ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2567

ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2567


New Feature ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2567

Time Attendance > บันทึกจำนวนวันอนุญาตลาพนักงาน > เพิ่มหน้าจอ More Action : Import บันทึกจำนวนวันอนุญาตลา

 

สามารถ Create Template : Import บันทึกจำนวนวันอนุญาตลา ได้จาก

1. Help > Create Template > Import บันทึกจำนวนวันอนุญาตลา

2. Time Attendance > บันทึกจำนวนวันอนุญาตลาพนักงาน > More Action : Import บันทึกจำนวนวัน อนุญาตลา

ตัวอย่าง ไฟล์ Import บันทึกจำนวนวันอนุญาตลา

 




New Feature ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2567

Organization > บันทึกข้อกำหนดองค์กร > เพิ่มตัวเลือกกำหนดชั่วโมงทำงานตามการทำงาน สำหรับประมวลผลขาด ลา มาสาย และค่าล่วงเวลา

1. กำหนดชั่วโมงทำงาน สำหรับประมวลผลขาด-ลา-มาสาย

     - ชั่วโมงทำงานตามตารางการทำงาน

2. กำหนดชั่วโมงทำงาน สำหรับประมวลผลค่าล่วงเวลา

     - ชั่วโมงทำงานตามตารางการทำงาน



ตัวอย่าง

พนักงาน : เงินเดือน 21,000 บาท, กะงานติดตัว 7 ชั่วโมง

มีตารางการทำงาน ดังนี้
- วันที่ 1-15 : กะงานมีเวลาทำงานรวม 8 ชั่วโมง
- วันที่ 16-31 : กะงานมีเวลาทำงานรวม 9 ชั่วโมง

มีข้อมูลจากการประมวลผลเวลา ดังนี้

1.ขาดงาน

- วันที่ 1-15 : ขาดงาน 2 วัน 7 ชั่วโมง
- วันที่ 16-31 : ขาดงาน 3 วัน

หากทั้ง 2 กะงาน กำหนดรหัสรายหักตัวเดียวกันและคำนวณแบบอัตราส่วนต่อวัน ข้อมูลจะถูกรวมไว้ด้วยกัน เนื่องจากหักต่อวัน วันละ 700 บาท เท่ากัน
รวมขาดงาน 5 วัน 7 ชั่วโมง คิดเป็นจำนวน 5+(7/8)=5.875*700 = 4,112.50 บาท




หากทั้ง 2 กะงาน กำหนดรหัสรายหักตัวเดียวกันและคำนวณแบบอัตราส่วนต่อชั่วโมง ข้อมูลจะถูกแยกเป็น 2 รายการ
เนื่องจากอัตราต่อชั่วโมงไม่เท่ากัน
- วันที่ 1-15 : ขาดงาน 23 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 87.5 = 2,012.5
- วันที่ 16-31 : ขาดงาน 27 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 77.7778 = 2,100



2.ลา
วันที่ 1-15 :
- ลา แบบหักเมื่อลา : 1 วัน 1 ชั่วโมง
- ลา แบบหักเมื่อลาเกิน 1 วัน : 1 วัน 6 ชั่วโมง

วันที่ 16-31 :
- ลา แบบหักเมื่อลา : 1 วัน
- ลา แบบหักเมื่อลาเกิน 1 วัน : 5 ชั่วโมง

หากลาทั้ง 2 ประเภท กำหนดรหัสรายหักตัวเดียวกันและคำนวณแบบอัตราส่วนต่อวัน ข้อมูลจะถูกรวมไว้ด้วยกัน
เนื่องจากหักต่อวัน วันละ 700 บาท เท่ากัน

โดยคำนวณจำนวน ดังนี้
ลา แบบหักเมื่อลา ในวันที่ 1-15 : 1 วัน 1 ชั่วโมง คิดเป็นจำนวน 1+(1/8) = 1.125
ลา แบบหักเมื่อลา ในวันที่ 16-31 : 1 วัน คิดเป็นจำนวน 1
ลา แบบหักเมื่อลาเกิน ในวันที่ 1-31 : 1 วัน 4 ชั่วโมง คิดเป็นจำนวน 1+(4/7) = 1.5714
(เนื่องจากเงื่อนไขหักเมื่อลาเกิน ดูชั่วโมงทำงานต่อวันจากกะงานติดตัว)
รวมจำนวน 3.6964*700 = 2,587.48


หากลาทั้ง 2 ประเภท กำหนดรหัสรายหักตัวเดียวกันและคำนวณแบบอัตราส่วนต่อชั่วโมง ข้อมูลจะถูกแยกเป็น 3 รายการ
เนื่องจากอัตราต่อชั่วโมงไม่เท่ากัน

โดยคำนวณจำนวน ดังนี้
ลา แบบหักเมื่อลา ในวันที่ 1-15 : 9 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 87.5 = 787.5
ลา แบบหักเมื่อลา ในวันที่ 16-31 : 9 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 77.7778 = 700
ลา แบบหักเมื่อลาเกิน ในวันที่ 1-31 : 11 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 100 = 1,100
(เนื่องจากเงื่อนไขหักเมื่อลาเกิน ดูชั่วโมงทำงานต่อวันจากกะงานติดตัว)





3.มาสาย

คำนวณเช่นเดียวกับตัวอย่าง การคำนวณหักขาดงาน และหักลาข้างต้น คือ
หากรหัสรายหัก เป็นอัตราส่วนต่อวัน จะคำนวณจำนวนของแต่ละกะงาน ก่อนนำมารวมกันในรายการเดียว
หากรหัสรายหัก เป็นอัตราส่วนต่อชั่วโมง จะคำนวณแยกรายการ ตามจำนวนชั่วโมงกะงาน

4.ทำงานล่วงเวลา
คำนวณเช่นเดียวกับตัวอย่าง การคำนวณหักขาดงาน และหักลาข้างต้น คือ
หากรหัสรายหัก เป็นอัตราส่วนต่อวัน จะคำนวณจำนวนของแต่ละกะงาน ก่อนนำมารวมกันในรายการเดียว
หากรหัสรายหัก เป็นอัตราส่วนต่อชั่วโมง จะคำนวณแยกรายการ ตามจำนวนชั่วโมงกะงาน

 

 

 


 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

     

    New Feature ESS Pro ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2567

    Report > เพิ่ม รายงานจำนวนพนักงานที่มาทำงาน เพื่อใช้ตรวจสอบว่าในวันนั้น ๆมีพนักงานที่มาทำงานจำนวนเท่าไหร่





    การนับพนักงานที่มาทำงานในวันนั้น ๆ จะมีการนับดังนี้

    1. จากตารางการทำงานในวันนั้นว่ามีพนักงานทำการลงเวลามาทำงานเท่าไหร่
    2. พนักงานที่มีการยกเว้นรูดบัตรจะถูกนับว่ามาทำงานปกติ

    โดยจะมีประเภทรายงานให้เลือกในการแสดงข้อมูล 4 ประเภทรายงาน



    ตัวอย่างรายงาน (เรียงตามหน่วยงานแบบสรุป)



    ตัวอย่างรายงาน (เรียงตามหน่วยงาน แสดงพนักงานไม่มาทำงาน)



    ตัวอย่างรายงาน (เรียงตามกะงาน แบบสรุป)



    ตัวอย่างรายงาน (เรียงตามกะงาน แสดงพนักงานไม่มาทำงาน)

     

     444
    ผู้เข้าชม
    สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์