• หน้าแรก

  • News

  • HR Articles

  • กยศ.แจ้งหักเงินเดือนเพิ่ม 3,000 บาท ใครโดนบ้าง? เริ่มเมื่อไหร่?

กยศ.แจ้งหักเงินเดือนเพิ่ม 3,000 บาท ใครโดนบ้าง? เริ่มเมื่อไหร่?

  • หน้าแรก

  • News

  • HR Articles

  • กยศ.แจ้งหักเงินเดือนเพิ่ม 3,000 บาท ใครโดนบ้าง? เริ่มเมื่อไหร่?

กยศ.แจ้งหักเงินเดือนเพิ่ม 3,000 บาท ใครโดนบ้าง? เริ่มเมื่อไหร่?

กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ชี้แจงกรณีที่ กยศ. ได้แจ้งนายจ้างให้หักเงินเดือนเพื่อชำระเงินกู้ยืมคืนจากผู้กู้ยืมที่ค้างชำระหนี้ โดยให้หักเพิ่มรายละ 3,000 บาท สำหรับผู้กู้ยืมที่มีสถานะ ค้างชำระ โดยไม่รวมผู้ที่ได้ทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้กับ กยศ. แล้ว มีผลตั้งแต่เดือนเมษายน 2568 เป็นต้นไป 

ดร.นันทวัน วงศ์ขจรกิตติ ผู้จัดการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา เปิดเผยว่า “ตามที่ กยศ. ได้แจ้งนายจ้างให้หักเงินเดือนผู้กู้ยืมที่ค้างชำระหนี้เพิ่มอีก 3,000 บาทนั้น กยศ. ขอชี้แจงว่า เนื่องด้วย กยศ. ได้ดำเนินการติดตามหนี้ผู้กู้ยืมทุกรายที่ยังมียอดหนี้ค้างชำระ ซึ่งรวมถึงผู้กู้ยืมที่อยู่ในระบบหักเงินเดือน โดยก่อนหน้านี้ กยศ. ได้แจ้งหักเงินเดือนซึ่งไม่ได้นำยอดหนี้ค้างชำระเดิมของผู้กู้ยืมมารวมในการแจ้ง หักเงินเดือนด้วย และได้แจ้งให้ผู้กู้ยืมมีหน้าที่ชำระเงินยอดหนี้ค้างชำระด้วยตนเองให้ครบถ้วน แต่ผู้กู้ยืมบางรายไม่ได้มีการชำระเงินดังกล่าวจึงทำให้มียอดหนี้ค้างสะสม และบางรายได้ขอลดจำนวนเงินหักเงินเดือนแต่ไม่ได้ชำระส่วนต่างให้ครบถ้วนภายในวันที่ 5 กรกฎาคมของงวดปีนั้นๆ

ดังนั้น กยศ. จึงมีความจำเป็นในการเพิ่มจำนวนเงินที่หักต่อเดือนบัญชีละ 3,000 บาท ซึ่ง กยศ. ได้จัดส่งหนังสือแจ้งไปยังที่อยู่ตามทะเบียนราษฎร์ ให้ผู้กู้ยืมและได้ส่งอีเมลให้นายจ้างทราบแล้ว โดยสามารถตรวจสอบยอดหนี้ค้างชำระได้ด้วยตนเองผ่านแอป กยศ.Connect ทั้งนี้ กยศ. ขอเชิญชวนให้ผู้กู้ยืมที่มียอดหนี้ที่ค้างชำระมาปรับโครงสร้างหนี้ออนไลน์ได้ด้วยตนเองผ่านเว็บไซต์ www.studentloan.or.th เพื่อได้รับสิทธิขยายระยะเวลาผ่อนชำระอีก 15 ปี ปลดภาระผู้ค้ำประกันและลดเบี้ยปรับ 100% ซึ่งจะทำให้การแจ้งหักเงินเดือนในเดือนถัดไปมียอดที่ลดลงตามเงื่อนไข ในสัญญาปรับโครงสร้างหนี้”












  • พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541  การหักค่าตอบแทนในการทำงาน ตามมาตรา 76 ห้ามมิให้นายจ้างหักค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าท่างานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด เว้นแต่เป็นการหักเพื่อ ..​1. ชำระภาษีเงินได้ตามจำนวนที่ลูกจ้างต้องต้องจ่ายหรือช่าระเงินอื่นตามที่มีกฎหมายบัญญัติไว้

  • ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการหักเงินได้พึงประเมินเพื่อชำระเงินกู้ยืมคืนกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาตามพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2560

- ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2560...คลิก

- ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2560...คลิก

- ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2560... คลิก

  • คลิป การชำระเงินคืน กยศ. แบบหักเงินเดือนผ่านองค์กรนายจ้าง  ...คลิก

ที่มา : https://www.studentloan.or.th/th/news/1744177964
 59
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

การสรรหาบุคลากร (Recruitment) กล่าวง่ายๆ หมายถึง กระบวนการในการค้นหาตลอดจนคัดเลือกบุคคลที่มีความรู้ความสามารถและมีทักษะที่เหมาะสมเพื่อเข้ามาปฎิบัติงานในตำแหน่งงานตามที่องค์กรต้องการ กระบวนการนี้จะเริ่มต้นตั้งแต่การวางแผนการคัดเลือก การสื่อสารให้เกิดแรงจูงใจกับผู้สมัครเป้าหมายที่ต้องการ และจะสิ้นสุดกระบวนการเมื่อองค์กรนั้นรับบุคคลนั้นๆ เข้าเป็นพนักงานแล้ว
การมอบสิทธิประโยชน์ทางด้านภาษี เพื่อสนับสนุนคนไทยที่มีศักยภาพที่ทำงานในต่างประเทศให้กลับเข้ามาในงานในประเทศไทย โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ
JD (Job Description) ภาษาไทยเรียกว่า ขอบเขตหน้าที่และความรับผิดชอบงานตำแหน่งงาน หรือ คำบรรยายลักษณะงาน / ใบพรรณนาหน้าที่งาน ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการบรรยายลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบของตำแหน่งงาน รวมถึงคุณสมบัติของคนที่ทำงานในตำแหน่งหน้าที่ที่กำหนด

การเทรนนิ่งพนักงานมี 2 ทางเลือกหลัก หากองค์กรไม่เลือก On the Job Training หรือการฝึกพนักงานให้เรียนรู้จากการทำงานจริง ก็สามารถเลือก Off the Job Training ซึ่งอาจเป็นการจัดคอร์สนอกเวลาหรือจ้าง Outsource มาดูแลการฝึกทักษะต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นภาษา, Soft Skills หรือ Hard Skills

พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 กำหนดให้มีกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างในกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เพื่อสงเคราะห์ลูกจ้าง กรณีออกจากงาน หรือตาย หรือในกรณีอื่นที่กำหนดโดยคณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง มีผลเริ่มใช้วันที่ 1 ตุลาคม 2568

การเสียภาษีเงินได้เป็นการเสียภาษีแบบขั้นบันได ซึ่งหมายความว่าผู้ที่มีรายได้มากขึ้นจะต้องจ่ายภาษีในอัตราที่สูงขึ้นตามระดับรายได้ที่กำหนดไว้ในกฎหมาย โดยแบ่งเป็นช่วงรายได้ต่างๆ ที่มีอัตราภาษีแตกต่างกันไป  มาดูกันว่าใครบ้างที่ต้องเสียภาษีและต้องยื่นภาษีเงินได้
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์