เวลาทำงานแบบยืดหยุ่น หรือ Flexible Time คืออะไร?

เวลาทำงานแบบยืดหยุ่น หรือ Flexible Time คืออะไร?

เคยได้ยินคำว่า Flexible Time กันอยู่บ่อย ๆ ว่าแต่เอ๊ะ มันคืออะไร ??

           พูดถึงเรื่อง Time ในองค์กร ก็คงหนีไม่พ้นเรื่องการเข้า – ออกตามกะงานต่าง ๆ ซึ่งแน่นอนว่าปัจจุบันองค์กรส่วนใหญ่ก็ยังคงมีการกำหนดขอบเขตการลงเวลาเข้า – ออกที่เป็นเวลาตายตัวที่องค์กรกำหนดไว้เท่านั้น

...แต่ก็มีบางองค์กรที่นำ “ระบบการลงเวลาทำงานแบบยืดหยุ่น” หรือ “Flexible Time” มาปรับใช้

  • พนักงานสามารถเข้า – ออกงาน เวลาใดก็ได้ภายใต้กรอบเวลาที่องค์กรกำหนด
  • พนักงานแค่ทำงานได้ครบตามชั่วโมงที่องค์กรกำหนด

ซึ่งระบบการทำงานแบบยืดหยุ่นนี้เป็นที่ถูกอกถูกใจคนทำงานรุ่นใหม่ไม่น้อยเลยทีเดียว เนื่องจากสามารถบริหารจัดการเวลาเข้างานของตัวเองได้อย่างอิสระ

โดยเวลาทำงานแบบยืดหยุ่น (Flexible Time) ที่ได้รับความนิยมจะมีอยู่ประมาณ 3 รูปแบบ ดังนี้

1. จับกะงานอัตโนมัติ

ต้องบอกว่ารูปแบบนี้เป็นที่นิยมใช้ในอันดับต้น ๆ โดยองค์กรจะกำหนดเวลาเข้า – ออกกะงานเป็นช่วง ๆ ไว้ ส่วนใหญ่ก็จะกำหนดให้ 3 ช่วงเวลา ซึ่งก็จะมีเวลาเข้างานที่แตกต่างกัน เมื่อพนักงานลงเวลาเข้าใกล้เคียงกะไหน ก็จะทำงานในกะงานนั้น และทำงานจนถึงเวลาออกงานของกะงานนั้น ๆ เช่นกัน

       เช่น องค์กรกำหนดไว้ 3 กะงาน

       08.30 – 17.30

       09.00 – 18.00

       09.30 – 18.30

       พนักงานมาทำงาน 08.53 ก็ยังไม่สาย เพราะว่าเข้ากะ 09.00 – 18.00 ได้ สบายใจ ^^ เคสนี้ยืดหยุ่น เหมาะสำหรับองค์กรที่ตั้งอยู่ในบริเวณที่มีรถติดชนิดร้ายแรง แต่ถ้ายังดันมาช้าเกิน 09.30 ก็ต้องสายแล้วน๊า

 

2. ทำงานครบตามชั่วโมง

รูปแบบการทำงานนี้ เน้นการนับชั่วโมงการทำงานเป็นหลัก พนักงานจะเข้า – ออกเวลาไหนก็ได้ แค่ทำงานให้ครบตามชั่วโมงที่องค์กรกำหนดเท่านั้น ก็พอ โอ้โห!! แบบนี้วัยรุ่นชอบ ...ตื่นสายได้

 

3. ชดเชยเวลาเข้างานสาย

            ฟังดูงง ๆ จริง ๆ รูปแบบนี้ ก็คล้ายกับแบบที่ 1 นั่นแหละจ้า เพียงแต่ว่าองค์กรจะกำหนดช่วงเวลาการทำงานมาให้ พร้อมจำนวนชั่วโมงที่พนักงานจะต้องทำ ดังนั้นถ้ามาสาย ก็แค่ทำชดเชยให้ครบตามชั่วโมงที่กำหนดไว้แค่นั้น  แต่!! ต้องไม่เกินเวลาที่องค์กรอนุญาตให้ชดเชยนะ

            เช่น องค์กรกำหนดไว้ 3 กะงาน

       08.30 – 17.30

       09.00 – 18.00

       09.30 – 18.30

โดยให้ทำงาน 8 ชั่วโมง สามารถทำงานเพื่อชดเชยสายได้ถึง 19.00 น.  เท่านั้น

            นั่นหมายความว่า ถ้าคุณมาทำงาน 10.00 – 19.00 น. แสดงว่าคุณทำงานครบ 8 ชั่วโมง และยังออกไม่เกิน 19.00 น. อีกด้วย แบบนี้ก็ไม่ถือว่าสาย  

...แต่ ถ้าคุณมาทำงาน 10.30 น. แล้วองค์กรให้ทำได้ถึง 19.00 น. เท่านั้น แบบนี้ก็ยอมสายเถอะนะ ^^

ระบบบริหารเวลา Time Attendance ในโปรแกรมบริหารงานบุคคล HRMI

Time Attendance ระบบที่ใช้สำหรับควบคุมเวลาการทำงานของพนักงาน เช่น การเข้างาน - ออกงาน การขาดลามาสาย การกำหนดกะทำงาน การกำหนดตารางการทำงานของพนักงาน และการบันทึกขาด ลา มาสาย สามารถใช้กับเครื่องรูดบัตรได้ ทุกรุ่น ทุกยี่ห้อ ที่สามารถ Export ข้อมูลออกมาเป็น Text files ได้ รายงานแจ้งข้อผิดพลาดสำหรับพนักงานที่มีปัญหากรณีที่ไม่ได้ทำการรูดบัตร เช่น ไม่ได้รูดบัตรเข้า ไม่ได้รูดบัตรออก มาสาย เข้าช้า - กลับก่อนกำหนดได้ มีรายงานสถิติการลาแต่ละประเภทของพนักงานแต่ละคนซึ่งทำให้แผนกบุคคล สามารถตรวจสอบเวลาการทำงานของพนักงานได้อย่าง มีประสิทธิภาพและรวดเร็ว

คุณสมบัติเด่นของ Time Attendance ระบบบริหารเวลา

  • รองรับการกำหนดกะงานได้ไม่จำกัด สามารถระบุเงื่อนไขเวลาการทำงานของแต่ละ กะงานได้ เช่น กำหนดเวลาอนุญาตสายสูงสุด, กำหนดการหักค่าจ้างกรณีที่พนักงาน เข้างานสาย
  • รองรับการกำหนดตารางการทำงานแบบกะปกติ, กะวน และกะ Flexible Time
  • รองรับการกำหนดกะงานให้มองตามเวลาใกล้เคียงเวลาแสกนนิ้ว, ตามชั่วโมงที่กำหนด (Flexible Time)
  • สามารถบันทึกกะงาน OT วันหยุด, OT ก่อนทำงาน, OT ระหว่างทำงาน, OT หลังเลิกงานได้
  • สามารถบันทึกรายได้กะงานได้ เช่น รายได้ค่ากะงานดึก เป็นต้น
  • สามารถ Import เวลาเข้า – ออก งานของพนักงานได้ โดยการใช้ Text file/Excel file หรือ จาก Database ของโปรแกรมสแกนนิ้ว ได้ทั้งการ Import เอง และ Import อัตโนมัติ
  • สามารถปรับปรุงเวลาการทำงานของพนักงานได้ เช่น บันทึกแลกกะงาน, แลกวันหยุด, เปลี่ยน กะงาน, เปลี่ยนวันหยุด, เวลาการเข้า – ออกงาน เป็นต้น
  • สามารถกำหนดตารางการทำงานให้พนักงานได้ทั้งแบบรายบุคคล หรือแบบกลุ่มได้ และสามารถ Import Format Excel เข้าระบบได้
  • สามารถกำหนดปฏิทินวันหยุด, วันหยุดประจำปี (นักขัตฤกษ์) ได้ตามนโยบายขององค์กร
  • สามารถกำหนดวันอนุญาตลาตามเงื่อนไขอายุงานได้
  • สามารถบันทึกยกเว้นการรูดบัตรได้กรณีที่พนักงานออกไปปฏิบัติงานนอกสถานที่
  • สามารถตรวจสอบเวลาหลังจากประมวลผลเวลาได้ง่าย ระบบแยกสีของข้อมูลแต่ละประเภทให้ชัดเจน
  • สามารถตรวจสอบวันอนุญาตลา, วันลาที่ใช้ไป และวันลาคงเหลือของพนักงานได้
 3268
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

การเสียภาษีเงินได้เป็นการเสียภาษีแบบขั้นบันได ซึ่งหมายความว่าผู้ที่มีรายได้มากขึ้นจะต้องจ่ายภาษีในอัตราที่สูงขึ้นตามระดับรายได้ที่กำหนดไว้ในกฎหมาย โดยแบ่งเป็นช่วงรายได้ต่างๆ ที่มีอัตราภาษีแตกต่างกันไป  มาดูกันว่าใครบ้างที่ต้องเสียภาษีและต้องยื่นภาษีเงินได้
โปรแกรมบริหารงานบุคคล Prosoft HRMI มีระบบสวัสดิการเงินกู้ของพนักงาน (Loan Management) ที่แยกมาจากระบบสวัสดิการ (Welfare) เพื่อกำหนดสวัสดิการต่างๆ ของพนักงาน และควบคุมการใช้ทรัพย์สินภายในองค์กร และช่วยเพิ่มความสามารถในการจัดการสวัสดิการเงินกู้ของพนักงาน
ระบบอนุมัติเอกสารออนไลน์ (Approve Center) คือ ระบบที่ช่วยให้การขออนุมัติเอกสารเป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัล โดยเป็นระบบการทำงานแบบ Workflow ที่ครอบคลุมถึงทุกแผนกในองค์กร สามารถทำได้ง่าย ๆ บนแอปพลิเคชันเดียว อนุมัติได้จากทุกที่ ทุกเวลา บนอุปกรณ์ที่หลากหลาย ทั้ง PC, Laptop, Tablet และ Smartphone
สัญญาจ้างงาน คือ ข้อตกลงระหว่างนายจ้างและลูกจ้างที่ระบุเงื่อนไขการจ้างงาน โดยทั่วไปจะกำหนดหน้าที่ ความรับผิดชอบ ค่าตอบแทน และเงื่อนไขอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจที่ชัดเจนระหว่างทั้งสองฝ่าย และช่วยลดข้อขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
แน่นอนว่าปัจจุบันเทคโนโลยีกลายเป็นทักษะที่มีความสำคัญอย่างมากที่ทุกสาขาอาชีพต้องมีความเกี่ยวข้องไม่มากก็น้อย หากได้ทำงานร่วมกับมนุษย์ก็จะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพงานให้ดียิ่งขึ้น โดยทาง jobthai ได้รวบรวมทักษะสำคัญของคนที่ทำงานในปี 2025 ที่ต้องมีติดตัวไว้
AI (Artificial Intelligence) หรือ ปัญญาประดิษฐ์ คือเทคโนโลยีที่ช่วยให้เครื่องจักรหรือคอมพิวเตอร์มีความสามารถในการคิดและทำงานในลักษณะที่คล้ายกับมนุษย์ โดยการนำข้อมูลจำนวนมากมาประมวลผลและตัดสินใจผ่านกระบวนการที่เรียกว่า การเรียนรู้ของเครื่อง (Machine Learning) หรือ การเรียนรู้เชิงลึก (Deep Learning) แล้ว AI จะเข้ามามีบทบาทในการพัฒนางาน HR อย่างไร
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์