ทำไมพนักงานถึงไม่ลาออก

ทำไมพนักงานถึงไม่ลาออก



ในการบริหารทรัพยากรบุคคลนั้น ส่วนใหญ่มักจะมีตัวชี้วัดอยู่ 1 ตัวที่เกือบทุกองค์กรจะต้องนำมาใช้ประเมินดูว่า องค์กรสามารถที่จะรักษาพนักงานไว้ได้ดีสักแค่ไหน ตัวชี้วัดตัวนั้นก็คือ “อัตราการลาออกของพนักงาน”

บทความงานวิจัยต่างๆ ที่มีขึ้นมานั้น พยายามจะศึกษาว่า ทำไมพนักงานถึงลาออกจากองค์กร แล้วก็พยายามเอาสาเหตุต่างๆ ที่พนักงานบอกมาในการ Exit interview มาแก้ไขระบบงานต่างๆ ภายในองค์กรเพื่อทำให้อัตราการลาออกของพนักงานน้อยลง ซึ่งเป็นสิ่งที่องค์กรส่วนใหญ่ทำกัน

แต่ทำไมถึงไม่ค่อยมีงานวิจัยที่ศึกษาว่าทำไมพนักงานถึงอยู่ทำงานกับองค์กรนานๆ หรือเรากำลังไม่สนใจคนที่ทำงานอยู่กับเรานานๆ แต่ไปสนใจคนที่ลาออกจากองค์กรมากกว่า ซึ่งในการทำ Exit Interview โดยส่วนใหญ่ที่เคยทำมา ข้อมูลมักจะเป็นข้อมูลที่เชื่อไม่ค่อยได้สักเท่าไหร่ บางคนก็พูดตรงๆ บางคนก็เติมแต่งจนคนในองค์กรเป็นผู้ร้ายไปหมดทุกคน บางคนก็ใส่ร้ายป้ายสี และจัดเต็มก่อนลาออก เพราะไม่ต้องกลัวว่าจะเสียอะไรแล้ว ซึ่งทำให้ข้อมูลจากการทำ Exit Interview นั้นไม่ค่อยน่าเชื่อถือสักเท่าไหร่

ในทางตรงกันข้าม พนักงานที่อยู่ทำงานกับองค์กรนานๆ ทำงานดีๆ และไม่คิดจะลาออกไปไหนเรากลับไม่ค่อยสนใจ หรือใส่ใจไปสอบถามว่า อะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้เขาอยู่ ทั้งนี้ก็เนื่องจากเราอาจจะเชื่อว่า ก็พนักงานยังอยู่ทำงานก็ดีแล้ว จะไปถามทำไมให้เสียเวลา

แต่ผมกลับมองตรงกันข้ามนะครับ การที่เราทราบว่าพนักงานที่อยู่ทำงานกับองค์กร และไม่อยากจากไปไหนนั้น เป็นเพราะสาเหตุอะไรบ้าง เราจะได้เห็นว่า จุดแข็งขององค์กรเราที่ทำให้พนักงานอยากอยู่ทำงานกับเรานั้นมีอะไรบ้าง และเอาสาเหตุเหล่านี้มาเป็นแนวทางในการสร้างความผูกพัน และรักษาพนักงานในองค์กรได้ดีกว่า การไปเอาสาเหตุที่พนักงานลาออกมาใช้ โดยที่ข้อมูลก็เป็นข้อมูลที่ไม่น่าเชื่อถือสักเท่าไหร่

นี่ก็คือสาเหตุที่ปัจจุบันนี้ องค์กรส่วนใหญ่เริ่มที่จะหันมาทำเรื่องของอัตราความพึงพอใจของพนักงาน หรือไม่ก็สำรวจอัตราความผูกพันของพนักงานต่อองค์กรในเรื่องต่างๆ ซึ่งจะได้นำเอาข้อมูลในส่วนนี้มาใช้ในการพัฒนาสิ่งต่างๆ ที่มีผลต่อความผูกพันของพนักงาน เพื่อสร้างความผูกพันของพนักงานที่มีต่อองค์กรให้สูงขึ้นนั่นเองครับ



บทความโดย : คุณประคัลภ์ ปัณฑพลังกูร
ประกาศบทความโดย : www.prosofthrmi.com
 3582
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

การพาพนักงานไป Outing ถือเป็นหนึ่งในสวัสดิการหลัก ๆ ที่หลายองค์กรมี เพื่อดึงดูดพนักงานทั้งภายในและภายนอกให้อยากมาร่วมงานกันด้วย โดยวัตถุประสงค์หลักของการไป Outing ก็เพื่อเสริมสร้างความสามัคคี และเพื่อตอบแทนพนักงาน ให้ได้ผ่อนคลายจากการทำงานประจำวันอันตึงเครียดมายาวนาน โดยที่บริษัทจะดูแลเรื่องค่าใช้จ่ายไว้ทั้งหมด
ระบบลงเวลาเข้า-ออกของพนักงาน คือ ระบบที่ช่วยในการบันทึกเวลาการทำงานของพนักงาน ผ่านอุปกรณ์ดิจิทัลต่างๆ ตั้งแต่ เครื่องสแกนลายนิ้วมือ (Finger Scanner), สมาร์ทโฟน (Smart Phone), แท็บเล็ต (Tablet), ตลอดจนอุปกรณ์ต่างๆ ที่สามารถยืนยันตัวตนผู้ใช้งานได้อย่างชัดเจน ปลอดภัย และเชื่อมต่อสู่ระบบข้อมูลกลางอย่างระบบคลาวด์ (Cloud System) ได้ โดยจะระบุเวลาที่พนักงานเข้ามาทำงานและออกจากงานในแต่ละวัน ดูสถิติ ขาด ลา มาสาย ระบบนี้มีบทบาทสำคัญในการบริหารจัดการเวลาและการทำงานของพนักงาน ช่วยให้ฝ่ายทรัพยากรบุคคล (HR) และฝ่ายบริหารสามารถติดตามการทำงานของพนักงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงใช้ข้อมูลที่บันทึกเพื่อคำนวณเงินเดือน สวัสดิการ ค่าล่วงเวลา และการจัดทำรายงานการเข้างานได้อย่างแม่นยำ ตอบโจทย์การทำงานในธุรกิจยุคใหม่ได้อย่างสมบูรณ์แบบ
มนุษย์เงินเดือนบางคนอาจจะไม่รู้ด้วยซ้ำว่า ตัวเองมีสิทธิที่จะเรียกร้อง ค่าชดเชยจากนายจ้าง อันนี้เป็นสิทธิ์ของเรานะ พี่ทุยบอกเลยว่า เงินค่าชดเชย เป็นสิ่งที่นายจ้าง ต้องจ่าย ให้กับพนักงานหรือลูกจ้าง เพื่อช่วยเหลือในกรณีให้ออกจากงาน ซึ่งไม่ได้มาจากทำความผิดของพนักงานหรือลูกจ้าง แต่อาจจะด้วยเหตุผลบางอย่างที่จำเป็นต้องลดจำนวนพนักงานลง
ในแต่ละเดือนที่เราจ่ายเงินสมทบประกันสังคมนั้น ก็จะมีเงินส่วนหนึ่งที่จัดเก็บเข้าเป็นเงินสะสมประกันสังคม ซึ่งเงินส่วนนี้เองเราสามารถเช็คเงินสะสมประกันสังคมได้เองผ่านช่องทางออนไลน์ด้วย มาดูกันครับว่าทำยังไง แล้วยอดเงินประกันสังคมนี้ทำอะไรได้บ้าง

Employee Referral Program หรือ โครงการแนะนำพนักงาน คือระบบที่องค์กรใช้เพื่อกระตุ้นให้พนักงานที่ทำงานอยู่แนะนำบุคคลภายนอกที่มีคุณสมบัติที่เหมาะสมเข้ามาทำงานในตำแหน่งที่เปิดรับ โดยทั่วไปโครงการนี้มักมีการมอบรางวัลหรือโบนัสให้กับพนักงานที่แนะนำคนที่ถูกคัดเลือกและรับเข้าทำงานในองค์กรสำเร็จ โครงการแนะนำพนักงานนี้มีข้อดีหลายประการ เช่น การลดต้นทุนในการจ้างงาน เพิ่มคุณภาพของผู้สมัคร และสร้างความผูกพันให้กับพนักงานในองค์กร
การจัดกะพนักงาน คือ กระบวนการวางแผนและจัดระเบียบเวลาทำงานของพนักงานให้เหมาะสมกับความต้องการขององค์กรในแต่ละช่วงเวลา โดยแบ่งเวลาทำงานออกเป็นหลายช่วง (หรือหลายกะ) เพื่อให้มีพนักงานเพียงพอในการปฏิบัติงานตลอดเวลา เช่น ในกรณีขององค์กรที่เปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมงหรือมีความต้องการกำลังคนที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละช่วงเวลา
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์