• หน้าแรก

  • News

  • HR Articles

  • ความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับการได้สิทธิ์วันหยุดพักผ่อนประจำปี

ความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับการได้สิทธิ์วันหยุดพักผ่อนประจำปี

  • หน้าแรก

  • News

  • HR Articles

  • ความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับการได้สิทธิ์วันหยุดพักผ่อนประจำปี

ความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับการได้สิทธิ์วันหยุดพักผ่อนประจำปี



ขออนุญาตอ้างอิงตาม พรบ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.
2541 มาตรา 30 :

  • ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันมาแล้วครบหนึ่งปีมีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีได้ปีหนึ่งไม่น้อยกว่า 6 วันทำงาน

โดยนายจ้างเป็นผู้กำหนดวันหยุดดังกล่าวให้แก่ลูกจ้างล่วงหน้าหรือกำหนดให้ตามที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกัน

        (2)  ในปีต่อมานายจ้างอาจกำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่ลูกจ้างมากกว่า 6 วันทำงานก็ได้

        (3)  นายจ้างและลูกจ้างอาจตกลงกันล่วงหน้าให้สะสมและเลื่อนวันหยุดพักผ่อนประจำปีที่ยังมิได้หยุดในปีนั้น

               รวมเข้ากับปีต่อๆไปได้

        (4)  สำหรับลูกจ้างซึ่งยังทำงานไม่ครบหนึ่งปี นายจ้างอาจกำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่ลูกจ้างโดยคำนวณตามส่วนก็ได้

มีองค์กรหลายแห่ง และจำนวนมาก ที่ได้จัดให้พนักงานหยุดพักผ่อนประจำปีไม่ได้ครบตามสิทธิ์ตามกฎหมาย ทาง HR ลองกลับไปดูในองค์กรของท่านนะครับ ว่าได้จัดให้ถูกต้องแล้วหรือยัง หากยังไม่ถูกต้องรีบแก้ไขให้ถูกต้องนะครับ

ตัวอย่างการคิดลาพักร้อนที่หลาย ๆ องค์กรจัดไม่ถูกต้อง

พนักงานเข้างาน 1 กรกฎาคม 2559 หากบริษัทฯที่คำนวณไม่ถูกนั้น จะนำสัดส่วนในปีแรกที่เข้าทำงาน ตั้งแต่วันที่เริ่มงาน 1 กรกฎาคม 2559 – 31 ธันวาคม 2559 (คือ 6 เดือน) ก็จะคำนวณสัดส่วนวันหยุดพักผ่อนประจำปีได้ 3 วัน (3 วันนี้คิดตาม Prorate หากองค์กรให้พักร้อนตามขั้นต่ำของกฎหมายแรงงาน คือไม่น้อยกว่า 6 วันทำงานต่อปี)

หลายบริษัทจะกำหนดให้พนักงาน สามารถใช้สิทธิ์การลานั้นได้เมื่ออายุงานครบ 1 ปี เท่านั้น คือ วันที่ 1 กรกฎาคม 2560 และจะให้พนักงานใช้สิทธิ์ได้เพียงแค่ 3 วัน (นับจาก 1 กรกฎาคม 2559 – 31 ธันวาคม 2559) ซึ่งการคิดวันลาพักร้อนดังกล่าวเป็นวิธีการคิดที่ผิด ไม่สอดคล้องตามกฎหมาย โดย อ้างอิงตาม พรบ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 30  โดยสิทธิ์การลาพักผ่อนประจำปีของพนักงานนั้นต้องได้สิทธิ์ 6 วันต่อปี ตั้งแต่อายุการทำงานครบ 1 ปี ตั้งแต่ปีแรกแล้ว หรือที่ถูกต้อง ดูตามตารางการนับสิทธิ์ด้านล่าง

ตัวอย่าง ตารางการนับสิทธิ์

 

ขอบคุณที่มา

#เพจ_ความรู้_HR

#หนึ่งใน_Slide_อบรม_HR_For_New_HR_กฎหมายแรงงาน_อธิบายอย่างละเอียดครับ

 1407
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

การสรรหาบุคลากร (Recruitment) กล่าวง่ายๆ หมายถึง กระบวนการในการค้นหาตลอดจนคัดเลือกบุคคลที่มีความรู้ความสามารถและมีทักษะที่เหมาะสมเพื่อเข้ามาปฎิบัติงานในตำแหน่งงานตามที่องค์กรต้องการ กระบวนการนี้จะเริ่มต้นตั้งแต่การวางแผนการคัดเลือก การสื่อสารให้เกิดแรงจูงใจกับผู้สมัครเป้าหมายที่ต้องการ และจะสิ้นสุดกระบวนการเมื่อองค์กรนั้นรับบุคคลนั้นๆ เข้าเป็นพนักงานแล้ว
กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ชี้แจงกรณีที่ กยศ. ได้แจ้งนายจ้างให้หักเงินเดือนเพื่อชำระเงินกู้ยืมคืนจากผู้กู้ยืมที่ค้างชำระหนี้ โดยให้หักเพิ่มรายละ 3,000 บาท สำหรับผู้กู้ยืมที่มีสถานะ ค้างชำระ โดยไม่รวมผู้ที่ได้ทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้กับ กยศ. แล้ว มีผลตั้งแต่เดือนเมษายน 2568 เป็นต้นไป
การมอบสิทธิประโยชน์ทางด้านภาษี เพื่อสนับสนุนคนไทยที่มีศักยภาพที่ทำงานในต่างประเทศให้กลับเข้ามาในงานในประเทศไทย โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ
JD (Job Description) ภาษาไทยเรียกว่า ขอบเขตหน้าที่และความรับผิดชอบงานตำแหน่งงาน หรือ คำบรรยายลักษณะงาน / ใบพรรณนาหน้าที่งาน ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการบรรยายลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบของตำแหน่งงาน รวมถึงคุณสมบัติของคนที่ทำงานในตำแหน่งหน้าที่ที่กำหนด

การเทรนนิ่งพนักงานมี 2 ทางเลือกหลัก หากองค์กรไม่เลือก On the Job Training หรือการฝึกพนักงานให้เรียนรู้จากการทำงานจริง ก็สามารถเลือก Off the Job Training ซึ่งอาจเป็นการจัดคอร์สนอกเวลาหรือจ้าง Outsource มาดูแลการฝึกทักษะต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นภาษา, Soft Skills หรือ Hard Skills

พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 กำหนดให้มีกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างในกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เพื่อสงเคราะห์ลูกจ้าง กรณีออกจากงาน หรือตาย หรือในกรณีอื่นที่กำหนดโดยคณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง มีผลเริ่มใช้วันที่ 1 ตุลาคม 2568

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์