แนวคิดการทำงานเป็นทีมเพื่อให้ประสบผลสำเร็จ

แนวคิดการทำงานเป็นทีมเพื่อให้ประสบผลสำเร็จ


แน่นอนว่างานบางอย่างอาจสามารถทำคนเดียวได้ แต่งานนั้นอาจทำได้ดีกว่าหากร่วมกันทำงานเป็นทีม
 การทำงานเป็นทีมนั้นถือเป็นสิ่งที่ท้าทายสำหรับหลายคนและหลายองค์กร อาจเป็นเรื่องง่ายที่จะนำคนมาทำงานร่วมกัน แต่การทำให้คนเหล่านั้นกลายเป็นทีมที่ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพอาจต้องใช้เวลาเรียนรู้อีกมากมาย

ปรับ Mindset “การทำงานเป็นกลุ่ม” ต่างกับ “การทำงานเป็นทีม”

Mindset เป็นสิ่งสำคัญในการทำงานและการใช้ชีวิต การที่จะทำงานเป็นทีมให้ประสบความสำเร็จได้ต้องเริ่มต้นที่ความคิดและความเชื่อ การทำงานเป็นกลุ่ม อาจดูเหมือนว่ามีความหมายคล้ายหรือใกล้เคียงกับการ ทำงานเป็นทีม แต่อันที่จริงแล้วการทำงานทั้งสองแบบนี้แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง หากเราเปลี่ยนความคิดเรื่องการทำงานได้ก็จะนำไปสู่การทำงานเป็นทีมให้มีประสิทธิภาพ

การทำงานเป็นกลุ่ม (Workgroup) หมายถึง การทำงานที่ประกอบด้วยบุคคลตั้งแต่ 3 คนขึ้นไปมาทำงานร่วมกันโดยต่างคนต่างทำหน้าที่ของตัวเองให้เสร็จและทำตามเป้าหมายของตัวเองให้ลุล่วงเพียงเท่านั้น ไม่มีการกำหนดเป้าหมายหรือแนวทางในการทำงานร่วมกันที่ชัดเจน

การทำงานเป็นทีม (Teamwork) หมายถึง การทำงานที่ประกอบด้วยบุคคลตั้งแต่ 3 คนขึ้นไปมาทำงานร่วมกัน ถึงแม้ว่าแต่ละคนอาจมาจากต่างแผนกหรือแผนกเดียวกันแต่ทุกคนล้วนมีเป้าหมายเดียวกันชัดเจนโดยร่วมกันทำงานเพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมายที่วางไว้ ตั้งใจทำหน้าที่ของตัวเองให้สำเร็จพร้อมกับช่วยสนับสนุนให้ทุกคนในทีมทำงานให้เสร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ร่วมกั

1.มีเป้าหมายที่ชัดเจนเป็นเป้าหมายเดียวกัน

การมีเป้าหมายที่เดียวกันที่ชัดเจนคือหัวใจสำคัญของการทำงานเป็นทีม เป้าหมายนี้นอกจากจะช่วยให้มีทิศทางการทำงานที่ชัดเจนแล้ว ยังช่วยให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้นอีกด้วย เพราะเป้าหมายที่ชัดเจนจะทำให้เรารู้ว่าผลลัพธ์จะออกมาเป็นอย่างไร เรากำลังทำอะไร ต้องใช้วิธีไหนหรือปรับอะไรเพื่อให้ไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ได้

หากทุกคนมีเป้าหมายร่วมกันก็จะยิ่งส่งเสริมให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและยังทำงานเป็นทีมได้ดีขึ้นอีกด้วย เป้าหมายร่วมของทีมจะส่งผลให้คนในทีมมีปฏิสัมพันธ์กัน มีความรู้สึกร่วมกัน ร่วมแรงร่วมใจกันทำงานและมีแรงผลักดันไปสู่เป้าหมายให้สำเร็จ

2.รู้หน้าที่และมีระบบที่ชัดเจน

อีกสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งในการทำงานเป็นทีมให้มีประสิทธิภาพก็คือ การรู้หน้าที่และมีระบบการทำงานที่ชัดเจน ทุกคนในทีมควรรู้หน้าที่ของตัวเองและเพื่อนร่วมทีมว่าแต่ละคนต้องทำงานอะไรส่วนไหนบ้าง ให้ความเคารพและทำความเข้าใจในหน้าที่ทุกภาคส่วน เนื่องจากทุกหน้าที่ก็มีความสำคัญเช่นกัน การรู้หน้าที่และส่วนงานที่รับผิดชอบของแต่ละฝ่ายจะช่วยให้รู้ว่าต้องแก้ไขส่วนไหนหรือยื่นมือเข้าไปช่วยทีมอย่างไรเมื่องานมีปัญหาหรือเกิดความล่าช้า

นอกจากนี้ การมีระบบหรือโครงสร้างการทำงานและระบบตำแหน่งที่วางไว้อย่างชัดเจน สามารถทำได้จริง เข้าใจง่าย ไม่ยุ่งยากหรือซับซ้อนจนเกินไป จะทำให้สามารถปฏิบัติงานได้จริงและไม่ทำงานทับซ้อนกันและดำเนินการได้อย่างรวดเร็ว

3.รู้จักทีม สร้างความสัมพันธ์ เป็นพลังให้กันและกัน

Teamwork ประกอบจากคนจากหลากหลายตำแหน่งมาทำหน้าที่ต่างๆ ร่วมกันเป็นทีม สิ่งที่เราต้องเจอมากที่สุดในการทำงานเป็นทีมก็คือ “เพื่อนร่วมทีม” ดังนั้น เราจึงควรทำความเข้าใจนิสัยของแต่ละคนในทีมว่าเป็นคนประเภทไหน มีนิสัยอย่างไร มีจุดแข็งจุดด้อยอย่างไร เพื่อที่จะสร้างความสัมพันธ์ที่ดี หาวิธีสื่อสาร และหาวิธีทำงานร่วมกันได้อย่างราบรื่น โดยหลักการแบ่งประเภทคนในการทำงานจะมีหลายประเภทด้วยกัน แต่การแบ่งบุคลิกภาพแบบที่นิยมใช้กันมากที่สุดมักจะเป็นการแบ่งโดยใช้แบบทดสอบหาบุคลิกภาพ “Personality Test” และ “สัตว์ 4 ทิศ” นั่นเอง

เมื่อรู้จักกับคนในทีมและมองหาวิธีการทำงานร่วมกันที่เหมาะสมได้แล้ว ก็จะสามารถสร้างทีมที่ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยจุดเด่นหรือความสามารถของแต่ละคน ซึ่งแต่ละคนอาจถนัดหรือมีความสามารถพิเศษที่แตกต่างกันไป ดังนั้น การมอบหมายงานที่ถูกต้องให้ถูกคนก็จะส่งผลให้งานนั้นๆ ออกมาดี

สิ่งสำคัญ อย่าลืมชื่นชมเพื่อนร่วมทีมอย่างจริงใจและให้กำลังใจกันและกัน เพื่อเป็นพลังสนับสนุนตัวเองและคนในทีมให้ทำงานได้อย่างมีความสุข

4.เสริมพลังแห่ง Teamwork ด้วย 3 คำ “สนับสนุน สามัคคี แบ่งปัน”

เราสามารถเปลี่ยน การทำงานเป็นทีม ให้เป็น การทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพ ได้ด้วยสามสิ่งต่อไปนี้ คือ

Support each other: การสนับสนุนซึ่งกันและกัน พร้อมที่จะเข้าไปช่วยเหลือคนอื่นๆ หรือหน้าที่อื่นๆ ในทีมให้ทำงานลุล่วงไปพร้อมกัน ไม่ตัวใครตัวมัน

Find harmony: การค้นหาความสามัคคีเป็นสิ่งสำคัญที่สุดของการทำงานร่วมกัน เพราะหากมัวแต่คิดเห็นขัดแย้งและทำงานขัดแย้งกัน ไม่เปิดใจรับฟังความเห็นต่างและทำงานไปคนละทิศละทางก็จะทำให้งานไม่เดินหรือทำงานไม่ได้ประสิทธิภาพ ดังนั้น ทุกคนในทีมจึงควรสามัคคีกัน

Sharing is having more: การแบ่งเป็นอีกสิ่งที่จะสร้างพลังให้กับทีม โดยเราสามารถแบ่งปันความรู้หรือวิธีการทำงานให้กันระหว่างทีม แบ่งปันคำติชม แบ่งปันความสำเร็จ ฝึกฝนทำงานไปพร้อมกันจะช่วยให้ทีมเติบโตไปด้วยกันในการทำงานและเพิ่มความรู้สึกร่วมในการทำงานได้อีกด้วย ยิ่งให้มากก็ยิ่งได้มากนั่นเอง

5.ล้มไปด้วยกันก็ก้าวไปด้วยกัน ชื่นชมความสำเร็จและร่วมภาคภูมิใจพร้อมกัน

ไม่ว่าผลงานจะออกมาเป็นอย่างไรหรือเจอปัญหาอะไร การร่วมชื่นชมและเรียนรู้จากความผิดพลาดไปด้วยกันจะทำให้ทีมทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น แม้จะต่างฐานะหน้าที่ก็ยินดีกับความสำเร็จของเพื่อนร่วมงาน หัวหน้า ลูกน้องไปด้วย เพราะความสำเร็จของทุกคนก็คือหนึ่งในความสำเร็จของทีม

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิก!


ที่มา : Link

 2318
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

AI (Artificial Intelligence) หรือ ปัญญาประดิษฐ์ คือเทคโนโลยีที่ช่วยให้เครื่องจักรหรือคอมพิวเตอร์มีความสามารถในการคิดและทำงานในลักษณะที่คล้ายกับมนุษย์ โดยการนำข้อมูลจำนวนมากมาประมวลผลและตัดสินใจผ่านกระบวนการที่เรียกว่า การเรียนรู้ของเครื่อง (Machine Learning) หรือ การเรียนรู้เชิงลึก (Deep Learning) แล้ว AI จะเข้ามามีบทบาทในการพัฒนางาน HR อย่างไร
หลายๆ คนอาจจะกำลังลังเลกับเส้นทางชีวิตในการเลือกงานที่เหมาะสมกับตนเอง เพราะปัจจุบันมีหลากหลายอาชีพให้เลือก มีหลายสายงานให้ได้ลองทำ หากใครชอบความเป็นอิสระอาจจะเริ่มจากการทำงานฟรีแลนซ์ หรืออีกหนึ่งรูปแบบที่คนส่วนใหญ่เลือกทำงานกันคือ การทำงานในออฟฟิศ หรือที่เราเรียกกันว่า "มนุษย์เงินเดือน" แน่นอนว่ามันมีทั้งข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันไป แต่บทความนี้เราจะมาบอกข้อดีของการทำงานเป็นมนุษย์เงินเดือน ที่มีข้อดีอยู่มากมายจนบางทีคุณอาจจะคาดไม่ถึงด้วยซ้ำ งั้นเรามาดูกันสิว่าการที่เราเป็นมนุษย์เงินเดือนนั้นมีข้อดีอะไรบ้าง

เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการจัดการบริหารงานบุคคล และพัฒนาบุคลากรในองค์กร โดยใช้ในการประเมินพนักงานตามสองเกณฑ์หลัก ได้แก่ ศักยภาพ (Potential) และผลงาน (Performance) เครื่องมือนี้ช่วยให้ผู้บริหารสามารถระบุพนักงานที่มีศักยภาพสูงและผลงานดี เพื่อพัฒนาและเตรียมพวกเขาให้รับบทบาทที่สำคัญในอนาคต ได้รับการนำเสนอครั้งแรกในปี 1970 โดยบริษัท McKinsey & Company โดยเป็นเครื่องมือสำหรับประเมินศักยภาพและประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน และนับตั้งแต่นั้นมา เครื่องมือนี้ก็ได้รับความนิยมและถูกใช้กันอย่างแพร่หลายโดยองค์กรต่าง ๆ ทั่วโลก
เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการจัดการบริหารงานบุคคล และพัฒนาบุคลากรในองค์กร โดยใช้ในการประเมินพนักงานตามสองเกณฑ์หลัก ได้แก่ ศักยภาพ (Potential) และผลงาน (Performance) เครื่องมือนี้ช่วยให้ผู้บริหารสามารถระบุพนักงานที่มีศักยภาพสูงและผลงานดี เพื่อพัฒนาและเตรียมพวกเขาให้รับบทบาทที่สำคัญในอนาคต ได้รับการนำเสนอครั้งแรกในปี 1970 โดยบริษัท McKinsey & Company โดยเป็นเครื่องมือสำหรับประเมินศักยภาพและประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน และนับตั้งแต่นั้นมา เครื่องมือนี้ก็ได้รับความนิยมและถูกใช้กันอย่างแพร่หลายโดยองค์กรต่าง ๆ ทั่วโลก
Background Checks คือการตรวจสอบประวัติอย่างละเอียด ครอบคลุมทั้งด้านข้อมูลส่วนตัว, ประวัติอาชญากรรม, ภาวะทางการเงิน, การศึกษา ตลอดจนบริบทอื่น ๆ ที่ส่งผลกับตำแหน่งที่สมัครเข้ามา
สวัสดิการที่องค์กรมอบให้แก่พนักงาน กับ สวัสดิการที่พนักงานต้องการ นั้น บางเรื่องก็เป็นสิ่งที่ตรงกัน ส่วนบางเรื่องก็เป็นสิ่งที่ต่างความเห็นกัน ในเรื่องนี้จากทาง Jobthai (jobthai.com) เคยทำบทความนำเสนอผลการสำรวจความคิดเห็นจากคนทำงานทั่วประเทศในประเด็นที่ว่า “สวัสดิการที่คนทำงานต้องการจากองค์กร” ซึ่งเป็นการทำผลสำรวจจากคนทำงานที่เป็นพนักงานทั่วไปจำนวน 7,420 คน ทั่วประเทศ โดยมีผลการสำรวจออกมาดังนี้
เคยได้ยินคำว่า Flexible Time กันอยู่บ่อย ๆ ว่าแต่เอ๊ะ มันคืออะไร ??
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์