พนักงานที่มีความผูกพันสูงๆ จะสร้างผลงานที่ดีได้จริงหรือ

พนักงานที่มีความผูกพันสูงๆ จะสร้างผลงานที่ดีได้จริงหรือ



ประเด็นเรื่องของ Engagement หรือความผูกพันของพนักงานต่อองค์กรนั้น เป็นประเด็นที่ยังอยู่ในความสนใจของผู้บริหาร และชาว HR อย่างมากมาย มีงานวิจัยมากมายที่พิสูจน์ว่า พนักงานที่มีความผูกพันกับองค์กรมากๆ จะสร้างผลงานให้กับองค์กรในลักษณะที่ดีขึ้นๆ เรื่อยๆ ก็เลยทำให้หลายองค์กรพยายามที่จะทำการสำรวจความผูกพันของพนักงานที่มีต่อองค์กร และนำเอาผลการสำรวจที่ได้นั้น มาพัฒนาแนวทางในการทำงานต่างๆ เพื่อให้ตอบโจทย์ของพนักงานได้ เพื่อให้พนักงานมีความผูกพันมากขึ้น เพราะจะส่งผลต่อเนื่องถึงผลงานของพนักงาน และผลงานขององค์กรในที่สุด

แต่คำถามที่ตามมาก็คือ จะมีหรือไม่ ที่พนักงานที่มีความผูกพันกับองค์กรแล้วแต่ไม่สามารถสร้างผลงานที่ดีให้กับ องค์กรได้เลย เรียกได้ว่า อยู่กับองค์กรมานาน มีความตั้งใจทำงาน มีความต้องการให้องค์กรก้าวหน้าไปเรื่อยๆ แต่กลับไม่สามารถสร้างผลงานที่ดีได้เลย

คำตอบก็คือ มีแน่นอนครับ

หลายๆ องค์กรคิดแค่เพียงว่า แค่สร้างให้พนักงานรู้สึกมีความผูกพันกับองค์กรก็พอแล้ว เพราะเมื่อนั้นพนักงานจะสร้างผลงานที่ดีอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะส่งผลทำให้องค์กรดีขึ้นด้วย แต่ในทางปฏิบัติจริง ยังมีหลายองค์กรที่มีพนักงานที่มีความผูกพันในระดับสูง แต่พนักงานคนนั้นกลับไม่สามารถที่จะสร้างผลงานได้เลยก็มีครับ

ลองมาดูกันว่ามีปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้พนักงานที่มีความผูกพันสูงๆ ต่อองค์กร แต่ไม่สามารถสร้างผลงานที่ดีได้

• ไม่มีระบบบริหารผลงานที่ดี การที่องค์กรขาดระบบบริหารผลงานที่ดีนั้น จะทำให้พนักงานแต่ละคนไม่รู้เป้าหมายการทำงานของตนเอง ไม่รู้ว่าตนเองจะต้องทำผลงานอะไรบ้าง และสิ่งที่ทำไปแล้วนั้นมันดี หรือไม่ดีอย่างไร ก็ไม่มีใครมาบอกให้รับทราบ แม้ว่าพนักงานคนนั้นจะรู้สึกดี และผูกพันกับองค์กรอย่างมาก แต่ถ้าขาดระบบบริหารผลงานที่ดี ผลงานของพนักงานก็ไม่ออกมาให้เห็นแน่นอนครับ

• ขาดทรัพยากรในการทำงานที่เหมาะสม การทำงานให้สำเร็จนั้น เรื่องของทรัพยากรต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น คน เงิน เครื่องไม้เครื่องมือต่างๆ ล้วนเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ผลงานออกมาได้ดีหรือไม่ดี การที่พนักงานทั้งองค์กรมีความผูกพันต่อองค์กรมากมาย แต่องค์กรไม่มีทรัพยากรที่เกื้อหนุน ให้สามารถทำงานได้ ผลงานของพนักงานเหล่านั้นก็จะออกมาได้ยากกว่าเดิม พนักงานบางคน มีความรักองค์กรมากมาย แต่ก็ทำงานอะไรไม่ได้ เพราะองค์กรขาดงบประมาณ ขาดเงินทุน ขาดเครื่องมือที่ดี แต่อย่างไรก็ดี องค์กรเหล่านี้มีข้อดีก็คือ พนักงานรู้สึกผูกพันต่อองค์กร ดังนั้นถ้าจะให้มาช่วยกันทำ ช่วยกันสร้าง ก็ยังพอได้ แต่ก็ยังมีข้อจำกัดอยู่เช่นกันครับ

• ขาดความรู้ในการทำงาน พนักงานรักองค์กรมากๆ แต่ไม่มีความรู้และทักษะมากพอที่จะทำผลงานได้ สุดท้ายผลงานก็ไม่ออกอีกเช่นกันครับ เรื่องของการพัฒนา และการฝึกอบรม จึงเป็นเครื่องมือที่สำคัญตามมา ถ้าจะให้พนักงานที่ผูกพันกับองค์กรมากๆ สร้างผลงานที่ดี ก็ต้องมีการพัฒนาความรู้และทักษะในการทำงานให้กับพนักงานเหล่านั้นด้วย

ไม่ว่าจะเป็น Engagement Model ของที่ปรึกษาเจ้าไหนก็ตาม ส่วนใหญ่จะมองไปที่ความรู้สึกของพนักงานที่มีต่อแง่มุมต่างๆ ขององค์กร รู้สึกอยากอยู่ทำงานกับองค์กร อยากพูดถึงองค์กรในทางที่ดี และอยากสร้างผลงานที่ดีให้กับองค์กร แม้ว่าความตั้งใจ และความผูกพันของพนักงานจะมีสูงมาก แต่ถ้าขาด 3 ข้อข้างต้น ก็คงจะไม่สามารถสร้างผลงานที่ดีให้เกิดขึ้นได้เลย

ถ้าองค์กรของท่านมีผลการสำรวจความผูกพันพนักงานที่ออกมาในคะแนนที่สูงมาก แต่กลับพบว่า ผลงานของพนักงาน และผลงานขององค์กรไม่ได้ดีขึ้นเลย ก็ต้องมาพิจารณาว่า เรายังขาดปัจจัยอะไรบ้างใน 3 ปัจจัยข้างต้นนั่นเองครับ



บทความโดย : คุณประคัลภ์ ปัณฑพลังกูร
ประกาศบทความโดย : www.prosofthrmi.com
 3644
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

การพาพนักงานไป Outing ถือเป็นหนึ่งในสวัสดิการหลัก ๆ ที่หลายองค์กรมี เพื่อดึงดูดพนักงานทั้งภายในและภายนอกให้อยากมาร่วมงานกันด้วย โดยวัตถุประสงค์หลักของการไป Outing ก็เพื่อเสริมสร้างความสามัคคี และเพื่อตอบแทนพนักงาน ให้ได้ผ่อนคลายจากการทำงานประจำวันอันตึงเครียดมายาวนาน โดยที่บริษัทจะดูแลเรื่องค่าใช้จ่ายไว้ทั้งหมด
ระบบลงเวลาเข้า-ออกของพนักงาน คือ ระบบที่ช่วยในการบันทึกเวลาการทำงานของพนักงาน ผ่านอุปกรณ์ดิจิทัลต่างๆ ตั้งแต่ เครื่องสแกนลายนิ้วมือ (Finger Scanner), สมาร์ทโฟน (Smart Phone), แท็บเล็ต (Tablet), ตลอดจนอุปกรณ์ต่างๆ ที่สามารถยืนยันตัวตนผู้ใช้งานได้อย่างชัดเจน ปลอดภัย และเชื่อมต่อสู่ระบบข้อมูลกลางอย่างระบบคลาวด์ (Cloud System) ได้ โดยจะระบุเวลาที่พนักงานเข้ามาทำงานและออกจากงานในแต่ละวัน ดูสถิติ ขาด ลา มาสาย ระบบนี้มีบทบาทสำคัญในการบริหารจัดการเวลาและการทำงานของพนักงาน ช่วยให้ฝ่ายทรัพยากรบุคคล (HR) และฝ่ายบริหารสามารถติดตามการทำงานของพนักงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงใช้ข้อมูลที่บันทึกเพื่อคำนวณเงินเดือน สวัสดิการ ค่าล่วงเวลา และการจัดทำรายงานการเข้างานได้อย่างแม่นยำ ตอบโจทย์การทำงานในธุรกิจยุคใหม่ได้อย่างสมบูรณ์แบบ
มนุษย์เงินเดือนบางคนอาจจะไม่รู้ด้วยซ้ำว่า ตัวเองมีสิทธิที่จะเรียกร้อง ค่าชดเชยจากนายจ้าง อันนี้เป็นสิทธิ์ของเรานะ พี่ทุยบอกเลยว่า เงินค่าชดเชย เป็นสิ่งที่นายจ้าง ต้องจ่าย ให้กับพนักงานหรือลูกจ้าง เพื่อช่วยเหลือในกรณีให้ออกจากงาน ซึ่งไม่ได้มาจากทำความผิดของพนักงานหรือลูกจ้าง แต่อาจจะด้วยเหตุผลบางอย่างที่จำเป็นต้องลดจำนวนพนักงานลง
ในแต่ละเดือนที่เราจ่ายเงินสมทบประกันสังคมนั้น ก็จะมีเงินส่วนหนึ่งที่จัดเก็บเข้าเป็นเงินสะสมประกันสังคม ซึ่งเงินส่วนนี้เองเราสามารถเช็คเงินสะสมประกันสังคมได้เองผ่านช่องทางออนไลน์ด้วย มาดูกันครับว่าทำยังไง แล้วยอดเงินประกันสังคมนี้ทำอะไรได้บ้าง

Employee Referral Program หรือ โครงการแนะนำพนักงาน คือระบบที่องค์กรใช้เพื่อกระตุ้นให้พนักงานที่ทำงานอยู่แนะนำบุคคลภายนอกที่มีคุณสมบัติที่เหมาะสมเข้ามาทำงานในตำแหน่งที่เปิดรับ โดยทั่วไปโครงการนี้มักมีการมอบรางวัลหรือโบนัสให้กับพนักงานที่แนะนำคนที่ถูกคัดเลือกและรับเข้าทำงานในองค์กรสำเร็จ โครงการแนะนำพนักงานนี้มีข้อดีหลายประการ เช่น การลดต้นทุนในการจ้างงาน เพิ่มคุณภาพของผู้สมัคร และสร้างความผูกพันให้กับพนักงานในองค์กร
การจัดกะพนักงาน คือ กระบวนการวางแผนและจัดระเบียบเวลาทำงานของพนักงานให้เหมาะสมกับความต้องการขององค์กรในแต่ละช่วงเวลา โดยแบ่งเวลาทำงานออกเป็นหลายช่วง (หรือหลายกะ) เพื่อให้มีพนักงานเพียงพอในการปฏิบัติงานตลอดเวลา เช่น ในกรณีขององค์กรที่เปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมงหรือมีความต้องการกำลังคนที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละช่วงเวลา
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์