"ความรู้เกี่ยวกับการจ้างงาน นักศึกษาฝึกงาน"

"ความรู้เกี่ยวกับการจ้างงาน นักศึกษาฝึกงาน"


แน่นอนว่าทุกบริษัทจะต้องมีนโยบายในการจ้างนักศึกษาฝึกงาน โดย HR มักจะขาดความเข้าใจว่าการจ้างนักศึกษาฝึกงานเข้ามาทำงาน ทั้งที่ให้ค่าตอบแทน หรือ ไม่ให้ค่าตอบแทนนั้น สำหรับ กรมสวัสดิการคุ้มครองแรงงานถือว่าเป็นหนึ่งในลูกจ้างที่บริษัทจะต้องรับผิดชอบและดำเนินการต่าง ๆ ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานฯ

เรื่องของการรับนักศึกษาฝึกงาน เพื่อมาฝึกงานในบริษัท, เมื่อหน่วยงานใดมีความต้องการรับนักศึกษาฝึกงานก็จะมาแจ้งกับทาง HR, และ HR ก็ จะใช้ช่องทางต่างๆในการ ประชาสัมพันธ์ ได้แก่ การลงประกาศรับตามสื่อต่างๆ โครงการสหกิจศึกษา โครงการแนะแนวอาชีพ เป็นต้น

สำหรับการรับนักศึกษาฝึกงานนั้นจะมี 2 ส่วนด้วยกัน คือ

  1. เข้าโครงการสหกิจศึกษา / เพื่อฝึกปฏิบัติงานจริง ก่อนที่จะจบการศึกษา ที่จริงแล้วกระทรวงแรงงานเขามี “ประกาศเรื่องหลักเกณฑ์เกี่ยวกับความคุ้มครองผู้รับการฝึกเตียมเข้าทำงาน” ตั้งแต่ปี 2546

ตามประกาศกรมคุ้มครองแรงงานฯ นั้น บริษัทจะต้องจ่ายค่าฝึกงานไม่ต่ำกว่า 50% ของค่าจ้างขั้นต่ำอัตราสูงสุด และยังต้องประกันอุบัติเหตุจากการฝึกงานให้นักศึกษาไม่ต่ำกว่าที่กำหนดในกฎหมาย พระราชบัญญัติเงินทดแทน

  1. การรับนักศึกษาฝึกงานมาทำงานพาร์ทไทม์เพื่อส่งเสริมด้านอาชีพ (โครงการนี้ มีประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง ได้กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำไว้) ซึ่งนายจ้างต้องปฏิบัติตามเช่นกัน

                ทั้งนี้ HR สามารถศึกษาข้อมูลการจ่ายเงินอัตราค่าจ้างของนักศึกษาฝึกงาน ได้อย่างถูกต้องตาม Link ด้านล่างค่ะ

 

ขอบคุณที่มาดี ๆ จาก ::

** http://legal.labour.go.th/attachments/article/163/41997_60.pdf

** http://www.oic.go.th/FILEWEB/CABINFOCENTER22/DRAWER039/GENERAL/DATA0000/00000054.PDF

**https://www.facebook.com/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89-HR-105577534122729/photos/pcb.688480949165715/688480715832405

#เพจ_ความรู้HR

 

 15553
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

การสรรหาบุคลากร (Recruitment) กล่าวง่ายๆ หมายถึง กระบวนการในการค้นหาตลอดจนคัดเลือกบุคคลที่มีความรู้ความสามารถและมีทักษะที่เหมาะสมเพื่อเข้ามาปฎิบัติงานในตำแหน่งงานตามที่องค์กรต้องการ กระบวนการนี้จะเริ่มต้นตั้งแต่การวางแผนการคัดเลือก การสื่อสารให้เกิดแรงจูงใจกับผู้สมัครเป้าหมายที่ต้องการ และจะสิ้นสุดกระบวนการเมื่อองค์กรนั้นรับบุคคลนั้นๆ เข้าเป็นพนักงานแล้ว
กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ชี้แจงกรณีที่ กยศ. ได้แจ้งนายจ้างให้หักเงินเดือนเพื่อชำระเงินกู้ยืมคืนจากผู้กู้ยืมที่ค้างชำระหนี้ โดยให้หักเพิ่มรายละ 3,000 บาท สำหรับผู้กู้ยืมที่มีสถานะ ค้างชำระ โดยไม่รวมผู้ที่ได้ทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้กับ กยศ. แล้ว มีผลตั้งแต่เดือนเมษายน 2568 เป็นต้นไป
การมอบสิทธิประโยชน์ทางด้านภาษี เพื่อสนับสนุนคนไทยที่มีศักยภาพที่ทำงานในต่างประเทศให้กลับเข้ามาในงานในประเทศไทย โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ
JD (Job Description) ภาษาไทยเรียกว่า ขอบเขตหน้าที่และความรับผิดชอบงานตำแหน่งงาน หรือ คำบรรยายลักษณะงาน / ใบพรรณนาหน้าที่งาน ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการบรรยายลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบของตำแหน่งงาน รวมถึงคุณสมบัติของคนที่ทำงานในตำแหน่งหน้าที่ที่กำหนด

การเทรนนิ่งพนักงานมี 2 ทางเลือกหลัก หากองค์กรไม่เลือก On the Job Training หรือการฝึกพนักงานให้เรียนรู้จากการทำงานจริง ก็สามารถเลือก Off the Job Training ซึ่งอาจเป็นการจัดคอร์สนอกเวลาหรือจ้าง Outsource มาดูแลการฝึกทักษะต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นภาษา, Soft Skills หรือ Hard Skills

พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 กำหนดให้มีกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างในกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เพื่อสงเคราะห์ลูกจ้าง กรณีออกจากงาน หรือตาย หรือในกรณีอื่นที่กำหนดโดยคณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง มีผลเริ่มใช้วันที่ 1 ตุลาคม 2568

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์