กระบวนการจัดทำระบบบริหารคนเก่ง

กระบวนการจัดทำระบบบริหารคนเก่ง



Talent Management System เป็นระบบการ บริหารจัดการคนเก่งหรือบุคลากรผู้มีความสามารถสูง ซึ่งมีประโยชน์หลายด้านในการบริหารคนให้มีความสามารถ และเป็นกำลังสำคัญขององค์กรที่จะสร้างผลงานและความสำเร็จให้กับธุรกิจได้ อย่างต่อเนื่อง ระบบการจัดการคนเก่งนี้ยังช่วยสร้างความพึงพอใจให้กับคนเก่งที่มีความสามารถสูง เพื่อให้มีความจงรักภักดีผูกพันกับองค์กร และช่วยลดอัตราการลาออกของบุคลากรที่มีความสามารถสูง เพราะมีระบบช่วยเหลือให้เขาเก่งขึ้น ทำงานดีขึ้น เจริญเติบโตก้าวหน้ามากยิ่งขึ้นในสายอาชีพของเขา นั่นจะทำให้องค์กรมีความสามารถในการแข่งขันที่ยั่งยืนในระยะยาว

สำหรับขั้นตอนและกิจกรรมในโครงการจัดทำระบบบริหารคนเก่ง (Talent Management) มีกระบวนการดังต่อไปนี้

1. กำหนดกลยุทธ์การบริหารบุคลากรผู้มีความสามารถสูงขององค์กร โดยการกำหนดความหมาย นิยามคำจำกัดความของ talent ให้ชัดเจน รวมทั้งผลการปฏิบัติงาน ศักยภาพ และสมรรถนะ ของบุคลากรผู้มีความสามารถสูง  

2. ออกแบบและจัดหาเครื่องมือสำหรับวิเคราะห์และประเมินบุคลากรผู้มีความสามารถสูง เพื่อระบุได้ว่าใครจะเป็นผู้ที่มีความสามารถสูงหรือ talent ในองค์กร  

3. เลือกกลุ่มเป้าหมายในตำแหน่งที่ต้องการ จะประเมิน เช่น กลุ่มบุคลากรที่มีบทบาทในการขับเคลื่อนกลยุทธ์ขององค์กร หัวหน้างาน ผู้จัดการ ผู้เชี่ยวชาญ เป็นต้น 

4. จัดตั้งคณะกรรมการเพื่อเป็นผู้ประเมิน (talent committee)

5. จัดอบรมคณะกรรมการเพื่อให้มีความเข้าใจกลยุทธ์การบริหารบุคลากรผู้มีความสามารถสูง รวมทั้งวิธีการใช้เครื่องมือในการประเมิน  

6. รวบรวมและเรียบเรียงผลการประเมินเพื่อจัดทำรายชื่อบุคลากรผู้มีความสามารถสูง (talent pool)

7. ออกแบบและจัดทำหลักสูตรเพื่อพัฒนาบุคลากรผู้มีความสามารถสูงตามหลักสมรรถนะ (competency-based development)

8. จัดทำแผนพัฒนาบุคลากรรายบุคคล (IDP: Individual Development Plan)

9. ออกแบบและวางระบบการจ่ายค่าตอบแทนและการให้รางวัลบุคลากรผู้มีความสามารถสูง โดยใช้ข้อมูลการสำรวจ employee engagement survey มาประกอบการพิจารณา  

10. วางแผนรักษาบุคลากรผู้มีความสามารถสูง (talent retention)



บทความโดย : humanrevod.wordpress.com
ประกาศบทความโดย : www.prosofthrmi.com
 5965
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

การพาพนักงานไป Outing ถือเป็นหนึ่งในสวัสดิการหลัก ๆ ที่หลายองค์กรมี เพื่อดึงดูดพนักงานทั้งภายในและภายนอกให้อยากมาร่วมงานกันด้วย โดยวัตถุประสงค์หลักของการไป Outing ก็เพื่อเสริมสร้างความสามัคคี และเพื่อตอบแทนพนักงาน ให้ได้ผ่อนคลายจากการทำงานประจำวันอันตึงเครียดมายาวนาน โดยที่บริษัทจะดูแลเรื่องค่าใช้จ่ายไว้ทั้งหมด
ระบบลงเวลาเข้า-ออกของพนักงาน คือ ระบบที่ช่วยในการบันทึกเวลาการทำงานของพนักงาน ผ่านอุปกรณ์ดิจิทัลต่างๆ ตั้งแต่ เครื่องสแกนลายนิ้วมือ (Finger Scanner), สมาร์ทโฟน (Smart Phone), แท็บเล็ต (Tablet), ตลอดจนอุปกรณ์ต่างๆ ที่สามารถยืนยันตัวตนผู้ใช้งานได้อย่างชัดเจน ปลอดภัย และเชื่อมต่อสู่ระบบข้อมูลกลางอย่างระบบคลาวด์ (Cloud System) ได้ โดยจะระบุเวลาที่พนักงานเข้ามาทำงานและออกจากงานในแต่ละวัน ดูสถิติ ขาด ลา มาสาย ระบบนี้มีบทบาทสำคัญในการบริหารจัดการเวลาและการทำงานของพนักงาน ช่วยให้ฝ่ายทรัพยากรบุคคล (HR) และฝ่ายบริหารสามารถติดตามการทำงานของพนักงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงใช้ข้อมูลที่บันทึกเพื่อคำนวณเงินเดือน สวัสดิการ ค่าล่วงเวลา และการจัดทำรายงานการเข้างานได้อย่างแม่นยำ ตอบโจทย์การทำงานในธุรกิจยุคใหม่ได้อย่างสมบูรณ์แบบ
มนุษย์เงินเดือนบางคนอาจจะไม่รู้ด้วยซ้ำว่า ตัวเองมีสิทธิที่จะเรียกร้อง ค่าชดเชยจากนายจ้าง อันนี้เป็นสิทธิ์ของเรานะ พี่ทุยบอกเลยว่า เงินค่าชดเชย เป็นสิ่งที่นายจ้าง ต้องจ่าย ให้กับพนักงานหรือลูกจ้าง เพื่อช่วยเหลือในกรณีให้ออกจากงาน ซึ่งไม่ได้มาจากทำความผิดของพนักงานหรือลูกจ้าง แต่อาจจะด้วยเหตุผลบางอย่างที่จำเป็นต้องลดจำนวนพนักงานลง
ในแต่ละเดือนที่เราจ่ายเงินสมทบประกันสังคมนั้น ก็จะมีเงินส่วนหนึ่งที่จัดเก็บเข้าเป็นเงินสะสมประกันสังคม ซึ่งเงินส่วนนี้เองเราสามารถเช็คเงินสะสมประกันสังคมได้เองผ่านช่องทางออนไลน์ด้วย มาดูกันครับว่าทำยังไง แล้วยอดเงินประกันสังคมนี้ทำอะไรได้บ้าง

Employee Referral Program หรือ โครงการแนะนำพนักงาน คือระบบที่องค์กรใช้เพื่อกระตุ้นให้พนักงานที่ทำงานอยู่แนะนำบุคคลภายนอกที่มีคุณสมบัติที่เหมาะสมเข้ามาทำงานในตำแหน่งที่เปิดรับ โดยทั่วไปโครงการนี้มักมีการมอบรางวัลหรือโบนัสให้กับพนักงานที่แนะนำคนที่ถูกคัดเลือกและรับเข้าทำงานในองค์กรสำเร็จ โครงการแนะนำพนักงานนี้มีข้อดีหลายประการ เช่น การลดต้นทุนในการจ้างงาน เพิ่มคุณภาพของผู้สมัคร และสร้างความผูกพันให้กับพนักงานในองค์กร
การจัดกะพนักงาน คือ กระบวนการวางแผนและจัดระเบียบเวลาทำงานของพนักงานให้เหมาะสมกับความต้องการขององค์กรในแต่ละช่วงเวลา โดยแบ่งเวลาทำงานออกเป็นหลายช่วง (หรือหลายกะ) เพื่อให้มีพนักงานเพียงพอในการปฏิบัติงานตลอดเวลา เช่น ในกรณีขององค์กรที่เปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมงหรือมีความต้องการกำลังคนที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละช่วงเวลา
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์