บริหารทรัพยากรบุคคล โดยขาดความรู้สึกของความเป็นคน

บริหารทรัพยากรบุคคล โดยขาดความรู้สึกของความเป็นคน



ทุกวันนี้ทรัพยากรบุคคล มีความสำคัญยิ่งขึ้นเรื่อยๆกับความสำเร็จของธุรกิจฝ่ายบุคคล หรือหน่วยงานที่รับผิดชอบการบริหารทรัพยากรบุคคลต่างก็มีบทบาทมากขึ้นในการบริหารคนในองค์กร ตั้งแต่การหาคนเข้ามาทำงาน พัฒนาคน และรักษาคนที่มีฝีมือให้ทำงานกับองค์กร แต่สิ่งที่เกิดขึ้นในทุกวันนี้ก็คือ เราบริหารทรัพยากรบุคคล โดยขาดความเข้าใจเรื่องคนหรือเปล่า

ในหลายๆ องค์กรที่มีการบริหารทรัพยากรบุคคลอย่างเป็นระบบ มีระบบการบริหารทรัพยากรบุคคลที่ดีเลิศ เราเองบางครั้งก็มองว่า การมีระบบที่ดีแสดงว่า องค์กรนั้นมีการบริหารทรัพยากรบุคคลที่ดีด้วย ซึ่งผมคิดว่าถูกต้องส่วนหนึ่ง แต่อีกส่วนหนึ่งก็คือ การมีระบบที่ดีนั้นทำให้เรากำลังบริหารคนแบบเดียวกับการบริหารเครื่องจักร หรือทรัพยากรอื่นๆ หรือเปล่า เราบริหารคนราวกับว่า คนคือสิ่งของอย่างหนึ่ง ที่ไม่มีความรู้สึกนึกคิด ไม่มีความต้องการอะไรเลย ใช้ระบบแบบเดียวกันทั้งหมดในการบริหารคนคนทุกคนที่เข้ามาทำงานในองค์กร

พูดถึงคำว่า “คน” แล้ว แน่นอนว่า ไม่มีคนคนไหนที่เหมือนกันเป๊ะๆ ขนาดว่าเป็นฝาแฝดกัน เกิดวันเดียวกัน ก็ยังไม่เหมือนกัน ดังนั้นการที่เราจะบริหารคนให้ได้อย่างมีประสิทธิผลจริงๆ เราคงจะไม่สามารถที่จะเอาระบบขององค์กรในลักษณะที่เป็นระบบเดียวกัน ไปบริหารคนที่มีความแตกต่างกันอย่างมากมายได้ ถ้าเราทำแบบนั้นก็แสดงว่า เราบริหารคนโดยขาดความเข้าใจเรื่องของคน แต่อย่างไรก็ดี องค์กรเองก็คงจะไม่สามารถที่จะบริหารคนให้แตกต่างกันไปในแต่ละบุคคลได้ เนื่องจากเราต้องว่าจ้างพนักงานมากมายในองค์กร แล้วเราควรจะทำอย่างไรดี

ก่อนอื่นเรามาดูเรื่องของการบริหารคน โดยขาดความรู้สึก ขาดความเข้าใจในความเป็นคนดูสักหน่อยว่ามีอะไรกันบ้าง

• บริหารคนโดยใช้กฎระเบียบข้อบังคับอย่างเข้มงวด และอย่างเคร่งครัด ใครจะทำอะไร ทำอย่างไร ทุกสิ่งอย่างจะต้องอ้างอิงกฎระเบียบข้อบังคับอย่างเข้มงวด พนักงานห้ามปฏิบัตินอกกฎ หรือผิดกฎ เวลาที่มีพนักงานทำอะไรไม่ถูกต้องและไม่มีกฎเกณฑ์บอกไว้ ก็จะตั้งกฎเกณฑ์ใหม่ขึ้นมาเรื่อยๆ เพื่อทำให้พนักงานไม่ทำอย่างที่องค์กรไม่ต้องการให้ทำ ผมเคยเห็นตัวอย่างเรื่องนี้มาอยู่กรณีหนึ่ง ก็คือ พนักงานขอลากิจเพื่อไปดูใจคุณพ่อ ซึ่งใกล้เสียชีวิตแล้ว แต่พนักงานคนนี้ไม่เหลือวันลาอะไรแล้วในปีนั้น ฝ่ายบุคคลก็ยึดกฎระเบียบข้อบังคับอย่างเต็มที่ บอกกับพนักงานว่า ไม่มีสิทธิลาใดๆ แล้ว พนักงานก็ร้องไห้อ้อนวอน จนกระทั่งบอกว่า ขอลาแบบว่าหักเงินเดือนไปก็ได้ ฝ่ายบุคคลก็ตอบกลับมาว่า “ถ้าเป็นแบบนั้นก็จะถือว่า ขาดงานนะ และจะมีผลต่อผลงานในปีนั้นๆ ด้วย” เราเห็นความเป็นคนในการบริหารทรัพยากรบุคคลหรือไม่ครับ

• การสรรหาคัดเลือกพนักงานอย่างเคร่งครัด เรื่องของการหาคนเข้ามาทำงานก็เป็นอีกระบบหนึ่งที่หลายองค์กรมีการกำหนดขั้นตอนและมาตรฐานในการสรรหาคัดเลือกไว้อย่างชัดเจน บางครั้งชัดจนไม่มีความยืดหยุ่นก็มี สิ่งที่เคยเจอมาก็คือ คัดเลือกคนตาม spec ที่เขียนไว้ในใบพรรณนาหน้าที่งานอย่างเคร่งครัดมากๆ เช่น เขียนไว้ว่าต้องการ ปริญญาตรี รัฐศาสตร์ ท่านก็หาและคัดเลือกเฉพาะตามสิ่งที่เขียนไว้จริงๆ โดยไม่มีการยืดหยุ่นเลย บางครั้งปริญญาตรีสาขาอื่นก็อาจจะทำได้ หรือถ้ามีประสบการณ์ในการทำงานมาบ้างก็น่าจะพอทำงานได้ แต่เรากลับไปยึดติดกับระบบและมาตรฐานที่กำหนดไว้มากเกินไปจนทำให้เราบริหาร คนแบบไม่มีความยืดหยุ่นมากนัก

• มีระบบการฝึกอบรมที่ดี อบรมมาแล้วผลงานต้องดีขึ้น บางองค์กรมีการวางระบบการฝึกอบรมที่ดีมากๆ มีการกำหนดเส้นทางการฝึกอบรมไว้อย่างชัดเจนตามระบบ Competency ที่วางไว้ พนักงานแต่ละคนจะถูกส่งไปฝึกอบรมเพื่อพัฒนาทักษะและความรู้อย่างต่อเนื่อง แต่สิ่งที่เกิดขึ้นตามมาก็คือ หลังจากที่ฝึกอบรมมาแล้ว ผู้บริหารก็จะคาดหวังอย่างเกินร้อยเลยว่า พนักงานคนนั้นจะต้องทำสิ่งใหม่ๆ ที่ได้ไปอบรมมาได้ทันที พอพนักงานทำไม่ได้ ก็ดุด่าตำหนิพนักงาน หาว่าไม่มีสมองบ้าง ส่งไปเรียนมากลับไม่ได้เรื่อง จากนั้นก็เริ่มทิ้งให้พนักงานคนนั้นทำงานอย่างไม่มีการดูแลอีกต่อไป ลักษณะนี้ก็เหมือนกันครับ ไม่มีความเข้าใจธรรมชาติของคนเราว่ามีความแตกต่างกันในเรื่องของการเรียนรู้ ความเร็วในการเรียนรู้ไม่เท่ากัน บางคนเรียนรู้เร็ว บางคนก็ช้า ดังนั้นการที่เราส่งพนักงานไปอบรมมาแล้วคาดหวังอย่างเต็มที่ว่าจะต้องทำงานได้ผลด้วย ก็อาจจะเป็นการไม่เข้าใจธรรมชาติของคนเราเช่นกัน

• บริหารค่าจ้างเงินเดือนและสวัสดิการ เนื่องจากคนเรามีความต้องการแตกต่างกันไป แต่การบริหารค่าจ้างเงินเดือนและสวัสดิการขององค์กรส่วนใหญ่ ยังคงใช้ระบบเดียวกันทั้งองค์กรอยู่ ก็คือ ไม่ว่าพนักงานจะอยู่ตำแหน่งอะไร อายุเท่าไหร่ ฯลฯ ก็บริหารด้วยระบบเดียวกันทั้งหมด อย่างที่ภาษาอังกฤษเรียกกันว่า แบบ Mass หรือ แบบ one size fit all หนักไปกว่านั้น บางองค์กรก็ไป Copy ระบบบริหารค่าจ้างเงินเดือนและสวัสดิการจากบริษัทอื่นๆ มาใช้ในบริษัทเราก็มี ซึ่งตรงนี้เองที่เราไม่ได้มองถึงความต้องการของคนของเราเองก่อน ว่าพนักงานต้องการอะไร ต้องการหรือไม่ หรือพนักงานเรามีองค์กรประกอบอย่างไร ทั้งด้าน เพศ อายุ การศึกษา สถานภาพทางสังคม ฯลฯ แต่เรากำลังใช้ระบบแบบเดียว เพื่อบริหารคนที่มีความต้องการแตกต่างกัน

องค์กรทั้งในและต่างประเทศ ต่างก็เริ่มที่จะวางระบบบริหารทรัพยากรบุคคลที่เน้นเรื่องของความรู้สึกของคนมากขึ้น ทำระบบให้สอดคล้องกับความต้องการของพนักงานมากขึ้น รวมทั้งระบบมีความยืดหยุ่นมากขึ้นกว่าในอดีต ที่ทุกอย่างใช้ระบบเดียวกันทั้งหมด ซึ่งก็จะทำให้พนักงานรู้สึกได้ว่า เขาถูกบริหารไม่ต่างกับเครื่องจักรซักเท่าไหร่

แต่อย่างไรก็ตาม การที่จะทำให้ได้ตามความต้องการของพนักงานทุกคนคงจะเป็นไปไม่ได้เลย แต่สิ่งที่พอจะเป็นไปได้ก็คือ องค์กรสามารถวางระบบบริหารทรัพยากรบุคคลให้สอดคล้องกับกลุ่มของพนักงานได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ Generation ต่างๆ กลุ่มอายุ เชื้อชาติ ศาสนา ฯลฯ เราสามารถสร้างความยืดหยุ่นในการบริหารทรัพยากรบุคคลให้เกิดขึ้นได้



บทความโดย : คุณประคัลภ์ ปัณฑพลังกูร
ประกาศบทความโดย : www.prosofthrmi.com
 3471
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

การพาพนักงานไป Outing ถือเป็นหนึ่งในสวัสดิการหลัก ๆ ที่หลายองค์กรมี เพื่อดึงดูดพนักงานทั้งภายในและภายนอกให้อยากมาร่วมงานกันด้วย โดยวัตถุประสงค์หลักของการไป Outing ก็เพื่อเสริมสร้างความสามัคคี และเพื่อตอบแทนพนักงาน ให้ได้ผ่อนคลายจากการทำงานประจำวันอันตึงเครียดมายาวนาน โดยที่บริษัทจะดูแลเรื่องค่าใช้จ่ายไว้ทั้งหมด
ระบบลงเวลาเข้า-ออกของพนักงาน คือ ระบบที่ช่วยในการบันทึกเวลาการทำงานของพนักงาน ผ่านอุปกรณ์ดิจิทัลต่างๆ ตั้งแต่ เครื่องสแกนลายนิ้วมือ (Finger Scanner), สมาร์ทโฟน (Smart Phone), แท็บเล็ต (Tablet), ตลอดจนอุปกรณ์ต่างๆ ที่สามารถยืนยันตัวตนผู้ใช้งานได้อย่างชัดเจน ปลอดภัย และเชื่อมต่อสู่ระบบข้อมูลกลางอย่างระบบคลาวด์ (Cloud System) ได้ โดยจะระบุเวลาที่พนักงานเข้ามาทำงานและออกจากงานในแต่ละวัน ดูสถิติ ขาด ลา มาสาย ระบบนี้มีบทบาทสำคัญในการบริหารจัดการเวลาและการทำงานของพนักงาน ช่วยให้ฝ่ายทรัพยากรบุคคล (HR) และฝ่ายบริหารสามารถติดตามการทำงานของพนักงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงใช้ข้อมูลที่บันทึกเพื่อคำนวณเงินเดือน สวัสดิการ ค่าล่วงเวลา และการจัดทำรายงานการเข้างานได้อย่างแม่นยำ ตอบโจทย์การทำงานในธุรกิจยุคใหม่ได้อย่างสมบูรณ์แบบ
มนุษย์เงินเดือนบางคนอาจจะไม่รู้ด้วยซ้ำว่า ตัวเองมีสิทธิที่จะเรียกร้อง ค่าชดเชยจากนายจ้าง อันนี้เป็นสิทธิ์ของเรานะ พี่ทุยบอกเลยว่า เงินค่าชดเชย เป็นสิ่งที่นายจ้าง ต้องจ่าย ให้กับพนักงานหรือลูกจ้าง เพื่อช่วยเหลือในกรณีให้ออกจากงาน ซึ่งไม่ได้มาจากทำความผิดของพนักงานหรือลูกจ้าง แต่อาจจะด้วยเหตุผลบางอย่างที่จำเป็นต้องลดจำนวนพนักงานลง
ในแต่ละเดือนที่เราจ่ายเงินสมทบประกันสังคมนั้น ก็จะมีเงินส่วนหนึ่งที่จัดเก็บเข้าเป็นเงินสะสมประกันสังคม ซึ่งเงินส่วนนี้เองเราสามารถเช็คเงินสะสมประกันสังคมได้เองผ่านช่องทางออนไลน์ด้วย มาดูกันครับว่าทำยังไง แล้วยอดเงินประกันสังคมนี้ทำอะไรได้บ้าง

Employee Referral Program หรือ โครงการแนะนำพนักงาน คือระบบที่องค์กรใช้เพื่อกระตุ้นให้พนักงานที่ทำงานอยู่แนะนำบุคคลภายนอกที่มีคุณสมบัติที่เหมาะสมเข้ามาทำงานในตำแหน่งที่เปิดรับ โดยทั่วไปโครงการนี้มักมีการมอบรางวัลหรือโบนัสให้กับพนักงานที่แนะนำคนที่ถูกคัดเลือกและรับเข้าทำงานในองค์กรสำเร็จ โครงการแนะนำพนักงานนี้มีข้อดีหลายประการ เช่น การลดต้นทุนในการจ้างงาน เพิ่มคุณภาพของผู้สมัคร และสร้างความผูกพันให้กับพนักงานในองค์กร
การจัดกะพนักงาน คือ กระบวนการวางแผนและจัดระเบียบเวลาทำงานของพนักงานให้เหมาะสมกับความต้องการขององค์กรในแต่ละช่วงเวลา โดยแบ่งเวลาทำงานออกเป็นหลายช่วง (หรือหลายกะ) เพื่อให้มีพนักงานเพียงพอในการปฏิบัติงานตลอดเวลา เช่น ในกรณีขององค์กรที่เปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมงหรือมีความต้องการกำลังคนที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละช่วงเวลา
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์