ต่าง Gen ต่างใจ แล้วจะอยู่ร่วมกันอย่างไรดี (ตอนที่ 1)

ต่าง Gen ต่างใจ แล้วจะอยู่ร่วมกันอย่างไรดี (ตอนที่ 1)



เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ทางบริษัท การจัดการธุรกิจ จำกัด หรือ BMC ได้จัดสัมมนาฟรีในเรื่อง “ต่าง Gen ต่างใจ แล้วจะอยู่ร่วมกันอย่างไรดี” มีผู้สนใจสมัครเข้าฟังกันล้นหลาม แต่เนื่องจากไม่สามารถรับเพิ่มได้ ด้วยข้อจำกัดทางด้านสถานที่ ผมก็เลยขอเขียนเป็นสรุปบทความมาให้กับท่านผู้อ่านที่ไม่ได้เข้าฟัง ได้อ่านกัน เผื่อว่าจะได้ความรู้และแนวทางไปใช้ในการบริหารจัดการความแตกต่างของพนักงาน ในแต่ละ Gen ในองค์กรของเราเอง

คงปฏิเสธไม่ได้ว่า ในยุคปัจจุบันนี้ องค์กรส่วนใหญ่มีพนักงานที่ทำงานในองค์กรครบทุก Generation ไม่ว่าจะเป็น

• Baby Boomer ซึ่งส่วนใหญ่ก็น่าจะเป็นผู้บริหารระดับสูงขององค์กร หรือบางแห่งก็อาจจะเป็นเจ้าของธุรกิจที่สร้างขึ้นมากับมือ คนกลุ่มนี้ก็น่าจะมีอายุอยู่ในช่วง 50 ปีขึ้นไป โดยประมาณ

• Generation X คนกลุ่มนี้ ปัจจุบันก็น่าจะมีอายุอยู่ในช่วงประมาณ 35 ขึ้นไปจนถึง 40 ปลายๆ ซึ่งในองค์กรก็น่าจะดำรงตำแหน่งในระดับผู้บริหารระดับสูง และระดับกลางขององค์กร ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่อยู่ตรงกลางระหว่าง Baby Boomer และ Gen Y นั่นเองครับ

• Generation Y คนกลุ่มนี้ เป็นกลุ่มพนักงานที่เพิ่งเข้ามาทำงานกับองค์กร ซึ่งส่วนใหญ่ก็น่าจะอยู่ในช่วงอายุประมาณ 22-34 ปี ซึ่งก็เป็นคนรุ่นใหม่ ที่กำลังทยอยเข้ามาสู่ตลาดแรงงานมากขึ้นเรื่อยๆ และเป็นคนรุ่นที่หลายๆ องค์กรต่างก็ให้ความสำคัญในการดึงดูด และรักษาไว้ ซึ่งคนกลุ่มนี้ในองค์กร

เคยเกิดเหตุการณ์เหล่านี้ในองค์กรท่านบ้างหรือเปล่า

• ผู้บริหารระดับสูงนั่งบ่น และคุยกันถึงพนักงานใหม่ที่เพิ่งรับเข้ามา “เด็กสมัยนี้ไม่รู้เป็นยังไง ไม่ค่อยขยันทำงานเลย วันๆ เอาแต่เล่นโทรศัพท์ มาก็สาย กลับก็เร็ว ดูแล้วทำงานไม่คุ้มกับเงินเดือนเลย”

• ผู้จัดการฝ่าย Gen X บ่นในที่ประชุมผู้จัดการ “เด็ก สมัยใหม่นี้ไม่รู้เป็นไง สั่งอะไรไป ก็ไม่ค่อยจะเข้าใจ ไม่เข้าใจก็ไม่ถามนะ แล้วก็ไปนั่งงงๆ ไม่พอยังไปนั่งนินทาพวกเราว่า เอาแต่สั่งๆๆๆ ไม่เห็นบอกว่าวิธีการทำงาน หรือขั้นตอนการทำงานเป็นยังไง สมัยเรายังสามารถหาทางทำงานได้ด้วยตนเองเลย เรื่องแค่นี้ ทำไมเด็กสมัยนี้มันคิดกันไม่ได้ก็ไม่รู้ แย่จริงๆ”

• กลุ่มพนักงานนั่งบ่น ระบายกันเองว่า “หัวหน้าเรานี่แย่จริงๆ ไม่ยอมบอกอะไร ได้แต่สั่ง สั่ง สั่ง ไม่เคยที่จะบอกรายละเอียดของงาน แถมยังไม่เคยบอกอะไรเลยว่างานที่ทำนั้น ดีไม่ดีอย่างไร แล้วเราจะรู้ได้ยังไงว่าจะต้องทำอย่างไรต่อไป”

• หรือ “พวกผู้บริหารแก่ๆ นี่ไม่รู้เมื่อไหร่จะเกษียณจากบริษัทไปซักทีนะ น่าเบื่อจริงๆ อะไรๆ ก็อ้างระเบียบไปหมด แค่ทำงานดึกไปหน่อย เลยตื่นสาย มาทำงานสาย แค่นี้ก็บ่นยาว แถมยังกำหนดบทลงโทษอีกนะ ทำไมไม่ดูผลงานที่เราทำออกมาเลยล่ะ สำเร็จตามเป้าหมาย และส่งทันกำหนดเวลาทุกครั้ง เฮ้อ มันน่าเบื่อจริงๆ เลย ลาออกไปทำงานที่อื่นดีกว่า”

ผมเชื่อว่า 80% ขององค์กรในบ้านเราต้องเกิดกรณีแบบนี้ขึ้นบ้างแน่นอน แล้วท่านทำอย่างไรครับ ปล่อยไว้เฉยๆ ทำใจ หรือแค่คิดว่ามันเป็นเรื่องธรรมดา เพราะถ้าคิดแบบนี้ ผมเชื่อว่า องค์กรก็คงมีแต่ความขัดแย้งเกิดขึ้นในแต่ละกลุ่มคน

แล้วเราควรทำอย่างไรดี

ถ้าองค์กรของท่านมีปัญหาเรื่องของคนทำงานที่มีความแตกต่างกันในเรื่องของวัย หรือ Generation จริงๆ สิ่งที่จะต้องทำก็คือ ผู้บริหารระดับสูง และฝ่ายบุคคลจะต้องทำงานร่วมกันโดย

• ต้องหาข้อมูลว่ากลุ่มพนักงานขององค์กรนั้นประกอบไปด้วยคนในแต่ละ Gen มากน้อยสักเท่าไหร่ ในแต่ละ Gen มีจำนวนพนักงานอยู่กี่คน และอยู่ในตำแหน่งอะไร ระดับไหนบ้าง แบ่งกลุ่มออกมาให้ชัดเจน

• ศึกษาความต้องการของแต่ละ Gen ทำความเข้าใจคุณลักษณะของแต่ละ Gen ว่าเป็นอย่างไร มีลักษณะเด่นอะไรบ้าง ชอบอะไร ไม่ชอบอะไร

• จากนั้นก็คงต้องให้กลุ่มคนในแต่รุ่นได้เรียนรู้ซึ่งกันและกัน เพื่อที่จะเกิดความเข้าใจกันมากขึ้น

การแก้ไขปัญหาเรื่องของ Generation นั้น ต้องเริ่มต้นด้วยการสร้างความเข้าใจซึ่งกันและกันเป็นจุดเริ่มต้นเลยครับ

พรุ่งนี้ผมจะมาทบทวนคุณลักษณะของแต่ละ Gen ให้อ่านกันต่อนะครับ จากนั้นก็คงจะเขียนถึงระบบ HR ว่าจะต้องทำอย่างไร และระบบบริหารภายในองค์กรจะต้องบริหารกันอย่างไร เพื่อที่จะทำให้คนแต่ละ Gen สามารถอยู่ทำงานร่วมกันได้อย่างมีความสุขครับ



บทความโดย : คุณประคัลภ์ ปัณฑพลังกูร
ประกาศบทความโดย : www.prosofthrmi.com
 6304
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

การทำงาน เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของชีวิต ซึ่งรูปแบบของการจ้างงานไม่ได้มีเพียงงานประจำและรอเวลาเกษียณอายุเพียงเท่านั้น แต่ยังมีลักษณะการจ้างงานอีกหลายประเภท ที่สามารถตอบโจทย์การใช้ชีวิตที่แตกต่างกันออกไปได้ ในบทความนี้จะมาสรุปสั้น ๆ ให้เข้าใจได้ง่าย ๆ ว่าการจ้างงานมีกี่ประเภท และแต่ละประเภทมีข้อดีแตกต่างกันอย่างไร
การพาพนักงานไป Outing ถือเป็นหนึ่งในสวัสดิการหลัก ๆ ที่หลายองค์กรมี เพื่อดึงดูดพนักงานทั้งภายในและภายนอกให้อยากมาร่วมงานกันด้วย โดยวัตถุประสงค์หลักของการไป Outing ก็เพื่อเสริมสร้างความสามัคคี และเพื่อตอบแทนพนักงาน ให้ได้ผ่อนคลายจากการทำงานประจำวันอันตึงเครียดมายาวนาน โดยที่บริษัทจะดูแลเรื่องค่าใช้จ่ายไว้ทั้งหมด
ระบบลงเวลาเข้า-ออกของพนักงาน คือ ระบบที่ช่วยในการบันทึกเวลาการทำงานของพนักงาน ผ่านอุปกรณ์ดิจิทัลต่างๆ ตั้งแต่ เครื่องสแกนลายนิ้วมือ (Finger Scanner), สมาร์ทโฟน (Smart Phone), แท็บเล็ต (Tablet), ตลอดจนอุปกรณ์ต่างๆ ที่สามารถยืนยันตัวตนผู้ใช้งานได้อย่างชัดเจน ปลอดภัย และเชื่อมต่อสู่ระบบข้อมูลกลางอย่างระบบคลาวด์ (Cloud System) ได้ โดยจะระบุเวลาที่พนักงานเข้ามาทำงานและออกจากงานในแต่ละวัน ดูสถิติ ขาด ลา มาสาย ระบบนี้มีบทบาทสำคัญในการบริหารจัดการเวลาและการทำงานของพนักงาน ช่วยให้ฝ่ายทรัพยากรบุคคล (HR) และฝ่ายบริหารสามารถติดตามการทำงานของพนักงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงใช้ข้อมูลที่บันทึกเพื่อคำนวณเงินเดือน สวัสดิการ ค่าล่วงเวลา และการจัดทำรายงานการเข้างานได้อย่างแม่นยำ ตอบโจทย์การทำงานในธุรกิจยุคใหม่ได้อย่างสมบูรณ์แบบ
มนุษย์เงินเดือนบางคนอาจจะไม่รู้ด้วยซ้ำว่า ตัวเองมีสิทธิที่จะเรียกร้อง ค่าชดเชยจากนายจ้าง อันนี้เป็นสิทธิ์ของเรานะ พี่ทุยบอกเลยว่า เงินค่าชดเชย เป็นสิ่งที่นายจ้าง ต้องจ่าย ให้กับพนักงานหรือลูกจ้าง เพื่อช่วยเหลือในกรณีให้ออกจากงาน ซึ่งไม่ได้มาจากทำความผิดของพนักงานหรือลูกจ้าง แต่อาจจะด้วยเหตุผลบางอย่างที่จำเป็นต้องลดจำนวนพนักงานลง
ในแต่ละเดือนที่เราจ่ายเงินสมทบประกันสังคมนั้น ก็จะมีเงินส่วนหนึ่งที่จัดเก็บเข้าเป็นเงินสะสมประกันสังคม ซึ่งเงินส่วนนี้เองเราสามารถเช็คเงินสะสมประกันสังคมได้เองผ่านช่องทางออนไลน์ด้วย มาดูกันครับว่าทำยังไง แล้วยอดเงินประกันสังคมนี้ทำอะไรได้บ้าง

Employee Referral Program หรือ โครงการแนะนำพนักงาน คือระบบที่องค์กรใช้เพื่อกระตุ้นให้พนักงานที่ทำงานอยู่แนะนำบุคคลภายนอกที่มีคุณสมบัติที่เหมาะสมเข้ามาทำงานในตำแหน่งที่เปิดรับ โดยทั่วไปโครงการนี้มักมีการมอบรางวัลหรือโบนัสให้กับพนักงานที่แนะนำคนที่ถูกคัดเลือกและรับเข้าทำงานในองค์กรสำเร็จ โครงการแนะนำพนักงานนี้มีข้อดีหลายประการ เช่น การลดต้นทุนในการจ้างงาน เพิ่มคุณภาพของผู้สมัคร และสร้างความผูกพันให้กับพนักงานในองค์กร
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์