6 สิ่งที่เจ้านายไม่ควรขอจากลูกน้อง

6 สิ่งที่เจ้านายไม่ควรขอจากลูกน้อง



การเป็นเจ้านายนั้น ไม่ใช่ว่านึกอยากจะขอให้ลูกน้องทำอะไรก็ได้ โดยไม่คำนึงว่าเขาจะรู้สึกอย่างไร เขาเต็มใจทำหรือไม่ แต่เจ้านายที่ดีควรฟังเสียงลูกน้อง แม้เขาจะไม่ได้บอกกับคุณโดยตรง แต่ประเด็นต่อไปนี้ คือสิ่งที่ลูกน้องอยากจะบอกกับเจ้านายทั้งหลายว่า อย่าขอจากพวกเขาเลย

• ขอให้พนักงานคนหนึ่งทำในสิ่งเดียวกับที่ขอให้อีกคนหนึ่งทำ คุณมอบหมายงานชิ้นหนึ่งให้นาย ก. ทำ แต่เมื่อถึงวันใกล้ส่งงาน คุณกลับไม่มั่นใจกลัวว่านาย ก. จะทำไม่เสร็จ คุณจึงมอบหมายให้ นาย ข. ทำแทน หากคุณทำเช่นนี้ ไม่เป็นผลดีต่อฝ่ายใดเลย นาย ก. จะเกิดความคับข้องใจว่า คุณไม่ไว้วางใจเขา ไม่เชื่อมั่นในตัวเขา ส่วนนายข. ก็จะคิดว่าคุณโยนงานของนาย ก. มาให้ หากคุณกลัวว่างาน จะไม่เสร็จ คุณไม่ควรเอางานนี้ไปให้นาย ข. ทำ แต่ควรให้คำแนะนำ นาย ก. ว่าจะทำอย่างไรให้งานนี้สำเร็จมากกว่า

• ขอให้พนักงานทำงานในเวลาอาหารโดยไม่มีการเลี้ยงอาหาร เช่น การประชุมในช่วงเช้าที่ล่วงเลยไปถึงช่วงเวลาพักเที่ยง ในขณะที่ พนักงานคนอื่น ๆ ได้ไปพักรับประทานอาหาร แต่พนักงานที่เข้าประชุม ซึ่งคุณต้องการระดมความคิด รวบรวมไอเดียใหม่ ๆ จากพวกเขา กลับไม่ได้รับการเอาใจใส่ แล้วพวกเขาจะมีความคิดดี ๆ มานำเสนอได้อย่างไร

• ขอให้พนักงานไปร่วมกิจกรรมนอกเวลางาน เช่น ปาร์ตี้ส่วนตัว งานวันเกิด ไปตีกอล์ฟ หรือคอนเสิร์ตการกุศล เพราะลูกน้องย่อมอยากมีเวลาส่วนตัวของตัวเองบ้าง การที่พนักงานต้องไปร่วมงานต่าง ๆ กับเจ้านายแม้จะนอกเวลางานก็ตาม เขาจะรู้สึกเหมือนต้องทำงานอยู่ตลอดเวลา และเจ้านายก็มักจะใช้คำพูดในเชิงกดดัน ทำให้เขาไม่มีทางเลือก หากคุณคิดจะจัดงาน หรือเข้าร่วมงานใด ๆ ก็ตาม และต้องการให้พนักงานเข้าร่วมด้วย ควรเป็นงานที่คนส่วนใหญ่สนใจและยินดีที่จะเข้าร่วม ไม่ใช่งานที่ถูกบังคับให้ไป

• ขอให้พนักงานประเมินตัวเอง พนักงานฝีมือดีจะเกิดความสงสัยว่า คุณไม่เห็นหรือว่าเขาทำงานดีแค่ไหน ทำไมต้องให้เขาทำการประเมินตัวเองด้วย ในขณะที่พนักงานที่ด้อยความสามารถก็มักจะประเมินตัวเองดีกว่าความเป็นจริง จึงเป็นการเสียเวลาเปล่า หากคุณต้องการทราบความคิดเห็นของพนักงาน ควรถามตรง ๆ ไปเลยว่า เขาต้องการให้คุณ ช่วยพัฒนาทักษะ หรือส่งเสริมความก้าวหน้าในด้านไหนบ้าง

• ขอให้พนักงานประเมินเพื่อนร่วมงาน พนักงานไม่ชอบที่จะต้องวิพากษ์วิจารณ์เพื่อนร่วมงานให้เจ้านายฟัง และในขณะเดียวกันก็ไม่อยากเป็นคนที่ถูกพูดถึงด้วย หากคุณต้องการรู้ลึกเกี่ยวกับการทำงานของพนักงาน ควรสังเกตพนักงานของคุณ แทนที่จะถามจากคนอื่น

• ขอให้พนักงานทำในสิ่งที่คุณไม่ทำ ลูกน้องไม่ใช่กระโถนท้องพระโรงที่ใคร ๆ ก็มารุมใช้ให้ทำงานที่คุณไม่อยากทำ หากเกิดปัญหาใด ๆ ขึ้นคุณลูกน้องก็ต้องรับหน้าเสื่อแทน ทั้ง ๆ ที่ลูกน้องอยากให้เจ้านายเป็นฝ่ายปกป้องเขา ไม่ใช่ลูกน้องต้องเป็นฝ่ายรับหน้าแทนเจ้านายไปเสียทุกอย่าง



บทความโดย : th.jobsdb.com
ประกาศบทความโดย : www.prosofthrmi.com
 4745
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

การทำงานโดยที่คนทำงานไม่มีความสุขนั้นส่งผลกระทบทั้งระบบ ไม่ว่าจะเป็นผลงานที่ไม่มีประสิทธิภาพ องค์กรไม่มีความก้าวหน้า ลองมาดูกันว่า อะไรเป็นปัจจัยที่ทำให้พนักงานไม่มีความสุขกับการทำงาน
1. สัญญาจ้างทำด้วยวาจาก็ได้ 2. นายจ้างไม่มีสิทธิเรียกรับหลักประกันการทำงาน เว้นทำงานเกี่ยวข้องกับเงิน หรือทรัพย์สินของนายจ้าง 3. เมื่อการประกันสิ้นสุดลง นายจ้างต้องคืนหลักประกันให้แก่ลูกจ้างภายใน 7 วัน 4. นายจ้างไม่มีสิทธิหักค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานวันหยุด เว้นแต่เป็นการหักตามที่กฎหมายกำหนด 5. ลูกจ้างลาออกไม่ต้องรอการอนุมัติก็มีผล 6. นายจ้างไล่ออกไม่ต้องเป็นหนังสือไล่ออกก็มีผล
การทำงาน เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของชีวิต ซึ่งรูปแบบของการจ้างงานไม่ได้มีเพียงงานประจำและรอเวลาเกษียณอายุเพียงเท่านั้น แต่ยังมีลักษณะการจ้างงานอีกหลายประเภท ที่สามารถตอบโจทย์การใช้ชีวิตที่แตกต่างกันออกไปได้ ในบทความนี้จะมาสรุปสั้น ๆ ให้เข้าใจได้ง่าย ๆ ว่าการจ้างงานมีกี่ประเภท และแต่ละประเภทมีข้อดีแตกต่างกันอย่างไร
การพาพนักงานไป Outing ถือเป็นหนึ่งในสวัสดิการหลัก ๆ ที่หลายองค์กรมี เพื่อดึงดูดพนักงานทั้งภายในและภายนอกให้อยากมาร่วมงานกันด้วย โดยวัตถุประสงค์หลักของการไป Outing ก็เพื่อเสริมสร้างความสามัคคี และเพื่อตอบแทนพนักงาน ให้ได้ผ่อนคลายจากการทำงานประจำวันอันตึงเครียดมายาวนาน โดยที่บริษัทจะดูแลเรื่องค่าใช้จ่ายไว้ทั้งหมด
ระบบลงเวลาเข้า-ออกของพนักงาน คือ ระบบที่ช่วยในการบันทึกเวลาการทำงานของพนักงาน ผ่านอุปกรณ์ดิจิทัลต่างๆ ตั้งแต่ เครื่องสแกนลายนิ้วมือ (Finger Scanner), สมาร์ทโฟน (Smart Phone), แท็บเล็ต (Tablet), ตลอดจนอุปกรณ์ต่างๆ ที่สามารถยืนยันตัวตนผู้ใช้งานได้อย่างชัดเจน ปลอดภัย และเชื่อมต่อสู่ระบบข้อมูลกลางอย่างระบบคลาวด์ (Cloud System) ได้ โดยจะระบุเวลาที่พนักงานเข้ามาทำงานและออกจากงานในแต่ละวัน ดูสถิติ ขาด ลา มาสาย ระบบนี้มีบทบาทสำคัญในการบริหารจัดการเวลาและการทำงานของพนักงาน ช่วยให้ฝ่ายทรัพยากรบุคคล (HR) และฝ่ายบริหารสามารถติดตามการทำงานของพนักงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงใช้ข้อมูลที่บันทึกเพื่อคำนวณเงินเดือน สวัสดิการ ค่าล่วงเวลา และการจัดทำรายงานการเข้างานได้อย่างแม่นยำ ตอบโจทย์การทำงานในธุรกิจยุคใหม่ได้อย่างสมบูรณ์แบบ
มนุษย์เงินเดือนบางคนอาจจะไม่รู้ด้วยซ้ำว่า ตัวเองมีสิทธิที่จะเรียกร้อง ค่าชดเชยจากนายจ้าง อันนี้เป็นสิทธิ์ของเรานะ พี่ทุยบอกเลยว่า เงินค่าชดเชย เป็นสิ่งที่นายจ้าง ต้องจ่าย ให้กับพนักงานหรือลูกจ้าง เพื่อช่วยเหลือในกรณีให้ออกจากงาน ซึ่งไม่ได้มาจากทำความผิดของพนักงานหรือลูกจ้าง แต่อาจจะด้วยเหตุผลบางอย่างที่จำเป็นต้องลดจำนวนพนักงานลง
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์