12 ทักษะที่คนทำงานต้องมีในปี 2025

12 ทักษะที่คนทำงานต้องมีในปี 2025

ทักษะที่คนทำงานในยุคปัจจุบันควรมี สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักคือ ทักษะทางเทคนิค (Hard Skills) และ ทักษะทางสังคมและการปรับตัว (Soft Skills) แน่นอนว่าปัจจุบันเทคโนโลยีกลายเป็นทักษะที่มีความสำคัญอย่างมากที่ทุกสาขาอาชีพต้องมีความเกี่ยวข้องไม่มากก็น้อย หากได้ทำงานร่วมกับมนุษย์ก็จะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพงานให้ดียิ่งขึ้น โดยทาง jobthai ได้รวบรวมทักษะสำคัญของคนที่ทำงานในปี 2025 ที่ต้องมีติดตัวไว้


ทักษะการเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Literacy)

มีความเข้าใจและการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างมีประสิทธิภาพ นำเครื่องมือ และอุปกรณ์ดิจิทัลมาใช้ประโยชน์สูงสุดในการสื่อสารหรือปฏิบัติงาน โดยทักษะการเรียนรู้ที่จะตามเทคโนโลยีให้ทันจะกลายเป็นไฟต์บังคับที่พนักงานทุกคนไม่รู้ไม่ได้ หากไม่ติดตามก็จะถูกมองว่าเป็นคนตกยุค ไม่ทันคนอื่น

ทักษะการใช้งาน Generative AI

ตัวช่วยผลิตคอนเทนต์ ทั้ง การเขียนบทความ, สรุปความ, คิดประเด็น, สร้างไอเดีย โดยเครื่องมือที่รู้จักกันดี เช่น ChatGPT ที่เป็นตัวช่วยให้คนไม่มีทักษะอย่างที่กล่าวมา ช่วยเนรมิตผลงานออกมาภายในเวลาอันรวดเร็ว นอกจากนี้ยังมีเครื่องมืออื่น ๆ อีกมากมายที่ช่วยให้การทำงานง่ายยิ่งขึ้น ซึ่งวงการธุรกิจเริ่มให้ความสนใจลงทุนกับเครื่องมือ Generative AI กันมากขึ้น

ทักษะการเข้าใจ วิเคราะห์ และใช้ประโยชน์จากข้อมูล (Data Literacy)

ข้อมูลในโลกธุรกิจเรียกได้ว่าเป็นทรัพยากรที่มีค่า ยิ่งไปกว่านั้นคนที่หาข้อมูลเก่ง และใช้ข้อมูลนั้นเพื่อบรรลุเป้าหมายจะทำให้การทำงานมีความโดดเด่นกว่าคนอื่น สามารถผันตัวไปทำงานสายอื่น ๆ ได้ โดยการเสริมทักษะการอ่าน และการวิเคราะห์ข้อมูลจะทำให้มองเห็นโอกาสธุรกิจ และได้เปรียบมากกว่าคนอื่นที่รู้แต่เรื่องงานตัวเองเพียงอย่างเดียว

ทักษะความปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cybersecurity)

การมีทักษะความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่ดีนอกจากช่วยลดความเสี่ยงการถูกโจมตีทางไซเบอร์ในช่วงเวลาการทำงานแล้ว ยังเป็นทักษะที่จำเป็นในชีวิตประจำวันอีกด้วย เพราะหากมีความเข้าพื้นฐาน รู้กลลวงที่มักใช้กัน ก็จะทำให้ไม่ตกเป็นเหยื่อของเหล่ามิจฉาชีพ

ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น

การทำงานไม่มีทางที่ทำคนเดียวแล้วสำเร็จ เพราะการทำงานมีขั้นตอน ต้องอาศัยความร่วมมือของฝ่ายงานต่าง ๆ ดังนั้น คุณต้องทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างดี, มีการเชื่อมประสาน ส่งไม้ต่อให้คนที่ร่วมทำงานด้วยทำงานต่อได้อย่างราบรื่น เข้าใจงาน อธิบายให้คนอื่นได้เข้าใจ

ทักษะการเป็นผู้นำ

แม้ไม่ได้เป็นหัวหน้าทีม แต่การเป็นผู้นำสามารถเริ่มได้ โดยหัวใจการเป็นผู้นำคือรู้จักบทบาทหน้าที่การทำงานสมาชิกแต่ละคนในทีม และจัดสรรให้ทุกคนได้ทำงานอย่างเหมาะสม เต็มศักยภาพจนทำให้งานบรรลุผลตามเป้าหมายที่วางไว้ เมื่อทุกคนได้ทำงานของตัวเองอย่างเต็มที่ ไม่มีสะดุด งานก็ย่อมออกมาดี

ทักษะการบริหารจัดการ

การบริหารจัดการงานต้องอาศัยทักษะมากกว่าหนึ่งทักษะ เพราะต้องเผชิญกับความกดดันเรื่องเวลา, การประสานงานกับคน และการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้ากับเหตุการณ์ไม่คาดคิด หากเจอไม่ควรหนี แต่ให้ลองฝึกตัวเองเพื่อเตรียมพร้อมรับมือหากได้เลื่อนตำแหน่งที่ใหญ่ขึ้นในอนาคต

ทักษะการคิดวิเคราะห์และการตัดสินใจ

การเป็นคนที่มีทักษะการวิเคราะห์จะทำให้งานออกมามีประสิทธิภาพ และมีความน่าเชื่อถือมากขึ้น เพราะเราได้นำข้อมูลที่เราหามาเอง และที่ได้จากคนอื่นมาวิเคราะห์รอบด้าน และตัดสินใจบนพื้นฐานข้อมูลเหล่านั้น โดยคนเก่ง ๆ จะรู้ถึงวิธีการเข้าถึงข้อมูลอย่างถูกต้อง พร้อมทั้งนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ความฉลาดทางอารมณ์

ทักษะนี้มีความสำคัญในการอยู่ร่วมกันในสังคมการทำงาน คนทำงานยุคใหม่ควรฝึกทักษะการแสดงออกทางอารมณ์อย่างเหมาะสมเคารพซึ่งกันและกัน เอาใจเข้ามาใส่ใจเรา มีความประนีประนอมระหว่างกัน อย่าสร้างบรรยากาศการทำงานที่ไม่ดี

ทักษะการคิดเชิงสร้างสรรค์

โลกธุรกิจวันนี้ต่างพูดถึงนวัตกรรม หรือไอเดียใหม่ ๆ ที่สร้างความแตกต่างในตลาด โดยการจะได้ไอเดียธุรกิจที่ไม่ซ้ำใครก็จำเป็นต้องมีทักษะการคิดอย่างสร้างสรรค์เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นคนที่ทำงานอยู่สายงานไหนก็สามารถมีทักษะนี้ได้

ทักษะการปรับตัว

การทำงานต้องปรับตัวอยู่ตลอดเวลา ทั้งเรื่องรูปแบบการทำงาน หัวหน้าที่เปลี่ยนไป โครงสร้างองค์กรที่ไม่เหมือนเดิม ตลอดจนงานใหม่ ๆ ที่ได้รับมอบหมายเพิ่มเติม ยิ่งโลกของธุรกิจมีปัจจัยมากมายที่กระทบต่อการทำงาน เราจำเป็นต้องปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์อยู่เสมอ

ทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต

หาโอกาสเรียนรู้อยู่เสมอ เช่น การอ่านหนังสือ, การฟัง Podcast, การแลกเปลี่ยนไอเดียกับเพื่อร่วมงาน, การเข้าวร่วมงานสัมมนา, การเรียนคอร์สออนไลน์ คนเหล่านี้จะใช้โอกาสในการเรียนรู้ และเพิ่มศักยภาพของตัวเองอยู่เสมอ

 190
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

สัญญาจ้างงาน คือ ข้อตกลงระหว่างนายจ้างและลูกจ้างที่ระบุเงื่อนไขการจ้างงาน โดยทั่วไปจะกำหนดหน้าที่ ความรับผิดชอบ ค่าตอบแทน และเงื่อนไขอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจที่ชัดเจนระหว่างทั้งสองฝ่าย และช่วยลดข้อขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
AI (Artificial Intelligence) หรือ ปัญญาประดิษฐ์ คือเทคโนโลยีที่ช่วยให้เครื่องจักรหรือคอมพิวเตอร์มีความสามารถในการคิดและทำงานในลักษณะที่คล้ายกับมนุษย์ โดยการนำข้อมูลจำนวนมากมาประมวลผลและตัดสินใจผ่านกระบวนการที่เรียกว่า การเรียนรู้ของเครื่อง (Machine Learning) หรือ การเรียนรู้เชิงลึก (Deep Learning) แล้ว AI จะเข้ามามีบทบาทในการพัฒนางาน HR อย่างไร
หลายๆ คนอาจจะกำลังลังเลกับเส้นทางชีวิตในการเลือกงานที่เหมาะสมกับตนเอง เพราะปัจจุบันมีหลากหลายอาชีพให้เลือก มีหลายสายงานให้ได้ลองทำ หากใครชอบความเป็นอิสระอาจจะเริ่มจากการทำงานฟรีแลนซ์ หรืออีกหนึ่งรูปแบบที่คนส่วนใหญ่เลือกทำงานกันคือ การทำงานในออฟฟิศ หรือที่เราเรียกกันว่า "มนุษย์เงินเดือน" แน่นอนว่ามันมีทั้งข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันไป แต่บทความนี้เราจะมาบอกข้อดีของการทำงานเป็นมนุษย์เงินเดือน ที่มีข้อดีอยู่มากมายจนบางทีคุณอาจจะคาดไม่ถึงด้วยซ้ำ งั้นเรามาดูกันสิว่าการที่เราเป็นมนุษย์เงินเดือนนั้นมีข้อดีอะไรบ้าง

เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการจัดการบริหารงานบุคคล และพัฒนาบุคลากรในองค์กร โดยใช้ในการประเมินพนักงานตามสองเกณฑ์หลัก ได้แก่ ศักยภาพ (Potential) และผลงาน (Performance) เครื่องมือนี้ช่วยให้ผู้บริหารสามารถระบุพนักงานที่มีศักยภาพสูงและผลงานดี เพื่อพัฒนาและเตรียมพวกเขาให้รับบทบาทที่สำคัญในอนาคต ได้รับการนำเสนอครั้งแรกในปี 1970 โดยบริษัท McKinsey & Company โดยเป็นเครื่องมือสำหรับประเมินศักยภาพและประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน และนับตั้งแต่นั้นมา เครื่องมือนี้ก็ได้รับความนิยมและถูกใช้กันอย่างแพร่หลายโดยองค์กรต่าง ๆ ทั่วโลก
เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการจัดการบริหารงานบุคคล และพัฒนาบุคลากรในองค์กร โดยใช้ในการประเมินพนักงานตามสองเกณฑ์หลัก ได้แก่ ศักยภาพ (Potential) และผลงาน (Performance) เครื่องมือนี้ช่วยให้ผู้บริหารสามารถระบุพนักงานที่มีศักยภาพสูงและผลงานดี เพื่อพัฒนาและเตรียมพวกเขาให้รับบทบาทที่สำคัญในอนาคต ได้รับการนำเสนอครั้งแรกในปี 1970 โดยบริษัท McKinsey & Company โดยเป็นเครื่องมือสำหรับประเมินศักยภาพและประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน และนับตั้งแต่นั้นมา เครื่องมือนี้ก็ได้รับความนิยมและถูกใช้กันอย่างแพร่หลายโดยองค์กรต่าง ๆ ทั่วโลก
Background Checks คือการตรวจสอบประวัติอย่างละเอียด ครอบคลุมทั้งด้านข้อมูลส่วนตัว, ประวัติอาชญากรรม, ภาวะทางการเงิน, การศึกษา ตลอดจนบริบทอื่น ๆ ที่ส่งผลกับตำแหน่งที่สมัครเข้ามา
สวัสดิการที่องค์กรมอบให้แก่พนักงาน กับ สวัสดิการที่พนักงานต้องการ นั้น บางเรื่องก็เป็นสิ่งที่ตรงกัน ส่วนบางเรื่องก็เป็นสิ่งที่ต่างความเห็นกัน ในเรื่องนี้จากทาง Jobthai (jobthai.com) เคยทำบทความนำเสนอผลการสำรวจความคิดเห็นจากคนทำงานทั่วประเทศในประเด็นที่ว่า “สวัสดิการที่คนทำงานต้องการจากองค์กร” ซึ่งเป็นการทำผลสำรวจจากคนทำงานที่เป็นพนักงานทั่วไปจำนวน 7,420 คน ทั่วประเทศ โดยมีผลการสำรวจออกมาดังนี้
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์