จิ๋วแต่แจ๋ว องค์กร “เล็ก” แต่ลูกน้อง “รัก”

จิ๋วแต่แจ๋ว องค์กร “เล็ก” แต่ลูกน้อง “รัก”



บริษัทคุณเป็นบริษัทเล็กๆ ที่ยังไม่ค่อยมีใครรู้จักหรือเปล่า? การรับสมัครงานให้ได้คนดีมีฝีมือไม่ใช่เรื่องง่ายเลยใช่ไหม? และเมื่อได้พวกเขามาแล้ว คุณจะรักษาพวกเขาไว้ได้อย่างไร? 

ลองปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ในการรับสมัครงานและ การดูแลรักษาพนักงานดูไหม มาเปลี่ยนคุณให้เป็น “ผู้เลือก” แทนที่จะเป็น “ผู้ถูกเลือก” กันดีกว่า คุณสามารถทำให้บริษัทเล็กๆ ของคุณเป็นที่ปรารถนาของคนทำงานได้ ด้วยวิธีต่อไปนี้

• สร้างวัฒนธรรมองค์กรสุดเจ๋ง

พนักงานไม่ได้ต้องการบริษัทที่เป็นแค่สถานที่ทำงาน และที่จ่ายเงินเดือนให้พนักงานเท่านั้น แต่พวกเขาต้องการบริษัทที่มีสภาพแวดล้อม และวัฒนธรรมที่เอื้อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ พนักงานทำงานอย่างมีความสุข และมีโอกาสเติบโตในหน้าที่การงาน ซึ่งคุณต้องนำเสนอจุดเด่นขององค์กรให้พวกเขาเห็นว่าคุณทำงานกันอย่างไร รวมถึงคุณดูแลพวกเขาดีเพียงใด

• เปลี่ยนวิธีการสัมภาษณ์

ตอนที่คุณสมัครงาน คุณเคยปฏิเสธงานเพราะไม่ประทับใจในการสัมภาษณ์หรือไม่ ผู้สมัครของคุณก็อาจเป็นอย่างนั้นเหมือนกัน ลองย้อนกลับมาคิดดูว่า คุณเสียผู้สมัครไปกี่คนจากการสัมภาษณ์ ลองสอบถาม feedback จากพวกเขาดู หรือไม่ก็ให้เพื่อนของคุณลองมาสัมภาษณ์กับบริษัทของคุณ และสอบถามเขาว่า เขารู้สึกอย่างไรบ้างกับการสัมภาษณ์ คุณจะได้รีบนำมาปรับปรุงแก้ไข ก่อนที่จะเสียผู้สมัครคนอื่นๆ ไปอีก

• อยู่กับปัจจุบันและอนาคต

เป็นไปไม่ได้เลยที่บริษัทจะไม่มีคนลาออก บริษัทส่วนใหญ่กำหนดให้พนักงานที่ลาออกอยู่ทำงานให้ครบตามกำหนดก่อนจะย้ายที่ใหม่ แต่จะมีประโยชน์อะไรถ้าพวกเขาไม่ได้สนใจทำงานให้คุณแล้ว ลองลดช่วงเวลาที่พนักงานเก่าจะต้องอยู่ทำงานต่อให้สั้นลง เพื่อที่คุณจะได้รับพนักงานใหม่ไฟแรงมาให้เร็วที่สุด ให้เวลากับการฝึกฝนคนใหม่ และยินดีกับความก้าวหน้าของพนักงานที่ได้ย้ายไปอยู่ที่ใหม่

• ให้ความสำคัญกับค่าตอบแทน

ถึงแม้ว่าในปัจจุบันค่าตอบแทน จะไม่ใช่คำตอบสุดท้ายของคนทำงาน เพราะเดี๋ยวนี้คนทำงานหันมาให้ความสำคัญในเรื่ององค์ประกอบต่างๆ ที่สร้างความสุขในการทำงาน และความน่าท้าทายของงานมากกว่า แต่คุณอย่าเพิ่งคิดว่าเรื่องค่าตอบแทนไม่สำคัญนะคะ มันยังคงสำคัญอยู่ ถ้าคุณลดค่าตอบแทนลงเมื่อไหร่ลูกน้องคุณหนีไปหมดแน่ๆ วิธีที่ดีกว่านั้น คุณต้องหาทางลดค่าใช้จ่ายอื่นๆ หรือหาทางเพิ่มรายได้ เพื่อที่คุณจะสามารถจ่ายให้พนักงานได้อย่างเหมาะสมกับศักยภาพที่พวกเขามี

ถึงบริษัทใหญ่ๆ จะเป็นเป้าหมายใครหลายๆ คน แต่คุณก็สามารถทำให้บริษัทเล็กๆ ของคุณ ได้พนักงานดีๆ มาร่วมงานด้วย ช่วยกันคิด ช่วยกันทำและช่วยกันสร้างให้ยิ่งใหญ่ขึ้นได้ในสักวัน



บทความโดย : www.hrcenter.co.th
ประกาศบทความโดย : www.prosofthrmi.com
 5076
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

การทำงานโดยที่คนทำงานไม่มีความสุขนั้นส่งผลกระทบทั้งระบบ ไม่ว่าจะเป็นผลงานที่ไม่มีประสิทธิภาพ องค์กรไม่มีความก้าวหน้า ลองมาดูกันว่า อะไรเป็นปัจจัยที่ทำให้พนักงานไม่มีความสุขกับการทำงาน
1. สัญญาจ้างทำด้วยวาจาก็ได้ 2. นายจ้างไม่มีสิทธิเรียกรับหลักประกันการทำงาน เว้นทำงานเกี่ยวข้องกับเงิน หรือทรัพย์สินของนายจ้าง 3. เมื่อการประกันสิ้นสุดลง นายจ้างต้องคืนหลักประกันให้แก่ลูกจ้างภายใน 7 วัน 4. นายจ้างไม่มีสิทธิหักค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานวันหยุด เว้นแต่เป็นการหักตามที่กฎหมายกำหนด 5. ลูกจ้างลาออกไม่ต้องรอการอนุมัติก็มีผล 6. นายจ้างไล่ออกไม่ต้องเป็นหนังสือไล่ออกก็มีผล
การทำงาน เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของชีวิต ซึ่งรูปแบบของการจ้างงานไม่ได้มีเพียงงานประจำและรอเวลาเกษียณอายุเพียงเท่านั้น แต่ยังมีลักษณะการจ้างงานอีกหลายประเภท ที่สามารถตอบโจทย์การใช้ชีวิตที่แตกต่างกันออกไปได้ ในบทความนี้จะมาสรุปสั้น ๆ ให้เข้าใจได้ง่าย ๆ ว่าการจ้างงานมีกี่ประเภท และแต่ละประเภทมีข้อดีแตกต่างกันอย่างไร
การพาพนักงานไป Outing ถือเป็นหนึ่งในสวัสดิการหลัก ๆ ที่หลายองค์กรมี เพื่อดึงดูดพนักงานทั้งภายในและภายนอกให้อยากมาร่วมงานกันด้วย โดยวัตถุประสงค์หลักของการไป Outing ก็เพื่อเสริมสร้างความสามัคคี และเพื่อตอบแทนพนักงาน ให้ได้ผ่อนคลายจากการทำงานประจำวันอันตึงเครียดมายาวนาน โดยที่บริษัทจะดูแลเรื่องค่าใช้จ่ายไว้ทั้งหมด
ระบบลงเวลาเข้า-ออกของพนักงาน คือ ระบบที่ช่วยในการบันทึกเวลาการทำงานของพนักงาน ผ่านอุปกรณ์ดิจิทัลต่างๆ ตั้งแต่ เครื่องสแกนลายนิ้วมือ (Finger Scanner), สมาร์ทโฟน (Smart Phone), แท็บเล็ต (Tablet), ตลอดจนอุปกรณ์ต่างๆ ที่สามารถยืนยันตัวตนผู้ใช้งานได้อย่างชัดเจน ปลอดภัย และเชื่อมต่อสู่ระบบข้อมูลกลางอย่างระบบคลาวด์ (Cloud System) ได้ โดยจะระบุเวลาที่พนักงานเข้ามาทำงานและออกจากงานในแต่ละวัน ดูสถิติ ขาด ลา มาสาย ระบบนี้มีบทบาทสำคัญในการบริหารจัดการเวลาและการทำงานของพนักงาน ช่วยให้ฝ่ายทรัพยากรบุคคล (HR) และฝ่ายบริหารสามารถติดตามการทำงานของพนักงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงใช้ข้อมูลที่บันทึกเพื่อคำนวณเงินเดือน สวัสดิการ ค่าล่วงเวลา และการจัดทำรายงานการเข้างานได้อย่างแม่นยำ ตอบโจทย์การทำงานในธุรกิจยุคใหม่ได้อย่างสมบูรณ์แบบ
มนุษย์เงินเดือนบางคนอาจจะไม่รู้ด้วยซ้ำว่า ตัวเองมีสิทธิที่จะเรียกร้อง ค่าชดเชยจากนายจ้าง อันนี้เป็นสิทธิ์ของเรานะ พี่ทุยบอกเลยว่า เงินค่าชดเชย เป็นสิ่งที่นายจ้าง ต้องจ่าย ให้กับพนักงานหรือลูกจ้าง เพื่อช่วยเหลือในกรณีให้ออกจากงาน ซึ่งไม่ได้มาจากทำความผิดของพนักงานหรือลูกจ้าง แต่อาจจะด้วยเหตุผลบางอย่างที่จำเป็นต้องลดจำนวนพนักงานลง
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์