เปลี่ยน Outing ที่น่าเบื่อ ให้กลายเป็นกิจกรรมที่ได้ใจพนักงาน

เปลี่ยน Outing ที่น่าเบื่อ ให้กลายเป็นกิจกรรมที่ได้ใจพนักงาน



การพาพนักงานไป Outing ถือเป็นหนึ่งในสวัสดิการหลัก ๆ ที่หลายองค์กรมี เพื่อดึงดูดพนักงานทั้งภายในและภายนอกให้อยากมาร่วมงานกันด้วย โดยวัตถุประสงค์หลักของการไป Outing ก็เพื่อเสริมสร้างความสามัคคี และเพื่อตอบแทนพนักงาน ให้ได้ผ่อนคลายจากการทำงานประจำวันอันตึงเครียดมายาวนาน โดยที่บริษัทจะดูแลเรื่องค่าใช้จ่ายไว้ทั้งหมด

อย่างไรก็ตาม พนักงานไม่น้อยอาจรู้สึกว่าการ Outing เป็นเรื่องน่าเบื่อ จึงไม่ได้ต้องการไปร่วมกิจกรรมคนตั้งแต่แรก หรือพร้อมจะหาข้ออ้างเพื่อที่จะไม่ไปงานนี้

หาก HR ต้องการเปลี่ยนการ Outing แบบเดิม ๆ ให้กลายเป็นกิจกรรมที่ตอบโจทย์ความต้องการของพนักงาน ช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์ของทุกคนให้แน่นแฟ้นขึ้น และสร้างผลผลิตต่อองค์กรมากขึ้น ก็ต้องพิจารณาปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดการด้วย สามารถทำได้อย่างไรบ้าง

1.ฟังเสียงพนักงานก่อนจัด Outing

หนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ทำให้ Outing ไม่ได้ใจพนักงานเท่าที่ควรคือ พนักงานไม่ได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจหรือออกความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมที่จัดขึ้นว่าควรไปที่ไหน ควรมีกิจกรรมอะไร ดังนั้นหากต้องการให้งานราบรื่น ควรเริ่มจากการสอบถามความต้องการของพนักงาน ว่าพวกเขาอยากไปที่ไหน อยากทำกิจกรรมแบบใด เพื่อให้ได้แนวทางในการจัดกิจกรรมที่สอดคล้องกับความสนใจและตอบโจทย์ของทุกคน

2. มีตัวเลือกให้พนักงานเลือกเยอะ ๆ

ดังที่กล่าวว่า ไม่ใช่ทุกคนที่ชอบกิจกรรมแบบเดียวกัน การจัดกิจกรรม Outing ที่ดีควรให้พนักงานมีตัวเลือกในการเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การจัดกิจกรรมหลายรูปแบบในช่วงเวลาที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมเชิงกีฬาหรือกิจกรรมผ่อนคลาย เพื่อให้พนักงานสามารถเลือกได้ตามความสนใจของตนเอง หรือสามารถเลือกได้แม้กระทั่งว่า จะพักผ่อนตามอัธยาสัย ไม่สุงสิงกับใครก็ได้ สิ่งนี้จะทำให้พนักงานรู้สึกว่าพวกเขามีอิสระและอย่างน้อยก็มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ

3. เลือกสถานที่ เปลี่ยนบรรยากาศให้แปลกใหม่ 

การไปเที่ยวสถานที่เดิม ๆ หลายปีติดต่อกันอาจทำให้พนักงานเบื่อหน่าย ดังนั้นองค์กรควรเลือกสถานที่ที่แปลกใหม่ หรือสร้างบรรยากาศที่ทำให้พนักงานรู้สึกว่าได้ออกจากสภาพแวดล้อมที่คุ้นเคย

อาจเป็นสถานที่ท่องเที่ยวธรรมชาติ หรือที่ที่มีแนวคิดในการสร้างแรงบันดาลใจ เช่น ฟาร์มเกษตรอินทรีย์ หรือสถานที่ที่มีประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมที่น่าสนใจ ซึ่งจะช่วยกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์และเปิดมุมมองใหม่ๆ ให้พนักงาน

4.เปลี่ยนจากจัด Outing เป็นการเพิ่มวันหยุดให้พนักงาน

พอกิจกรรมและตัวเลือกที่พนักงานต้องการมีเยอะขึ้น แน่นอนว่างานของ HR จะต้องเยอะขึ้นตามไปด้วย รวมถึงต้นทุนการจัด Outing ที่อาจจะเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัวด้วย

ดังนั้นอีกวิธีที่ทำได้สำหรับองค์กรที่ยังไม่พร้อมจัด Outing ก็คือการเพิ่มวันหยุดยาวให้กับพนักงานแทน อย่างน้อยพนักงานจะได้ใช้เวลาพักผ่อนอย่างเต็มที่ แล้วเอาเวลานั้นไปทำในสิ่งที่จะช่วยชาร์จพลังให้ตัวเอง ซึ่งจะช่วยประหยัดงบประมาณได้ไม่น้อย

5.ไม่ต้องจัด Outing แต่จัดกิจกรรมสร้างความสัมพันธ์หลังเลิกงานแทน

หากไม่มีงบประมาณในการจัด Outings ภายนอกบริษัท อาจลองเปลี่ยนมาจัดกิจกรรม Team Building กันในองค์กรก็ได้ ซึ่งบางทีก็ไม่ต้องคิดอะไรให้ยุ่งยาก ขอแค่เลิกงานแล้วนั่งจับกลุ่มเล่นบอร์ดเกมด้วยกัน แค่นี้ก็เพียงพอแล้วที่จะทำให้พนักงานรู้สึกผูกพัน มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน โดยอาจไม่จำเป็นต้องขนกันออกไปนอกออฟฟิศหลายวันติด




ขอบคุณที่มา : https://th.hrnote.asia

 156
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

การทำงาน เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของชีวิต ซึ่งรูปแบบของการจ้างงานไม่ได้มีเพียงงานประจำและรอเวลาเกษียณอายุเพียงเท่านั้น แต่ยังมีลักษณะการจ้างงานอีกหลายประเภท ที่สามารถตอบโจทย์การใช้ชีวิตที่แตกต่างกันออกไปได้ ในบทความนี้จะมาสรุปสั้น ๆ ให้เข้าใจได้ง่าย ๆ ว่าการจ้างงานมีกี่ประเภท และแต่ละประเภทมีข้อดีแตกต่างกันอย่างไร
ระบบลงเวลาเข้า-ออกของพนักงาน คือ ระบบที่ช่วยในการบันทึกเวลาการทำงานของพนักงาน ผ่านอุปกรณ์ดิจิทัลต่างๆ ตั้งแต่ เครื่องสแกนลายนิ้วมือ (Finger Scanner), สมาร์ทโฟน (Smart Phone), แท็บเล็ต (Tablet), ตลอดจนอุปกรณ์ต่างๆ ที่สามารถยืนยันตัวตนผู้ใช้งานได้อย่างชัดเจน ปลอดภัย และเชื่อมต่อสู่ระบบข้อมูลกลางอย่างระบบคลาวด์ (Cloud System) ได้ โดยจะระบุเวลาที่พนักงานเข้ามาทำงานและออกจากงานในแต่ละวัน ดูสถิติ ขาด ลา มาสาย ระบบนี้มีบทบาทสำคัญในการบริหารจัดการเวลาและการทำงานของพนักงาน ช่วยให้ฝ่ายทรัพยากรบุคคล (HR) และฝ่ายบริหารสามารถติดตามการทำงานของพนักงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงใช้ข้อมูลที่บันทึกเพื่อคำนวณเงินเดือน สวัสดิการ ค่าล่วงเวลา และการจัดทำรายงานการเข้างานได้อย่างแม่นยำ ตอบโจทย์การทำงานในธุรกิจยุคใหม่ได้อย่างสมบูรณ์แบบ
มนุษย์เงินเดือนบางคนอาจจะไม่รู้ด้วยซ้ำว่า ตัวเองมีสิทธิที่จะเรียกร้อง ค่าชดเชยจากนายจ้าง อันนี้เป็นสิทธิ์ของเรานะ พี่ทุยบอกเลยว่า เงินค่าชดเชย เป็นสิ่งที่นายจ้าง ต้องจ่าย ให้กับพนักงานหรือลูกจ้าง เพื่อช่วยเหลือในกรณีให้ออกจากงาน ซึ่งไม่ได้มาจากทำความผิดของพนักงานหรือลูกจ้าง แต่อาจจะด้วยเหตุผลบางอย่างที่จำเป็นต้องลดจำนวนพนักงานลง
ในแต่ละเดือนที่เราจ่ายเงินสมทบประกันสังคมนั้น ก็จะมีเงินส่วนหนึ่งที่จัดเก็บเข้าเป็นเงินสะสมประกันสังคม ซึ่งเงินส่วนนี้เองเราสามารถเช็คเงินสะสมประกันสังคมได้เองผ่านช่องทางออนไลน์ด้วย มาดูกันครับว่าทำยังไง แล้วยอดเงินประกันสังคมนี้ทำอะไรได้บ้าง

Employee Referral Program หรือ โครงการแนะนำพนักงาน คือระบบที่องค์กรใช้เพื่อกระตุ้นให้พนักงานที่ทำงานอยู่แนะนำบุคคลภายนอกที่มีคุณสมบัติที่เหมาะสมเข้ามาทำงานในตำแหน่งที่เปิดรับ โดยทั่วไปโครงการนี้มักมีการมอบรางวัลหรือโบนัสให้กับพนักงานที่แนะนำคนที่ถูกคัดเลือกและรับเข้าทำงานในองค์กรสำเร็จ โครงการแนะนำพนักงานนี้มีข้อดีหลายประการ เช่น การลดต้นทุนในการจ้างงาน เพิ่มคุณภาพของผู้สมัคร และสร้างความผูกพันให้กับพนักงานในองค์กร
การจัดกะพนักงาน คือ กระบวนการวางแผนและจัดระเบียบเวลาทำงานของพนักงานให้เหมาะสมกับความต้องการขององค์กรในแต่ละช่วงเวลา โดยแบ่งเวลาทำงานออกเป็นหลายช่วง (หรือหลายกะ) เพื่อให้มีพนักงานเพียงพอในการปฏิบัติงานตลอดเวลา เช่น ในกรณีขององค์กรที่เปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมงหรือมีความต้องการกำลังคนที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละช่วงเวลา
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์