ผู้บริหารกับลูกน้องต่าง Gen

ผู้บริหารกับลูกน้องต่าง Gen



พนักงานที่ทำงานอยู่ในองค์กรในยุคนี้ จะเป็นพนักงานที่มีส่วนผสมของ Generation ที่แตกต่างกันในองค์กรเดียวกัน บางองค์กรมีครบหมดเลยตั้งแต่ Baby Boomer Gen X และ Gen Y ซึ่งทำให้การทำงานร่วมกันอาจจะมีช่องว่างระหว่าง Gen อยู่บ้าง และอาจจะทำให้เกิดปัญหาความขัดแย้ง ในเรื่องของมุมมองที่แตกต่างกันออกไป

โดยส่วนใหญ่ เหล่าบรรดาผู้จัดการระดับสูงที่เป็นลักษณะของ Baby Boomer นั้น เวลามีลูกน้องเป็น Gen Y ก็จะมีปัญหาในการทำงานร่วมกัน ทัศนคติในการทำงานที่แตกต่างกัน และความต้องการที่แตกต่างกัน ซึ่งส่งผลให้เกิดความอึดอัดในการทำงานร่วมกันได้

มีเรื่องอะไรบ้างที่ มองแตกต่างกันไประหว่าง 2 Gen นี้

เรื่องเวลาในการทำงาน เรื่องนี้เป็นเรื่องแรก และเป็นเรื่องใหญ่มากที่คน 2 Generation นี้มีมุมมองที่แตกต่างกันออกไปอย่างสิ้นเชิง กล่าวคือ คนที่เป็นพวก Baby Boom จะชอบคนที่มาทำงานแต่เช้า และอยู่ทำงานต่อหลังเวลาเลิกงานไปแล้ว มักจะมองเรื่องของเวลาทำงานเป็นหลัก ถ้าลูกน้องคนไหนนั่งทำงานต่อในบริษัทหลังห้าโมงเย็นไปแล้ว จะรู้สึกว่าลูกน้องคนนั้นมีผลงานที่ดี ซึ่งจะตรงข้ามกับกลุ่ม Gen Y ที่ชอบการแบ่งและจัดสรรเวลาที่ชัดเจน ว่าเวลาอะไรต้องทำอะไร ดังนั้นเด็กกลุ่มนี้ จะทำงานในเวลาทำงานเป๊ะๆ ไม่ค่อยมาก่อน หรือ กลับหลังเวลาเลิกงาน เพราะเขาอยากมีเวลาทำกิจกรรมอื่นๆ ที่เป็นเรื่องความชอบส่วนตัว ก็เลยทำให้ผู้บริหารที่เป็นคนรุ่นเดิม มองพฤติกรรมของเด็กรุ่นใหม่ว่าเป็นพวกไม่ขยันทำงาน ถึงเวลาเลิกงานก็วางงานกันเลย โดยไม่สนใจว่างานนั้นจะเสร็จหรือไม่เสร็จ แต่จะขอออกจากบริษัทแล้ว เพราะหมดเวลาทำงานแล้ว ความขัดแย้งก็เริ่มเกิดขึ้น เมื่อผู้บริหารเริ่มเข้ามาบังคับ และใช้กฎเกณฑ์ข้อบังคับต่างๆ เข้ามาเพื่อทำให้พนักงานกลุ่มนี้ปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานใหม่ โดยให้ทำงานดึกอีกหน่อย ใครทีทุ่มเททำงาน และอยู่จนดึกๆ ดื่นๆ จะเป็นคนที่ผลงานดี ยิ่งเอาระเบียบมาบังคับเด็กรุ่นนี้ ยิ่งทำให้เขาไม่ชอบเข้าไปอีกครับ

การทำกิจกรรมหลายๆ ในเวลาเดียวกัน เรื่องนี้ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่มักจะทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างคนสองกลุ่มนี้ กล่าวคือ กลุ่มคนที่เป็น Baby Boomer จะเป็นคนที่มีสมาธิ และมุ่งทำงานให้เสร็จเป็นเรื่องๆไป ดังนั้นเวลาที่คนกลุ่มนี้ทำงาน จะไม่มีการวอกแวก และจะทำงานจนเสร็จ แล้วค่อยเปลี่ยนไปทำงานอื่น ผิดกับเด็ก Gen Y ที่มักจะชอบทำอะไรหลายๆ อย่างในเวลาเดียวกัน อันนั้นก็จะทำ อันนี้ก็จะทำ พอทำหลายอย่างในเวลาเดียวกัน ก็จะทำให้งานที่ทำนั้นเกิดความล่าช้า และเสร็จไม่ทันใจผู้บริหารระดับสูง บางครั้งนั่งทำงานอยู่ได้ไม่นาน ก็ลุกเดินไปพูดคุยกับเพื่อนๆ จากนั้นก็มาทำงานต่อ ไม่นาน ก็โทรศัพท์หาเพื่อน ฯลฯ ก็เลยทำให้คนรุ่น Baby Boom รู้สึกว่าเด็กรุ่นใหม่ทำอะไรจับจด ไม่เสร็จสักอย่าง แต่เด็กรุ่น Gen Y ที่มีพฤติกรรมแบบนี้ ก็เนื่องจาก สภาพแวดล้อมที่เขาโตมานั้น มีอะไรที่น่าสนใจมากมาย และมีความรู้สึกว่าอยากทำไปซะทุกอย่าง ก็เลยดูเหมือนกับว่า ไม่โฟกัส แต่จริงๆ แล้ว ทำงานได้สำเร็จตามที่ผู้บริหารมอบหมายอยู่แล้ว เพียงแต่วิธีการทำงานอาจจะแตกต่างกันออกไปบ้าง ซึ่งก็คงต้องมีการมาปรับทัศนคติกันเล็กน้อย

เป็นพวกติดเทคโนโลยี เรื่องนี้ก็เป็นปัญหาอีกเช่นกัน เด็กรุ่นใหม่จะติดเทคโนโลยีการสื่อสารระหว่างกัน ทุกคนมีโทรศัพท์ที่สามารถเชื่อมต่อกับโลกภายนอกได้หมด ทำงานได้สักพัก ก็จะหยิบโทรศัพท์ขึ้นมากดๆ แล้วก็ทำงานต่อ สักพัก ก็เปิด facebook กดๆๆ ฯลฯ ในหนึ่งวันจะไม่มีทางที่เด็กรุ่นใหม่จะทำงานได้เต็มๆ โดยที่ไม่หยิบโทรศัพท์ขึ้นมา หรือแม้กระทั่งเวลาประชุม ก็ยังอดไม่ได้ที่จะต้องหยิบโทรศัพท์ขึ้นมากดๆ ในระหว่างประชุม ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้ก็ทำให้ผู้บริหารในรุ่น Baby Boom รู้สึกไม่พอใจเท่าไหร่ เพราะดูเหมือนกับว่าไม่ตั้งใจทำงานเลย และก็มักจะบ่นว่า “เงินเดือนก็ขอแพงๆ แต่ทำงานแบบเล่นๆ แบบนี้ได้ยังไง” แต่เด็ก Gen Y กลับมองว่านี่คือชีวิตปกติของเขา เขาสามารถทำผลงานให้กับองค์กรได้ โดยมีพฤติกรรมเหล่านี้ ซึ่งเขาก็มองว่า ไม่เห็นจะผิดตรงไหน

ด้วยพฤติกรรมและทัศนคติที่แตกต่างกัน เนื่องจากวัยที่ต่างกัน ช่องว่างระหว่างวัยที่มีมาก สภาพแวดล้อมการเลี้ยงดูที่ไม่เหมือนกัน ก็เลยทำให้ความคิด และมุมมองที่มีต่อสิ่งต่างๆ แตกต่างกันออกไป การที่จะทำงานร่วมกันได้ แปลว่า ทั้งสองฝ่ายจะต้องทำความเข้าใจซึ่งกันและกัน เข้าใจความต้องการและลักษณะการใช้ชีวิตของอีกฝ่ายหนึ่ง

จริงๆ คนที่ทำหน้าที่เป็นผู้บริหารระดับสูงซึ่งเป็นรุ่น Baby Boom จะต้องทำความเข้าใจเด็กรุ่น Gen Y อย่างถ่องแท้ เพราะเราต้องให้เขาทำงานให้เรา เพื่อสร้างผลงาน ดังนั้น เราจะต้องศึกษาถึงความต้องการ Life style และพฤติกรรมต่างๆ ว่าอะไรที่เป็นพฤติกรรมที่เรียกว่าธรรมดาของ Gen นี้ จากนั้นก็พยายามสร้างบรรยากาศในการทำงาน พูดคุย และทำความเข้าใจ รวมทั้งเอาสิ่งที่เขาเป็น เขาทำ มาช่วยทำให้เกิดประโยชน์ในการทำงาน และการสร้าผลงานขององค์กร



บทความโดย : คุณประคัลภ์ ปัณฑพลังกูร
ประกาศบทความโดย : www.prosofthrmi.com
 5624
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

การพาพนักงานไป Outing ถือเป็นหนึ่งในสวัสดิการหลัก ๆ ที่หลายองค์กรมี เพื่อดึงดูดพนักงานทั้งภายในและภายนอกให้อยากมาร่วมงานกันด้วย โดยวัตถุประสงค์หลักของการไป Outing ก็เพื่อเสริมสร้างความสามัคคี และเพื่อตอบแทนพนักงาน ให้ได้ผ่อนคลายจากการทำงานประจำวันอันตึงเครียดมายาวนาน โดยที่บริษัทจะดูแลเรื่องค่าใช้จ่ายไว้ทั้งหมด
ระบบลงเวลาเข้า-ออกของพนักงาน คือ ระบบที่ช่วยในการบันทึกเวลาการทำงานของพนักงาน ผ่านอุปกรณ์ดิจิทัลต่างๆ ตั้งแต่ เครื่องสแกนลายนิ้วมือ (Finger Scanner), สมาร์ทโฟน (Smart Phone), แท็บเล็ต (Tablet), ตลอดจนอุปกรณ์ต่างๆ ที่สามารถยืนยันตัวตนผู้ใช้งานได้อย่างชัดเจน ปลอดภัย และเชื่อมต่อสู่ระบบข้อมูลกลางอย่างระบบคลาวด์ (Cloud System) ได้ โดยจะระบุเวลาที่พนักงานเข้ามาทำงานและออกจากงานในแต่ละวัน ดูสถิติ ขาด ลา มาสาย ระบบนี้มีบทบาทสำคัญในการบริหารจัดการเวลาและการทำงานของพนักงาน ช่วยให้ฝ่ายทรัพยากรบุคคล (HR) และฝ่ายบริหารสามารถติดตามการทำงานของพนักงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงใช้ข้อมูลที่บันทึกเพื่อคำนวณเงินเดือน สวัสดิการ ค่าล่วงเวลา และการจัดทำรายงานการเข้างานได้อย่างแม่นยำ ตอบโจทย์การทำงานในธุรกิจยุคใหม่ได้อย่างสมบูรณ์แบบ
มนุษย์เงินเดือนบางคนอาจจะไม่รู้ด้วยซ้ำว่า ตัวเองมีสิทธิที่จะเรียกร้อง ค่าชดเชยจากนายจ้าง อันนี้เป็นสิทธิ์ของเรานะ พี่ทุยบอกเลยว่า เงินค่าชดเชย เป็นสิ่งที่นายจ้าง ต้องจ่าย ให้กับพนักงานหรือลูกจ้าง เพื่อช่วยเหลือในกรณีให้ออกจากงาน ซึ่งไม่ได้มาจากทำความผิดของพนักงานหรือลูกจ้าง แต่อาจจะด้วยเหตุผลบางอย่างที่จำเป็นต้องลดจำนวนพนักงานลง
ในแต่ละเดือนที่เราจ่ายเงินสมทบประกันสังคมนั้น ก็จะมีเงินส่วนหนึ่งที่จัดเก็บเข้าเป็นเงินสะสมประกันสังคม ซึ่งเงินส่วนนี้เองเราสามารถเช็คเงินสะสมประกันสังคมได้เองผ่านช่องทางออนไลน์ด้วย มาดูกันครับว่าทำยังไง แล้วยอดเงินประกันสังคมนี้ทำอะไรได้บ้าง

Employee Referral Program หรือ โครงการแนะนำพนักงาน คือระบบที่องค์กรใช้เพื่อกระตุ้นให้พนักงานที่ทำงานอยู่แนะนำบุคคลภายนอกที่มีคุณสมบัติที่เหมาะสมเข้ามาทำงานในตำแหน่งที่เปิดรับ โดยทั่วไปโครงการนี้มักมีการมอบรางวัลหรือโบนัสให้กับพนักงานที่แนะนำคนที่ถูกคัดเลือกและรับเข้าทำงานในองค์กรสำเร็จ โครงการแนะนำพนักงานนี้มีข้อดีหลายประการ เช่น การลดต้นทุนในการจ้างงาน เพิ่มคุณภาพของผู้สมัคร และสร้างความผูกพันให้กับพนักงานในองค์กร
การจัดกะพนักงาน คือ กระบวนการวางแผนและจัดระเบียบเวลาทำงานของพนักงานให้เหมาะสมกับความต้องการขององค์กรในแต่ละช่วงเวลา โดยแบ่งเวลาทำงานออกเป็นหลายช่วง (หรือหลายกะ) เพื่อให้มีพนักงานเพียงพอในการปฏิบัติงานตลอดเวลา เช่น ในกรณีขององค์กรที่เปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมงหรือมีความต้องการกำลังคนที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละช่วงเวลา
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์