ฝึกอบรมแบบไหนดีกว่ากัน

ฝึกอบรมแบบไหนดีกว่ากัน



เรื่องของการฝึกอบรม ก็ยังคงเป็นแนวทางในการพัฒนาพนักงานที่ทุกองค์กรใช้อยู่ในปัจจุบัน เป็นวิธีการพัฒนาพนักงานที่ได้ความนิยมอย่างมาก เพราะเมื่อไหร่ที่คิดถึงเรื่องของการพัฒนาพนักงาน การฝึกอบรมก็จะต้องถูกคิดถึงก่อนเป็นเรื่องแรก และแนวโน้มของวิธีการฝึกอบรมก็เริ่มเปลี่ยนแปลงมากขึ้นในยุคปัจจุบัน เริ่มมีเทคนิคต่างๆ มีลูกเล่น มีกิจกรรมประกอบการฝึกอบรม เพื่อทำให้ผู้เข้าอบรม เกิดความเข้าใจ และไม่เบื่อ

แต่ระยะหลังๆ สิ่งที่ผมในฐานะที่เป็นวิทยากรคนหนึ่ง ที่มักจะได้รับความต้องการของลูกค้าที่ต้องการฝึกอบรมติดต่อเข้ามาที่บริษัท สิ่งที่ผมได้ยินมาค่อนข้างมาก็คือ

“หลักสูตรที่ต้องการจัดทุกหลักสูตร ของอาจารย์ที่พูดได้ฮาๆ เลย เอาแบบขำกลิงก์ได้ยิ่งดี” หรือ

“อาจารย์ที่สอนตลกมั้ย ถ้าไม่ตลกไม่เอานะ” หรือ

“เนื้อหาไม่เน้น เน้นฮา”

ฯลฯ

ไม่ทราบว่าท่านผู้อ่านคิดอย่างไรกับคำพูดเหล่านี้ที่เป็นความต้องการของ คนที่ต้องการจัดฝึกอบรม เพื่อสร้างความรู้และทักษะให้กับพนักงาน

จากประสบการณ์ที่ผมเองก็เคยเป็นผู้ถูกฝึกอบรม และถูกส่งไปเข้าเรียนในหลักสูตรต่างๆ สิ่งที่เคยพบเจอมาก็มีดังนี้

• เข้าเรียนในหลักสูตรการเป็นหัวหน้างานที่ดี วิทยากรพูดได้สนุก ฮามากมาย มีเรื่องตลกมาเล่าให้ฟังอยู่ตลอดเวลา แต่พอเรียนจบ เราก็มานั่งทบทวนดูว่าเราได้อะไรกลับมาบ้าง เมื่อเทียบกับวัตถุประสงค์ที่ไปเข้าเรียน ปรากฏว่า ไม่ได้อะไรกลับมาเลยครับ

• เข้าเรียนในหลักสูตรที่เข้มข้นมาก มีหลักการทางวิชาการมากมาย มีแบบทดสอบ มีแบบฝึกหัด มีกรณีศึกษาให้คิด เวลาเรียนไม่ค่อยสนุกหรอกครับ เพราะมีแต่เรื่องราวทางวิชาการต่างๆ แต่พอกลับมาทำงาน กลับรู้สึกว่า ได้อะไรมามากมายสำหรับการทำงาน และการต่อยอดการทำงานของตนเองให้ดีขึ้นได้อีกเยอะเลย

• เข้าเรียนในหลักสูตรที่มีเนื้อหาที่เข้มข้น และมีกรณีศึกษาที่ชัดเจน และวิทยากรก็สามารถบรรยายได้อย่างสนุกน่าฟัง ไม่ออกนอกเรื่อง ตัวอย่างที่ยก ก็สอดคล้องกับเนื้อหาที่เรียน พอกลับมา ก็ถือว่าได้ทั้งความรู้และความเข้าใจอย่างชัดเจนด้วยกรณีศึกษา และตัวอย่างที่ผู้บรรยายยกมาให้ฟัง

3 ลักษณะนี้ท่านผู้อ่านชอบแบบไหนครับ

ผมเชื่อว่าส่วนใหญ่จะชอบแบบที่ 3 แต่วิทยากรและหลักสูตรในแบบที่ 3 นี่หายากมากครับ บางครั้งหาได้แต่ราคาที่เสนอมาก็สูงหน่อยซึ่งบริษัทอาจจะไม่มีงบประมาณมากพอ ก็เลยกลายเป็นว่าเลือกแบบที่ 1 ดีกว่า เพราะฮาดี ค่าตัววิทยากรก็ไม่แพงนัก แถมผู้เรียนยังประเมินให้กับฝ่ายฝึกอบรมว่าจัดอบรมหลักสูตรได้ตลกดีอีกด้วย พนักงานส่วนใหญ่ก็ชอบ

แต่ความรู้ล่ะครับ เป้าหมายของการฝึกอบรมก็คือการเพิ่มทักษะและความรู้ให้กับพนักงาน แต่การอบรมแบบที่ 1 นั้น บริษัทเสียเงิน แล้วถามว่าได้อะไรกลับมาบ้าง เรื่องนี้จะต้องพิจารณาให้ดีนะครับ เนื่องจากในระยะนี้ และในอนาคตข้างหน้า เรื่องของการบริหารต้นทุน และการบริหารเงินลงทุนต่างๆ นั้น จะต้องมีผลตอบแทนมากขึ้น จะต้องคุ้มค่ามากขึ้น และตอบวัตถุประสงค์ที่ต้องการได้มากขึ้นด้วย

ผมคิดว่าการที่เราจะเลือกแนวทางในการฝึกอบรมว่า จะเป็นแนวไหนดี วิชาการ ตลกไปเลย หรืออย่างไรดีนั้น คงต้องขึ้นอยู่กับตัวหลักสูตรที่เราต้องการจะจัดด้วย บางหลักสูตรมันตลกไม่ได้จริงๆ แต่สามารถที่จะหากรณีศึกษามาเล่าให้เข้าใจและเห็นภาพได้ชัดเจน บางหลักสูตรอาจจะตลกได้

สิ่งที่ต้องกำหนดให้ชัดเจนก็คือ หลักสูตรที่จะอบรมนั้น อบรมไปแล้วจะได้อะไร แล้วก็คงต้องวัดผลกันจริงๆ จังๆ ว่าได้ตามที่วัตถุประสงค์กำหนดไว้หรือเปล่า

หากคุณกำลังมองหาระบบที่ช่วยจัดการการฝึกอบรมของพนักงาน เราขอแนะนำระบบฝึกอบรม Training ที่จะเพิ่มศักยภาพและระดับความสามารถในการทำงานของพนักงาน เป็นระบบการฝึกอบรมทั้งภายใน และภายนอก สามารถสร้างหลักสูตรการอบรมได้หลากหลายรูปแบบตามแต่ละองค์กร หลักสูตรทุกหลักสูตรสามารถดูค่าใช้จ่ายในการอบรม ผู้อบรม และผู้ผ่านการอบรม รวมถึงการดูประวัติการอบรมพนักงานแต่ละคนได้ว่าผ่านการอบรมหลักสูตรใดมาแล้ว รวมถึงมีรายงานต่างๆ ทั้งภายใน และทางราชการ ระบบ Training จึงเป็นระบบที่ช่วยให้ฝ่ายอบรม สามารถทำงานได้ง่าย เป็นขั้นตอนตั้งแต่เริ่มหลักสูตร จนปิดหลักสูตร ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สามารถดูรายละเอียดแอพพลิเคชั่นสำหรับระบบฝึกอบรมของโปรแกรมบริหารงานบุคคล HRMI ได้ที่ ระบบฝึกอบรม Training


บทความโดย : คุณประคัลภ์ ปัณฑพลังกูร
ประกาศบทความโดย : www.prosofthrmi.com
 3911
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

การทำงาน เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของชีวิต ซึ่งรูปแบบของการจ้างงานไม่ได้มีเพียงงานประจำและรอเวลาเกษียณอายุเพียงเท่านั้น แต่ยังมีลักษณะการจ้างงานอีกหลายประเภท ที่สามารถตอบโจทย์การใช้ชีวิตที่แตกต่างกันออกไปได้ ในบทความนี้จะมาสรุปสั้น ๆ ให้เข้าใจได้ง่าย ๆ ว่าการจ้างงานมีกี่ประเภท และแต่ละประเภทมีข้อดีแตกต่างกันอย่างไร
การพาพนักงานไป Outing ถือเป็นหนึ่งในสวัสดิการหลัก ๆ ที่หลายองค์กรมี เพื่อดึงดูดพนักงานทั้งภายในและภายนอกให้อยากมาร่วมงานกันด้วย โดยวัตถุประสงค์หลักของการไป Outing ก็เพื่อเสริมสร้างความสามัคคี และเพื่อตอบแทนพนักงาน ให้ได้ผ่อนคลายจากการทำงานประจำวันอันตึงเครียดมายาวนาน โดยที่บริษัทจะดูแลเรื่องค่าใช้จ่ายไว้ทั้งหมด
ระบบลงเวลาเข้า-ออกของพนักงาน คือ ระบบที่ช่วยในการบันทึกเวลาการทำงานของพนักงาน ผ่านอุปกรณ์ดิจิทัลต่างๆ ตั้งแต่ เครื่องสแกนลายนิ้วมือ (Finger Scanner), สมาร์ทโฟน (Smart Phone), แท็บเล็ต (Tablet), ตลอดจนอุปกรณ์ต่างๆ ที่สามารถยืนยันตัวตนผู้ใช้งานได้อย่างชัดเจน ปลอดภัย และเชื่อมต่อสู่ระบบข้อมูลกลางอย่างระบบคลาวด์ (Cloud System) ได้ โดยจะระบุเวลาที่พนักงานเข้ามาทำงานและออกจากงานในแต่ละวัน ดูสถิติ ขาด ลา มาสาย ระบบนี้มีบทบาทสำคัญในการบริหารจัดการเวลาและการทำงานของพนักงาน ช่วยให้ฝ่ายทรัพยากรบุคคล (HR) และฝ่ายบริหารสามารถติดตามการทำงานของพนักงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงใช้ข้อมูลที่บันทึกเพื่อคำนวณเงินเดือน สวัสดิการ ค่าล่วงเวลา และการจัดทำรายงานการเข้างานได้อย่างแม่นยำ ตอบโจทย์การทำงานในธุรกิจยุคใหม่ได้อย่างสมบูรณ์แบบ
มนุษย์เงินเดือนบางคนอาจจะไม่รู้ด้วยซ้ำว่า ตัวเองมีสิทธิที่จะเรียกร้อง ค่าชดเชยจากนายจ้าง อันนี้เป็นสิทธิ์ของเรานะ พี่ทุยบอกเลยว่า เงินค่าชดเชย เป็นสิ่งที่นายจ้าง ต้องจ่าย ให้กับพนักงานหรือลูกจ้าง เพื่อช่วยเหลือในกรณีให้ออกจากงาน ซึ่งไม่ได้มาจากทำความผิดของพนักงานหรือลูกจ้าง แต่อาจจะด้วยเหตุผลบางอย่างที่จำเป็นต้องลดจำนวนพนักงานลง
ในแต่ละเดือนที่เราจ่ายเงินสมทบประกันสังคมนั้น ก็จะมีเงินส่วนหนึ่งที่จัดเก็บเข้าเป็นเงินสะสมประกันสังคม ซึ่งเงินส่วนนี้เองเราสามารถเช็คเงินสะสมประกันสังคมได้เองผ่านช่องทางออนไลน์ด้วย มาดูกันครับว่าทำยังไง แล้วยอดเงินประกันสังคมนี้ทำอะไรได้บ้าง

Employee Referral Program หรือ โครงการแนะนำพนักงาน คือระบบที่องค์กรใช้เพื่อกระตุ้นให้พนักงานที่ทำงานอยู่แนะนำบุคคลภายนอกที่มีคุณสมบัติที่เหมาะสมเข้ามาทำงานในตำแหน่งที่เปิดรับ โดยทั่วไปโครงการนี้มักมีการมอบรางวัลหรือโบนัสให้กับพนักงานที่แนะนำคนที่ถูกคัดเลือกและรับเข้าทำงานในองค์กรสำเร็จ โครงการแนะนำพนักงานนี้มีข้อดีหลายประการ เช่น การลดต้นทุนในการจ้างงาน เพิ่มคุณภาพของผู้สมัคร และสร้างความผูกพันให้กับพนักงานในองค์กร
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์