Recruitment Consultant กับ Head Hunter ต่างกันอย่างไร

Recruitment Consultant กับ Head Hunter ต่างกันอย่างไร



หลายท่านอาจเคยได้รับการติดต่อเพื่อนำเสนอตำแหน่งงาน
โดยที่ไม่ได้สมัครงานไป บางคนอาจเข้าใจว่านี่คือการติดต่อมาจาก head hunter ที่ต้องการชวนคุณให้ไปร่วมงานด้วย แต่ที่จริงแล้วคนที่ติดต่อคุณไปอาจเป็น recruiter หรือ recruitment consultant จาก recruitment agency ก็ได้นะคะ เราลองมาทำความเข้าใจข้อแตกต่างระหว่าง recruitment consultant กับ head hunter กันค่ะ 

  • การเจาะจงผู้สมัคร 
    head hunter จะได้รับการระบุจากผู้ว่าจ้างอย่างเจาะจงเป็นพิเศษว่าต้องการผู้สมัครโปรไฟล์แบบใด โดยอาจระบุตำแหน่งและธุรกิจ/อุตสาหกรรมที่ต้องการเป็นพิเศษ หรือในบางรายอาจระบุชื่อบุคคลและบริษัทมาด้วยเลย เช่น การระบุว่าต้องการคุณ A ผู้อำนวยการแผนกการตลาด จากบริษัท ABC แม้ว่าคุณ ในตอนนั้นอาจไม่ได้สนใจเปลี่ยนงานเลยก็ได้

    ขณะที่โจทย์ของ recruitment consultant ผู้ว่าจ้างจะไม่ได้เจาะจงว่าเป็นบุคคลใด เพียงแต่ระบุคุณสมบัติทั่วไป เช่น การศึกษา ทักษะ ประสบการณ์ ตามประกาศรับสมัครงานที่เราเห็นกันทั่วไปเท่านั้น

  • ตำแหน่งงานที่สรรหา 
    เนื่องจากการทำงานของ head hunter มีความเฉพาะเจาะจงเป็นพิเศษดังนั้นจึงมีความยากมากกว่าและค่าใช้จ่ายสูงกว่า ส่วนใหญ่แล้วองค์กรจะใช้บริการ head hunter เฉพาะตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงหรือตำแหน่งสำคัญๆ ขององค์กรเท่านั้น เพื่อหาคนเก่งมาขับเคลื่อนองค์กรและช่วยสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันของธุรกิจ 

    ขณะที่การทำงานของ recruitment consultant จะค่อนข้างเปิดกว้างกว่า ตำแหน่งงานที่สรรหาค่อนข้างหลากหลายและครอบคลุมทุกสายงาน ตั้งแต่ระดับปฏิบัติการจนถึงผู้บริหาร
  • การค้นหาผู้สมัคร 
    head hunter จะสร้างลิสต์รายชื่อขึ้นมาเพื่อค้นหาผู้สมัครตามโจทย์ที่ผู้ว่าจ้างต้องการ โดยจะทำการค้นหาผู้สมัครที่อยู่ในตลาดทั้งผู้ที่สนใจและไม่สนใจเปลี่ยนงาน 

    ขณะที่การทำงานของ recruitment consultant ส่วนใหญ่จะเป็นการค้นหาจากฐานข้อมูลผู้สมัครที่สนใจเปลี่ยนงาน เช่น เรซู่เม่ที่ได้รับจากการลงโฆษณาประกาศรับสมัครงาน หรือ การค้นหาผ่าน LinkedIn โดยเลือกจากฐานข้อมูลผู้สมัครที่กำลังมองหางานอยู่ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเรามักจะได้รับการติดต่อจาก consultant ของ recruitment agency ผ่านช่องทางนี้นั่นเองค่ะ 

    โดยสรุปก็คือ recruitment consultant จะจัดหาพนักงานในระดับเริ่มต้นไปตนถึงระดับสูง ในหลากหลายสายงาน และเป็นการสรรหาในลักษณะกว้างๆ โดยพิจารณาจากผู้ที่สนใจสมัครงานในขณะนั้นเป็นหลัก  ในขณะที่ head hunter จะเน้นสรรหาพนักงานในระดับสูง ในธุรกิจที่มีความเฉพาะเจาะจง และจะมุ่งเน้นหา candidate ที่มีลักษณะตรงตามความต้องการของผู้ว่าจ้างให้มากที่สุด ไม่ว่าผู้นั้นจะกำลังสนใจการหางานอยู่หรือไม่ 

    อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันอาจไม่ได้มีการแบ่งการทำงานที่ตายตัวตามลักษณะที่กล่าวมา เนื่องจากบริษัทสรรหาพนักงาน หรือ Recruitment Agency หลายที่มีการผสมผสานการทำงานทั้งสองลักษณะ เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า หรือองค์กรผู้ว่าจ้างเป็นหลัก

ที่มา : Link

 1273
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

การสรรหาบุคลากร (Recruitment) กล่าวง่ายๆ หมายถึง กระบวนการในการค้นหาตลอดจนคัดเลือกบุคคลที่มีความรู้ความสามารถและมีทักษะที่เหมาะสมเพื่อเข้ามาปฎิบัติงานในตำแหน่งงานตามที่องค์กรต้องการ กระบวนการนี้จะเริ่มต้นตั้งแต่การวางแผนการคัดเลือก การสื่อสารให้เกิดแรงจูงใจกับผู้สมัครเป้าหมายที่ต้องการ และจะสิ้นสุดกระบวนการเมื่อองค์กรนั้นรับบุคคลนั้นๆ เข้าเป็นพนักงานแล้ว
กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ชี้แจงกรณีที่ กยศ. ได้แจ้งนายจ้างให้หักเงินเดือนเพื่อชำระเงินกู้ยืมคืนจากผู้กู้ยืมที่ค้างชำระหนี้ โดยให้หักเพิ่มรายละ 3,000 บาท สำหรับผู้กู้ยืมที่มีสถานะ ค้างชำระ โดยไม่รวมผู้ที่ได้ทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้กับ กยศ. แล้ว มีผลตั้งแต่เดือนเมษายน 2568 เป็นต้นไป
การมอบสิทธิประโยชน์ทางด้านภาษี เพื่อสนับสนุนคนไทยที่มีศักยภาพที่ทำงานในต่างประเทศให้กลับเข้ามาในงานในประเทศไทย โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ
JD (Job Description) ภาษาไทยเรียกว่า ขอบเขตหน้าที่และความรับผิดชอบงานตำแหน่งงาน หรือ คำบรรยายลักษณะงาน / ใบพรรณนาหน้าที่งาน ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการบรรยายลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบของตำแหน่งงาน รวมถึงคุณสมบัติของคนที่ทำงานในตำแหน่งหน้าที่ที่กำหนด

การเทรนนิ่งพนักงานมี 2 ทางเลือกหลัก หากองค์กรไม่เลือก On the Job Training หรือการฝึกพนักงานให้เรียนรู้จากการทำงานจริง ก็สามารถเลือก Off the Job Training ซึ่งอาจเป็นการจัดคอร์สนอกเวลาหรือจ้าง Outsource มาดูแลการฝึกทักษะต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นภาษา, Soft Skills หรือ Hard Skills

พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 กำหนดให้มีกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างในกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เพื่อสงเคราะห์ลูกจ้าง กรณีออกจากงาน หรือตาย หรือในกรณีอื่นที่กำหนดโดยคณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง มีผลเริ่มใช้วันที่ 1 ตุลาคม 2568

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์