Background Checks เรื่องสำคัญที่ HR ไม่ควรมองข้าม

Background Checks เรื่องสำคัญที่ HR ไม่ควรมองข้าม

Background Checks คือการตรวจสอบประวัติอย่างละเอียด ครอบคลุมทั้งด้านข้อมูลส่วนตัว, ประวัติอาชญากรรม, ภาวะทางการเงิน, การศึกษา ตลอดจนบริบทอื่น ๆ ที่ส่งผลกับตำแหน่งที่สมัครเข้ามา

Background Checks
มีรูปแบบที่หลากหลายขึ้นอยู่กับว่าเราจะเน้นเก็บข้อมูลในเรื่องใด ทั้งนี้หากคุณเป็นมือใหม่ ทาง
Business News Daily ได้แนะนำให้เริ่มต้นจาก 5 หัวข้อหลัก ดังนี้


1. การยืนยันตัวตน (Identity Verification) : ขั้นตอนเริ่มต้นของการทำ Background Checks ทุกประเภทคือการยืนยันว่าบุคคลที่มาสัมภาณ์นั้นมีสิทธิ์ทำงานตรงนี้จริง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสัญชาติ, ใบอนุญาตทำงาน, บัตรประชาชน เป็นต้น เพราะการว่าจ้างพนักงานที่ไม่ผ่านเกณฑ์ทางกฎหมาย แม้จะเกิดจากการปิดบังข้อมูลของผู้สมัคร แต่ก็ทำให้องค์กรเจอปัญหาได้เช่นกัน ดังนั้น HR ต้องใส่ใจข้อมูลทุกอย่างโดยละเอียด ไม่มองข้ามเพียงเพราะคิดว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย เพราะเคยมีกรณีที่พนักงานเอาข้อมูลของฝาแฝดมาสมัคร หรือออกเอกสารส่วนบุคคลปลอม ๆ มาอ้างอิง ซึ่งหากไม่นำไปเข้ากระบวนการ Reference Checks ก็อาจถูกหลอกได้อย่างง่ายดาย

2. การเช็คประวัติอาชญากรรม (Criminal Check) : หน้าที่ตรงส่วนนี้ต้องทำร่วมกับฝ่ายกฎหมาย และต้องทำตามขั้นตอนที่ถูกต้องเท่านั้น ไม่แอบสืบข้อมูลโดยละเมิดสิทธิมนุษยชนแม้พนักงานดังกล่าวจะมีแนวโน้มของการก่ออาชญากรรมเมื่อในอดีตก็ตาม อนึ่งต้องเข้าใจก่อนว่าแม้พนักงานบางท่านจะเคยมีประวัติอาชญากรรม แต่หากมีข้อมูลเสริมว่าได้รับโทษ หรือมีผลงานอื่น ๆ ในด้านบวกมาเสริม

ฝ่าย HR มีสิทธิ์ให้โอกาสทำงานได้ตามความเหมาะสม แต่อย่างไรก็เสียก็ต้องคำนึงถึงบริบทในภาพรวมขององค์กรด้วยว่าสามารถทำได้หรือไม่ เช่นหากเป็นงานที่ต้องพบปะกับลูกค้าต่างเพศ ก็ควรหลีกเลี่ยงพนักงานที่มีประวัติล่วงละเมิดเอาไว้ก่อน ซึ่ง HR Recruiter สามารถพิจารณาแยกเป็นกรณีได้เลย

3. การตรวจสอบประวัติทางการเงิน (Credit Check) : ปกติแล้วการตรวจเช็คประวัติทางการเงินหรือภาระหนี้สินเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งต่อคนที่อยู่ในตำแหน่งเกี่ยวข้องกับค่าใช้จ่ายภายในองค์กร ทั้งนี้หากพนักงานมีประวัติด้านการเงินไม่ดี องค์กรก็ต้องเปิดโอกาสให้พนักงานอธิบายรายละเอียดเพิ่มเติม ก่อนที่จะตัดสินใจเชิญพนักงานออกจากตำแหน่ง ทั้งนี้เรื่องเกี่ยวกับการเงินเป็นเรื่องละเอียดอ่อน องค์กรต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านกฎหมายอย่างเคร่งครัด

4. การตรวจสอบประวัติด้านการศึกษา (Educational Check) : ข้อมูลส่วนนี้เป็นข้อมูลที่สำคัญไม่ต่างกับข้อมูลด้านการยืนยันตัวตน โดยเฉพาะในสายงานที่มีวุฒิการศึกษากำหนดไว้อย่างจริงจัง ซึ่ง HR ต้องยืนยันให้ได้ว่าข้อมูลที่ระบุเอาไว้ในใบสมัครเป็นข้อมูลจริง และนอกเหนือจากใบจบการศึกษาแล้ว ยังควรเช็คด้วยว่าผู้สมัครมีประวัติอื่น ๆ เช่นการทุจริตสอบหรือไม่ ข้อมูลนี้จะสะท้อนถึงทัศนคติในการทำงานโดยตรง

5. การตรวจสอบการใช้สื่อโซเชียล (Social Network Check) : ในยุคที่มนุษย์ใช้เวลาส่วนใหญ่บนโลกออนไลน์แบบนี้ สิ่งที่เหลืออยู่แน่ ๆ ก็คือประวัติการใช้โซเชียลหรือเรียกเป็นภาษาทางการว่า Digital Footprint ซึ่งถือเป็นข้อมูลดิบที่ลบไปจากโลกออนไลน์ได้ยาก และสามารถสะท้อนถึงตัวตนของผู้ใช้งานได้เป็นอย่างดี จุดที่ต้องโฟกัสของเรื่องนี้ก็คือปัจจุบันโลกโซเชียลมีแพลตฟอร์มมากมาย

และการใช้ชีวิตมนุษย์ในแต่ละแพลตฟอร์มล้วนแตกต่างกัน ยกตัวอย่างเช่นในแพลตฟอร์มที่ไม่ต้องเปิดเผยตัวตนซึ่งอาจทำให้คนกล้าแสดงความเห็นมากกว่า หรือแพลตฟอร์มที่จำกัดตัวอักษรอย่างทวิตเตอร์ที่อาจทำให้คนใช้คำพูดที่ลงรายละเอียดน้อยกว่าปกติ เป็นต้น 

ดังนั้นการเข้าใจพนักงานจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อ HR นำข้อมูลจากทุกแพลตฟอร์มมารวมและวิเคราะห์ออกมาเท่านั้น ทั้งนี้ก่อนที่จะตัดสินพนักงานคนใดก็ตาม ให้คิดว่ามนุษย์ทุกคนมีหลายด้านเสมอ พฤติกรรมใดที่อาจไม่ถูกใจเรา แต่ไม่ได้ผิดครรลองของสังคม ไม่ถือเป็นสิ่งที่ต้องถูกต่อว่า HR ต้องรู้จักแยกแยะและให้ความเป็นธรรมกับการทำ Background Checks เสมอ


ขอบคุณที่มา : th.hrnote.asia

 445
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

AI (Artificial Intelligence) หรือ ปัญญาประดิษฐ์ คือเทคโนโลยีที่ช่วยให้เครื่องจักรหรือคอมพิวเตอร์มีความสามารถในการคิดและทำงานในลักษณะที่คล้ายกับมนุษย์ โดยการนำข้อมูลจำนวนมากมาประมวลผลและตัดสินใจผ่านกระบวนการที่เรียกว่า การเรียนรู้ของเครื่อง (Machine Learning) หรือ การเรียนรู้เชิงลึก (Deep Learning) แล้ว AI จะเข้ามามีบทบาทในการพัฒนางาน HR อย่างไร
หลายๆ คนอาจจะกำลังลังเลกับเส้นทางชีวิตในการเลือกงานที่เหมาะสมกับตนเอง เพราะปัจจุบันมีหลากหลายอาชีพให้เลือก มีหลายสายงานให้ได้ลองทำ หากใครชอบความเป็นอิสระอาจจะเริ่มจากการทำงานฟรีแลนซ์ หรืออีกหนึ่งรูปแบบที่คนส่วนใหญ่เลือกทำงานกันคือ การทำงานในออฟฟิศ หรือที่เราเรียกกันว่า "มนุษย์เงินเดือน" แน่นอนว่ามันมีทั้งข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันไป แต่บทความนี้เราจะมาบอกข้อดีของการทำงานเป็นมนุษย์เงินเดือน ที่มีข้อดีอยู่มากมายจนบางทีคุณอาจจะคาดไม่ถึงด้วยซ้ำ งั้นเรามาดูกันสิว่าการที่เราเป็นมนุษย์เงินเดือนนั้นมีข้อดีอะไรบ้าง

เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการจัดการบริหารงานบุคคล และพัฒนาบุคลากรในองค์กร โดยใช้ในการประเมินพนักงานตามสองเกณฑ์หลัก ได้แก่ ศักยภาพ (Potential) และผลงาน (Performance) เครื่องมือนี้ช่วยให้ผู้บริหารสามารถระบุพนักงานที่มีศักยภาพสูงและผลงานดี เพื่อพัฒนาและเตรียมพวกเขาให้รับบทบาทที่สำคัญในอนาคต ได้รับการนำเสนอครั้งแรกในปี 1970 โดยบริษัท McKinsey & Company โดยเป็นเครื่องมือสำหรับประเมินศักยภาพและประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน และนับตั้งแต่นั้นมา เครื่องมือนี้ก็ได้รับความนิยมและถูกใช้กันอย่างแพร่หลายโดยองค์กรต่าง ๆ ทั่วโลก
เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการจัดการบริหารงานบุคคล และพัฒนาบุคลากรในองค์กร โดยใช้ในการประเมินพนักงานตามสองเกณฑ์หลัก ได้แก่ ศักยภาพ (Potential) และผลงาน (Performance) เครื่องมือนี้ช่วยให้ผู้บริหารสามารถระบุพนักงานที่มีศักยภาพสูงและผลงานดี เพื่อพัฒนาและเตรียมพวกเขาให้รับบทบาทที่สำคัญในอนาคต ได้รับการนำเสนอครั้งแรกในปี 1970 โดยบริษัท McKinsey & Company โดยเป็นเครื่องมือสำหรับประเมินศักยภาพและประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน และนับตั้งแต่นั้นมา เครื่องมือนี้ก็ได้รับความนิยมและถูกใช้กันอย่างแพร่หลายโดยองค์กรต่าง ๆ ทั่วโลก
สวัสดิการที่องค์กรมอบให้แก่พนักงาน กับ สวัสดิการที่พนักงานต้องการ นั้น บางเรื่องก็เป็นสิ่งที่ตรงกัน ส่วนบางเรื่องก็เป็นสิ่งที่ต่างความเห็นกัน ในเรื่องนี้จากทาง Jobthai (jobthai.com) เคยทำบทความนำเสนอผลการสำรวจความคิดเห็นจากคนทำงานทั่วประเทศในประเด็นที่ว่า “สวัสดิการที่คนทำงานต้องการจากองค์กร” ซึ่งเป็นการทำผลสำรวจจากคนทำงานที่เป็นพนักงานทั่วไปจำนวน 7,420 คน ทั่วประเทศ โดยมีผลการสำรวจออกมาดังนี้
เคยได้ยินคำว่า Flexible Time กันอยู่บ่อย ๆ ว่าแต่เอ๊ะ มันคืออะไร ??
AQ หรือ Adversity Quotient คือความฉลาดในการรับมือกับปัญหา ทั้งสภาพกาย และจิตใจ ถูกบัญญัติขึ้นโดยพอล สโตลทซ์ (Paul Stoltz) เมื่อปี 1997 ว่า เป็นวิธีการประเมินความสามารถของแต่ละคนในการรับมือ และตอบสนองต่อความทุกข์ยาก โดยสถาบันชั้นนำอย่างฮาร์วาร์ด (Harvard), สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (Massachusetts Institute of Technology หรือ MIT) และคาร์เนกีเมลลอน (Carnegie Mellon) ต่างก็ใช้ AQ เป็น ‘Golden Standard’ เพื่อประเมินว่า คนนั้นๆ จัดการกับความท้าทายอย่างไรด้วยกันทั้งสิ้น และยังค้นพบอีกด้วยว่า AQ มีความสัมพันธ์โดยตรงกับ ‘การเป็นผู้นำที่ดี’
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์