พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2556 กำหนดให้นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการ และหน่วยงานของรัฐจ้างงานคนพิการเพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ให้คนพิการได้มีส่วนร่วมในสังคม มีโอกาสในการเข้าถึงการประกอบอาชีพ ได้ใช้ศักยภาพของตนเอง และสามารถพึ่งพาตนเองได้ โดยมาตราที่เกี่ยวข้องกับการจ้างงานคนพิการ ได้แก่ มาตรา 33 34 35 36 37 38 และ 39 โดยมีรายละเอียดดังนี้
หลักเกณฑ์การจ้างงานคนพิการ กฎหมายกำหนดไว้อย่างไร ?
ในเรื่องนี้ไม่ได้อยู่ในกฎหมายคุ้มครองแรงงานนะ แต่ถูกกำหนดไว้ใน พ.ร.บ. ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 โดยมาตรา 33 และกฎกระทรวงที่ออกภายใต้กฎหมายฉบับนี้
หลักเกณฑ์ในการจ้างหลัก ๆ คือ
1. นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการทั้งเอกชนและหน่วยงานของรัฐ ที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 100 คน ขึ้นไป
2. ต้องรับคนพิการที่สามารถทำงานทำงานได้ไม่ว่าจะอยู่ในตำแหน่งใดเข้าทำงาน
3. สัดส่วนของการรับคือ ลูกจ้างที่ไม่ใช่คนพิการ 100 คน ต่อคนพิการ 1 คน เศษของ 100 ถ้าเกิน 50 คน ต้องรับคนพิการเพิ่มขึ้นอีก 1 คน เช่น มีลูกจ้าง 151 คน ก็ต้องจ้างคนพิการ 2 คน
4. การนับจำนวนลูกจ้างให้นับทุกวันที่ 1 ตุลาคมของ ทุกปี
5. กรณีที่นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการที่มีหน่วยงาน หรือสำนักงานสาขาในจังหวัดเดียวกัน ให้นับรวมลูกจ้างของหน่วยงานหรือสำนักงานทุกแห่งในจังหวัดนั้นเข้าด้วยกัน
ในกรณีที่นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการไม่รับคนพิการเข้าทำงาน จะต้องดำเนินการอย่างไร ?
1. ต้องส่งเงินเข้ากองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการเป็นรายปี ซึ่งเงินที่นำส่งก็คำนวณจากอัตราค่าจ้างต่ำสุดของอัตราค่าจ้างขั้นต่ำตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานที่ใช้บังคับครั้งหลังสุดในปีก่อนที่มีหน้าที่ส่งเงินเข้ากองทุนฯ คูณด้วย 365 และคูณด้วยจำนวนคนพิการที่ไม่รับเข้าทำงาน
2. หากไม่นำส่งเงินเข้ากองทุนฯ หรือส่งล่าช้า หรือส่งไม่ครบถ้วน ต้องเสียต้องเบี้ย 7.5 ต่อปีของเงินที่ยังไม่ได้นำส่ง แต่กรณีที่รับคนพิการเข้าทำงาน หรือนำส่งเงินเข้ากองทุนฯ ได้รับยกเว้นภาษี เป็นร้อยละของจำนวนเงินค่าจ้างที่จ่ายให้แก่คนพิการหรือเงินที่ส่งเข้ากองทุน
.....
Credit : หนังสือกฎหมายคุ้มครองแรงงาน รศ. ตรีเนตร สาระพงษ์
ขอบคุณที่มา : http://area3.labour.go.th