภายใน 7 วัน 4. นายจ้างไม่มีสิทธิหักค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานวันหยุด เว้นแต่เป็นการหักตามที่กฎหมายกำหนด 5. ลูกจ้างลาออกไม่ต้องรอการอนุมัติก็มีผล 6. นายจ้างไล่ออกไม่ต้องเป็นหนังสือไล่ออกก็มีผล
การทำงาน เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของชีวิต ซึ่งรูปแบบของการจ้างงานไม่ได้มีเพียงงานประจำและรอเวลาเกษียณอายุเพียงเท่านั้น แต่ยังมีลักษณะการจ้างงานอีกหลายประเภท ที่สามารถตอบโจทย์การใช้ชีวิตที่แตกต่างกันออกไปได้ ในบทความนี้จะมาสรุปสั้น ๆ ให้เข้าใจได้ง่าย ๆ ว่าการจ้างงานมีกี่ประเภท และแต่ละประเภทมีข้อดีแตกต่างกันอย่างไร
การพาพนักงานไป Outing ถือเป็นหนึ่งในสวัสดิการหลัก ๆ ที่หลายองค์กรมี เพื่อดึงดูดพนักงานทั้งภายในและภายนอกให้อยากมาร่วมงานกันด้วย โดยวัตถุประสงค์หลักของการไป Outing ก็เพื่อเสริมสร้างความสามัคคี และเพื่อตอบแทนพนักงาน ให้ได้ผ่อนคลายจากการทำงานประจำวันอันตึงเครียดมายาวนาน โดยที่บริษัทจะดูแลเรื่องค่าใช้จ่ายไว้ทั้งหมด
ระบบลงเวลาเข้า-ออกของพนักงาน คือ ระบบที่ช่วยในการบันทึกเวลาการทำงานของพนักงาน ผ่านอุปกรณ์ดิจิทัลต่างๆ ตั้งแต่ เครื่องสแกนลายนิ้วมือ (Finger Scanner), สมาร์ทโฟน (Smart Phone), แท็บเล็ต (Tablet), ตลอดจนอุปกรณ์ต่างๆ ที่สามารถยืนยันตัวตนผู้ใช้งานได้อย่างชัดเจน ปลอดภัย และเชื่อมต่อสู่ระบบข้อมูลกลางอย่างระบบคลาวด์ (Cloud System) ได้ โดยจะระบุเวลาที่พนักงานเข้ามาทำงานและออกจากงานในแต่ละวัน ดูสถิติ ขาด ลา มาสาย ระบบนี้มีบทบาทสำคัญในการบริหารจัดการเวลาและการทำงานของพนักงาน ช่วยให้ฝ่ายทรัพยากรบุคคล (HR) และฝ่ายบริหารสามารถติดตามการทำงานของพนักงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงใช้ข้อมูลที่บันทึกเพื่อคำนวณเงินเดือน สวัสดิการ ค่าล่วงเวลา และการจัดทำรายงานการเข้างานได้อย่างแม่นยำ ตอบโจทย์การทำงานในธุรกิจยุคใหม่ได้อย่างสมบูรณ์แบบ
มนุษย์เงินเดือนบางคนอาจจะไม่รู้ด้วยซ้ำว่า ตัวเองมีสิทธิที่จะเรียกร้อง ค่าชดเชยจากนายจ้าง อันนี้เป็นสิทธิ์ของเรานะ พี่ทุยบอกเลยว่า เงินค่าชดเชย เป็นสิ่งที่นายจ้าง ต้องจ่าย ให้กับพนักงานหรือลูกจ้าง เพื่อช่วยเหลือในกรณีให้ออกจากงาน ซึ่งไม่ได้มาจากทำความผิดของพนักงานหรือลูกจ้าง แต่อาจจะด้วยเหตุผลบางอย่างที่จำเป็นต้องลดจำนวนพนักงานลง
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์