ต่าง Gen ต่างใจ แล้วจะทำงานร่วมกันอย่างไรดี (ตอนที่ 4)

ต่าง Gen ต่างใจ แล้วจะทำงานร่วมกันอย่างไรดี (ตอนที่ 4)



วันนี้ก็เป็นตอนที่ 4 ของเรื่องราวเกี่ยวกับ Generation ต่างๆ วันนี้จะเป็นเรื่องของแนวทางในการรักษาไว้ ซึ่งพนักงานในแต่ละ Gen ว่า เขาต้องการอะไร และองค์กรจะต้องตอบสนอง หรือวางระบบในการรักษาไว้ซึ่งพนักงานแต่ละ Gen ได้อย่างไร

ผมมองว่า เรื่องของการรักษาไว้ ซึ่งพนักงานที่มีความรู้ความสามารถ ให้ทำงานกับองค์กรนั้น เป็นสิ่งที่สำคัญมากในการบริหารธุรกิจปัจจุบัน เนื่องจากคนเก่ง มีน้อย อีกทั้งยังมักจะถูกซื้อตัวกันเป็นว่าเล่น ถ้าองค์กรไม่สามารถที่จะรักษาคนเหล่านี้ไว้ทำงานกับองค์กร เราก็จะเสียคนเก่งๆ ไปอยู่ตลอดเวลา ซึ่งการเสียคนเก่งนั้นนอกจากทำให้ธุรกิจขาดช่วงแล้ว ยังถือว่าเป็นการเพิ่มต้นทุกในการบริหารคนมากขึ้นไปอีก เพราะต้องลงทุนในการสรรหาใหม่ คัดเลือกใหม่อีก เข้ามาแล้วก็ต้องลงทุนในการพัฒนาเขาอีก รวมๆ แล้ว ต้นทุนในการหา และพัฒนาคนนั้น สูงกว่าการที่เรายอมลงทุนรักษาคนเก่งไว้ในองค์กร เราลองมาดูกันว่า ในแต่ละ Gen จะมีวิธีการรักษาพนักงานได้อย่างไรบ้าง

• Baby Boomer เมื่อคน Gen นี้เข้ามาทำงาน หรืออยู่ทำงานในองค์กรมาสักพัก สิ่งที่จะรักษาไว้ซึ่งคน Gen นี้ จะประกอบไปด้วย

o Flexible Benefits ซึ่ง สามารถที่จะให้พนักงานเลือกได้ โดยคนกลุ่มนี้จะเน้นไปในเรื่องของ Health care มากกว่าคนกลุ่มอื่น เนื่องจากอายุที่มากขึ้น และต้องการความมั่นคงหลังเกษียณอายุนั่นเอง

o สภาพการทำงานที่ยืดหยุ่นมากขึ้น เช่น ยอมลงทุนทำระบบให้คนกลุ่มนี้สามารถที่จะนั่งทำงานที่บ้านได้บ้าง โดยไม่ต้องเดินทางมาทำงานที่บริษัท เพราะด้วยอายุที่มากขึ้นทำให้การขับรถ หรือการเดินทางไกลๆ อาจจะไม่สะดวก ก็สามารถยืดหยุ่นให้คนกลุ่มนี้สามารถทำงานที่บ้านโดยผ่านเทคโนโลยีสมัยใหม่ได้

o ให้ความยอมรับนับถือในประสบการณ์ คนกลุ่มนี้มักจะชอบให้องค์กรยอมรับนับถือเขาในฐานะผู้ที่มีประสบการณ์ในการทำงานมานาน ผ่านร้อนผ่านหนาวมามากกว่าคนอื่น ดังนั้น ถ้าเรามอบหมายงานในลักษณะที่ให้เขาได้ใช้ความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ที่มีมาเสริมสร้างคนรุ่นใหม่ให้เก่งขึ้น เขาก็จะชอบ เช่น ให้เป็น Coach หรือ ให้เป็นผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งเป็นคน certify พนักงานใหม่ ในการทำงานบางอย่าง เขาจะรู้สึกว่าองค์กรกำลังให้การยอมรับ และนับถือเขาในฐานะผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้นๆ

o ยังชอบงานที่ต้องใช้ความคิดและท้าทาย คนส่วนใหญ่มักจะมองว่า คนกลุ่มนี้อายุเยอะแล้ว อะไรๆ ก็คงไม่สะดวกไปหมด แต่จริงๆ แล้วสมองของคนกลุ่มนี้ยังคงใช้ได้อยู่ ด้วยคน Gen นี้เองก็บอกไว้ชัดเจนว่า ต้องการงานที่อาศัยความคิดความอ่าน และมีความท้าทายมากขึ้นเรื่อยๆ ที่ทำมาประจำ หรือนานๆ มาแล้ว ก็เบื่อ อยากได้งานที่ท้าทายมากกว่าเดิม คนกลุ่มนี้จะรู้สึกถึงคุณค่าของตนเองให้องค์กรมอบหมายงานโครงการบางอย่างที่ท้าทายความสามารถของตน เพราะเขาจะรู้สึกว่าองค์กรไม่ได้ทอดทิ้งให้เขาเป็นคนแก่ ที่ทำงานไปวันๆ แต่องค์กรกำลังให้ความสำคัญกับความรู้และประสบการณ์ของเขาที่มีอยู่มาสร้างผลงานที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนให้กับองค์กรได้

• Generation X เมื่อคน Gen นี้เข้ามาทำงาน หรืออยู่ทำงานในองค์กรมาสักพัก สิ่งที่จะรักษาไว้ซึ่งคน Gen นี้ จะประกอบไปด้วย

o สไตล์การบริหารงาน คน Gen นี้ชอบที่จะทำงานเอง โดยไม่ต้องมาสั่งมาก หรือตามมาก และไม่ต้องมาควบคุมอย่างใกล้ชิดมากเกินไป ดังนั้นสั่งงานแล้ว ก็ปล่อยให้เขาทำ คอยดูเป็นระยะๆ คน Gen นี้ต้องการ Feedback เช่นกันว่า สิ่งที่ทำไปนั้นมันดี หรือไม่ดีตรงไหน จะได้ปรับปรุงให้ดีขึ้นได้

o บรรยากาศการทำงานแบบครอบครัว คน Gen นี้เป็นคนที่รักครอบครัว ดังนั้นในการทำงานที่จะทำให้เขารู้สึกอยากทำงาน และไม่อยากลาออกไปไหนเลย ก็คือ การสร้างบรรยากาศในการทำงานแบบครอบครัว มีความเป็นพี่เป็นน้องกัน มีความสนุกสนานในการทำงานในองค์กร

o Work-Life Balance องค์กร ที่สามารถสร้างระบบ work-life balance ให้เกิดขึ้นได้นั้น จะสามารถรักษาคน gen ได้ดีมาก ระบบการทำงานให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น ไม่เข้มงวดจนเกินไป หรือไม่หย่อนจนเกินไป ทำให้เขาสามารถที่จะทำงาน และสามารถที่จะให้เวลากับชีวิตส่วนตัวไปพร้อมๆ กันได้ ก็จะทำให้คน Gen นี้ไปลาออกไปไหนอย่างแน่นอน

o มีระบบการพัฒนาความก้าวหน้าทางสายอาชีพ การรักษาไว้ซึ่งคนกลุ่มนี้ องค์กรจะต้องสร้างระบบ Career Path และระบบการพัฒนาคนอย่างต่อเนื่อง และมีความชัดเจนมากพอ คือทำงานแล้วรู้สึกว่าสามารถเติบโตไปได้เรื่อยๆ คนกลุ่มนี้อาจจะไม่ได้มองเรื่องการเติบโตเป็นลักษณะของตำแหน่งงาน แต่เขาจะมองการเติบโตก็คือ การที่เขาสามารถรับผิดชอบงานที่ใหญ่ขึ้นได้ ยากขึ้นได้ ซึ่งอาจจะไม่ได้มีชื่อตำแหน่งอะไรเลย แต่ถ้างานยากขึ้น ท้าทายขึ้น และได้พัฒนาตนเองมากขึ้น คนกลุ่มนี้ก็จะรู้สึกว่าตนเองเติบโตในองค์กร

• Generation Y เมื่อคน Gen นี้เข้ามาทำงาน หรืออยู่ทำงานในองค์กรมาสักพัก สิ่งที่จะรักษาไว้ซึ่งคน Gen นี้ จะประกอบไปด้วย

o การให้การยอมรับนับถือในความเห็น คนรุ่นนี้อายุยังไม่มาก แต่ชอบที่จะทำงาน และคิดอะไรใหม่ๆ และไม่ต้องการให้คนอื่นมองว่าเขานั้นยังเด็ก เพราะถือว่าเป็นการดูถูกเขาอย่างมาก คนกลุ่มนี้จะชอบองค์กรที่ให้ความสำคัญกับงานที่เขาทำ ความคิดที่เขาคิด และมองว่าเขาเป็นกำลังสำคัญในการสร้างความสำเร็จให้กับองค์กร ถ้าองค์กรหรือหัวหน้างานไปบริหารคนกลุ่มนี้ โดยมองว่าเขาเป็นเด็ก ไม่โต และไม่น่าจะทำงานใหญ่ได้ เขาก็จะไปทำงานที่อื่นที่ยอมรับเขานั่นเอง

o ความก้าวหน้าทางสายอาชีพที่ชัดเจน การที่องค์กรมีการกำหนดเส้นทางความก้าวหน้าทางสายอาชีพ และมีบอกถึงกฎเกณฑ์ และแนวทางที่จะก้าวหน้าไปตามสายอาชีพไว้อย่างชัดเจน จะทำให้ Gen Y รู้สึกว่าทำงานแล้วมีคุณค่า ดังนั้นจะไม่ไปทำงานที่อื่น ในทางตรงกันข้ามถ้าองค์กรไม่มีเรื่องเหล่านี้เลย เขาก็จะสงสัยว่าแล้วตัวเองจะโตไปไหน จะมีโอกาสเติบโตจริงๆ หรือเปล่า สุดท้ายก็ไปอยู่กับองค์กรที่มีระบบเหล่านี้ที่ชัดเจน

o มีการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม คนรุ่นนี้เติบโตมากับเทคโนโลยีต่างๆ มากมาย ก็เลยต้องการให้องค์กรมีเทคโนโลยีที่ทันสมัย มีเครื่องไม้เครื่องมือที่เรียกว่าเป็นรุ่นล่าสุดอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นถ้าองค์กรของเรามีเรื่องของเทคโนโลยีอันทันสมัย ก็จะยิ่งทำให้คนกลุ่มนี้อยากอยู่ทำงานกับองค์กรมากขึ้น

o ต้องการ Feedback คนกลุ่มนี้เวลาทำงานด้วยจะต้องการให้คนที่เป็นหัวหน้าคอยบอกว่าผลงานที่ออกมานั้นเป็นอย่างไรบ้าง และต้องการสิ่งเหล่านี้มากกว่า Gen X เพราะเขาต้องการให้นายให้ความสำคัญกับเขามาก มองเขาเป็นคนสำคัญคนหนึ่งองค์กร เวลาที่ทำงานสำเร็จก็อาจจะมีรางวัลเล็กๆ มอบให้ เช่น บัตรกำนัล คูปองกาแฟฟรี ฯลฯ เพื่อเป็นการบอกเขาว่า เรากำลังให้ความสำคัญกับเขาอยู่

สิ่งที่กล่าวไปทั้งหมด ก็คือ แนวทางหลักๆ ที่จะสร้าง Retention ให้เกิดขึ้นในกลุ่มพนักงานในแต่ละ Gen และเนื่องจากความต้องการของแต่ละ Gen มีความแตกต่างกันบ้าง บางอย่างก็คล้ายๆ กันบ้าง คราวนี้ก็คงจะต้องมาพิจารณาดูแล้วว่า ระบบการบริหารคน และบริหารงานขององค์กรจะต้องเป็นอย่างไร ระบบ HR จะต้องเน้นไปทางไหน ด้านใดบ้าง เพื่อที่จะทำให้คนทุก Gen ที่มีความต้องการที่ไม่เหมือนกัน สามารถที่จะทำงานร่วมกันได้ และรู้สึกอยากอยู่ทำงานกับองค์กรนี้ไปตลอด



บทความโดย : คุณประคัลภ์ ปัณฑพลังกูร
ประกาศบทความโดย : www.prosofthrmi.com 
 5437
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

การพาพนักงานไป Outing ถือเป็นหนึ่งในสวัสดิการหลัก ๆ ที่หลายองค์กรมี เพื่อดึงดูดพนักงานทั้งภายในและภายนอกให้อยากมาร่วมงานกันด้วย โดยวัตถุประสงค์หลักของการไป Outing ก็เพื่อเสริมสร้างความสามัคคี และเพื่อตอบแทนพนักงาน ให้ได้ผ่อนคลายจากการทำงานประจำวันอันตึงเครียดมายาวนาน โดยที่บริษัทจะดูแลเรื่องค่าใช้จ่ายไว้ทั้งหมด
ระบบลงเวลาเข้า-ออกของพนักงาน คือ ระบบที่ช่วยในการบันทึกเวลาการทำงานของพนักงาน ผ่านอุปกรณ์ดิจิทัลต่างๆ ตั้งแต่ เครื่องสแกนลายนิ้วมือ (Finger Scanner), สมาร์ทโฟน (Smart Phone), แท็บเล็ต (Tablet), ตลอดจนอุปกรณ์ต่างๆ ที่สามารถยืนยันตัวตนผู้ใช้งานได้อย่างชัดเจน ปลอดภัย และเชื่อมต่อสู่ระบบข้อมูลกลางอย่างระบบคลาวด์ (Cloud System) ได้ โดยจะระบุเวลาที่พนักงานเข้ามาทำงานและออกจากงานในแต่ละวัน ดูสถิติ ขาด ลา มาสาย ระบบนี้มีบทบาทสำคัญในการบริหารจัดการเวลาและการทำงานของพนักงาน ช่วยให้ฝ่ายทรัพยากรบุคคล (HR) และฝ่ายบริหารสามารถติดตามการทำงานของพนักงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงใช้ข้อมูลที่บันทึกเพื่อคำนวณเงินเดือน สวัสดิการ ค่าล่วงเวลา และการจัดทำรายงานการเข้างานได้อย่างแม่นยำ ตอบโจทย์การทำงานในธุรกิจยุคใหม่ได้อย่างสมบูรณ์แบบ
มนุษย์เงินเดือนบางคนอาจจะไม่รู้ด้วยซ้ำว่า ตัวเองมีสิทธิที่จะเรียกร้อง ค่าชดเชยจากนายจ้าง อันนี้เป็นสิทธิ์ของเรานะ พี่ทุยบอกเลยว่า เงินค่าชดเชย เป็นสิ่งที่นายจ้าง ต้องจ่าย ให้กับพนักงานหรือลูกจ้าง เพื่อช่วยเหลือในกรณีให้ออกจากงาน ซึ่งไม่ได้มาจากทำความผิดของพนักงานหรือลูกจ้าง แต่อาจจะด้วยเหตุผลบางอย่างที่จำเป็นต้องลดจำนวนพนักงานลง
ในแต่ละเดือนที่เราจ่ายเงินสมทบประกันสังคมนั้น ก็จะมีเงินส่วนหนึ่งที่จัดเก็บเข้าเป็นเงินสะสมประกันสังคม ซึ่งเงินส่วนนี้เองเราสามารถเช็คเงินสะสมประกันสังคมได้เองผ่านช่องทางออนไลน์ด้วย มาดูกันครับว่าทำยังไง แล้วยอดเงินประกันสังคมนี้ทำอะไรได้บ้าง

Employee Referral Program หรือ โครงการแนะนำพนักงาน คือระบบที่องค์กรใช้เพื่อกระตุ้นให้พนักงานที่ทำงานอยู่แนะนำบุคคลภายนอกที่มีคุณสมบัติที่เหมาะสมเข้ามาทำงานในตำแหน่งที่เปิดรับ โดยทั่วไปโครงการนี้มักมีการมอบรางวัลหรือโบนัสให้กับพนักงานที่แนะนำคนที่ถูกคัดเลือกและรับเข้าทำงานในองค์กรสำเร็จ โครงการแนะนำพนักงานนี้มีข้อดีหลายประการ เช่น การลดต้นทุนในการจ้างงาน เพิ่มคุณภาพของผู้สมัคร และสร้างความผูกพันให้กับพนักงานในองค์กร
การจัดกะพนักงาน คือ กระบวนการวางแผนและจัดระเบียบเวลาทำงานของพนักงานให้เหมาะสมกับความต้องการขององค์กรในแต่ละช่วงเวลา โดยแบ่งเวลาทำงานออกเป็นหลายช่วง (หรือหลายกะ) เพื่อให้มีพนักงานเพียงพอในการปฏิบัติงานตลอดเวลา เช่น ในกรณีขององค์กรที่เปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมงหรือมีความต้องการกำลังคนที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละช่วงเวลา
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์