• หน้าแรก

  • News

  • HR Articles

  • Human Resource

  • 5 เรื่องควรรู้ วิกฤติโควิด-19 สิทธินายจ้าง-ลูกจ้าง กรณีเลิกจ้างและค่าชดเชย

5 เรื่องควรรู้ วิกฤติโควิด-19 สิทธินายจ้าง-ลูกจ้าง กรณีเลิกจ้างและค่าชดเชย

  • หน้าแรก

  • News

  • HR Articles

  • Human Resource

  • 5 เรื่องควรรู้ วิกฤติโควิด-19 สิทธินายจ้าง-ลูกจ้าง กรณีเลิกจ้างและค่าชดเชย

5 เรื่องควรรู้ วิกฤติโควิด-19 สิทธินายจ้าง-ลูกจ้าง กรณีเลิกจ้างและค่าชดเชย

5 เรื่องควรรู้ วิกฤติโควิด-19 สิทธินายจ้าง-ลูกจ้าง กรณีเลิกจ้างและค่าชดเชย



จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ และส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ หนักสุดก็ภาคธุรกิจไม่ว่าขนาดเล็กหรือใหญ่ เหล่านายจ้างที่ได้รับผลกระทบ และที่แย่สุดคือภาคแรงงาน-ลูกจ้าง ทั้งในระบบและนอกระบบ

เมื่อภาครัฐมีมาตรการต่างๆ ออกมาช่วยเหลือเยียวยา ผู้ได้รับผลกระทบเองก็ควรเช็กสิทธิประโยชน์ที่ตนพึงได้ด้วยเช่นกัน ดังนั้นมาดูกันว่าเรื่องอะไรบ้างที่คุณควรรู้ ควรทำ และมีสิทธิ เมื่อได้รับผลกระทบช่วงโควิด-19

1. ค่าชดเชย เมื่อเลิกจ้าง
2. 8 มาตรการเยียวยา แรงงานลูกจ้าง อาชีพอิสระ ที่ไม่อยู่ในประกันสังคม
3. 6 มาตรการสรรพากร บรรเทาผลกระทบ COVID-19
4. ผู้ประกันตนมาตรา 40 คุ้มครองอะไรบ้าง?
5. ลดหย่อนจำนวนเงินและขยายเวลาส่งเงินสมทบ นายจ้างและผู้ประกันตนของประกันสังคม มาตรา 33 และ 39



1. ค่าชดเชย เมื่อเลิกจ้าง

ค่าชดเชย (Severance Pay) หมายถึง เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง นอกเหนือไปจากเงินประเภทอื่น ซึ่งนายจ้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้าง (พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 5)

ค่าชดเชยเป็นเงินที่กฎหมายกำหนดให้นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง แม้ว่าสัญญาจ้างหรือข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างจะไม่ได้กำหนดไว้ก็ตาม ในกรณีที่นายจ้างนำเอาหลักเกณฑ์การจ่ายค่าชดเชยมากำหนดไว้ในสัญญาจ้างหรือข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง นายจ้างจะกำหนดให้ลูกจ้างได้รับค่าชดเชยต่ำกว่าที่กฎหมายกำหนดไม่ได้ ข้อตกลงเช่นนี้จะตกเป็นโมฆะ (คำพิพากษาฎีกาที่ 2923/2524)

อย่างไรก็ดี ถ้านายจ้างตกลงจ่ายเงินประเภทอื่นนอกเหนือไปจากค่าชดเชยตามกฎหมาย นายจ้างจะกำหนดวิธีการจ่ายอย่างไรก็ได้ตามที่เห็นสมควร เช่น นายจ้างอาจมีระเบียบการจ่ายเงินบำเหน็จว่า ถ้าลูกจ้างได้รับค่าชดเชยเท่ากับหรือสูงกว่าเงินบำเหน็จ นายจ้างจะจ่ายเงินบำเหน็จเท่ากับจำนวนค่าชดเชย แต่ถ้าได้รับค่าชดเชยน้อยกว่าเงินบำเหน็จ นายจ้างก็จะจ่ายเงินบำเหน็จโดยถือว่าจ่ายค่าชดเชยไปด้วยแล้ว ในกรณีนี้เมื่อลูกจ้างถูกเลิกจ้างและนายจ้างจ่ายเงินบำเหน็จตามระเบียบ แม้จะเรียกว่าเงินบำเหน็จ ไม่ได้เรียกว่าค่าชดเชย ก็ถือได้ว่านายจ้างได้จ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายแล้ว

หลักเกณฑ์การจ่ายค่าชดเชย
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง มาตรา 118 ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้าง ดังต่อไปนี้

1) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 120 วัน แต่ไม่ครบ 1 ปี
ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 30 วัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงาน 30 วันสุดท้าย สำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

2) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 1 ปี แต่ไม่ครบ 3 ปี
ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 90 วัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงาน 90 วันสุดท้าย สำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

3) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 3 ปี แต่ไม่ครบ 6 ปี
ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180 วัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงาน 180 วันสุดท้าย สำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

4) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 6 ปี แต่ไม่ครบ 10 ปี
ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้าง อัตราสุดท้าย 240 วัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงาน 240 วันสุดท้าย สำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

5) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 10 ปี แต่ไม่ครบ 20 ปี
ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้าง อัตราสุดท้าย 300 วัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงาน 300 วันสุดท้าย สำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

6) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 20 ปีขึ้นไป ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 400
วัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของกการทำงาน 400 วันสุดท้าย สำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย




2. 8 มาตรการเยียวยา แรงงานลูกจ้าง อาชีพอิสระ ที่ไม่อยู่ในประกันสังคม
1) รับเงินชดเชยรายได้
2) สินเชื่อฉุกเฉิน
3) สินเชื่อพิเศษ
4) โรงรับจำนำดอกเบี้ยต่ำ
5) เลื่อนยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
6) เพิ่มวงเงินลดหย่อนค่าเบี้ยประกันสุขภาพ
7) ยกเว้นภาษีเงินได้
8) ฝึกอบรม



3. 6 มาตรการสรรพากร บรรเทาผลกระทบ COVID-19
1. ลดอัตราภาษีหัก ณ ที่จ่าย
“จาก 3% เหลือ 1.5%”

1.1 บริษัท หรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
• เงินได้ที่ได้รับสิทธิ
ค่าจ้างทำของ ค่าบริการ ค่านายหน้า ค่าวิชาชีพอิสระ

1.2 บุคคลธรรมดา
• เงินได้ที่ได้รับสิทธิ
ค่าจ้างทำของ ค่าบริการ ค่าวิชาชีพอิสระ

*** 1.5% ตั้งแต่ เม.ษ. 63 – ก.ย. 63
*** 2% ตั้งแต่ ต.ค. 63 – ธ.ค. 64

2. ลดภาระดอกเบี้ยจ่าย SMEs
“ที่เข้าร่วมมาตรการ เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำของรัฐบาล หักรายจ่ายดอกเบี้ยเพิ่ม 1.5 เท่า”

– มีรายได้ครบ 12 เดือน (รายได้ไม่เกิน 500 ล้าน / ปี)
– จำนวนลูกจ้างไม่เกิน 200 คน
– จัดทำบัญชีชุดเดียว
– มีรอบบัญชีสิ้นสุดก่อน หรือในวันที่ 30 ก.ย. 62

***จ่ายดอกเบี้ยช่วง เม.ย. 63 – ธ.ค. 64

3. สนับสนุน SMEs จ้างงานต่อเนื่อง
“ค่าจ้างหักรายจ่าย ได้ถึง 3 เท่า”

– มีรายได้ครบ 12 เดือน ไม่เกิน 500 ล้านบาท
– จำนวนลูกจ้างไม่เกิน 200 คน
– มีรอบบัญชีสิ้นสุดก่อน หรือในวันที่ 30 ก.ย. 62
– คงการจ้างงานของลูกจ้างที่ประกันตนเองและมีค่าจ้างไม่เกิน 15,000 บาท ต่อคน ต่อเดือน
– จำนวนลูกจ้างต้องไม่น้อยกว่าจำนวนลูกจ้าง ณ วันสุดท้ายของเดือน ธ.ค. 62

***รายจ่ายค่าจ้าง ตั้งแต่ เม.ย. 63 – ก.ค. 63

4. เพิ่มสภาพคล่องผู้ส่งออกที่ดี
“คืน VAT เร็ว ภายใน 15 วัน”

4.1 บริษัท หรือ บริษัทมหาชน
– ยื่นออนไลน์ ภายใน 15 วัน จากปกติ 30 วัน
– ยื่นที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา ภายใน 45 วัน จากปกติ 60 วัน

5. เพิ่มความเชื่อมั่น
“นักลงทุนและตลาดทุน ลงทุน SSF ลดหย่อยภาษีเพิ่ม”

– ต้องเป็นกองทุน SSF ที่ลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ ไม่น้อยกว่า 65% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ
– ต้องถือหน่วยลงทุนดังกล่าวไม่น้อยกว่า 10 ปี
– ลดหย่อนตามที่จ่ายจริง ไม่เกิน 2 แสนบาท แยกจากวงเงิน SSF
– ไม่อยู่ใต้เพดานเงินสะสมเพื่อการเกษียณอายุ 5 แสนบาท

***ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. 63 – 30 มิ.ย. 63

6. สนับสนุนการแก้ไขปัญหา COVID-19
“บริจาคเงิน ได้ลดหย่อน หักรายจ่าย และ ยกเว้น VAT”



4. ผู้ประกันตนมาตรา 40 คุ้มครองอะไรบ้าง?
ประกันสังคมมาตรา 40 เป็นประกันสังคมที่ครอบคลุมแรงงานนอกระบบ ผู้ประกอบอาชีพอิสระ เกษตรกร พ่อค้าแม่ค้า พนักงานอิสระ

คุณสมบัติของผู้ประกันสังคม มาตรา 40
• อายุ 15 – 60 ปี ณ วันสมัคร
• ไม่เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 และไม่เคยสมัครเป็นผู้ประกันตนในมาตรา 39
• เป็นผู้ที่ประกอบอาชีพอิสระ หรือแรงงานนอกระบบ
• ไม่เป็นข้าราชการ หรือคนที่ถูกยกเว้นตามกฎหมายประกันสังคม
• ผู้พิการที่สามารถรับรู้สิทธิประกันสังคม

3 ทางเลือกของผู้ประกันตนมาตรา 40
• ทางเลือกที่ 1 จ่ายเงินสมทบ 70 บาท/เดือน
• ทางเลือกที่ 2 จ่ายเงินสมทบ 100 บาท/เดือน
• ทางเลือกที่ 3 จ่ายเงินสมทบ 300 บาท/เดือน

ทางเลือกที่ 1 จ่ายเงินสมทบ 70 บาท/เดือน
สิทธิประโยชน์พื้นฐานคุ้มครอง 3 กรณี คือ

1) กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย
2) กรณีทุพพลภาพ
3) กรณีตาย

ทางเลือกที่ 2 จ่ายเงินสมทบ 100 บาท/เดือน
สิทธิประโยชน์พื้นฐานคุ้มครอง 4 กรณีคือ

1) กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย
2) กรณีทุพพลภาพ
3) กรณีตาย
4) กรณีชราภาพ

ทางเลือกที่ 3 จ่ายเงินสมทบ 300 บาท/เดือน
สิทธิประโยชน์พื้นฐานคุ้มครอง 5 กรณีคือ

1) กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย
2) กรณีทุพพลภาพ
3) กรณีตาย
4) กรณีชราภาพ
5) กรณีสงเคราะห์บุตร



5. ลดหย่อนจำนวนเงินและขยายเวลาส่งเงินสมทบ นายจ้างและผู้ประกันตนของประกันสังคม มาตรา 33 และ 39
ครม.รับทราบประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง การขยายกำหนดเวลาการยื่นแบบรายการแสดงการส่งเงินสมทบและการนำส่งเงินสมทบของนายจ้างและผู้ประกันตน และ การลดหย่อนการออกเงินสมทบของนายจ้างและผู้ประกันตน ของผู้ประกันตนมาตรา 33 และ 39 กรณีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

สำหรับรายละเอียดของประกาศมีดังนี้

เรื่อง ขยายกำหนดเวลาการยื่นแบบรายการแสดงการส่งเงินสมทบและการนำส่งเงินสมทบของนายจ้าง และผู้ประกันตน
สาระสำคัญ

ร่างประกาศกระทรวงแรงงาน มีสาระสำคัญ คือ

1) ให้นายจ้างที่ขึ้นทะเบียนนายจ้างและขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนตามมาตรา 33 แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ได้รับการขยายกำหนดเวลายื่นแบบรายการแสดงการส่งเงินสมทบและการนำส่งเงินสมทบตามมาตรา 47 แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
2) ให้ผู้ประกันตนตามมาตรา 39 แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ได้รับการขยายกำหนดเวลานำส่งเงินสมทบเข้ากองทุนมาตรา 39 วรรคสาม

เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขให้ลดหย่อนการออกเงินสมทบของนายจ้าง และผู้ประกันตน กรณีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019) (COVID-19))
สาระสำคัญ

ร่างประกาศกระทรวงแรงงาน มีสาระสำคัญ คือ

1) ให้นายจ้างและผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ได้รับการลดหย่อนการออกเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมประจำงวดเดือนมีนาคม พ.ศ. 2563 ถึงงวดเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2563 โดยให้นายจ้างส่งเงินสมทบในอัตราร้อยละ 4 เพื่อไม่ให้ผู้ประกันตนเสียประโยชน์ และผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ส่งเงินสมทบในอัตราร้อยละ 1 ของค่าจ้างของผู้ประกันตนเพื่อให้ผู้ประกันตนได้รับประโยชน์โดยตรงทันที

2) ให้ผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ได้รับการลดหย่อนการออกเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมประจำงวดเดือนมีนาคม พ.ศ. 2563 ถึงงวดเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2563 โดยให้ส่งเงินสมทบในอัตราเดือนละ 211 บาท

3) ในกรณีที่มีการส่งเงินเกินกว่าจำนวนเงินที่กำหนดไว้ตามประกาศนี้ ให้นายจ้างหรือผู้ประกันตนตามข้อ 1 หรือข้อ 2 แล้วแต่กรณี ยื่นคำร้องขอรับเงินในส่วนที่เกินคืนได้ ณ สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ สำนักงานประกันสังคมจังหวัด หรือสำนักงานประกันสังคมจังหวัดสาขา

แหล่งที่มา : www.dharmniti.co.th/5-story-employee-covid19/


ProsoftHRMI
โปรแกรมบริหารทรัพยากรมนุษย์
โปรแกรมเงินเดือน
 976
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

การทำงานโดยที่คนทำงานไม่มีความสุขนั้นส่งผลกระทบทั้งระบบ ไม่ว่าจะเป็นผลงานที่ไม่มีประสิทธิภาพ องค์กรไม่มีความก้าวหน้า ลองมาดูกันว่า อะไรเป็นปัจจัยที่ทำให้พนักงานไม่มีความสุขกับการทำงาน
1. สัญญาจ้างทำด้วยวาจาก็ได้ 2. นายจ้างไม่มีสิทธิเรียกรับหลักประกันการทำงาน เว้นทำงานเกี่ยวข้องกับเงิน หรือทรัพย์สินของนายจ้าง 3. เมื่อการประกันสิ้นสุดลง นายจ้างต้องคืนหลักประกันให้แก่ลูกจ้างภายใน 7 วัน 4. นายจ้างไม่มีสิทธิหักค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานวันหยุด เว้นแต่เป็นการหักตามที่กฎหมายกำหนด 5. ลูกจ้างลาออกไม่ต้องรอการอนุมัติก็มีผล 6. นายจ้างไล่ออกไม่ต้องเป็นหนังสือไล่ออกก็มีผล
การทำงาน เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของชีวิต ซึ่งรูปแบบของการจ้างงานไม่ได้มีเพียงงานประจำและรอเวลาเกษียณอายุเพียงเท่านั้น แต่ยังมีลักษณะการจ้างงานอีกหลายประเภท ที่สามารถตอบโจทย์การใช้ชีวิตที่แตกต่างกันออกไปได้ ในบทความนี้จะมาสรุปสั้น ๆ ให้เข้าใจได้ง่าย ๆ ว่าการจ้างงานมีกี่ประเภท และแต่ละประเภทมีข้อดีแตกต่างกันอย่างไร
การพาพนักงานไป Outing ถือเป็นหนึ่งในสวัสดิการหลัก ๆ ที่หลายองค์กรมี เพื่อดึงดูดพนักงานทั้งภายในและภายนอกให้อยากมาร่วมงานกันด้วย โดยวัตถุประสงค์หลักของการไป Outing ก็เพื่อเสริมสร้างความสามัคคี และเพื่อตอบแทนพนักงาน ให้ได้ผ่อนคลายจากการทำงานประจำวันอันตึงเครียดมายาวนาน โดยที่บริษัทจะดูแลเรื่องค่าใช้จ่ายไว้ทั้งหมด
ระบบลงเวลาเข้า-ออกของพนักงาน คือ ระบบที่ช่วยในการบันทึกเวลาการทำงานของพนักงาน ผ่านอุปกรณ์ดิจิทัลต่างๆ ตั้งแต่ เครื่องสแกนลายนิ้วมือ (Finger Scanner), สมาร์ทโฟน (Smart Phone), แท็บเล็ต (Tablet), ตลอดจนอุปกรณ์ต่างๆ ที่สามารถยืนยันตัวตนผู้ใช้งานได้อย่างชัดเจน ปลอดภัย และเชื่อมต่อสู่ระบบข้อมูลกลางอย่างระบบคลาวด์ (Cloud System) ได้ โดยจะระบุเวลาที่พนักงานเข้ามาทำงานและออกจากงานในแต่ละวัน ดูสถิติ ขาด ลา มาสาย ระบบนี้มีบทบาทสำคัญในการบริหารจัดการเวลาและการทำงานของพนักงาน ช่วยให้ฝ่ายทรัพยากรบุคคล (HR) และฝ่ายบริหารสามารถติดตามการทำงานของพนักงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงใช้ข้อมูลที่บันทึกเพื่อคำนวณเงินเดือน สวัสดิการ ค่าล่วงเวลา และการจัดทำรายงานการเข้างานได้อย่างแม่นยำ ตอบโจทย์การทำงานในธุรกิจยุคใหม่ได้อย่างสมบูรณ์แบบ
มนุษย์เงินเดือนบางคนอาจจะไม่รู้ด้วยซ้ำว่า ตัวเองมีสิทธิที่จะเรียกร้อง ค่าชดเชยจากนายจ้าง อันนี้เป็นสิทธิ์ของเรานะ พี่ทุยบอกเลยว่า เงินค่าชดเชย เป็นสิ่งที่นายจ้าง ต้องจ่าย ให้กับพนักงานหรือลูกจ้าง เพื่อช่วยเหลือในกรณีให้ออกจากงาน ซึ่งไม่ได้มาจากทำความผิดของพนักงานหรือลูกจ้าง แต่อาจจะด้วยเหตุผลบางอย่างที่จำเป็นต้องลดจำนวนพนักงานลง
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์