หนังสือสัญญาจ้างงาน ก่อนเซ็นต้องดูอะไรบ้าง

หนังสือสัญญาจ้างงาน ก่อนเซ็นต้องดูอะไรบ้าง



ในวิถีของการทำงาน เมื่อเรามีคุณสมบัติตรงตามที่นายจ้างต้องการ และสามารถผ่านการสัมภาษณ์ จนสามารถเข้าทำงานในตำแหน่งที่ต้องการได้แล้ว เอกสารชิ้นแรก ๆ ที่เราจะได้จากบริษัทหรือหัวหน้างานที่เราสมัครงานคือ “หนังสือสัญญาจ้างงาน” ที่เราจะต้องเซ็นเพื่อให้กระบวนการเริ่มทำงานสมบรูณ์ แต่ก่อนที่จะเซ็นเอกสารวันนี้เรามาดูกันว่า ก่อนจะเซ็นเอกสารฉบับนี้ เราต้องทำอย่างไรบ้าง

1.อ่านสองรอบเป็นอย่างน้อย

สิ่งแรกที่เราจะต้องทำคือการอ่านสัญญาโดยละเอียด ไม่ว่าจะเป็นข้อกำหนดต่าง ๆ เงื่อนไข สวัสดิการ หรือว่ารายได้ เราต้องอ่านให้ละเอียดรอบคอบ เพราะสิ่งเหล่านี้จะมีผลต่อเราตลอดระยะเวลาในการทำงานที่นี่ ดังนั้นเราควรอ่านให้ละเอียด ชนิดที่ว่าต้องอ่านทุกบรรทัดห้ามข้ามโดยเด็ดขาด

2.ตำแหน่งและความรับผิดชอบต้องชัดเจน

สิ่งที่สองที่ควรดูในสัญญาจ้างคือ ตำแหน่งและความรับผิดชอบของเรา ว่าตรงกับตำแหน่งที่เราได้สัมภาษณ์หรือไม่ หากไม่ตรงควรที่จะสอบถามฝ่ายทรัพยากรบุคคลของบริษัทโดยทันที เพื่อสอบถามถึงรายละเอียดของตำแหน่งงานและความรับผิดชอบให้ชัดเจน เนื่องจากหากเราหลับหูหลับตาเซ็นสัญญา โดยที่ไม่อ่านรายละเอียดของงาน อาจจะได้ทำงานคนละตำแหน่งที่สมัครเข้ามาก็ได้

นอกจากนี้ค่าตอบแทนรวมไปถึงค่าล่วงเวลาในการทำงาน ก็ควรดูให้ชัดเจนว่า ตรงกับสิ่งที่ฝ่ายทรัพยากรบุคคลหรือนายจ้างระบุไว้หรือไม่ หากว่าไม่ตรงกับที่ได้ตกลงกันไว้ ก็ควรที่จะทักท้วงโดยทันที 

3.เงื่อนไขและกฎของบริษัท
สัญญาจ้างงานนอกจากจะระบุรายละเอียดของงานแล้ว ยังมีเรื่องของเงื่อนไขและกฎ ที่เราจะต้องปฏิบัติตาม ไม่ว่าจะเป็นเวลาเข้างาน ชั่วโมงในการทำงาน วันหยุด วันลา ระยะเวลาในการทดลองงาน รวมไปถึงเงื่อนไขที่หากเราลาออกจากบริษัท เราจะต้องแจ้งแผนกทรัพยากรบุคคล ล่วงหน้ากี่วัน เป็นต้น 

4.สวัสดิการต่าง ๆ 

แม้ว่าในการรับสมัครงานหรือสัมภาษณ์งาน ฝ่ายทรัพยากรบุคคลจะแจ้งให้เราทราบถึงสวัสดิการต่าง ๆ ของบริษัทให้ผู้สมัครรับทราบแล้ว แต่ว่าเราควรที่จะดูว่าในสัญญาจ้างนั้นมีสวัสดิการต่าง ๆ ตรงกับที่ได้รับแจ้งหรือไม่ รวมถึงเรื่องของภาษีและกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ จะทำให้เราวางแผนได้ง่ายขึ้น 

ไม่ว่าจะเป็นสวัสดิการในเรื่องของสุขภาพ การกู้ยืมสินเชื่อต่าง ๆ การลาคลอด การเดินทาง รวมไปถึงกิจกรรมต่าง ๆ เป็นต้น ที่หากเราอ่านไม่ถี่ถ้วนอาจจะเสียสิทธิในเรื่องเหล่านี้ก็เป็นได้

5.วันแรกที่จะต้องเข้าทำงาน 

การทำงานวันแรกนั้นมีความหมายอย่างมากต่อหน้าที่การงานและสภาพจิตใจ ดังนั้นไม่มีใครที่อยากจะทำงานสายตั้งแต่วันแรกหรือหนักกว่านั้นคือลืมว่า วันแรกที่ต้องทำงานวันไหน ซึ่งเรื่องนี้จะสร้างภาพลักษณ์ที่ไม่ดีให้กับตัวเราตลอดระยะเวลาในการทำงานที่นี่ก็เป็นได้ 

6.เก็บสำเนาเอาไว้ด้วย

หลังจากที่เราเซ็นหนังสือสัญญาจ้างงานแล้ว เราควรที่จะที่เก็บสำเนาของเอกสารเอาไว้ เนื่องจากในบางครั้งหากเกิดข้อพิพาทขึ้นมา เราก็สามารถที่จะอ้างอิงกฎรวมถึงเงื่อนไขต่าง ๆ ที่ระบุเอาไว้ในสัญญาได้ จะทำให้เราไม่เสียเปรียบ

แต่ในขณะเดียวกันสัญญาจ้างงานก็ไม่ใช่เอกสารที่สามารถเปิดเผยในพื้นที่สาธารณะได้ เพราะเอกสารประเภทนี้ มักที่จะมีความลับและข้อมูลของบริษัทอยู่ การที่นำเอาเอกสารเหล่านี้มาเปิดเผยอาจจะทำให้เกิดการฟ้องร้องขึ้นมาได้ 

7.เซ็นหนังสือสัญญาจ้างงานก่อนลาออกจากที่ทำงานเก่าเสมอ

หลาย ๆ บริษัทรวมถึงนายจ้างแม้ว่าจะมีการตกลงจ้างงานกันแบบปากเปล่าแล้ว แต่ก็มีหลาย ๆ ครั้งที่พอใกล้จะถึงวันที่จะเริ่มงานก็มีการยกเลิกการจ้างงานก็มี ดังนั้นเพื่อเป็นการปกป้องตัวเราเอง เราควรที่จะมีการเซ็นต์สัญญาในที่ทำงานใหม่ทุกครั้งก่อนที่จะเข้าทำงาน เพราะเป็นการการันตีว่าเราได้เข้าทำงานอย่างแน่นอน 

ากคุณไม่ทำเช่นนี้อาจจะทำให้เกิดเหตุการณ์ที่ไม่มีใครอยากเจอ อย่างการลาออกไปแล้ว แต่กลับไม่ได้ทำงาน เนื่องจากการยกเลิกการจ้างงานหรือปัจจัยอื่น ๆ  ซึ่งหากคุณมีเงินเก็บสำรองอาจจะพอเอาตัวรอดไปได้จนกว่าจะหางานใหม่ได้ แต่หากคุณไม่ได้มีเงินสำรองเก็บไว้ ชีวิตของคุณอาจจะเข้าสู่วิกฤตได้เลยทีเดียว

อย่างไรก็ตามเราควรดูในส่วนของวันที่เริ่มงานกับวันที่ลาออกให้ดีว่า สามารถเริ่มงานได้ในวันไหน ไม่งั้นอาจจะเกิดปัญหาตามมาก็เป็นได้ 

 

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิก!


ที่มา : Link

 2292
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

การสรรหาบุคลากร (Recruitment) กล่าวง่ายๆ หมายถึง กระบวนการในการค้นหาตลอดจนคัดเลือกบุคคลที่มีความรู้ความสามารถและมีทักษะที่เหมาะสมเพื่อเข้ามาปฎิบัติงานในตำแหน่งงานตามที่องค์กรต้องการ กระบวนการนี้จะเริ่มต้นตั้งแต่การวางแผนการคัดเลือก การสื่อสารให้เกิดแรงจูงใจกับผู้สมัครเป้าหมายที่ต้องการ และจะสิ้นสุดกระบวนการเมื่อองค์กรนั้นรับบุคคลนั้นๆ เข้าเป็นพนักงานแล้ว
กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ชี้แจงกรณีที่ กยศ. ได้แจ้งนายจ้างให้หักเงินเดือนเพื่อชำระเงินกู้ยืมคืนจากผู้กู้ยืมที่ค้างชำระหนี้ โดยให้หักเพิ่มรายละ 3,000 บาท สำหรับผู้กู้ยืมที่มีสถานะ ค้างชำระ โดยไม่รวมผู้ที่ได้ทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้กับ กยศ. แล้ว มีผลตั้งแต่เดือนเมษายน 2568 เป็นต้นไป
การมอบสิทธิประโยชน์ทางด้านภาษี เพื่อสนับสนุนคนไทยที่มีศักยภาพที่ทำงานในต่างประเทศให้กลับเข้ามาในงานในประเทศไทย โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ
JD (Job Description) ภาษาไทยเรียกว่า ขอบเขตหน้าที่และความรับผิดชอบงานตำแหน่งงาน หรือ คำบรรยายลักษณะงาน / ใบพรรณนาหน้าที่งาน ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการบรรยายลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบของตำแหน่งงาน รวมถึงคุณสมบัติของคนที่ทำงานในตำแหน่งหน้าที่ที่กำหนด

การเทรนนิ่งพนักงานมี 2 ทางเลือกหลัก หากองค์กรไม่เลือก On the Job Training หรือการฝึกพนักงานให้เรียนรู้จากการทำงานจริง ก็สามารถเลือก Off the Job Training ซึ่งอาจเป็นการจัดคอร์สนอกเวลาหรือจ้าง Outsource มาดูแลการฝึกทักษะต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นภาษา, Soft Skills หรือ Hard Skills

พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 กำหนดให้มีกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างในกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เพื่อสงเคราะห์ลูกจ้าง กรณีออกจากงาน หรือตาย หรือในกรณีอื่นที่กำหนดโดยคณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง มีผลเริ่มใช้วันที่ 1 ตุลาคม 2568

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์