หัวหน้าลำเอียง หรือพนักงานคิดไปเอง

หัวหน้าลำเอียง หรือพนักงานคิดไปเอง



พูดถึงเรื่องของการเป็นหัวหน้างานที่ดีเมื่อไหร่ ก็ต้องนึกถึงคำๆ หนึ่งก็คือ “ความเป็นธรรม” ซึ่งถามว่าความเป็นธรรมนี้หมายถึงอะไร คำตอบก็คือ หัวหน้าที่ดีจะต้องปฏิบัติต่อลูกน้องทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน ไม่เลือกปฏิบัติ ไม่เลือกที่รักมักที่ชัง ปฏิบัติต่อทุกคนอย่างเสมอภาค

แต่อย่างไรก็ดี จากการวิจัย ซึ่งไปสอบถามกลุ่มพนักงานที่มีบทบาทเป็นลูกน้อง ประมาณ 50% ของกลุ่มลูกน้องมักจะมองว่า หัวหน้าของตนนั้นวางตัวไม่เป็นกลาง เลือกปฏิบัติต่อลูกน้องแต่ละคนไม่เท่ากัน หรือที่เรียกกันว่า รักลูกน้องไม่เท่ากัน พอสอบถามถึงสาเหตุ และให้เล่าให้ฟังหน่อยว่า สถานการณ์อย่างไรที่เรียกว่าหัวหน้ามีความลำเอียง

• เวลาถึงวันเกิดพนักงาน ซึ่งจะมีการเลี้ยงวันเกิดให้ ปกติหัวหน้าก็ซื้อเค้กวันเกิดให้ แต่วันดีคืนดีหัวหน้าเองก็เบื่อเค้กแบบเดิมๆ ก็เลยซื้อเค้กไอศกรีมมาในวันเกิดของพนักงานคนหนึ่ง แค่กรณีแบบนี้ ลูกน้องบางคนก็มองหัวหน้าว่าไม่เป็นธรรมแล้ว พนักงานอ้างว่า ทีวันเกิดของเราเลี้ยงเค้กธรรมดา แต่วันเกิดของพนักงานอีกคนกลับเลี้ยงเค้กไอศกรีม ซึ่งทำให้พนักงานรู้สึกว่าหัวหน้าเลือกปฏิบัติ แต่จริงๆ พอไปถามหัวหน้าว่าเลือกปฏิบัติจริงหรือ คำตอบที่ได้มาก็คือ หัวหน้ากลัวว่าพนักงานจะต้องกินเค้กแบบเดิมๆ ตลอด ก็เลยคิดว่าน่าจะเปลี่ยนบ้าง ก็แค่นั้น แต่กลับถูกมองว่าเลือกปฏิบัติ

• บางบริษัทมีการจัดงานเลี้ยงส่งพนักงานที่ลาออกจากบริษัท หัวหน้าก็พาไปเลี้ยงตอนเย็น พาไปคาราโอเกะ จากนั้นก็ไปต่อกันด้วยความสนุกสนาน ซึ่งพนักงานในทีมก็ไปกันทั้งหมด แต่พอกลับมา หัวหน้ากลับถูกมองว่า ไม่เป็นธรรมเลย เพราะพนักงานที่ไม่ได้ลาออก ตั้งใจทำงานแทบตาย ไม่เห็นเคยจะเลี้ยงอะไรแบบนี้ แต่พอพนักงานคนนึงลาออกไป หัวหน้ากลับเลี้ยงซะใหญ่โต แบบนี้ก็ทำให้คนที่ยังคงทำงานอยู่รู้สึกว่าหัวหน้าให้ความสำคัญกับคนที่ออก มากกว่าคนที่ยังทำงานอยู่ แต่พอไปถามหัวหน้า หัวหน้าก็ตอบว่าไม่ได้คิดอะไรแบบนั้นเลย เราก็ชวนทุกคนในทีมไป ทุกคนก็ร้องเพลงกันหมด แต่กลับคิดอีกแบบว่าหัวหน้าไม่เป็นธรรม

• บางบริษัทก็มีการแชร์ค่าอาหารกลางวันเวลามีงานต่างๆ ภายในบริษัท ไม่ว่าจะเป็นวันเกิดพนักงาน หรืองานเลี้ยงสังสรรค์อื่นๆ เช่นรับปริญญา ฯลฯ โดยปกติคนที่เป็นนายจะร่วมแชร์ค่าใช้จ่ายเยอะหน่อย เพื่อแบ่งเบาภาระของพนักงานบางคนลง แต่บางครั้งที่พนักงานที่อยู่ในบริษัทมีจำนวนน้อย แต่วันนั้นต้องมีการเลี้ยงพนักงาน ผู้บริหารก็เลยตัดสินใจแชร์เงินมากกว่าปกติที่เคยให้ แต่เชื่อมั้ยครับว่า พนักงานกลับมองว่า หัวหน้าจะต้องรักพนักงานคนนี้แน่เลย เพราะว่าแชร์เงินมากกว่าคนอื่นที่เคยเลี้ยงๆ กันไป

• หัวหน้าบางคนนัดเจอลูกน้องที่อยู่บ้านใกล้ๆ กัน ให้ขึ้นรถมาด้วยกัน แค่นี้ ก็ทำให้พนักงานบางคนมองหัวหน้าว่าลำเอียงแล้ว เพราะไม่เคยให้ลูกน้องคนอื่นมาด้วยเลย มีแต่คนนี้คนเดียว ซึ่งเหตุผลจริงๆ ก็คือ น้ำใจเล็กๆ น้อยๆ ที่ติดรถกันมา เพราะบ้านอยู่ใกล้กัน ยังไงก็ผ่านทางนี้อยู่แล้ว ก็เลยชวนมาด้วยกัน

กรณีตัวอย่างต่างๆ ที่เขี่ยนมาข้างต้นนั้นเป็นตัวอย่างที่หัวหน้าไม่เคยคิดที่จะลำเอียง หรือเลือกปฏิบัติไม่เท่าเทียมกัน กับลูกน้องแต่ละคน ถามคนที่เป็นหัวหน้าว่าจริงๆ แล้วลำเอียงหรือ คำตอบที่ได้มา 100% ตอบว่า ไม่เคยคิดอยากจะลำเอียงเลย แต่บางครั้งพนักงานก็คิดไปเองบ้าง เห็นแล้วก็เอาไปคิดเองเออเองบ้าง ก็เลยทำให้ถูกมองว่าลำเอียงทั้งๆ ที่จริงๆ แล้วอยากจะทำให้ดีกว่าเดิมด้วยซ้ำไป

พอเป็นอย่างที่เล่ามา หัวหน้างานบางคนก็เริ่มเรียนรู้ว่า ถ้าจะต้องทำอะไรแบบนี้ ต้องทำให้เท่ากัน เลือกซื้อที่เหมือนกัน แชร์เงินเท่าๆ กัน จนต้องทำอะไรแบบซ้ำๆ และเป็นมาตรฐานเดียวกันจนเกินไป พอเป็นแบบนี้นานๆ เข้า ลูกน้องก็มองว่า หัวหน้าคนนี้ช่างไม่มีความคิดสร้างสรรค์อะไรเลย วันเกิดทุกคน ก็เลี้ยงเหมือนกัน ให้ของขวัญเหมือนกันหมด

ให้ไม่เหมือนก็โดนหาว่าลำเอียง พอให้เหมือนๆ กัน ก็หาว่าไม่มีความคิดสร้างสรรค์ใดๆ เลย

ดังนั้นจึงเป็นเรื่องปกตินะครับ ถ้าพนักงานบางคนจะมีความคิดว่าหัวหน้าลำเอียง เลือกปฏิบัติ แต่สิ่งที่หัวหน้าจะต้องทำต่อก็คือ จะต้องมีการพูดคุย ชี้แจง ถึงสิ่งที่ได้ทำลงไป ว่า มีสาเหตุอะไรที่ทำแบบนั้น ที่ให้ไม่เหมือนเพราะอะไร

ให้แล้วก็ต้องมีการอธิบายให้ชัดเจนว่าทำไม ถ้าไม่บอก แล้วปล่อยให้พนักงานคิดกันไปเองนั้น มันจะเป็นอันตรายต่อการทำงานระหว่างหัวหน้ากับลูกน้องด้วยนะครับ เพราะเมื่อไหร่ที่ลูกน้องรู้สึกว่าลูกพี่ลำเอียงเมื่อไหร่ แม้ว่าจะเป็นการคิดไปเองก็ตาม แรงจูงใจของลูกน้องคนนั้นก็จะหมดไปอย่างรวดเร็ว

แล้วเรียกคืนยากซะด้วยนะครับ

ในทางตรงกันข้าม หัวหน้าที่ลำเอียงจริงๆ มีหรือไม่ คำตอบก็คือ มีแน่นอนครับ บางคนตั้งใจเลือกปฏิบัติเลยก็มีนะครับ ชอบใคร ไม่ชอบใครก็ปฏิบัติต่อลูกน้องแต่ละคนไม่เหมือนกัน คนที่ชอบ ก็ทำดีด้วย คนที่ไม่ชอบ ก็จะไม่อยากที่จะทำอะไรให้

ผลก็คือ หัวหน้าแบบนี้ จะไม่สามารถที่จะรักษาให้พนักงานทำงานในทีมได้ยาว ทำไปสักพัก ลูกทีมก็จะลาออกเพราะรู้สึกถึงความไม่เป็นธรรมของหัวหน้า ยิ่งไปกว่านั้น ผลงานของทีมก็ยิ่งถอยหลังไปเรื่อยๆ เพราะพนักงานขาดแรงจูงใจในการทำงานนั่นเองครับ



บทความโดย : คุณประคัลภ์ ปัณฑพลังกูร
ประกาศบทความโดย : www.prosofthrmi.com
 10309
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

การพาพนักงานไป Outing ถือเป็นหนึ่งในสวัสดิการหลัก ๆ ที่หลายองค์กรมี เพื่อดึงดูดพนักงานทั้งภายในและภายนอกให้อยากมาร่วมงานกันด้วย โดยวัตถุประสงค์หลักของการไป Outing ก็เพื่อเสริมสร้างความสามัคคี และเพื่อตอบแทนพนักงาน ให้ได้ผ่อนคลายจากการทำงานประจำวันอันตึงเครียดมายาวนาน โดยที่บริษัทจะดูแลเรื่องค่าใช้จ่ายไว้ทั้งหมด
ระบบลงเวลาเข้า-ออกของพนักงาน คือ ระบบที่ช่วยในการบันทึกเวลาการทำงานของพนักงาน ผ่านอุปกรณ์ดิจิทัลต่างๆ ตั้งแต่ เครื่องสแกนลายนิ้วมือ (Finger Scanner), สมาร์ทโฟน (Smart Phone), แท็บเล็ต (Tablet), ตลอดจนอุปกรณ์ต่างๆ ที่สามารถยืนยันตัวตนผู้ใช้งานได้อย่างชัดเจน ปลอดภัย และเชื่อมต่อสู่ระบบข้อมูลกลางอย่างระบบคลาวด์ (Cloud System) ได้ โดยจะระบุเวลาที่พนักงานเข้ามาทำงานและออกจากงานในแต่ละวัน ดูสถิติ ขาด ลา มาสาย ระบบนี้มีบทบาทสำคัญในการบริหารจัดการเวลาและการทำงานของพนักงาน ช่วยให้ฝ่ายทรัพยากรบุคคล (HR) และฝ่ายบริหารสามารถติดตามการทำงานของพนักงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงใช้ข้อมูลที่บันทึกเพื่อคำนวณเงินเดือน สวัสดิการ ค่าล่วงเวลา และการจัดทำรายงานการเข้างานได้อย่างแม่นยำ ตอบโจทย์การทำงานในธุรกิจยุคใหม่ได้อย่างสมบูรณ์แบบ
มนุษย์เงินเดือนบางคนอาจจะไม่รู้ด้วยซ้ำว่า ตัวเองมีสิทธิที่จะเรียกร้อง ค่าชดเชยจากนายจ้าง อันนี้เป็นสิทธิ์ของเรานะ พี่ทุยบอกเลยว่า เงินค่าชดเชย เป็นสิ่งที่นายจ้าง ต้องจ่าย ให้กับพนักงานหรือลูกจ้าง เพื่อช่วยเหลือในกรณีให้ออกจากงาน ซึ่งไม่ได้มาจากทำความผิดของพนักงานหรือลูกจ้าง แต่อาจจะด้วยเหตุผลบางอย่างที่จำเป็นต้องลดจำนวนพนักงานลง
ในแต่ละเดือนที่เราจ่ายเงินสมทบประกันสังคมนั้น ก็จะมีเงินส่วนหนึ่งที่จัดเก็บเข้าเป็นเงินสะสมประกันสังคม ซึ่งเงินส่วนนี้เองเราสามารถเช็คเงินสะสมประกันสังคมได้เองผ่านช่องทางออนไลน์ด้วย มาดูกันครับว่าทำยังไง แล้วยอดเงินประกันสังคมนี้ทำอะไรได้บ้าง

Employee Referral Program หรือ โครงการแนะนำพนักงาน คือระบบที่องค์กรใช้เพื่อกระตุ้นให้พนักงานที่ทำงานอยู่แนะนำบุคคลภายนอกที่มีคุณสมบัติที่เหมาะสมเข้ามาทำงานในตำแหน่งที่เปิดรับ โดยทั่วไปโครงการนี้มักมีการมอบรางวัลหรือโบนัสให้กับพนักงานที่แนะนำคนที่ถูกคัดเลือกและรับเข้าทำงานในองค์กรสำเร็จ โครงการแนะนำพนักงานนี้มีข้อดีหลายประการ เช่น การลดต้นทุนในการจ้างงาน เพิ่มคุณภาพของผู้สมัคร และสร้างความผูกพันให้กับพนักงานในองค์กร
การจัดกะพนักงาน คือ กระบวนการวางแผนและจัดระเบียบเวลาทำงานของพนักงานให้เหมาะสมกับความต้องการขององค์กรในแต่ละช่วงเวลา โดยแบ่งเวลาทำงานออกเป็นหลายช่วง (หรือหลายกะ) เพื่อให้มีพนักงานเพียงพอในการปฏิบัติงานตลอดเวลา เช่น ในกรณีขององค์กรที่เปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมงหรือมีความต้องการกำลังคนที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละช่วงเวลา
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์