Recruitment Consultant กับ Head Hunter ต่างกันอย่างไร

Recruitment Consultant กับ Head Hunter ต่างกันอย่างไร



หลายท่านอาจเคยได้รับการติดต่อเพื่อนำเสนอตำแหน่งงาน
โดยที่ไม่ได้สมัครงานไป บางคนอาจเข้าใจว่านี่คือการติดต่อมาจาก head hunter ที่ต้องการชวนคุณให้ไปร่วมงานด้วย แต่ที่จริงแล้วคนที่ติดต่อคุณไปอาจเป็น recruiter หรือ recruitment consultant จาก recruitment agency ก็ได้นะคะ เราลองมาทำความเข้าใจข้อแตกต่างระหว่าง recruitment consultant กับ head hunter กันค่ะ 

  • การเจาะจงผู้สมัคร 
    head hunter จะได้รับการระบุจากผู้ว่าจ้างอย่างเจาะจงเป็นพิเศษว่าต้องการผู้สมัครโปรไฟล์แบบใด โดยอาจระบุตำแหน่งและธุรกิจ/อุตสาหกรรมที่ต้องการเป็นพิเศษ หรือในบางรายอาจระบุชื่อบุคคลและบริษัทมาด้วยเลย เช่น การระบุว่าต้องการคุณ A ผู้อำนวยการแผนกการตลาด จากบริษัท ABC แม้ว่าคุณ ในตอนนั้นอาจไม่ได้สนใจเปลี่ยนงานเลยก็ได้

    ขณะที่โจทย์ของ recruitment consultant ผู้ว่าจ้างจะไม่ได้เจาะจงว่าเป็นบุคคลใด เพียงแต่ระบุคุณสมบัติทั่วไป เช่น การศึกษา ทักษะ ประสบการณ์ ตามประกาศรับสมัครงานที่เราเห็นกันทั่วไปเท่านั้น

  • ตำแหน่งงานที่สรรหา 
    เนื่องจากการทำงานของ head hunter มีความเฉพาะเจาะจงเป็นพิเศษดังนั้นจึงมีความยากมากกว่าและค่าใช้จ่ายสูงกว่า ส่วนใหญ่แล้วองค์กรจะใช้บริการ head hunter เฉพาะตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงหรือตำแหน่งสำคัญๆ ขององค์กรเท่านั้น เพื่อหาคนเก่งมาขับเคลื่อนองค์กรและช่วยสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันของธุรกิจ 

    ขณะที่การทำงานของ recruitment consultant จะค่อนข้างเปิดกว้างกว่า ตำแหน่งงานที่สรรหาค่อนข้างหลากหลายและครอบคลุมทุกสายงาน ตั้งแต่ระดับปฏิบัติการจนถึงผู้บริหาร
  • การค้นหาผู้สมัคร 
    head hunter จะสร้างลิสต์รายชื่อขึ้นมาเพื่อค้นหาผู้สมัครตามโจทย์ที่ผู้ว่าจ้างต้องการ โดยจะทำการค้นหาผู้สมัครที่อยู่ในตลาดทั้งผู้ที่สนใจและไม่สนใจเปลี่ยนงาน 

    ขณะที่การทำงานของ recruitment consultant ส่วนใหญ่จะเป็นการค้นหาจากฐานข้อมูลผู้สมัครที่สนใจเปลี่ยนงาน เช่น เรซู่เม่ที่ได้รับจากการลงโฆษณาประกาศรับสมัครงาน หรือ การค้นหาผ่าน LinkedIn โดยเลือกจากฐานข้อมูลผู้สมัครที่กำลังมองหางานอยู่ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเรามักจะได้รับการติดต่อจาก consultant ของ recruitment agency ผ่านช่องทางนี้นั่นเองค่ะ 

    โดยสรุปก็คือ recruitment consultant จะจัดหาพนักงานในระดับเริ่มต้นไปตนถึงระดับสูง ในหลากหลายสายงาน และเป็นการสรรหาในลักษณะกว้างๆ โดยพิจารณาจากผู้ที่สนใจสมัครงานในขณะนั้นเป็นหลัก  ในขณะที่ head hunter จะเน้นสรรหาพนักงานในระดับสูง ในธุรกิจที่มีความเฉพาะเจาะจง และจะมุ่งเน้นหา candidate ที่มีลักษณะตรงตามความต้องการของผู้ว่าจ้างให้มากที่สุด ไม่ว่าผู้นั้นจะกำลังสนใจการหางานอยู่หรือไม่ 

    อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันอาจไม่ได้มีการแบ่งการทำงานที่ตายตัวตามลักษณะที่กล่าวมา เนื่องจากบริษัทสรรหาพนักงาน หรือ Recruitment Agency หลายที่มีการผสมผสานการทำงานทั้งสองลักษณะ เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า หรือองค์กรผู้ว่าจ้างเป็นหลัก

ที่มา : Link

 1177
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

สัญญาจ้างงาน คือ ข้อตกลงระหว่างนายจ้างและลูกจ้างที่ระบุเงื่อนไขการจ้างงาน โดยทั่วไปจะกำหนดหน้าที่ ความรับผิดชอบ ค่าตอบแทน และเงื่อนไขอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจที่ชัดเจนระหว่างทั้งสองฝ่าย และช่วยลดข้อขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
แน่นอนว่าปัจจุบันเทคโนโลยีกลายเป็นทักษะที่มีความสำคัญอย่างมากที่ทุกสาขาอาชีพต้องมีความเกี่ยวข้องไม่มากก็น้อย หากได้ทำงานร่วมกับมนุษย์ก็จะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพงานให้ดียิ่งขึ้น โดยทาง jobthai ได้รวบรวมทักษะสำคัญของคนที่ทำงานในปี 2025 ที่ต้องมีติดตัวไว้
AI (Artificial Intelligence) หรือ ปัญญาประดิษฐ์ คือเทคโนโลยีที่ช่วยให้เครื่องจักรหรือคอมพิวเตอร์มีความสามารถในการคิดและทำงานในลักษณะที่คล้ายกับมนุษย์ โดยการนำข้อมูลจำนวนมากมาประมวลผลและตัดสินใจผ่านกระบวนการที่เรียกว่า การเรียนรู้ของเครื่อง (Machine Learning) หรือ การเรียนรู้เชิงลึก (Deep Learning) แล้ว AI จะเข้ามามีบทบาทในการพัฒนางาน HR อย่างไร
หลายๆ คนอาจจะกำลังลังเลกับเส้นทางชีวิตในการเลือกงานที่เหมาะสมกับตนเอง เพราะปัจจุบันมีหลากหลายอาชีพให้เลือก มีหลายสายงานให้ได้ลองทำ หากใครชอบความเป็นอิสระอาจจะเริ่มจากการทำงานฟรีแลนซ์ หรืออีกหนึ่งรูปแบบที่คนส่วนใหญ่เลือกทำงานกันคือ การทำงานในออฟฟิศ หรือที่เราเรียกกันว่า "มนุษย์เงินเดือน" แน่นอนว่ามันมีทั้งข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันไป แต่บทความนี้เราจะมาบอกข้อดีของการทำงานเป็นมนุษย์เงินเดือน ที่มีข้อดีอยู่มากมายจนบางทีคุณอาจจะคาดไม่ถึงด้วยซ้ำ งั้นเรามาดูกันสิว่าการที่เราเป็นมนุษย์เงินเดือนนั้นมีข้อดีอะไรบ้าง

เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการจัดการบริหารงานบุคคล และพัฒนาบุคลากรในองค์กร โดยใช้ในการประเมินพนักงานตามสองเกณฑ์หลัก ได้แก่ ศักยภาพ (Potential) และผลงาน (Performance) เครื่องมือนี้ช่วยให้ผู้บริหารสามารถระบุพนักงานที่มีศักยภาพสูงและผลงานดี เพื่อพัฒนาและเตรียมพวกเขาให้รับบทบาทที่สำคัญในอนาคต ได้รับการนำเสนอครั้งแรกในปี 1970 โดยบริษัท McKinsey & Company โดยเป็นเครื่องมือสำหรับประเมินศักยภาพและประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน และนับตั้งแต่นั้นมา เครื่องมือนี้ก็ได้รับความนิยมและถูกใช้กันอย่างแพร่หลายโดยองค์กรต่าง ๆ ทั่วโลก
เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการจัดการบริหารงานบุคคล และพัฒนาบุคลากรในองค์กร โดยใช้ในการประเมินพนักงานตามสองเกณฑ์หลัก ได้แก่ ศักยภาพ (Potential) และผลงาน (Performance) เครื่องมือนี้ช่วยให้ผู้บริหารสามารถระบุพนักงานที่มีศักยภาพสูงและผลงานดี เพื่อพัฒนาและเตรียมพวกเขาให้รับบทบาทที่สำคัญในอนาคต ได้รับการนำเสนอครั้งแรกในปี 1970 โดยบริษัท McKinsey & Company โดยเป็นเครื่องมือสำหรับประเมินศักยภาพและประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน และนับตั้งแต่นั้นมา เครื่องมือนี้ก็ได้รับความนิยมและถูกใช้กันอย่างแพร่หลายโดยองค์กรต่าง ๆ ทั่วโลก
Background Checks คือการตรวจสอบประวัติอย่างละเอียด ครอบคลุมทั้งด้านข้อมูลส่วนตัว, ประวัติอาชญากรรม, ภาวะทางการเงิน, การศึกษา ตลอดจนบริบทอื่น ๆ ที่ส่งผลกับตำแหน่งที่สมัครเข้ามา
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์