• หน้าแรก

  • News

  • HR Articles

  • วิธีรับมือ พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ PDPA ที่ HR ทุกบริษัทต้องรู้

วิธีรับมือ พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ PDPA ที่ HR ทุกบริษัทต้องรู้

  • หน้าแรก

  • News

  • HR Articles

  • วิธีรับมือ พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ PDPA ที่ HR ทุกบริษัทต้องรู้

วิธีรับมือ พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ PDPA ที่ HR ทุกบริษัทต้องรู้



                       PDPA หรือพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เป็นกฎหมายใหม่ที่เรียกได้ว่ามีผลกระทบต่อทุก ๆ องค์กร โดยเฉพาะฝ่ายทรัพยากรบุคคล หรือ HR ทุกบริษัท เนื่องจากมีแนวโน้มเป็นหน่วยงานที่มีการเก็บรวบรวม ใช้ และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล มากที่สุดในองค์กร เพราะต้องบริหารจัดการข้อมูลทั้งของพนักงานภายใน รวมถึงข้อมูลของผู้สมัครงาน และพนักงานที่ออกจากจากองค์กรไปแล้ว

ตัวอย่างข้อมูลส่วนบุคคลที่ HR ต้องเจอ

  • ชื่อ นามสกุล ที่อยู่ รายละเอียดติดต่อ ของพนักงาน ตั้งแต่ระดับปฏิบัติการจนถึงระดับบริหาร
  • Resume หรือ CV ของผู้สมัครงานที่ยื่นเข้ามายังองค์กร
  • บันทึกประวัติการทำงานของผู้ที่ออกจากองค์กรไปแล้ว (อาจย้ายงาน ลาออก หรือถูกไล่ออก) เก็บรักษาไว้เป็นฐานข้อมูลในกรณีมีการสอบถามเข้ามาจากองค์กรสังกัดใหม่ของพนักงาน
  • ข้อมูลติดต่อประสานงานวิทยากรจากภายนอกสำหรับงานฝึกอบรม

                       สำหรับบริษัทใหญ่ ๆ อาจมีงบประมาณในการจ้างที่ปรึกษา ผู้เชี่ยวชาญ หรือบริการบริหารจัดการ เข้ามาช่วยจัดการวางระบบ Flow ของข้อมูล ตลอดจนการ Storage ให้สอดคล้องกับ PDPA และมีความปลอดภัยสูงสุด แต่สำหรับองค์กรเล็ก ๆ SMEs หรือบริษัทที่เพิ่งตั้งตัวอาจมีงบประมาณไม่มาก ผู้บริหารตลอดจนเจ้าหน้าที่ฝ่าย HR จึงจำเป็นต้องเรียนรู้เกี่ยวกับ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และดำเนินงานขององค์กรให้สอดคล้องกับกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลด้วยตนเอง

HR ทุกบริษัท ควรคำนึงถึงจุดใดบ้าง เพื่อดำเนินการตาม PDPA?

                       สำหรับชาว HR ต้องคำนึงว่าข้อมูลในมือของพวกคุณมีโอกาสเป็นข้อมูลส่วนบุคคลได้เสมอ และข้อมูลเหล่านี้ล้วนอยู่ภายใต้การคุ้มครองจาก PDPA (และกฎหมายอย่าง GDPR รวมถึงกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฉบับอื่น ๆ หากมีการโอนถ่ายข้อมูลจากหรือไปยังองค์กรในต่างประเทศ) จึงจำเป็นต้องมีนโยบายเกี่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้ และเปิดเผยข้อมูล ที่เขียนไว้เป็นลายลักษณ์อักษรอย่างชัดเจน โดยมีตัวอย่างแนวทางการปฏิบัติงานของฝ่ายทรัพยากรบุคคลภายใต้พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ที่คุณอาจนำไปปรับใช้ได้ ดังนี้

  • ก่อนการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล HR ต้องขอความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล แม้เรซูเม่/ประวัติโดยย่อของบุคคลจะถูกส่งมาจากผู้สมัครงานโดยตรง ซึ่งอาจตีความได้ว่าเป็นการให้ความยินยอมแล้ว แต่ยังคงต้องมีการแจ้งและให้ยอมรับเกี่ยวกับการเก็บรักษาข้อมูลนั้นเอาไว้เป็นฐานข้อมูลในกรณีที่การสมัครงานไม่ผ่านตามที่คาดหวัง และไม่เก็บข้อมูลนั้นไว้เกินระยะเวลาที่ระบุตามนโยบายการประมวลผลข้อมูลขององค์กร
  • ฝ่ายบุคคลยังไม่ควรขอข้อมูลบัตรประชาชนจากผู้สมัครงาน ไม่ว่าจะเป็นตัวจริงหรือสำเนา จนกระทั่งผ่านกระบวนการพิจารณาและได้ตำแหน่งงานในบริษัทอย่างเป็นทางการ
  • เรซูเม่/ประวัติของผู้ที่ไม่ผ่านการสมัครงานควรถูกเก็บรักษาเอาไว้แค่เพียงระยะสั้น ๆ และควรมีขั้นตอนในการทำลายข้อมูลนั้นอย่างปลอดภัย
  • ก่อนมีการส่งต่อข้อมูลของผู้สมัครงานเพื่อพิจารณาในตำแหน่งงานอื่น ๆ นอกเหนือจากตำแหน่งที่ผู้สมัครงานระบุว่ามีความประสงค์ จะต้องมีการขอความยินยอมเสียก่อน โดย HR ควรแจ้งในประกาศรับสมัครงานว่าทางบริษัทจะมีการส่งต่อข้อมูลของบุคคลสำหรับการพิจารณาตำแหน่งงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องให้กับผู้สมัครงานด้วย ตาม PDPA คุณจะต้องเขียนข้อความเพื่อขอความยินยอมในส่วนนี้แยกออกมาจากส่วนอื่นให้ชัดแจ้ง และอาจให้ผู้สมัครงานเซ็นต์ยอมรับในจุดนี้แยกอีกครั้งหนึ่งด้วย
  • ฝ่ายบุคคลต้องมีนโยบายเกี่ยวกับการเก็บรักษา และมาตรการทำลายข้อมูลส่วนบุคคลของอดีตบุคลากรที่ชัดเจน
  • หากบริษัทหรือองค์กรของคุณมีความจำเป็นในการคอยตรวจสอบ/สังเกตการณ์การทำงานของบุคลากรผ่านอีเมล การใช้งานคอมพิวเตอร์ และโทรศัพท์ กรณีดังกล่าวจะต้องมีการแจ้งให้บุคลากรผู้เป็นเจ้าของข้อมูลรับทราบ พร้อมระบุถึงเหตุผลของการดำเนินการดังกล่าว

                      และนี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของแนวทางการปฏิบัติงานที่ฝ่ายทรัพยากรบุคคลต้องดำเนินการภายใต้ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 (PDPA) โดยทางผู้เขียนเชื่อว่าการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลต้องใช้ระยะเวลาในการวางแผนและดำเนินการ เพราะ HR เป็นแผนกหนึ่งในบริษัท/องค์กรที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนบุคคลมากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นระดับ Manager หรือระดับปฏิบัติการทั่วไป จึงต้องเตรียมตัวให้พร้อมตั้งแต่เนิ่น ๆ เพื่อไม่เกิดปัญหา  และหากองค์กรของยังไม่ปรับตัวรับมือกับ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลอาจมีความผิด เสียใจ เสียทรัพย์ และอาจถูกตัดสินจำคุกได้หากเกิดการละเมิดของข้อมูลภายใต้ความดูแลได้เลย

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิก!!


ที่มา : https://pdpa.online.th/content/8946/                                                                                                                                             

 2285
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

แน่นอนว่าปัจจุบันเทคโนโลยีกลายเป็นทักษะที่มีความสำคัญอย่างมากที่ทุกสาขาอาชีพต้องมีความเกี่ยวข้องไม่มากก็น้อย หากได้ทำงานร่วมกับมนุษย์ก็จะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพงานให้ดียิ่งขึ้น โดยทาง jobthai ได้รวบรวมทักษะสำคัญของคนที่ทำงานในปี 2025 ที่ต้องมีติดตัวไว้
AI (Artificial Intelligence) หรือ ปัญญาประดิษฐ์ คือเทคโนโลยีที่ช่วยให้เครื่องจักรหรือคอมพิวเตอร์มีความสามารถในการคิดและทำงานในลักษณะที่คล้ายกับมนุษย์ โดยการนำข้อมูลจำนวนมากมาประมวลผลและตัดสินใจผ่านกระบวนการที่เรียกว่า การเรียนรู้ของเครื่อง (Machine Learning) หรือ การเรียนรู้เชิงลึก (Deep Learning) แล้ว AI จะเข้ามามีบทบาทในการพัฒนางาน HR อย่างไร
หลายๆ คนอาจจะกำลังลังเลกับเส้นทางชีวิตในการเลือกงานที่เหมาะสมกับตนเอง เพราะปัจจุบันมีหลากหลายอาชีพให้เลือก มีหลายสายงานให้ได้ลองทำ หากใครชอบความเป็นอิสระอาจจะเริ่มจากการทำงานฟรีแลนซ์ หรืออีกหนึ่งรูปแบบที่คนส่วนใหญ่เลือกทำงานกันคือ การทำงานในออฟฟิศ หรือที่เราเรียกกันว่า "มนุษย์เงินเดือน" แน่นอนว่ามันมีทั้งข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันไป แต่บทความนี้เราจะมาบอกข้อดีของการทำงานเป็นมนุษย์เงินเดือน ที่มีข้อดีอยู่มากมายจนบางทีคุณอาจจะคาดไม่ถึงด้วยซ้ำ งั้นเรามาดูกันสิว่าการที่เราเป็นมนุษย์เงินเดือนนั้นมีข้อดีอะไรบ้าง

เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการจัดการบริหารงานบุคคล และพัฒนาบุคลากรในองค์กร โดยใช้ในการประเมินพนักงานตามสองเกณฑ์หลัก ได้แก่ ศักยภาพ (Potential) และผลงาน (Performance) เครื่องมือนี้ช่วยให้ผู้บริหารสามารถระบุพนักงานที่มีศักยภาพสูงและผลงานดี เพื่อพัฒนาและเตรียมพวกเขาให้รับบทบาทที่สำคัญในอนาคต ได้รับการนำเสนอครั้งแรกในปี 1970 โดยบริษัท McKinsey & Company โดยเป็นเครื่องมือสำหรับประเมินศักยภาพและประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน และนับตั้งแต่นั้นมา เครื่องมือนี้ก็ได้รับความนิยมและถูกใช้กันอย่างแพร่หลายโดยองค์กรต่าง ๆ ทั่วโลก
เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการจัดการบริหารงานบุคคล และพัฒนาบุคลากรในองค์กร โดยใช้ในการประเมินพนักงานตามสองเกณฑ์หลัก ได้แก่ ศักยภาพ (Potential) และผลงาน (Performance) เครื่องมือนี้ช่วยให้ผู้บริหารสามารถระบุพนักงานที่มีศักยภาพสูงและผลงานดี เพื่อพัฒนาและเตรียมพวกเขาให้รับบทบาทที่สำคัญในอนาคต ได้รับการนำเสนอครั้งแรกในปี 1970 โดยบริษัท McKinsey & Company โดยเป็นเครื่องมือสำหรับประเมินศักยภาพและประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน และนับตั้งแต่นั้นมา เครื่องมือนี้ก็ได้รับความนิยมและถูกใช้กันอย่างแพร่หลายโดยองค์กรต่าง ๆ ทั่วโลก
Background Checks คือการตรวจสอบประวัติอย่างละเอียด ครอบคลุมทั้งด้านข้อมูลส่วนตัว, ประวัติอาชญากรรม, ภาวะทางการเงิน, การศึกษา ตลอดจนบริบทอื่น ๆ ที่ส่งผลกับตำแหน่งที่สมัครเข้ามา
สวัสดิการที่องค์กรมอบให้แก่พนักงาน กับ สวัสดิการที่พนักงานต้องการ นั้น บางเรื่องก็เป็นสิ่งที่ตรงกัน ส่วนบางเรื่องก็เป็นสิ่งที่ต่างความเห็นกัน ในเรื่องนี้จากทาง Jobthai (jobthai.com) เคยทำบทความนำเสนอผลการสำรวจความคิดเห็นจากคนทำงานทั่วประเทศในประเด็นที่ว่า “สวัสดิการที่คนทำงานต้องการจากองค์กร” ซึ่งเป็นการทำผลสำรวจจากคนทำงานที่เป็นพนักงานทั่วไปจำนวน 7,420 คน ทั่วประเทศ โดยมีผลการสำรวจออกมาดังนี้
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์