ความเชื่อเกี่ยวกับคนอายุมากๆ กับการทำงานในองค์กร

ความเชื่อเกี่ยวกับคนอายุมากๆ กับการทำงานในองค์กร



วันนี้ขอเป็นอีกเรื่องที่เกี่ยวกับความเชื่อเรื่องของ Generation แต่เป็น Generation รุ่น Baby Boomer ซึ่งปัจจุบันก็น่าจะมีอายุอยู่ในช่วงใกล้เกษียณในองค์กร Gen นี้ได้รับการขนานตามว่าเป็น Gen อาวุโสในองค์กรต่างๆ ซึ่งมักจะถูกมองไม่ค่อยดีเท่าไหร่นัก ลองมาดูว่าสิ่งที่คนอื่นมองเข้ามานั้น คนใน gen นี้เองเขาคิดอย่างไร และเป็นจริงอย่างที่คนอื่นเขาว่ากันหรือไม่

• ความเชื่อที่ 1 พนักงานที่อายุมากๆ จะกลัวการเปลี่ยนแปลง คนรุ่นใหม่ที่ทำงานในองค์กรที่เปลี่ยนแปลงบ่อยๆ มักจะมีความเชื่อว่า พนักงานรุ่นก่อนๆ ที่มีอายุมากๆ นั้น จะเป็นคนที่กลัวการเปลี่ยนแปลง และไม่ชอบที่จะเปลี่ยนแปลงอะไร อยากอยู่ทำงานแบบเดิมๆ ไปเรื่อยๆ

• ข้อโต้แย้ง เมื่อได้สอบถาม จากพนักงานกลุ่มนี้ พร้อมกับงานวิจัยที่เขาสอบถามกลุ่ม Baby Boomer มา ก็พบกว่า เกือบ 80% ของ Gen นี้ตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า พวกเขาไม่ได้กลัวการเปลี่ยนแปลงเลย เพราะในช่วงชีวิตของเขา ก็พบกับการเปลี่ยนแปลงมาเยอะ ไม่เห็นต้องกลัว แต่ที่ไม่ค่อยเปลี่ยน ก็เพราะองค์กรไม่มีใครมาบอกเขาว่า จะต้องเปลี่ยนแปลงอะไรอย่างไรบ้าง มีแต่บอกว่าให้อยู่แบบนี้แหละ ไม่ต้องเปลี่ยนอะไร เพราะอายุเยอะแล้ว แต่ถ้าผู้บริหารมาบอกตรงๆ ว่ามีการเปลี่ยนแปลงการทำงานต่างๆ ก็ยินดีที่จะเปลี่ยนแปลงตาม แถมยังย้ำอีกว่า คนรุ่นเก่าเปลี่ยนแปลงตัวเองได้เร็วกว่าคนรุ่นใหม่ด้วยซ้ำไป

• ความเชื่อที่ 2 พนักงานที่อายุมากๆ นั้น แก่เกินไปแล้วที่จะทำงานในองค์กร คนรุ่นใหม่มองพนักงานกลุ่มนี้ว่า มีอายุมากเกินไปที่จะมานั่งทำงานในองค์กรแล้ว ควรจะปล่อยให้คนรุ่นหลังเขาทำงานกันจะดีกว่า น่าจะไปพักผ่อนได้แล้ว ด้วยร่างกายที่ช้าลง การตอบสนองต่างๆ ที่ไม่ทันใจ ฯลฯ จะทำให้การทำงานออกมาไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร

• ข้อโต้แย้ง คนรุ่นนี้ให้ เหตุผลว่า แม้ว่าร่างกายจะแก่ลงทุกวัน การตอบสนองต่อสิ่งต่างๆ ช้าลงไปมาก แต่สิ่งหนึ่งที่ยังใช้การได้ดีอยู่เสมอ ก็คือ สมองและประสบการณ์ในการทำงานที่ผ่านมา และข้อพิสูจน์ทางการแพทย์ ก็ยืนยันเช่นกันว่า คนที่อายุ 60 ปีนั้น ยังมีสมองที่แข็งแรง และคิดได้ฉับไว ไม่ต่างกับคนหนุ่มสาวเลย ขอเพียงแค่เข้าใจและใช้งานคนกลุ่มนี้ให้ถูกจริต ให้คุณค่ากับประสบการณ์ที่ผ่านมา รับฟังสิ่งที่เสนอ เพราะคนกลุ่มนี้จะอ่านเยอะ ฟังเยอะ ได้อะไรเข้ามาในสมองเยอะ ซึ่งจะทำให้เกิดผลงานที่โดดเด่น และดีกว่าคนรุ่นใหม่แน่นอน

• ความเชื่อที่ 3 พนักงานอายุมากๆ ไม่มีความสามารถทางเทคโนโลยีใหม่ๆ คนรุ่นใหม่ที่โตขึ้นมาพร้อมกับความเจริญทางเทคโนโลยีในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์ แทบเล็ต โทรศัพท์มือถือ และแอพต่างๆ จะมีความคุ้นเคย และสามารถเรียนรู้สิ่งเหล่านี้ได้เร็ว พร้อมกันนั้นก็เห็นคนรุ่นพ่อแม่ที่ไม่คุ้นกับเทคโนโลยีเลย จะทำอะไรก็ดูงกๆ เงิ่นๆ ไปหมด ก็เลยสรุปเอาเองเลยว่าคนรุ่นนี้ไม่มีความสามารถทางเทคโนโลยีเลย

• ข้อโต้แย้ง คนรุ่นเก่าก็ ให้เหตุผลว่า สมัยที่เขาเติบโตขึ้นมานั้น มีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมมากมาย มีการเดินขบวนเรียกร้องสิ่งต่างๆ มากมาย มีการเปลี่ยนแปลงระบบการปกครอง การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางสังคม บางคนก็เคยเข้าร่วมรบสงครามต่างๆ มาแล้ว ซึ่งคนรุ่นนี้ก็บอกว่า เขาเองทำเรื่องใหญ่ๆ มาเยอะ เข้าร่วมสงครามก็มีแล้ว แค่เรื่องเทคโนโลยีใหม่ๆ แค่นี้ จะไปกลัวอะไร เขาสามารถเรียนรู้ได้อย่างไม่ยากเย็น และเท่าที่ผมเห็น ก็เป็นจริงอย่างที่คนรุ่น Baby boomer กล่าวไว้เลย เพราะนายผม อายุกว่า 70 ปี ยังสามารถใช้คอมพิวเตอร์ได้ ใช้ ipad ได้อย่างคล่องแคล่วทีเดียว เรียกกว่า เด็กยังอายถ้าได้เห็น ในปัจจุบัน ก็ใช้ ไลน์เป็น ใช้ Facebook เป็น มองแล้วไม่ได้แตกต่างกับเด็กยุคปัจจุบันเลย

จากความเชื่อ 3 ประการที่คนรุ่นเก่าๆ ในองค์กรถูกคนรุ่นใหม่มองนั้น จากเหตุผลที่กล่าวมา ก็แสดงให้เห็นว่า เป็นเรื่องที่ไม่จริงไปซะทุกคน คนรุ่นเก่าๆ มีประสบการณ์ที่มากมาย ผ่านสิ่งต่างๆ มาเยอะมาก สามารถที่จะให้คนรุ่นใหม่เรียนลัดได้ โดยที่ไม่ต้องไปลองผิดลองถูกใหม่อีกครั้ง จะได้ไม่เสียเวลาในการเรียนรู้ เราก็สามารถเรียนรู้จากคนรุ่นเดิมได้ อีกทั้งก็ไม่ได้กลัวการเปลี่ยนแปลง ไม่ได้เป็นคนที่ไม่มีแรงทำงานแล้ว และไม่ใช่คนที่กลัวเทคโนโลยีเลย

ตรงกันข้าม ถ้าองค์กรมีวิธีในการบริหารจัดการที่ดี มีการสื่อสารภายในที่ดี ถึงนโยบายต่างๆ ขององค์กร และไม่มองว่า คนแก่คือคนที่ทำงานไม่ได้แล้ว และมีข้อจำกัดมากมาย ถ้าเราสามารถเปลี่ยนมุมมองจากเดิม มามองมุมใหม่ได้ องค์กรก็จะมีการประสานและเชื่อมโยงคนหลายๆ รุ่นเข้าไว้ด้วยกันได้อย่างไม่ยาก



บทความโดย : คุณประคัลภ์ ปัณฑพลังกูร
ประกาศบทความโดย : www.prosofthrmi.com
 5383
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

การพาพนักงานไป Outing ถือเป็นหนึ่งในสวัสดิการหลัก ๆ ที่หลายองค์กรมี เพื่อดึงดูดพนักงานทั้งภายในและภายนอกให้อยากมาร่วมงานกันด้วย โดยวัตถุประสงค์หลักของการไป Outing ก็เพื่อเสริมสร้างความสามัคคี และเพื่อตอบแทนพนักงาน ให้ได้ผ่อนคลายจากการทำงานประจำวันอันตึงเครียดมายาวนาน โดยที่บริษัทจะดูแลเรื่องค่าใช้จ่ายไว้ทั้งหมด
ระบบลงเวลาเข้า-ออกของพนักงาน คือ ระบบที่ช่วยในการบันทึกเวลาการทำงานของพนักงาน ผ่านอุปกรณ์ดิจิทัลต่างๆ ตั้งแต่ เครื่องสแกนลายนิ้วมือ (Finger Scanner), สมาร์ทโฟน (Smart Phone), แท็บเล็ต (Tablet), ตลอดจนอุปกรณ์ต่างๆ ที่สามารถยืนยันตัวตนผู้ใช้งานได้อย่างชัดเจน ปลอดภัย และเชื่อมต่อสู่ระบบข้อมูลกลางอย่างระบบคลาวด์ (Cloud System) ได้ โดยจะระบุเวลาที่พนักงานเข้ามาทำงานและออกจากงานในแต่ละวัน ดูสถิติ ขาด ลา มาสาย ระบบนี้มีบทบาทสำคัญในการบริหารจัดการเวลาและการทำงานของพนักงาน ช่วยให้ฝ่ายทรัพยากรบุคคล (HR) และฝ่ายบริหารสามารถติดตามการทำงานของพนักงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงใช้ข้อมูลที่บันทึกเพื่อคำนวณเงินเดือน สวัสดิการ ค่าล่วงเวลา และการจัดทำรายงานการเข้างานได้อย่างแม่นยำ ตอบโจทย์การทำงานในธุรกิจยุคใหม่ได้อย่างสมบูรณ์แบบ
มนุษย์เงินเดือนบางคนอาจจะไม่รู้ด้วยซ้ำว่า ตัวเองมีสิทธิที่จะเรียกร้อง ค่าชดเชยจากนายจ้าง อันนี้เป็นสิทธิ์ของเรานะ พี่ทุยบอกเลยว่า เงินค่าชดเชย เป็นสิ่งที่นายจ้าง ต้องจ่าย ให้กับพนักงานหรือลูกจ้าง เพื่อช่วยเหลือในกรณีให้ออกจากงาน ซึ่งไม่ได้มาจากทำความผิดของพนักงานหรือลูกจ้าง แต่อาจจะด้วยเหตุผลบางอย่างที่จำเป็นต้องลดจำนวนพนักงานลง
ในแต่ละเดือนที่เราจ่ายเงินสมทบประกันสังคมนั้น ก็จะมีเงินส่วนหนึ่งที่จัดเก็บเข้าเป็นเงินสะสมประกันสังคม ซึ่งเงินส่วนนี้เองเราสามารถเช็คเงินสะสมประกันสังคมได้เองผ่านช่องทางออนไลน์ด้วย มาดูกันครับว่าทำยังไง แล้วยอดเงินประกันสังคมนี้ทำอะไรได้บ้าง

Employee Referral Program หรือ โครงการแนะนำพนักงาน คือระบบที่องค์กรใช้เพื่อกระตุ้นให้พนักงานที่ทำงานอยู่แนะนำบุคคลภายนอกที่มีคุณสมบัติที่เหมาะสมเข้ามาทำงานในตำแหน่งที่เปิดรับ โดยทั่วไปโครงการนี้มักมีการมอบรางวัลหรือโบนัสให้กับพนักงานที่แนะนำคนที่ถูกคัดเลือกและรับเข้าทำงานในองค์กรสำเร็จ โครงการแนะนำพนักงานนี้มีข้อดีหลายประการ เช่น การลดต้นทุนในการจ้างงาน เพิ่มคุณภาพของผู้สมัคร และสร้างความผูกพันให้กับพนักงานในองค์กร
การจัดกะพนักงาน คือ กระบวนการวางแผนและจัดระเบียบเวลาทำงานของพนักงานให้เหมาะสมกับความต้องการขององค์กรในแต่ละช่วงเวลา โดยแบ่งเวลาทำงานออกเป็นหลายช่วง (หรือหลายกะ) เพื่อให้มีพนักงานเพียงพอในการปฏิบัติงานตลอดเวลา เช่น ในกรณีขององค์กรที่เปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมงหรือมีความต้องการกำลังคนที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละช่วงเวลา
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์