New Feature ประจำเดือนกันยายน 2567
ปรับเงื่อนไขการคำนวณเงินยกเว้นชดเชยออกจากงาน
ตามประกาศกฎกระทรวง
เนื่องจากมีการประกาศปรับเงื่อนไขการคำนวณเงินยกเว้นชดเชยออกจากงาน ดังนั้นจึงมีการปรับโปรแกรมให้รองรับการคำนวณตามประกาศกฎกระทรวง โดยมีรายละเอียดดังนี้
• พนักงานอายุงาน 5-19 ปี
สามารถหักยกเว้นเงินชดเชยตามกฎหมายแรงงาน ไม่เกิน ยอดค่าจ้างย้อนหลัง 300 วัน หรือสูงสุดไม่เกิน 300,000 บาท
• พนักงานอายุงาน 20 ปีขึ้นไป
สามารถหักยกเว้นเงินชดเชยตามกฎหมายแรงงาน ไม่เกิน ยอดค่าจ้างย้อนหลัง 400 วัน หรือสูงสุดไม่เกิน 600,000 บาท
ตัวอย่างที่ 1
พนักงานอายุงาน 9 ปี
มียอดค่าจ้างย้อนหลัง 300 วันเท่ากับ 267,918.83 บาท
ได้รับเงินชดเชยตามกฎหมายแรงงาน 270,000.00 บาท
ประมวลผลงวดออกจากงาน จะสามารถหักยกเว้นเงินชดเชยตามกฎหมายแรงงาน ได้ 267,918.83 บาท
(หากค่าจ้างยอดหลัง 300 วัน เกิน 300,000 บาท จะสามารถหักยกเว้นส่วนนี้ได้สูงสุด 300,000 บาท)
ตัวอย่างที่ 2
พนักงานอายุงาน 21 ปี
มียอดค่าจ้างย้อนหลัง 400 วันเท่ากับ 332,081.57 บาท
ได้รับเงินชดเชยตามกฎหมายแรงงาน 350,000.00 บาท
ประมวลผลงวดออกจากงาน จะสามารถหักยกเว้นเงินชดเชยตามกฎหมายแรงงาน ได้ 332,081.57บาท
(หากค่าจ้างยอดหลัง 400 วัน เกิน 600,000 บาท จะสามารถหักยกเว้นส่วนนี้ได้สูงสุด 600,000 บาท)
เพิ่มให้ใบรับเงินเดือน (Pay Slip) แสดงข้อมูลจำนวน
หลังชื่อรายได้-รายหัก ที่คำนวณแบบอัตราส่วน
เดิม ใบรับเงินเดือน (Pay Slip) มีการแสดงรายการยอดรายได้รายหักในแต่ละเดือน โดยไม่ได้ระบุว่าเป็นการจ่ายหรือหักจำนวนเท่าใด จึงเท่ากับยอดรายได้รายหักที่แสดง
ดังนั้นจึงมีการปรับให้แสดงข้อมูลจำนวนที่จ่ายหรือหัก หลังชื่อรายได้รายหัก ที่มีการคำนวณแบบอัตราส่วน ดังตัวอย่างต่อไปนี้
จากรูปตัวอย่าง จะแสดงให้เห็นว่า พนักงานมีรายได้รายหัก ที่คำนวณแบบอัตราส่วน ดังนี้
1. รายได้ค่าล่วงเวลา 1 เท่า จำนวน 1 ชั่วโมง 30 นาที รวมเป็นยอดเงิน 187.50 บาท
2. รายได้ค่าล่วงเวลา 1.5 เท่า จำนวน 17 ชั่วโมง รวมเป็นยอดเงิน 3,187.50 บาท
3. รายหักมาสาย-ออกก่อน จำนวน 2 ชั่วโมง รวมเป็นยอดเงิน 250.00 บาท
4. รายหักขาดงาน จำนวน 74 ชั่วโมง รวมเป็นยอดเงิน 9,250 บาท
5. รายหักค่าหักลงโทษ จำนวน 1 วัน รวมเป็นยอดเงิน 1,000 บาท
หมายเหตุ ::
- การปรับการแสดงดังกล่าวมีผลต่อ E-Pay Slip บนระบบ ESS Pro เช่นกันค่ะ