เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานด้วยการปรับ “Workflow”

เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานด้วยการปรับ “Workflow”


ถ้าหากว่าเราต้องการเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงาน หรือเพิ่ม Output ให้กับธุรกิจ การปรับปรุง Workflow หรือกระบวนการต่างๆ ถือเป็นเรื่องสำคัญลำดับต้นๆ ที่เราต้องคำนึงถึง เพราะการปรับปรุง Workflow จะสามารถช่วยให้คนทำงาน สามารถทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น Output ก็เพิ่มขึ้นตามลำดับ และวันนี้เราจะมาพูดถึงวิธีในการปรับปรุง Workflow กัน

กางงานทั้งหมดออกมา:

อันดับแรกเลยคือการต้องรู้ให้หมดก่อนว่า กระบวนการในการทำงานทั้งหมดของบริษัทตอนนี้นั้นมีอะไรบ้าง เพื่อที่เราจะสามารถตรวจเช็ค และหาจุดที่เราพอจะปรับปรุงได้ หลายคนอาจจะรู้สึกว่าทำไมต้องกางออกมาด้วย ปกติก็รู้และจำขึ้นใจอยู่แล้ว

ต้องบอกสำหรับธุรกิจที่ขนาดเล็กมากๆ มีคนทำงานไม่เกินห้าคน หรือมีระบบงานที่ไม่ซับซ้อน นั้น สามารถที่จะนึกในหัว แล้วไล่ Flow ต่างๆ ออกมาได้ แต่สำหรับธุรกิจที่มีทีมงานมากกว่า 5 คน หรือมีระบบการทำงานที่ซับซ้อน (ทีมเล็กแต่ตัวงานมีความซับซ้อนก็ควรที่จะต้องทำ)

สำหรับวิธีในการ กาง” นั้น สามารถทำได้หลายแบบเลย แต่ที่แนะนำเลยคือการนำโพสต์อิท มาเขียน Task แต่อย่างที่เกิดขึ้นตั้งแต่เริ่มต้นทำงาน จนถึงการส่งมอบ และแปะบนไวน์บอร์ด หรือกระดาน หรือกระจก

แนะนำให้ใช้โพสต์อิท เพราะว่าเราจะสามารถโยกย้าย ปรับเปลี่ยน Task ต่างๆ ได้ง่ายนะ

สำคัญตรงการเขียนนะ ควรที่จะต้องให้ทุกคน แต่ถ้าไม่สามารถนัดทุกคนได้ ก็ต้องเป็นคนที่เข้าใจ Workflow จริงๆ หรือคนที่ Execution จริงๆ มาเขียน Task ต่างๆ ของแต่ละคน แต่ละฝ่าย พาร์ทนี้อาจจะต้องใช้เวลาค่อนข้างมาก แต่อยากให้ตั้งใจทำมากๆ และอย่ามองข้าม Task เล็กๆ เป็นอันขาด

หลังจากเขียนเสร็จแล้ว เราจะได้ภาพรวมของ Workflow ทั้งบริษัทออกมาแบบละเอียดยิบ

หาจุดที่สามารถปรับปรุงได้:

ให้ทุกคน แต่ถ้าทุกคนไม่ได้ก็ให้คนที่เกี่ยวข้องกับแต่ละส่วนที่เรากำลังตรวจสอบมาช่วยกันคิดและโยนไอเดีย เช่น ถ้าเรากำลังกาง Workflow ของแผนก A ก็ให้ทีม A มาช่วยกันดูว่าเราจะสามารถปรับปรุง Workflow ของ Task ไหนได้บ้าง

สิ่งที่แนะนำอย่างหนึ่ง คือ พยายามให้มีคนที่ไม่ได้อยู่ในแผนกนั้นๆ เข้ามาคิดด้วย เพราะจะทำให้เราได้มุมมองจากคนที่ไม่ได้อยู่ในแผนกนั้นๆ

  1. Task ไหนที่มีการทำซ้ำซ้อนบ้าง

    โดยส่วนใหญ่แล้ว เมื่อเรากางงานออกมาเรามักจะพบงานบางอย่างที่ซ้ำซ้อน คือ อาจจะต้องมีคนทำ 2 คน ทั้งๆ ที่อาจจะสามารถทำได้ด้วยตัวคนเดียว หรืองานบางอย่างที่ถูกทำแล้ว แต่เมื่อส่งต่อไปยังอีกคนก็ต้องทำใน Process เดียวกันซ้ำอีกครั้ง

  2. Task ที่ไม่มีความจำเป็น หรือสามารถตัดออกได้

    อันนี้จะคล้ายกับข้อ 1 แต่บางครั้งอาจจะไม่ได้มาในรูปแบบของงานซ้ำซ้อน แต่เป็นงานที่ไม่มีความจำเป็น หรือเราตัดออกได้ คือ ถ้าไม่มี Task นี้ก็ไม่มีผลอะไรต่อผลลัพธ์ที่ได้ หรือต่อกระบวนการทำงานทั้งหมด

  3. หาวิธีในการใช้ Technology ในการประสิทธิภาพ

    ทุกวันนี้ปฏิเสธไม่ได้ว่าสิ่งหนึ่งที่จะทำให้งานสามารถรันได้เร็วมากขึ้น Workflow ไหลลื่นขึ้น คือ เรื่องของการนำเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาใช้กับงานที่เหมาะสม เช่น ระบบบัญชี, ระบบฝึกอบรม, ระบบลาออนไลน์ การทำ Report ต่างๆ หรือ Tools ต่างๆ ที่สามารถทำให้คนทำงานสามารถทำงานได้ง่ายขึ้น



ที่มา : missiontothemoon.co
 1011
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

AI (Artificial Intelligence) หรือ ปัญญาประดิษฐ์ คือเทคโนโลยีที่ช่วยให้เครื่องจักรหรือคอมพิวเตอร์มีความสามารถในการคิดและทำงานในลักษณะที่คล้ายกับมนุษย์ โดยการนำข้อมูลจำนวนมากมาประมวลผลและตัดสินใจผ่านกระบวนการที่เรียกว่า การเรียนรู้ของเครื่อง (Machine Learning) หรือ การเรียนรู้เชิงลึก (Deep Learning) แล้ว AI จะเข้ามามีบทบาทในการพัฒนางาน HR อย่างไร
หลายๆ คนอาจจะกำลังลังเลกับเส้นทางชีวิตในการเลือกงานที่เหมาะสมกับตนเอง เพราะปัจจุบันมีหลากหลายอาชีพให้เลือก มีหลายสายงานให้ได้ลองทำ หากใครชอบความเป็นอิสระอาจจะเริ่มจากการทำงานฟรีแลนซ์ หรืออีกหนึ่งรูปแบบที่คนส่วนใหญ่เลือกทำงานกันคือ การทำงานในออฟฟิศ หรือที่เราเรียกกันว่า "มนุษย์เงินเดือน" แน่นอนว่ามันมีทั้งข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันไป แต่บทความนี้เราจะมาบอกข้อดีของการทำงานเป็นมนุษย์เงินเดือน ที่มีข้อดีอยู่มากมายจนบางทีคุณอาจจะคาดไม่ถึงด้วยซ้ำ งั้นเรามาดูกันสิว่าการที่เราเป็นมนุษย์เงินเดือนนั้นมีข้อดีอะไรบ้าง

เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการจัดการบริหารงานบุคคล และพัฒนาบุคลากรในองค์กร โดยใช้ในการประเมินพนักงานตามสองเกณฑ์หลัก ได้แก่ ศักยภาพ (Potential) และผลงาน (Performance) เครื่องมือนี้ช่วยให้ผู้บริหารสามารถระบุพนักงานที่มีศักยภาพสูงและผลงานดี เพื่อพัฒนาและเตรียมพวกเขาให้รับบทบาทที่สำคัญในอนาคต ได้รับการนำเสนอครั้งแรกในปี 1970 โดยบริษัท McKinsey & Company โดยเป็นเครื่องมือสำหรับประเมินศักยภาพและประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน และนับตั้งแต่นั้นมา เครื่องมือนี้ก็ได้รับความนิยมและถูกใช้กันอย่างแพร่หลายโดยองค์กรต่าง ๆ ทั่วโลก
เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการจัดการบริหารงานบุคคล และพัฒนาบุคลากรในองค์กร โดยใช้ในการประเมินพนักงานตามสองเกณฑ์หลัก ได้แก่ ศักยภาพ (Potential) และผลงาน (Performance) เครื่องมือนี้ช่วยให้ผู้บริหารสามารถระบุพนักงานที่มีศักยภาพสูงและผลงานดี เพื่อพัฒนาและเตรียมพวกเขาให้รับบทบาทที่สำคัญในอนาคต ได้รับการนำเสนอครั้งแรกในปี 1970 โดยบริษัท McKinsey & Company โดยเป็นเครื่องมือสำหรับประเมินศักยภาพและประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน และนับตั้งแต่นั้นมา เครื่องมือนี้ก็ได้รับความนิยมและถูกใช้กันอย่างแพร่หลายโดยองค์กรต่าง ๆ ทั่วโลก
Background Checks คือการตรวจสอบประวัติอย่างละเอียด ครอบคลุมทั้งด้านข้อมูลส่วนตัว, ประวัติอาชญากรรม, ภาวะทางการเงิน, การศึกษา ตลอดจนบริบทอื่น ๆ ที่ส่งผลกับตำแหน่งที่สมัครเข้ามา
สวัสดิการที่องค์กรมอบให้แก่พนักงาน กับ สวัสดิการที่พนักงานต้องการ นั้น บางเรื่องก็เป็นสิ่งที่ตรงกัน ส่วนบางเรื่องก็เป็นสิ่งที่ต่างความเห็นกัน ในเรื่องนี้จากทาง Jobthai (jobthai.com) เคยทำบทความนำเสนอผลการสำรวจความคิดเห็นจากคนทำงานทั่วประเทศในประเด็นที่ว่า “สวัสดิการที่คนทำงานต้องการจากองค์กร” ซึ่งเป็นการทำผลสำรวจจากคนทำงานที่เป็นพนักงานทั่วไปจำนวน 7,420 คน ทั่วประเทศ โดยมีผลการสำรวจออกมาดังนี้
เคยได้ยินคำว่า Flexible Time กันอยู่บ่อย ๆ ว่าแต่เอ๊ะ มันคืออะไร ??
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์