จะมีสักกี่คนที่วางแผนพัฒนาลูกน้องของตนเองอย่างจริงจัง

จะมีสักกี่คนที่วางแผนพัฒนาลูกน้องของตนเองอย่างจริงจัง



หลายๆ องค์กรมีการกำหนดนโยบายเรื่องของการพัฒนาพนักงาน มีการใช้เครื่องมือในการพัฒนาคนในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ Competency หรือ Training Roadmap หรือ IDP ฯลฯ อะไรต่อมิอะไรอีกมากมาย ถามว่าเครื่องมือเหล่านี้ใครเป็นคนใช้กันแน่ระหว่าง ฝ่ายบุคคล กับผู้จัดการตามสายงาน

มีองค์กรจำนวนมากที่มีการวางระบบการพัฒนาคน มีเครื่องมือการพัฒนาต่างๆ มากมาย แต่ก็แค่มีระบบ แต่ไม่ได้เอาไปใช้อย่างจริงจังเลย เวลาถามว่ามีระบบต่างๆ ในการพัฒนาคนหรือไม่ คำตอบก็คือมี แต่พนักงานกลับไม่ได้ถูกพัฒนาอะไรเลย ทั้งๆ ที่มีระบบวางไว้อย่างชัดเจน

ระบบการพัฒนาพนักงานเหล่านี้ จะต้องมีการสนับสนุนให้ผู้จัดการ และหัวหน้างานได้ใช้อย่างจริงจัง

คำถามที่ผมมักจะถามหัวหน้างาน หรือผู้จัดการก็คือ ท่านมีการวางแผนพัฒนาพนักงานของท่านสักแค่ไหน

สิ่งที่เกิดขึ้นจริงๆ ก็คือหัวหน้ากับลูกน้อง ต่างคนก็ต่างทำงานกันไป ไม่เคยมานั่งคุยกันในเรื่องของการวางแผนพัฒนากันเลยด้วยซ้ำไป ผลก็คือ พนักงานไม่ถูกพัฒนาอย่างถูกทาง สาเหตุเกิดจากอะไรบ้าง

• หัวหน้าไม่รู้ว่าพนักงานจะต้องพัฒนาอะไร สาเหตุนี้เป็นสาเหตุหลักเลยที่ทำให้พนักงานไม่ได้รับการพัฒนาอะไรเลย เพราะหัวหน้ามองไม่ออกว่าลูกน้องตนเองมีจุดอ่อน และจุดแข็งอะไรบ้าง พอมองไม่ออก ก็เลยไม่รู้ว่าจะต้องวางแผนพัฒนาอะไรกันบ้าง ผลสุดท้ายก็คือต่างคนต่างทำงานกันไปตามยถากรรม

• ระบบประเมินผลงานใช้งานไม่ได้ สาเหตุนี้ก็เกิดมาจากหัวหน้าไม่สามารถประเมินผลงานพนักงานได้ ไม่รู้ว่าลูกน้องคนไหนผลงานดี หรือไม่ดี สุดท้ายก็เลยไม่สามารถเอาผลการประเมินมาวางแผนในการพัฒนาพนักงานได้เลย

• หัวหน้าไม่ใส่ใจลูกน้อง ประเด็นนี้เกิดขึ้นก็เนื่องจากหัวหน้าไม่เคยเข้าใจในเรื่องของการบริหารจัดการที่ว่าจะให้พนักงานสร้างผลงานที่ดีขึ้นนั้น จะต้องได้รับการพัฒนาทั้งในด้านความรู้ และทักษะต่างๆ ให้ดีขึ้นอยู่เสมอ

ผลสุดท้ายที่เกิดขึ้นก็คือ พนักงานแต่ละคนจะไม่ได้รับการวางแผนการพัฒนาจากหัวหน้าตัวเองเลย แต่ที่พนักงานถูกส่งไปฝึกอบรมบ้างนั้น ก็มาจากการที่ฝ่ายบุคคลส่งหลักสูตรมาให้กับหัวหน้า หรือไม่ก็เป็น KPI ของหัวหน้าที่จะต้องส่งพนักงานเข้าฝึกอบรมโดยวัดเป็นจำนวนชั่วโมงฝึกอบรม ก็เลยสักแต่ว่าส่งๆ ไป เพื่อให้ได้ชั่วโมงตามที่กำหนด โดยไม่มีการมานั่งพิจารณาวางแผนการพัฒนากันอย่างจริงจังเลย

บางองค์กรที่มีการพัฒนากันอย่างจริงจัง หัวหน้ากับลูกน้องในช่วงต้นปี ก็จะเอาผลการประเมินปีที่ผ่านมา พร้อมกับจุดแข็งจุดอ่อนต่างๆ มาคุยกัน พร้อมกับตั้งเป้าหมายว่าปีนี่จะต้องได้รับการพัฒนาอะไร เพื่อที่จะเติบโตต่อไปยังตำแหน่งอะไรต่อไปได้บ้าง ต้องใช้เวลาอีกกี่ปี ผลงานจะต้องออกมาเป็นอย่างไร ฯลฯ กำหนดออกมาให้ชัดเจน

รวมถึงแนวทางในการพัฒนาที่ชัดเจนมาก ไม่ใช่แค่เพียงการส่งไปฝึกอบรมอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังมีการสอนงาน การเป็นพี่เลี้ยง ฯลฯ ในแต่ละทักษะที่ต้องการจะให้พัฒนาอีกด้วย

แต่เชื่อหรือไม่ครับว่า มีน้อยองค์กรมากที่หัวหน้างาน หรือผู้จัดการจะทำการวางแผนแบบนี้ ลองพิจารณาจากองค์กรของท่านเองก็ได้ครับ ว่ามีผู้จัดการหรือหัวหน้างานสักกี่คนที่มีการวางแผนการพัฒนาพนักงานรายบุคคลอย่างจริงจังบ้าง



บทความโดย : คุณประคัลภ์ ปัณฑพลังกูร
ประกาศบทความโดย : www.prosofthrmi.com
 3421
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

การทำงาน เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของชีวิต ซึ่งรูปแบบของการจ้างงานไม่ได้มีเพียงงานประจำและรอเวลาเกษียณอายุเพียงเท่านั้น แต่ยังมีลักษณะการจ้างงานอีกหลายประเภท ที่สามารถตอบโจทย์การใช้ชีวิตที่แตกต่างกันออกไปได้ ในบทความนี้จะมาสรุปสั้น ๆ ให้เข้าใจได้ง่าย ๆ ว่าการจ้างงานมีกี่ประเภท และแต่ละประเภทมีข้อดีแตกต่างกันอย่างไร
การพาพนักงานไป Outing ถือเป็นหนึ่งในสวัสดิการหลัก ๆ ที่หลายองค์กรมี เพื่อดึงดูดพนักงานทั้งภายในและภายนอกให้อยากมาร่วมงานกันด้วย โดยวัตถุประสงค์หลักของการไป Outing ก็เพื่อเสริมสร้างความสามัคคี และเพื่อตอบแทนพนักงาน ให้ได้ผ่อนคลายจากการทำงานประจำวันอันตึงเครียดมายาวนาน โดยที่บริษัทจะดูแลเรื่องค่าใช้จ่ายไว้ทั้งหมด
ระบบลงเวลาเข้า-ออกของพนักงาน คือ ระบบที่ช่วยในการบันทึกเวลาการทำงานของพนักงาน ผ่านอุปกรณ์ดิจิทัลต่างๆ ตั้งแต่ เครื่องสแกนลายนิ้วมือ (Finger Scanner), สมาร์ทโฟน (Smart Phone), แท็บเล็ต (Tablet), ตลอดจนอุปกรณ์ต่างๆ ที่สามารถยืนยันตัวตนผู้ใช้งานได้อย่างชัดเจน ปลอดภัย และเชื่อมต่อสู่ระบบข้อมูลกลางอย่างระบบคลาวด์ (Cloud System) ได้ โดยจะระบุเวลาที่พนักงานเข้ามาทำงานและออกจากงานในแต่ละวัน ดูสถิติ ขาด ลา มาสาย ระบบนี้มีบทบาทสำคัญในการบริหารจัดการเวลาและการทำงานของพนักงาน ช่วยให้ฝ่ายทรัพยากรบุคคล (HR) และฝ่ายบริหารสามารถติดตามการทำงานของพนักงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงใช้ข้อมูลที่บันทึกเพื่อคำนวณเงินเดือน สวัสดิการ ค่าล่วงเวลา และการจัดทำรายงานการเข้างานได้อย่างแม่นยำ ตอบโจทย์การทำงานในธุรกิจยุคใหม่ได้อย่างสมบูรณ์แบบ
มนุษย์เงินเดือนบางคนอาจจะไม่รู้ด้วยซ้ำว่า ตัวเองมีสิทธิที่จะเรียกร้อง ค่าชดเชยจากนายจ้าง อันนี้เป็นสิทธิ์ของเรานะ พี่ทุยบอกเลยว่า เงินค่าชดเชย เป็นสิ่งที่นายจ้าง ต้องจ่าย ให้กับพนักงานหรือลูกจ้าง เพื่อช่วยเหลือในกรณีให้ออกจากงาน ซึ่งไม่ได้มาจากทำความผิดของพนักงานหรือลูกจ้าง แต่อาจจะด้วยเหตุผลบางอย่างที่จำเป็นต้องลดจำนวนพนักงานลง
ในแต่ละเดือนที่เราจ่ายเงินสมทบประกันสังคมนั้น ก็จะมีเงินส่วนหนึ่งที่จัดเก็บเข้าเป็นเงินสะสมประกันสังคม ซึ่งเงินส่วนนี้เองเราสามารถเช็คเงินสะสมประกันสังคมได้เองผ่านช่องทางออนไลน์ด้วย มาดูกันครับว่าทำยังไง แล้วยอดเงินประกันสังคมนี้ทำอะไรได้บ้าง

Employee Referral Program หรือ โครงการแนะนำพนักงาน คือระบบที่องค์กรใช้เพื่อกระตุ้นให้พนักงานที่ทำงานอยู่แนะนำบุคคลภายนอกที่มีคุณสมบัติที่เหมาะสมเข้ามาทำงานในตำแหน่งที่เปิดรับ โดยทั่วไปโครงการนี้มักมีการมอบรางวัลหรือโบนัสให้กับพนักงานที่แนะนำคนที่ถูกคัดเลือกและรับเข้าทำงานในองค์กรสำเร็จ โครงการแนะนำพนักงานนี้มีข้อดีหลายประการ เช่น การลดต้นทุนในการจ้างงาน เพิ่มคุณภาพของผู้สมัคร และสร้างความผูกพันให้กับพนักงานในองค์กร
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์