6 มาตรการภาษี “สรรพากร” เยียวยาสถานกานณ์ “โควิด-19”

6 มาตรการภาษี “สรรพากร” เยียวยาสถานกานณ์ “โควิด-19”

6 มาตรการภาษี “สรรพากร” เยียวยาสถานการณ์ “โควิด-19”



นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยว่า เพื่อเยียวยาผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 กรมสรรพากรได้มี 6 มาตรการออกมาดูแล ซึ่งคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้เห็นชอบไปเมื่อวานนี้ (10 มี.ค.) โดยมาตรการแรก คือ การลดอัตราภาษีหัก ณ ที่จ่าย จาก 3% เหลือ 1.5% เพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้กับผู้ประกอบการและบุคคลธรรมดา ในช่วงตั้งแต่เดือน เม.ย.-ก.ย.นี้ และหลังจากนั้นผู้ประกอบการที่ใช้ระบบภาษีหัก ณ ที่จ่ายทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Withholding Tax) จะจ่ายภาษีหัก ณ ที่จ่ายในอัตรา 2% ตั้งแต่เดือน ต.ค.2563-ธ.ค.2564



มาตรการที่สอง เป็นการลดภาระดอกเบี้ยจ่ายให้แก่เอสเอ็มอีที่เข้าร่วมมาตรการเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ (ซอฟต์โลน) ของรัฐบาล โดยสามารถหักรายจ่ายดอกเบี้ยเพิ่มได้ 1.5 เท่า สำหรับการจ่ายดอกเบี้ยในช่วงตั้งแต่เดือน เม.ย.2563-ธ.ค.2563 ทั้งนี้ ผู้ประกอบการต้องมีการจัดทำบัญชีชุดเดียวด้วย



มาตรการที่สาม เป็นการสนับสนุนให้เอสเอ็มอีจ้างงานต่อเนื่อง โดยสามารถนำรายจ่ายค่าจ้างพนักงานมาหักรายจ่ายได้ 3 เท่า สำหรับรายจ่ายค่าจ้างตั้งแต่เดือน เม.ย.-ก.ค.2563



มาตรการที่สี่ เพิ่มสภาพคล่องผู้ส่งออกที่ดี โดยคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ภายใน 15 วัน ในกรณียื่นแบบภาษีทางอินเตอร์เน็ต จากปกติใช้เวลา 30 วัน และหากยื่นเอกสาร จะคืนภายใน 45 วัน จากปกติใช้เวลา 60 วัน



มาตรการที่ห้า มาตรการเพิ่มความเชื่อมั่นนักลงทุนและตลาดทุน ที่ลงทุนในกองทุนเพื่อการออม (SSF) โดยให้ลดหย่อนภาษีเพิ่ม 2 แสนบาท แยกจากวงเงินของกองทุน SSF ปกติ และไม่อยู่ภายใต้เพดานเงินสะสมเพื่อการเกษียณอายุ ทั้งนี้ การลดหย่อนภาษีส่วนที่เพิ่มเติมนี้ ต้องเป็นการลงทุนในกองทุน SSF ที่ลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยไม่น้อยกว่า 65% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ โดยถือครองหน่วยลงทุนไม่น้อยกว่า 10 ปี ลงทุนในช่วง 1 เม.ย.-30 มิ.ย.2563 นี้



และมาตรการสุดท้าย สนับสนุนการแก้ไขปัญหาโควิด-19 โดยให้บุคคลธรรมดาที่บริจาคเงินช่วยโควิด-19 ผ่านทาง e-Donation สามารถหักลดหย่อนได้ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลักหักค่าใช้จ่าย ขณะที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่บริจาคเงินหรือทรัพย์สินช่วยโควิด-19 สามารถหักรายจ่ายได้ไม่เกิน 2% ของกำไรสุทธิ และ ผู้ประกอบการ VAT ที่บริจาคทรัพย์สินช่วยโควิด-19 จะได้รับยกเว้น VAT ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 5 มี.ค.2563-5 มี.ค.2564



แหล่งที่มา : www.prachachat.net/finance/news-430578


ProsoftHRMI
โปรแกรมบริหารทรัพยากรมนุษย์
โปรแกรมเงินเดือน
 1711
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

การพาพนักงานไป Outing ถือเป็นหนึ่งในสวัสดิการหลัก ๆ ที่หลายองค์กรมี เพื่อดึงดูดพนักงานทั้งภายในและภายนอกให้อยากมาร่วมงานกันด้วย โดยวัตถุประสงค์หลักของการไป Outing ก็เพื่อเสริมสร้างความสามัคคี และเพื่อตอบแทนพนักงาน ให้ได้ผ่อนคลายจากการทำงานประจำวันอันตึงเครียดมายาวนาน โดยที่บริษัทจะดูแลเรื่องค่าใช้จ่ายไว้ทั้งหมด
ระบบลงเวลาเข้า-ออกของพนักงาน คือ ระบบที่ช่วยในการบันทึกเวลาการทำงานของพนักงาน ผ่านอุปกรณ์ดิจิทัลต่างๆ ตั้งแต่ เครื่องสแกนลายนิ้วมือ (Finger Scanner), สมาร์ทโฟน (Smart Phone), แท็บเล็ต (Tablet), ตลอดจนอุปกรณ์ต่างๆ ที่สามารถยืนยันตัวตนผู้ใช้งานได้อย่างชัดเจน ปลอดภัย และเชื่อมต่อสู่ระบบข้อมูลกลางอย่างระบบคลาวด์ (Cloud System) ได้ โดยจะระบุเวลาที่พนักงานเข้ามาทำงานและออกจากงานในแต่ละวัน ดูสถิติ ขาด ลา มาสาย ระบบนี้มีบทบาทสำคัญในการบริหารจัดการเวลาและการทำงานของพนักงาน ช่วยให้ฝ่ายทรัพยากรบุคคล (HR) และฝ่ายบริหารสามารถติดตามการทำงานของพนักงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงใช้ข้อมูลที่บันทึกเพื่อคำนวณเงินเดือน สวัสดิการ ค่าล่วงเวลา และการจัดทำรายงานการเข้างานได้อย่างแม่นยำ ตอบโจทย์การทำงานในธุรกิจยุคใหม่ได้อย่างสมบูรณ์แบบ
มนุษย์เงินเดือนบางคนอาจจะไม่รู้ด้วยซ้ำว่า ตัวเองมีสิทธิที่จะเรียกร้อง ค่าชดเชยจากนายจ้าง อันนี้เป็นสิทธิ์ของเรานะ พี่ทุยบอกเลยว่า เงินค่าชดเชย เป็นสิ่งที่นายจ้าง ต้องจ่าย ให้กับพนักงานหรือลูกจ้าง เพื่อช่วยเหลือในกรณีให้ออกจากงาน ซึ่งไม่ได้มาจากทำความผิดของพนักงานหรือลูกจ้าง แต่อาจจะด้วยเหตุผลบางอย่างที่จำเป็นต้องลดจำนวนพนักงานลง
ในแต่ละเดือนที่เราจ่ายเงินสมทบประกันสังคมนั้น ก็จะมีเงินส่วนหนึ่งที่จัดเก็บเข้าเป็นเงินสะสมประกันสังคม ซึ่งเงินส่วนนี้เองเราสามารถเช็คเงินสะสมประกันสังคมได้เองผ่านช่องทางออนไลน์ด้วย มาดูกันครับว่าทำยังไง แล้วยอดเงินประกันสังคมนี้ทำอะไรได้บ้าง

Employee Referral Program หรือ โครงการแนะนำพนักงาน คือระบบที่องค์กรใช้เพื่อกระตุ้นให้พนักงานที่ทำงานอยู่แนะนำบุคคลภายนอกที่มีคุณสมบัติที่เหมาะสมเข้ามาทำงานในตำแหน่งที่เปิดรับ โดยทั่วไปโครงการนี้มักมีการมอบรางวัลหรือโบนัสให้กับพนักงานที่แนะนำคนที่ถูกคัดเลือกและรับเข้าทำงานในองค์กรสำเร็จ โครงการแนะนำพนักงานนี้มีข้อดีหลายประการ เช่น การลดต้นทุนในการจ้างงาน เพิ่มคุณภาพของผู้สมัคร และสร้างความผูกพันให้กับพนักงานในองค์กร
การจัดกะพนักงาน คือ กระบวนการวางแผนและจัดระเบียบเวลาทำงานของพนักงานให้เหมาะสมกับความต้องการขององค์กรในแต่ละช่วงเวลา โดยแบ่งเวลาทำงานออกเป็นหลายช่วง (หรือหลายกะ) เพื่อให้มีพนักงานเพียงพอในการปฏิบัติงานตลอดเวลา เช่น ในกรณีขององค์กรที่เปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมงหรือมีความต้องการกำลังคนที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละช่วงเวลา
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์