พฤติกรรมที่ไม่ควรทำในการทำงาน

พฤติกรรมที่ไม่ควรทำในการทำงาน



ในยุคที่มีความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีอย่างก้าวกระโดดแบบนี้ ทำให้พฤติกรรมการทำงานของหลายๆ คนเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งบางครั้งก็เป็นพฤติกรรมที่ไม่ค่อยเอื้อกับการทำงานที่ดี แต่เราก็มักจะเห็นพฤติกรรมเหล่านี้อยู่เสมอ บางคนอาจจะเห็นจนชินตาไปแล้ว แต่จริงๆ แล้วพฤติกรรมเหล่านี้ เป็นพฤติกรรที่ไม่ควรทำอย่างยิ่งในการทำงานของเรา ลองมาดูกันนะครับว่า พฤติกรรมที่ว่ามีอะไรบ้าง

• หยิบโทรศัพท์ขึ้นมากดๆ ขณะที่กำลังประชุม หรือคุยกับคนอื่นอยู่ ปัจจุบันนี้พฤติกรรมนี้เกิดขึ้นเยอะมาก เราจะเห็นจนชินตา ไม่ว่าจะเป็นระหว่างการประชุมที่บางครั้งพนักงานก็หยิบโทรศัพท์ขึ้นมา แล้วก็กดอย่างเมามัน โดยไม่สนใจเรื่องที่กำลังประชุมอยู่ หรือในระหว่างที่กำลังคุยงาน หรือสอนงาน พอโทรศัพท์ส่งสัญญาณออกมา ก็อดไม่ได้ที่จะต้องหยิบขึ้นมาอ่าน และพิมพ์ตอบกลับไป โดยไม่สนใจว่ากำลังทำอะไรอยู่กับใคร ผลของพฤติกรรมนี้ก็คือ ทำให้คนที่นำประชุม หรือคนที่กำลังคุยด้วยรู้สึกถึงการไม่ให้เกียรติ และไม่ใส่ใจในสิ่งที่กำลังทำ อีกทั้งยังทำให้ขาดสมาธิในการทำงานอีกด้วย

• ทำงานอย่างอื่นไปด้วยขณะที่กำลังประชุม เวลามีการประชุมในยุคนี้ พนักงานจะนำโน๊ตบุคคอมพิวเตอร์ติดตัวเข้าห้องประชุมด้วย พอมีเครื่องมือนี้อยู่ข้างหน้า ก็จะเริ่มไม่ฟัง และจะทำงานอย่างอื่น หรือไม่ก็นั่งดูอะไรไปตามเรื่องตามราว ซึ่งทำให้การประชุมขาดประสิทธิภาพ นอกจากการประชุมแล้ว ในการฝึกอบรมภายในองค์กรเอง ก็คล้ายๆ กัน พนักงานมักจะหิ้วคอมพิวเตอร์เข้ามานั่งอบรม แล้วก็กดๆ พิมพ์ๆ คลิกๆ ผลก็คือ การทำงานหลายๆ อย่างในเวลาเดียวกัน ก็คงไม่ได้ผลอะไรที่ดีเลย

• ตามงานลูกน้องตลอดเวลา เนื่องจากเทคโนโลยีการติดต่อสื่อสารที่ดีในยุคนี้ ทำให้คนเราออนไลน์ตลอด 24 ชั่วโมง และสามารถติดต่อได้ง่ายกว่าในสมัยก่อนที่ยังไม่แค่เพียงโทรศัพท์บ้านเพียงอย่างเดียว ก็เลยทำให้เกิดการติดต่อกันตลอดเวลา โดยเฉพาะหัวหน้างานบางคนที่ใช้เทคโนโลยีแบบนี้ในการติดตามงาน สั่งงาน ลูกน้อง บางคนตามงานลูกน้องเวลาตีสองตีสาม แบบว่าคิดอะไรได้ก็กดๆ ไป ไม่โทรตาม ก็ Line บ้าง หรือ whatsapp บ้าง ซึ่งทำให้พนักงานรู้สึกว่า เวลาส่วนตัวไม่เป็นส่วนตัว ต้องคอยระแวงว่านายจะตามงานมาเมื่อไหร่

• ระบายความอึดอัดเกี่ยวกับงานลงบน Facebook ปัจจุบันนี้คงไม่มีใครไม่รู้จัก Facebook ถ้า ใช้ในทางที่เหมาะสมก็ดี แต่ก็มีหลายคนที่อาจจะใช้ในทางที่ไม่ค่อยเหมาะเท่าไหร่ ซึ่งส่งผลกระทบต่อตัวคนใช้งานเองได้อย่างแก้ไขได้ยากมาก พฤติกรรมของผู้ใช้งานที่เปลี่ยนแปลงไปก็คือ มีอะไรชอบ ไม่ชอบ คนรุ่นใหม่ก็มักจะต้องระบายใส่ในนี้ตลอดเวลา ไม่ชอบใจอะไร ก็จะใส่เข้าไป ชอบใจอะไรก็จะระบายลงไป ถ้าเรื่องที่ระบายเป็นเรื่องทั่วๆ ไป ก็โอเคนะครับ แต่ถ้าเป็นเรื่องของบริษัท ของงาน หรือของหัวหน้าตนเอง ที่เราไม่ชอบใจ แล้วเราก็ระบายใส่ลงไปนั้น ผลที่ตามมามันร้ายแรงเกินกว่าที่เราจะคาดคิดได้ เพราะถ้าบริษัทมาเห็นเข้า ก็เข้าข่ายผิดระเบียบเช่นกัน หลายบริษัทก็เริ่มมีการกำหนดระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับเรื่องพวกนี้ขึ้นมา อย่างเคร่งครัดเช่นกัน นอกจากนี้ เวลาบริษัทสรรหาพนักงาน บางบริษัทก็เข้าไปดูใน Facebook ของผู้สมัคร เพื่อดูพฤติกรรมว่าเป็นอย่างไร ถ้าเห็นว่ามีพฤติกรรมที่ด่าว่า ประชดประชัน บริษัทตัวเอง หรือนายตัวเอง ใครจะรับเข้าทำงานล่ะครับ

• เอากล้องโทรศัพท์ถ่ายรูปไปทั่ว อีกพฤติกรรมที่เป็นที่นิยมก็คือการถ่ายรูปจากโทรศัพท์มือถือ เวลาที่เจออะไรประทับใจ หรือไม่ประทับใจ ก็จะถ่ายรูปไว้ แล้วก็พร้อมที่จะลงให้คนอื่นได้เห็นตลอดเวลา บางครั้งมัวแต่ถ่ายรูป แล้วโพสขึ้น Social Network จนไม่ต้องทำงานอะไรกันเลยก็มี คนที่ถูกถ่ายเองก็อาจจะไม่รู้ตัว ซึ่งก็อาจจะเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลกันได้เลย ถ้าเป็นต่างประเทศ การถ่ายรูปคนอื่นนั้น เขาฟ้องเราได้เลยนะครับ เพราะถือเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลครับ เราอาจจะติดคุกได้

ยังอาจจะมีพฤติกรรมแปลกๆ มากกว่า นี้ แต่ 5 พฤติกรรมข้างต้นเป็นสิ่งที่ผมประสบพบเจอมาค่อนข้างจะบ่อย เห็นแล้วก็ทำให้รู้สึกไม่ค่อยจะดีเท่าไหร่ ซึ่งผมเชื่อว่า คงไม่มีใครที่จะรู้สึกดี ถ้าเห็นคนที่เรากำลังตั้งใจคุยด้วย ยกโทรศัพท์ขึ้นมากด โดยไม่สนใจในสิ่งที่เรากำลังพูด หรือวิทยากรเอง ก็คงไม่ Happy เท่าไหร่ ถ้าเห็นผู้เรียนมัวแต่นั่งกดโทรศัพท์ในขณะที่เรากำลังบรรยายอย่างตั้งใจ

สิ่งเหล่านี้เราถือเป็นมารยาทในการทำงานร่วมกันกับผู้อื่นด้วยครับ ซึ่งปัจจุบันขาดการอบรมสั่งสอนกันอย่างมากเลยครับ ทำให้เวลาคนรุ่นใหม่เข้ามาทำงานก็จะมีพฤติกรรมที่คนรุ่นเดิมมองว่าไม่เหมาะสม ไม่ให้เกียรติซึ่งกันและกัน ฯลฯ และเป็นปัญหาความขัดแย้งในการทำงานตามมาอีกมากมาย



บทความโดย : คุณประคัลภ์ ปัณฑพลังกูร
ประกาศบทความโดย : www.prosofthrmi.com
 4701
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

การพาพนักงานไป Outing ถือเป็นหนึ่งในสวัสดิการหลัก ๆ ที่หลายองค์กรมี เพื่อดึงดูดพนักงานทั้งภายในและภายนอกให้อยากมาร่วมงานกันด้วย โดยวัตถุประสงค์หลักของการไป Outing ก็เพื่อเสริมสร้างความสามัคคี และเพื่อตอบแทนพนักงาน ให้ได้ผ่อนคลายจากการทำงานประจำวันอันตึงเครียดมายาวนาน โดยที่บริษัทจะดูแลเรื่องค่าใช้จ่ายไว้ทั้งหมด
ระบบลงเวลาเข้า-ออกของพนักงาน คือ ระบบที่ช่วยในการบันทึกเวลาการทำงานของพนักงาน ผ่านอุปกรณ์ดิจิทัลต่างๆ ตั้งแต่ เครื่องสแกนลายนิ้วมือ (Finger Scanner), สมาร์ทโฟน (Smart Phone), แท็บเล็ต (Tablet), ตลอดจนอุปกรณ์ต่างๆ ที่สามารถยืนยันตัวตนผู้ใช้งานได้อย่างชัดเจน ปลอดภัย และเชื่อมต่อสู่ระบบข้อมูลกลางอย่างระบบคลาวด์ (Cloud System) ได้ โดยจะระบุเวลาที่พนักงานเข้ามาทำงานและออกจากงานในแต่ละวัน ดูสถิติ ขาด ลา มาสาย ระบบนี้มีบทบาทสำคัญในการบริหารจัดการเวลาและการทำงานของพนักงาน ช่วยให้ฝ่ายทรัพยากรบุคคล (HR) และฝ่ายบริหารสามารถติดตามการทำงานของพนักงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงใช้ข้อมูลที่บันทึกเพื่อคำนวณเงินเดือน สวัสดิการ ค่าล่วงเวลา และการจัดทำรายงานการเข้างานได้อย่างแม่นยำ ตอบโจทย์การทำงานในธุรกิจยุคใหม่ได้อย่างสมบูรณ์แบบ
มนุษย์เงินเดือนบางคนอาจจะไม่รู้ด้วยซ้ำว่า ตัวเองมีสิทธิที่จะเรียกร้อง ค่าชดเชยจากนายจ้าง อันนี้เป็นสิทธิ์ของเรานะ พี่ทุยบอกเลยว่า เงินค่าชดเชย เป็นสิ่งที่นายจ้าง ต้องจ่าย ให้กับพนักงานหรือลูกจ้าง เพื่อช่วยเหลือในกรณีให้ออกจากงาน ซึ่งไม่ได้มาจากทำความผิดของพนักงานหรือลูกจ้าง แต่อาจจะด้วยเหตุผลบางอย่างที่จำเป็นต้องลดจำนวนพนักงานลง
ในแต่ละเดือนที่เราจ่ายเงินสมทบประกันสังคมนั้น ก็จะมีเงินส่วนหนึ่งที่จัดเก็บเข้าเป็นเงินสะสมประกันสังคม ซึ่งเงินส่วนนี้เองเราสามารถเช็คเงินสะสมประกันสังคมได้เองผ่านช่องทางออนไลน์ด้วย มาดูกันครับว่าทำยังไง แล้วยอดเงินประกันสังคมนี้ทำอะไรได้บ้าง

Employee Referral Program หรือ โครงการแนะนำพนักงาน คือระบบที่องค์กรใช้เพื่อกระตุ้นให้พนักงานที่ทำงานอยู่แนะนำบุคคลภายนอกที่มีคุณสมบัติที่เหมาะสมเข้ามาทำงานในตำแหน่งที่เปิดรับ โดยทั่วไปโครงการนี้มักมีการมอบรางวัลหรือโบนัสให้กับพนักงานที่แนะนำคนที่ถูกคัดเลือกและรับเข้าทำงานในองค์กรสำเร็จ โครงการแนะนำพนักงานนี้มีข้อดีหลายประการ เช่น การลดต้นทุนในการจ้างงาน เพิ่มคุณภาพของผู้สมัคร และสร้างความผูกพันให้กับพนักงานในองค์กร
การจัดกะพนักงาน คือ กระบวนการวางแผนและจัดระเบียบเวลาทำงานของพนักงานให้เหมาะสมกับความต้องการขององค์กรในแต่ละช่วงเวลา โดยแบ่งเวลาทำงานออกเป็นหลายช่วง (หรือหลายกะ) เพื่อให้มีพนักงานเพียงพอในการปฏิบัติงานตลอดเวลา เช่น ในกรณีขององค์กรที่เปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมงหรือมีความต้องการกำลังคนที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละช่วงเวลา
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์