พนักงานลาป่วยบ่อย จัดการอย่างไร

พนักงานลาป่วยบ่อย จัดการอย่างไร



ในช่วงหน้าฝนเช่นนี้ผู้บังคับบัญชาอาจได้รับรายงานการลาป่วยของพนักงานบ่อยครั้ง โดยมักจะลาป่วย เป็นหวัด เจ็บคอ ปวดหัว ไข้ขึ้น ก็สามารถเกิดขึ้นได้ แต่หากใครมีพฤติกรรมลาป่วยบ่อย ๆ จนผิดสังเกต ควรเรียกตัวมาพูดคุยซักถามถึงสาเหตุการลาป่วยบ่อย ๆ ถามถึงปัญหาสุขภาพ หรือโรคประจำตัว เพื่อทราบเหตุผลที่แท้จริงและหาทางแก้ไขช่วยเหลือหรือให้คำแนะนำได้

แต่หากการลาป่วยของพนักงานบางคนชวนให้สงสัยว่า ป่วย “การเมือง” หรือไม่ มีข้อสังเกตดังนี้

• มักจะลาหยุดงานเพียง 1-2 วัน ซึ่งไม่ต้องใช้ใบรับรองแพทย์

• ลาในช่วงต่อเนื่องกับวันหยุด เช่น ลาป่วยในวันจันทร์ หรือวันศุกร์ ลาป่วยก่อน หรือหลังวันหยุดตามประเพณีเป็นประจำ

• แม้ว่าการลาหยุดเช่นนี้จะถือว่าเป็นการกระทำที่ถูกต้องตามกฎระเบียบ ของบริษัท แต่ HR ก็ไม่อาจนิ่งเฉยอยู่ได้ เพราะจะทำให้เสียการปกครอง และพลอยทำให้พนักงานคนอื่น ๆ ทำตามตัวอย่างที่ไม่ดีนี้ด้วย ต่อไปนี้คือสิ่งที่ HR หรือหัวหน้างานของลูกน้องจอมป่วย “การเมือง” ใช้จัดการกับพนักงานที่ลาป่วยบ่อย

• ให้พนักงานมารายงานอาการป่วยในวันแรกที่กลับมาทำงาน โดย HR ทำการจดบันทึกอาการป่วยของลูกน้องอย่างละเอียด เพื่อที่ว่าเมื่อลูกน้องจะลาป่วยครั้งต่อไป จะคิดหนักขึ้นว่าจะป่วยอะไรดี จึงจะสมเหตุสมผล และไม่ถูกจับได้ ซึ่งวิธีการนี้อาจช่วยลดสถิติการลาป่วยของพนักงานได้บ้าง

• ประกาศให้พนักงานทราบว่า การขาด ลา มาสาย มีผลต่อการขึ้นเงินเดือน และโบนัส หากขาดงานเกินกี่วัน มาสายเกินกี่ครั้ง จะไม่ขึ้นเงินเดือนและตัดโบนัส เป็นต้น

• HR ต้องจับตาดูพฤติกรรมการลาหยุดงานของพนักงานอย่างใกล้ชิด อาจสุ่มไปที่บ้านของพนักงานโดยไม่ให้รู้ตัว เพื่อเยี่ยมไข้ และสอบถามอาการ รวมทั้งตรวจสอบการลาป่วยในครั้งนั้นด้วย

• หากพฤติกรรมการลาเป็นที่น่าเอือมระอามาก ให้สอบถามว่าพนักงานไปรักษาที่คลินิก หรือโรงพยาบาลใด แล้วไปขอดูทะเบียนคนไข้ว่ามารักษาจริงหรือไม่

• หากทราบว่ามีพฤติกรรมการลาที่ไม่ถูกต้อง ในบางรายอาจให้แสดงใบรับรองแพทย์ทุกครั้งที่ลาป่วย

• ในกรณีที่ใช้พนักงานใช้สิทธิ์ลาป่วยครบ 30 วันแล้ว ให้แจ้งพนักงานว่า หากลาป่วยครั้งต่อไป จะพิจารณาให้ลาโดยไม่รับเงินเดือนแทน ซึ่งไม่ว่าพนักงานจะลากี่วัน ก็จะหักเงินในทุก ๆ วันที่ลาหยุด

• กำหนดบทลงโทษการลาป่วยเท็จที่รุนแรงเชิงบริหาร และเชิงข้อกฎหมายถึงขั้นเลิกจ้างได้

• หากพบว่าอาการป่วยส่งผลต่อการทำงาน นายจ้างมีสิทธิพิจารณาเลิกจ้าง เนื่องจากพนักงานหย่อนสมรรถภาพในการทำงานได้ โดยจ่ายค่าชดเชย และสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามที่กฎหมายกำหนด

ถึงแม้ว่ากฎหมายจะกำหนดให้ลูกจ้าสามารถลาป่วย ได้ถึง 30 วันต่อปี แต่ในบางรายที่การขาดงานบ่อยครั้งมีผลกระทบต่อประสิทธิภาพการทำงานแล้วล่ะก็ ผู้บังคับบัญชาไม่ควรนิ่งเฉย ควรหามาตรการตักเตือน หรือบทลงโทษที่เด็ดขาดมาจัดการกับพนักงานเหล่านี้ เพื่อไม่ให้พนักงานดี ๆ พลอยเข้าลัทธิเอาอย่างให้เสียการปกครอง



บทความโดย : th.jobsdb.com
ประกาศบทความโดย : www.prosofthrmi.com
 17965
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

การพาพนักงานไป Outing ถือเป็นหนึ่งในสวัสดิการหลัก ๆ ที่หลายองค์กรมี เพื่อดึงดูดพนักงานทั้งภายในและภายนอกให้อยากมาร่วมงานกันด้วย โดยวัตถุประสงค์หลักของการไป Outing ก็เพื่อเสริมสร้างความสามัคคี และเพื่อตอบแทนพนักงาน ให้ได้ผ่อนคลายจากการทำงานประจำวันอันตึงเครียดมายาวนาน โดยที่บริษัทจะดูแลเรื่องค่าใช้จ่ายไว้ทั้งหมด
ระบบลงเวลาเข้า-ออกของพนักงาน คือ ระบบที่ช่วยในการบันทึกเวลาการทำงานของพนักงาน ผ่านอุปกรณ์ดิจิทัลต่างๆ ตั้งแต่ เครื่องสแกนลายนิ้วมือ (Finger Scanner), สมาร์ทโฟน (Smart Phone), แท็บเล็ต (Tablet), ตลอดจนอุปกรณ์ต่างๆ ที่สามารถยืนยันตัวตนผู้ใช้งานได้อย่างชัดเจน ปลอดภัย และเชื่อมต่อสู่ระบบข้อมูลกลางอย่างระบบคลาวด์ (Cloud System) ได้ โดยจะระบุเวลาที่พนักงานเข้ามาทำงานและออกจากงานในแต่ละวัน ดูสถิติ ขาด ลา มาสาย ระบบนี้มีบทบาทสำคัญในการบริหารจัดการเวลาและการทำงานของพนักงาน ช่วยให้ฝ่ายทรัพยากรบุคคล (HR) และฝ่ายบริหารสามารถติดตามการทำงานของพนักงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงใช้ข้อมูลที่บันทึกเพื่อคำนวณเงินเดือน สวัสดิการ ค่าล่วงเวลา และการจัดทำรายงานการเข้างานได้อย่างแม่นยำ ตอบโจทย์การทำงานในธุรกิจยุคใหม่ได้อย่างสมบูรณ์แบบ
มนุษย์เงินเดือนบางคนอาจจะไม่รู้ด้วยซ้ำว่า ตัวเองมีสิทธิที่จะเรียกร้อง ค่าชดเชยจากนายจ้าง อันนี้เป็นสิทธิ์ของเรานะ พี่ทุยบอกเลยว่า เงินค่าชดเชย เป็นสิ่งที่นายจ้าง ต้องจ่าย ให้กับพนักงานหรือลูกจ้าง เพื่อช่วยเหลือในกรณีให้ออกจากงาน ซึ่งไม่ได้มาจากทำความผิดของพนักงานหรือลูกจ้าง แต่อาจจะด้วยเหตุผลบางอย่างที่จำเป็นต้องลดจำนวนพนักงานลง
ในแต่ละเดือนที่เราจ่ายเงินสมทบประกันสังคมนั้น ก็จะมีเงินส่วนหนึ่งที่จัดเก็บเข้าเป็นเงินสะสมประกันสังคม ซึ่งเงินส่วนนี้เองเราสามารถเช็คเงินสะสมประกันสังคมได้เองผ่านช่องทางออนไลน์ด้วย มาดูกันครับว่าทำยังไง แล้วยอดเงินประกันสังคมนี้ทำอะไรได้บ้าง

Employee Referral Program หรือ โครงการแนะนำพนักงาน คือระบบที่องค์กรใช้เพื่อกระตุ้นให้พนักงานที่ทำงานอยู่แนะนำบุคคลภายนอกที่มีคุณสมบัติที่เหมาะสมเข้ามาทำงานในตำแหน่งที่เปิดรับ โดยทั่วไปโครงการนี้มักมีการมอบรางวัลหรือโบนัสให้กับพนักงานที่แนะนำคนที่ถูกคัดเลือกและรับเข้าทำงานในองค์กรสำเร็จ โครงการแนะนำพนักงานนี้มีข้อดีหลายประการ เช่น การลดต้นทุนในการจ้างงาน เพิ่มคุณภาพของผู้สมัคร และสร้างความผูกพันให้กับพนักงานในองค์กร
การจัดกะพนักงาน คือ กระบวนการวางแผนและจัดระเบียบเวลาทำงานของพนักงานให้เหมาะสมกับความต้องการขององค์กรในแต่ละช่วงเวลา โดยแบ่งเวลาทำงานออกเป็นหลายช่วง (หรือหลายกะ) เพื่อให้มีพนักงานเพียงพอในการปฏิบัติงานตลอดเวลา เช่น ในกรณีขององค์กรที่เปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมงหรือมีความต้องการกำลังคนที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละช่วงเวลา
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์