• หน้าแรก

  • News

  • HR Articles

  • กองทุนฌาปนกิจ เพื่อพนักงานและครอบครัวที่บริษัทควรใส่ใจ

กองทุนฌาปนกิจ เพื่อพนักงานและครอบครัวที่บริษัทควรใส่ใจ

  • หน้าแรก

  • News

  • HR Articles

  • กองทุนฌาปนกิจ เพื่อพนักงานและครอบครัวที่บริษัทควรใส่ใจ

กองทุนฌาปนกิจ เพื่อพนักงานและครอบครัวที่บริษัทควรใส่ใจ


หนึ่งในหลาย ๆ สวัสดิการที่พนักงานบริษัท
 ควรได้รับ นอกเหนือไปจาก ค่าเบี้ยขยัน ค่าทำงานนอกเวลา ค่าทำงานนอกสถานที่ ค่าเดินทางไปทำงานต่างจังหวัด ค่าโทรศัพท์ ค่าคอมพิวเตอร์ ยังควรที่จะรวมไปถึงเงิน กองทุนฌาปนกิจ พนักงานและครอบครัว เงินช่วยเหลือเมื่อพนักงานหรือครอบครัวเสียชีวิต ที่จะช่วยเป็นแรงจูงใจในการสมัครเข้าทำงานในองค์กรนั่นเอง

กองทุนฌาปนกิจ คือ กองทุนช่วยเหลือพนักงานและครอบครัวกรณีเสียชีวิต ต้องบอกว่าแต่ละองค์กร จะมีเงื่อนไขในการช่วยเหลือ รวมไปถึงจำนวนเงินช่วยเหลือ และรูปแบบของกองทุนที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ทั้งขนาดขององค์กร รูปแบบของธุรกิจ รูปแบบของงาน หากเป็นงานที่มีความเสี่ยงสูง ก็จะได้รับเงินช่วยเหลือสูงตามไปด้วย โดยหากเป็นองค์กรขนาดใหญ่จะมีรูปแบบของ กองทุนฌาปนกิจ ในรูปแบบกองทุน หรือรูปแบบสหกรณ์ ขณะที่องค์กรขนาดเล็กอาจจะเป็นในรูปแบบของเงินสนับสนุน ช่วยเหลือครอบครัว

เงินช่วยเหลือจากการเสียชีวิตของพนักงาน

โดยทั่วไปแล้ว เงินช่วยเหลือจากการเสียชีวิตของพนักงาน แต่ละบริษัทจะมีเงื่อนไขในการช่วยเหลือและจำนวนเงินที่แตกต่างกันออกไป แต่เบื้องต้น ประกอบไปด้วย

  • พวงหรีดเคารพศพ และค่าจัดการศพเบื้องต้น
  • การรับเป็นเจ้าภาพจัดงานศพ
  • เงินช่วยเหลือ ขึ้นอยู่กับการเสียชีวิตมาจากสาเหตุใด หากเป็นอุบัติเหตุ หรือโรคภัยไข้เจ็บส่วนตัว ก็จะได้รับเงินช่วยเหลือแตกต่างจากการเสียชีวิตขณะปฏิบัติหน้าที่ หรือ เสียชีวิตจากการทำงาน พนักงานควรตรวจสอบเงื่อนไขก่อนสมัครเข้าทำงาน ซึ่งเงินช่วยเหลือนี้จะถูกส่งต่อให้กับผู้รับผลประโยชน์ เช่น สามี ภรรยา บุตร หรือบิดามารดา นั่นเอง

เงินช่วยเหลือจากการเสียชีวิตของบุคคลในครอบครัว

โดยที่บุคคลในครอบครัว จะหมายถึง บุตรที่ให้กำเนิดตามกฎหมาย ไม่นับรวมบุตรบุญธรรม คู่สมรสตามกฎหมาย และบิดามารดา ลักษณะของการช่วยเหลือที่จะได้รับ

  • ค่าจัดการศพเบื้องต้น
  • เงินช่วยเหลือ
  • การรับเป็นเจ้าภาพจัดงานศพ เป็นต้น

จะเห็นว่ากองทุนฌาปนกิจ เป็นสิ่งที่บริษัทควรให้ความสำคัญและรวมไว้เป็นสวัสดิการให้กับพนักงาน จะทำเป็นกองทุนสำรองเลี้ยงชีพก็ได้ โดยการหักจากเงินเดือนพนักงานส่วนหนึ่ง และบริษัทสมทบส่วนหนึ่ง และจ่ายคืนเต็มจำนวนพร้อมเงินสมทบ เมื่อพนักงานลาออกหรือเสียชีวิต ทุกวันนี้โรคระบาดที่เกิดขึ้น ทำให้ผู้สมัครงานมองหางานที่ให้สวัสดิการครอบคลุม และตอบโจทย์ชีวิตมากที่สุด 

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิก!!



ที่มา : LINK

 942
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

การสรรหาบุคลากร (Recruitment) กล่าวง่ายๆ หมายถึง กระบวนการในการค้นหาตลอดจนคัดเลือกบุคคลที่มีความรู้ความสามารถและมีทักษะที่เหมาะสมเพื่อเข้ามาปฎิบัติงานในตำแหน่งงานตามที่องค์กรต้องการ กระบวนการนี้จะเริ่มต้นตั้งแต่การวางแผนการคัดเลือก การสื่อสารให้เกิดแรงจูงใจกับผู้สมัครเป้าหมายที่ต้องการ และจะสิ้นสุดกระบวนการเมื่อองค์กรนั้นรับบุคคลนั้นๆ เข้าเป็นพนักงานแล้ว
กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ชี้แจงกรณีที่ กยศ. ได้แจ้งนายจ้างให้หักเงินเดือนเพื่อชำระเงินกู้ยืมคืนจากผู้กู้ยืมที่ค้างชำระหนี้ โดยให้หักเพิ่มรายละ 3,000 บาท สำหรับผู้กู้ยืมที่มีสถานะ ค้างชำระ โดยไม่รวมผู้ที่ได้ทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้กับ กยศ. แล้ว มีผลตั้งแต่เดือนเมษายน 2568 เป็นต้นไป
การมอบสิทธิประโยชน์ทางด้านภาษี เพื่อสนับสนุนคนไทยที่มีศักยภาพที่ทำงานในต่างประเทศให้กลับเข้ามาในงานในประเทศไทย โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ
JD (Job Description) ภาษาไทยเรียกว่า ขอบเขตหน้าที่และความรับผิดชอบงานตำแหน่งงาน หรือ คำบรรยายลักษณะงาน / ใบพรรณนาหน้าที่งาน ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการบรรยายลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบของตำแหน่งงาน รวมถึงคุณสมบัติของคนที่ทำงานในตำแหน่งหน้าที่ที่กำหนด

การเทรนนิ่งพนักงานมี 2 ทางเลือกหลัก หากองค์กรไม่เลือก On the Job Training หรือการฝึกพนักงานให้เรียนรู้จากการทำงานจริง ก็สามารถเลือก Off the Job Training ซึ่งอาจเป็นการจัดคอร์สนอกเวลาหรือจ้าง Outsource มาดูแลการฝึกทักษะต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นภาษา, Soft Skills หรือ Hard Skills

พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 กำหนดให้มีกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างในกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เพื่อสงเคราะห์ลูกจ้าง กรณีออกจากงาน หรือตาย หรือในกรณีอื่นที่กำหนดโดยคณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง มีผลเริ่มใช้วันที่ 1 ตุลาคม 2568

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์