แผนที่บริษัทแผ่นเดียวก็สะท้อนระบบการทำงานได้

แผนที่บริษัทแผ่นเดียวก็สะท้อนระบบการทำงานได้



ได้อ่านบทความของอ. ณรงค์วิทย์ แสนทอง หัวข้อ “แผนที่ตั้งองค์กรสะท้อนอะไรให้บุคคลภายนอก รับรู้บ้าง?” ไม่น่าเชื่อว่า แผนที่แค่เพียงแผ่นเดียวจะสะท้อนระบบการทำงานได้ สำหรับ HR แล้ว เมื่อต้องนัดหมายผู้สมัครมาสัมภาษณ์งาน แผนที่ตั้งบริษัทเป็นสิ่งสำคัญที่บอกว่าบริษัทอยู่ที่ไหน และจะมาถึงได้ด้วยวิธีใด หลายบริษัทอาจพบว่าผู้สมัครงานส่วนใหญ่มักโทรมาถามที่ตั้งบริษัท แม้จะส่งแผนที่ให้แล้วก็ตาม เคยคิดหาสาเหตุหรือไม่ว่าทำไมเขาถึงไม่เข้าใจแผนที่ที่ส่งให้ แผนที่ของเราให้ข้อมูลเพียงพอหรือยัง ยิ่งไปกว่านั้นแผนที่ที่ดูเหมือนไม่มีบทบาทสำคัญ กลับสะท้อนอะไรได้มากมาย

• หากส่งแผนที่ช้า

สะท้อนระบบการทำงานที่ล่าช้าขององค์กร

• หากแผนที่เป็นลายมือวาดสด ๆ

สะท้อนว่าเป็นองค์กรที่ไม่มีการเตรียมพร้อม ทำงานแบบตั้งรับมากกว่า เชิงรุก

• หากแผนที่ก๊อปปี้หรือดาวน์โหลดมาจากอินเทอร์เน็ต

สะท้อนการทำงานแบบ Copy and Development ไม่มีอะไรเป็นเอกลักษณ์ขององค์กร

• หากแผนที่ไม่อัปเดต

สะท้อนว่าระบบในการทำงานอาจมีหลายอย่างที่ไม่อัปเดต

• หากแผนที่ไม่ให้ข้อมูลที่ต้องการ

เช่น บอกแค่ถนนใหญ่ ชื่อซอย ไม่บอกจุดสังเกต ไม่บอกระยะทาง สะท้อนว่าองค์กรนี้เสียเวลาไปกับสิ่งที่ไม่สำคัญ มากกว่าสิ่งที่สำคัญต่อองค์กร

• หากแผนที่ไม่ระบุชื่อบริษัท

มีแต่ลูกศรชี้ว่าอยู่ที่นี่ สะท้อนว่า เป็นองค์กร ที่ไม่มีความภูมิใจในตนเอง ไม่มีจุดเด่น

การทำแผนที่ให้มีข้อมูลครบถ้วนถือเป็นการเสริมภาพลักษณ์องค์กร เพิ่มความเป็นมืออาชีพได้ทางหนึ่ง

โดยข้อมูลสำคัญที่ควรมี ประกอบด้วย

• รายละเอียดขององค์กร ชื่อองค์กร โลโก้ ที่อยู่ เบอร์โทร

• อาจเพิ่มสโลแกนบริษัทเข้าไปด้วย เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ให้รู้ว่า บริษัทของเราประกอบธุรกิจเกี่ยวกับอะไร

• ควรบอกรายละเอียดที่ตั้งอย่างชัดเจน ทั้งถนนหลัก ถนนรอง แยก ซอย บอกให้ครบถ้วน

• ควรบอกจุดสังเกตหลัก ๆ และระยะทางในแต่ละช่วง

• ควรบอกวิธีการเดินทาง สายรถเมล์ หรือ BTS MRT สถานีอะไร

ในฐานะ HR ที่ต้องติดต่อนัดหมายผู้สมัครงานอยู่เสมอ แผนที่บริษัทเป็นสิ่งที่ต้องใช้เป็นประจำ ไม่ควรมองข้ามเลยทีเดียว แล้วแผนที่บริษัทของคุณล่ะเป็นอย่างไร



บทความโดย : th.jobsdb.com
ประกาศบทความโดย : www.prosofthrmi.com
 4730
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

การทำงานโดยที่คนทำงานไม่มีความสุขนั้นส่งผลกระทบทั้งระบบ ไม่ว่าจะเป็นผลงานที่ไม่มีประสิทธิภาพ องค์กรไม่มีความก้าวหน้า ลองมาดูกันว่า อะไรเป็นปัจจัยที่ทำให้พนักงานไม่มีความสุขกับการทำงาน
1. สัญญาจ้างทำด้วยวาจาก็ได้ 2. นายจ้างไม่มีสิทธิเรียกรับหลักประกันการทำงาน เว้นทำงานเกี่ยวข้องกับเงิน หรือทรัพย์สินของนายจ้าง 3. เมื่อการประกันสิ้นสุดลง นายจ้างต้องคืนหลักประกันให้แก่ลูกจ้างภายใน 7 วัน 4. นายจ้างไม่มีสิทธิหักค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานวันหยุด เว้นแต่เป็นการหักตามที่กฎหมายกำหนด 5. ลูกจ้างลาออกไม่ต้องรอการอนุมัติก็มีผล 6. นายจ้างไล่ออกไม่ต้องเป็นหนังสือไล่ออกก็มีผล
การทำงาน เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของชีวิต ซึ่งรูปแบบของการจ้างงานไม่ได้มีเพียงงานประจำและรอเวลาเกษียณอายุเพียงเท่านั้น แต่ยังมีลักษณะการจ้างงานอีกหลายประเภท ที่สามารถตอบโจทย์การใช้ชีวิตที่แตกต่างกันออกไปได้ ในบทความนี้จะมาสรุปสั้น ๆ ให้เข้าใจได้ง่าย ๆ ว่าการจ้างงานมีกี่ประเภท และแต่ละประเภทมีข้อดีแตกต่างกันอย่างไร
การพาพนักงานไป Outing ถือเป็นหนึ่งในสวัสดิการหลัก ๆ ที่หลายองค์กรมี เพื่อดึงดูดพนักงานทั้งภายในและภายนอกให้อยากมาร่วมงานกันด้วย โดยวัตถุประสงค์หลักของการไป Outing ก็เพื่อเสริมสร้างความสามัคคี และเพื่อตอบแทนพนักงาน ให้ได้ผ่อนคลายจากการทำงานประจำวันอันตึงเครียดมายาวนาน โดยที่บริษัทจะดูแลเรื่องค่าใช้จ่ายไว้ทั้งหมด
ระบบลงเวลาเข้า-ออกของพนักงาน คือ ระบบที่ช่วยในการบันทึกเวลาการทำงานของพนักงาน ผ่านอุปกรณ์ดิจิทัลต่างๆ ตั้งแต่ เครื่องสแกนลายนิ้วมือ (Finger Scanner), สมาร์ทโฟน (Smart Phone), แท็บเล็ต (Tablet), ตลอดจนอุปกรณ์ต่างๆ ที่สามารถยืนยันตัวตนผู้ใช้งานได้อย่างชัดเจน ปลอดภัย และเชื่อมต่อสู่ระบบข้อมูลกลางอย่างระบบคลาวด์ (Cloud System) ได้ โดยจะระบุเวลาที่พนักงานเข้ามาทำงานและออกจากงานในแต่ละวัน ดูสถิติ ขาด ลา มาสาย ระบบนี้มีบทบาทสำคัญในการบริหารจัดการเวลาและการทำงานของพนักงาน ช่วยให้ฝ่ายทรัพยากรบุคคล (HR) และฝ่ายบริหารสามารถติดตามการทำงานของพนักงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงใช้ข้อมูลที่บันทึกเพื่อคำนวณเงินเดือน สวัสดิการ ค่าล่วงเวลา และการจัดทำรายงานการเข้างานได้อย่างแม่นยำ ตอบโจทย์การทำงานในธุรกิจยุคใหม่ได้อย่างสมบูรณ์แบบ
มนุษย์เงินเดือนบางคนอาจจะไม่รู้ด้วยซ้ำว่า ตัวเองมีสิทธิที่จะเรียกร้อง ค่าชดเชยจากนายจ้าง อันนี้เป็นสิทธิ์ของเรานะ พี่ทุยบอกเลยว่า เงินค่าชดเชย เป็นสิ่งที่นายจ้าง ต้องจ่าย ให้กับพนักงานหรือลูกจ้าง เพื่อช่วยเหลือในกรณีให้ออกจากงาน ซึ่งไม่ได้มาจากทำความผิดของพนักงานหรือลูกจ้าง แต่อาจจะด้วยเหตุผลบางอย่างที่จำเป็นต้องลดจำนวนพนักงานลง
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์