ประเทศไทยจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามหลักแหล่งเงินได้และหลักถิ่นที่อยู่ ตามหลักแหล่งเงินได้นั้น ไม่สำคัญว่าบุคคลนั้นจะมีสัญชาติใด และไม่สำคัญว่าเงินได้พึงประเมินนั้นจะจ่ายจากหรือจ่ายในประเทศไทย หากมีเงินได้พึงประเมินในปีปฏิทินที่ผ่านมา จากหน้าที่งานหรือกิจการที่ทำในประเทศไทย หรือเนื่องจากกิจการของนายจ้างในประเทศไทย หรือเนื่องจากทรัพย์สินที่อยู่ในประเทศไทย บุคคลนั้น ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จากเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตามบทบัญญัติในประมวลรัษฎากร
ในส่วนของหลักถิ่นที่อยู่ ผู้ที่อยู่ในประเทศไทยอย่างน้อย 180 วันในหนึ่งปีปฏิทินนั้น ถือว่าเป็นผู้อยู่ในประเทศไทย เมื่อมีเงินได้พึงประเมินในปีภาษีที่ล่วงมาแล้ว จากหน้าที่งานหรือกิจการที่ทำในต่างประเทศ หรือ เนื่องจากทรัพย์สินที่อยู่ในต่างประเทศ ต้องเสียภาษีตามบทบัญญัติในประมวลรัษฎากร เมื่อนำเงินได้นั้นเข้ามาในประเทศไทย ในปีปฏิทินเดียวกันกับที่ได้รับเงินได้พึงประเมินนั้น
ประมวลรัษฎากรบัญญัติประเภทของเงินได้พึงประเมินไว้ใน มาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร โดยแบ่งออกเป็น 8 ประเภท ดังนี้
ไม่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดานั้น บัญญัติไว้ในมาตรา 42 แห่งประมวลรัษฎากร และกฎกระทรวงฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ซึ่งได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมอีกหลายครั้ง โดยกฎกระทรวงที่ออกมาในภายหลัง เงินได้พึงประเมินที่ได้รับยกเว้นที่สำคัญๆนั้น สามารถยกตัวอย่างได้ดังต่อไปนี้
ในส่วนของคู่สามีภริยาที่ความเป็นสามีภรรยาคงอยู่ตลอดปีภาษีนั้น ให้ต่างฝ่ายต่างมีหน้าที่ยื่นรายการและเสียภาษี ต่างมีหน้าที่ยื่นรายการและเสียภาษีต่างหากจากกัน และแบ่งเงินได้พึงประเมินที่สามีและภริยาทำร่วมกัน หรือสามีและภริยาจะตกลงเลือกยื่นรายการและเสียภาษีรวมกันก็ได้
กรณีเงินได้พึงประเมินที่ไม่อาจแยกได้อย่างชัดแจ้งว่าเป็นของสามี หรือภริยาฝ่ายละจำนวนเท่าใดตามมาตรา 40(2) - 40(8) ให้แบ่งสัดส่วนคนละ 50% ของเงินได้ประเภทนั้น เฉพาะเงินได้ตามมาตรา 40 (8) จากการขายสินค้า การพาณิชย์ การขนส่ง ฯลฯ ให้สามีภรรยาเลือกแบ่งเป็นของแต่ละฝ่ายตามส่วนที่ตกลงกันก็ได้ แต่รวมกันต้องไม่น้อยกว่าเงินได้พึงประเมินที่ได้รับ ถ้าตกลงกันไม่ได้ให้แบ่งกันฝ่ายละกึ่ง ส่วนสิทธิประโยชน์ที่สามีภริยาได้รับเพิ่ม กรณีการหักค่าลดหย่อน มี 3 รายการ คือ ค่าลดหย่อนบุตรได้คนละ 15,000 บาท ค่าลดหย่อนการศึกษาบุตรได้คนละ 2,000 บาท และค่าลดหย่อนดอกเบี้ยกู้ยืมซื้อที่อยู่อาศัย สามีและภริยาต่างฝ่ายต่างกู้ยืม มีเงินได้ทั้ง 2 ฝ่าย ต่างฝ่ายหักได้คนละ 100,000 บาท
ที่มา : th.wikipedia.org