วิธีขอรับเงินประกันสังคม กับสถานการณ์วิกฤติ "โควิด-19"

วิธีขอรับเงินประกันสังคม กับสถานการณ์วิกฤติ "โควิด-19"

วิธีขอรับเงินประกันสังคม กับสถานการณ์วิกฤติ "โควิด-19"



ปัจจุบันไทยเราใช้กฎหมายประกันสังคม ที่เรียกว่า "พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533" และผ่านการแก้ไขมาให้สอดคล้องกับยุคสมัย โดยฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 4 ปี พ.ศ. 2558 ที่รวมการจ่ายค่าชดเชยรายได้กรณีว่างงานจากเหตุสุดวิสัย อาทิ ภัยพิบัติธรรมชาติและโรคระบาด ซึ่งปีนี้ก็รวมโรคโควิด-19 ด้วย
ช่วงเวลานี้โควิด-19 ก็ส่งผลให้สถานประกอบการปิดหลายแห่ง แม้กระทั่งประกาศหยุดกิจการชั่วคราวก็ส่งผลกระทบแก่ลูกจ้างด้วย ซึ่งในกรณีที่บริษัทได้ส่งเงินสมทบแก่ประกันสังคมให้ลูกจ้าง ก็จะถือว่าลูกจ้างเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 ที่มีสิทธิ์ได้รับประโยชน์ทดแทน

การจ่ายเงินจะแตกต่างจากการว่างงานในสภาวะปกติ เพื่อให้คุณไม่พลาดสิทธิประโยชน์ของคุณไทยรัฐออนไลน์จึงนำวิธีการลงทะเบียน e-form มาอธิบายให้ฟังอย่างละเอียด 3 ขั้นตอน ดังนี้

ขั้นตอนที่ 1
เข้าเว็บไซต์ประกันสังคม
www.sso.go.th

ให้คุณเข้าไปที่เว็บไซต์ประกันสังคม www.sso.go.th เพื่อกรอกคำร้องขอรับผลประโยชน์ทดแทนผ่านระบบ e-form for SSO benefits ซึ่งกำหนดเฉพาะผู้ประกันตนมาตรา 33 ที่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน (อ่านเพิ่มเติม : ประกันสังคมจ่ายเท่าไร หากต้องว่างงาน-ตกงานเพราะ COVID-19)
ยื่นกรอกแบบฟอร์มกรณีว่างงาน (สำหรับผู้ประกันตน)



เข้าไปกรอกแบบฟอร์ม โดยคลิก แบบฟอร์มกรณีว่างงาน (สำหรับผู้ประกันตน) ซึ่งต้องใส่ข้อมูลชื่อสกุล และเลขบัตรประจำตัวประชาชน รวมถึงสถานประกอบกาสุดท้ายที่ทำงาน และระบุวันที่ถูกจ้างออกหรือลาออก และจะต้องรอระยะเวลาตรวจสอบจากทางประกันสังคมด้วย ผู้ที่ถูกกักตัวด้วยคำสั่งจากหน่วยงานหรือนายจ้าง ประกันสังคมก็จะต้องรอได้รับเอกสารจากนายจ้างเพิ่มเติมด้วย โดยกรอกสาเหตุการออกจากงาน ดังนี้
• ลาออก หรือ สิ้นสุดสัญญาจ้าง
• ถูกเลิกจ้าง
• รัฐบาลสั่งปิดกิจการชั่วคราว
• นายจ้างสั่งปิดกิจการชั่วคราว
• กักตัวเองเนื่องจากเป็นกลุ่มเสี่ยงติดโรคระบาด

ขั้นตอนที่ 2
ยื่นเอกสารที่สำนักงานประกันสังคม



ประกันสังคมจะเรียกขอเอกสารเพิ่มเติม ซึ่งคุณสามารถยื่นกับสำนักงานเขตพื้นที่จังหวัดต่าง ๆ ที่ระบุ ส่วนที่เป็นสำนักงานเขตย่อย ๆ นั้นต้องโทรสอบถามเพื่อตรวจสอบการเปิดให้บริการอีกครั้ง โดยเอกสารที่ต้องยื่นเพิ่ม ได้แก่
• สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
• แบบฟอร์ม สปส. 2-01/7
• สำเนาสมุดบัญชีที่ไว้รับเงินชดเชย (หน้าแรก เห็นเลขบัญชีและชื่อผู้ประกันตน)

ขั้นตอนที่ 3
ลงทะเบียนว่างงานที่เว็บไซต์กรมการจัดหางาน



ก่อนจะรับเงินได้จะต้องเข้าไปลงทะเบียนว่างงานที่เว็บไซต์กรมการจัดหางานด้วย โดยจะต้อง Log In กรอกข้อมูลลงทะเบียนว่างงาน และกลับมารายงานตัวว่าได้งานแล้ว หรือว่ายังไม่ได้งาน ซึ่งบนหน้าเว็บไซต์จะกำหนดวันที่ระบุให้คุณกลับเข้ามายืนยันได้ในวันที่เท่าไร (อัปเดต 25 มี.ค.63)
ทั้งหมดนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงขั้นตอนให้กระชับขึ้นได้ โดยขึ้นอยู่กับการพิจารณาของสำนักงานประกันสังคมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งหากคุณเป็นหนึ่งในผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ก็ควรติดตามข่าวสารจากแหล่งข่าวที่ถูกต้องอยู่เสมอ
ส่วนผู้ประกันตนที่อยู่ในมาตรา 39 และ 40 แม้ว่าจะไม่ได้รับเงินชดเชยว่างงาน แต่ก็ยังคงได้รับสิทธิรักษาพยาบาลอยู่ ส่วนเงินช่วยเหลือนั้นต้องรอดูนโยบายรัฐต่อไป



รวมถึง ผู้ที่ไม่ได้อยู่ในระบบประกันสังคม ก็ยังมีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือ 5,000 บาท เป็นระยะเวลา 3 เดือน โดยเปิดให้ลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์เราไม่ทิ้งกัน

แหล่งที่มา :
1. เว็บไซต์ไทยรัฐ https://www.thairath.co.th/lifestyle/life/1803496
2. เว็บไซต์ประกันสังคม https://www.sso.go.th
3. เว็บไซต์กรมการจัดหางาน https://empui.doe.go.th
4. สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร https://library2.parliament.go.th


ProsoftHRMI
โปรแกรมบริหารทรัพยากรมนุษย์
โปรแกรมเงินเดือน



 1217
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

การพาพนักงานไป Outing ถือเป็นหนึ่งในสวัสดิการหลัก ๆ ที่หลายองค์กรมี เพื่อดึงดูดพนักงานทั้งภายในและภายนอกให้อยากมาร่วมงานกันด้วย โดยวัตถุประสงค์หลักของการไป Outing ก็เพื่อเสริมสร้างความสามัคคี และเพื่อตอบแทนพนักงาน ให้ได้ผ่อนคลายจากการทำงานประจำวันอันตึงเครียดมายาวนาน โดยที่บริษัทจะดูแลเรื่องค่าใช้จ่ายไว้ทั้งหมด
ระบบลงเวลาเข้า-ออกของพนักงาน คือ ระบบที่ช่วยในการบันทึกเวลาการทำงานของพนักงาน ผ่านอุปกรณ์ดิจิทัลต่างๆ ตั้งแต่ เครื่องสแกนลายนิ้วมือ (Finger Scanner), สมาร์ทโฟน (Smart Phone), แท็บเล็ต (Tablet), ตลอดจนอุปกรณ์ต่างๆ ที่สามารถยืนยันตัวตนผู้ใช้งานได้อย่างชัดเจน ปลอดภัย และเชื่อมต่อสู่ระบบข้อมูลกลางอย่างระบบคลาวด์ (Cloud System) ได้ โดยจะระบุเวลาที่พนักงานเข้ามาทำงานและออกจากงานในแต่ละวัน ดูสถิติ ขาด ลา มาสาย ระบบนี้มีบทบาทสำคัญในการบริหารจัดการเวลาและการทำงานของพนักงาน ช่วยให้ฝ่ายทรัพยากรบุคคล (HR) และฝ่ายบริหารสามารถติดตามการทำงานของพนักงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงใช้ข้อมูลที่บันทึกเพื่อคำนวณเงินเดือน สวัสดิการ ค่าล่วงเวลา และการจัดทำรายงานการเข้างานได้อย่างแม่นยำ ตอบโจทย์การทำงานในธุรกิจยุคใหม่ได้อย่างสมบูรณ์แบบ
มนุษย์เงินเดือนบางคนอาจจะไม่รู้ด้วยซ้ำว่า ตัวเองมีสิทธิที่จะเรียกร้อง ค่าชดเชยจากนายจ้าง อันนี้เป็นสิทธิ์ของเรานะ พี่ทุยบอกเลยว่า เงินค่าชดเชย เป็นสิ่งที่นายจ้าง ต้องจ่าย ให้กับพนักงานหรือลูกจ้าง เพื่อช่วยเหลือในกรณีให้ออกจากงาน ซึ่งไม่ได้มาจากทำความผิดของพนักงานหรือลูกจ้าง แต่อาจจะด้วยเหตุผลบางอย่างที่จำเป็นต้องลดจำนวนพนักงานลง
ในแต่ละเดือนที่เราจ่ายเงินสมทบประกันสังคมนั้น ก็จะมีเงินส่วนหนึ่งที่จัดเก็บเข้าเป็นเงินสะสมประกันสังคม ซึ่งเงินส่วนนี้เองเราสามารถเช็คเงินสะสมประกันสังคมได้เองผ่านช่องทางออนไลน์ด้วย มาดูกันครับว่าทำยังไง แล้วยอดเงินประกันสังคมนี้ทำอะไรได้บ้าง

Employee Referral Program หรือ โครงการแนะนำพนักงาน คือระบบที่องค์กรใช้เพื่อกระตุ้นให้พนักงานที่ทำงานอยู่แนะนำบุคคลภายนอกที่มีคุณสมบัติที่เหมาะสมเข้ามาทำงานในตำแหน่งที่เปิดรับ โดยทั่วไปโครงการนี้มักมีการมอบรางวัลหรือโบนัสให้กับพนักงานที่แนะนำคนที่ถูกคัดเลือกและรับเข้าทำงานในองค์กรสำเร็จ โครงการแนะนำพนักงานนี้มีข้อดีหลายประการ เช่น การลดต้นทุนในการจ้างงาน เพิ่มคุณภาพของผู้สมัคร และสร้างความผูกพันให้กับพนักงานในองค์กร
การจัดกะพนักงาน คือ กระบวนการวางแผนและจัดระเบียบเวลาทำงานของพนักงานให้เหมาะสมกับความต้องการขององค์กรในแต่ละช่วงเวลา โดยแบ่งเวลาทำงานออกเป็นหลายช่วง (หรือหลายกะ) เพื่อให้มีพนักงานเพียงพอในการปฏิบัติงานตลอดเวลา เช่น ในกรณีขององค์กรที่เปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมงหรือมีความต้องการกำลังคนที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละช่วงเวลา
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์