ความรู้เกี่ยวกับการเสียภาษีบุคคลธรรมดา

ความรู้เกี่ยวกับการเสียภาษีบุคคลธรรมดา


ภาษีอากร เป็นแหล่งรายได้สำคัญของรัฐบาล สามารถจำแนกได้ 2 ประเภท ตามลักษณะการชำระภาษี คือ ภาษีทางอ้อมและภาษีทางตรง

ภาษีทางอ้อมได้แก่ ภาษีมูลค่าเพิ่ม อากรแสตมป์ภาษีธุรกิจเฉพาะ ภาษีสรรพสามิต สามารถผลักภาระภาษีให้ผู้อื่นได้

ส่วนภาษีทางตรงเป็นภาษีที่มีความสำคัญในการกระจายรายได้ เพราะไม่สามารถผลักภาระภาให้ผู้อื่นได้ ต้องเสียภาษีตามรายได้ที่ได้รับ ภาษีทางตรงได้แก่ ภาษีเงินได้นิดบุคคล ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หน่วยงานที่มีหน้าที่ในการจัดเก็บภาษี ได้แก่ กรมสรรพากร กรมศุลกากร และกรมสรรพสามิต

ซึ่งกรมสรรพากรเป็นหน่วยงานที่มีบทบาทในการจัดเก็บภาษีสูงสุด เพราะรับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีเงินได้ที่มีฐานในการจัดเก็บจากรายได้ของประชาชนสำหรับภาษีเงินได้นิติบุคคลนั้น จะใช้วิธีการชำระภาษีโดยคำนวณจากฐานกำไรสุทธิก่อนหักภาษี คูนด้วยอัตราภาษีร้อยละ 20 ซึ่งนิติบุคคลก่นที่จะชำระภาษี ต้องผ่านกระบวนการจัดทำงบการเงินโดยสำนักงานบัญชี ซึ่งมีความรู้ความเข้าใจด้านภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นอย่างดีส่วนการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในปัจจุบันนั้น ใช้การคำนวณจากฐานเงินได้สุทธิ โดยมีวิธีการจัดเก็บภาษีโดยใช้อัตราก้าวหน้าดังนั้นความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจึงมีความสำคัญต่อระบบการจัดเก็บภาษีเป็นอย่างมาก เพราะมีผลต่อผู้มีเงินได้ทุกคนในวงกว้าง รวมไปถึง ผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง ทำความเข้าใจเรื่องการยื่นแบบแสคงรายการชำระภาษี มีบริการถามตอบอัตโนมัติทางโทรศัพท์และอินเตอร์เน็ตแล้ว แต่กฎหมายและข้อกำหนดต่างๆเกี่ยวกับภาษีอากร มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ จึงทำให้การสื่อสารยังไม่ครบถ้วนและครอบคลุม เกิดความเข้าใจคาดเคลื่อน ส่งผลต่อการนำมาใช้วางแผนภาษีของประชาชน

          จากข้อมูลข้างต้นผู้วิจัย จึงมีความสนใจที่จะศึกษาความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาอันมีผลต่อการจัดเก็บภาษีของประชาชนในอำเภอเมืองตาก จังหวัดตากเพื่อให้ใด้ข้อมูลที่เพียงพอ เป็นแนวทางสำหรับการให้ความรู้ด้านภาษีอากร อันก่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องแก่ประชาชนผู้มีเงินได้ นำมาซึ่งประโยชน์ที่จะเกิดขึ้น
 
          ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามประมวลรัษฎากร เป็นภาษีทางตรงประเภทหนึ่งที่สำคัญมากเพราะเป็นแหล่งรายได้สำคัญของรัฐบาล และเป็นเครื่องมือสำคัญของรัฐบาลในการกระจายรายได้ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเป็นภาษีที่เรียกเก็บจากบุคคลธรรมดา ที่มีรายได้ประเภทใดประเภทหนึ่งนั่นเองฐานภาษีของภาษีนี้ รียกว่า เงินได้สุทธิ ซึ่งคำนวณได้จากการนำเงินได้พึงประเมินตลอดทั้งปี ภาษี (ปฏิทิน) ไปหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนต่าง ๆ ที่กฎหมายให้หัก เมื่อได้จำนวนเงินได้สุทธิเท่าใดแล้ว จึงคำนวณภาษีจากเงินได้สุทธิตามอัตราและวิธีการที่กฎหมายกำหนด ถ้ามีเงินได้ไม่ถึงเกณฑ์ที่กำหนดหรือไม่มีเงินได้สุทธิเหลือ ก็ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาทั้งนี้ เว้นแต่ในกรณีที่กฎหมายเป็นอย่างอื่นสำหรับวิธีการเสียภาชี โดยทั่วไปกฎหมายให้ผู้มีเงินได้ในปีภา (ปีปฏิทิน) ที่ถ่วงมาแล้ว มีหน้าที่ขึ้นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมประเมินตนเอง ณ ที่ว่าการอำเภอหรือสถานที่อื่นที่กฎหมายกำหนด ภายในวันที่ 1 มกราคม ถึงวันที่ 31 มีนาคม ของปีถัดจากปีที่มีเงินได้(ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสิ้นปี) นอกจากผู้มีเงินได้จะต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเป็นราชปีแล้ว บางกรณีกฎหมายยังกำหนดให้ผู้มีเงินได้ต้องหักภาษีก่อนถึงกำหนดเวลาด้วยลักษณะของกำไรที่มีคุณภาพกำไรที่มีคุณภาพควรพิจารณาว่ามีลักษณะดังต่อไปนี้
          1. กำไรที่เกิดจากหลักการบัญชีแบบระมัดระวัง (Conservative Accounting)
          2. กำไรที่มีเสถียรภาพหรือความมั่นคงอย่างยั่งยืน (Sustainable) สูง ไม่ผันผวนขึ้นลงอย่างมากไป
จากเส้นแนวโน้มกำไรในอดีต (Earnings Trend Line)
          3. กำไรที่เป็นเงินสด (Cash Earnings) สามารถนำไปจัดสรรจ่ายเป็นเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นได้ (Distributable Cash)
          4. กำไรที่เกิดจากการดำเนินงานหลักตามปกติของกิจการอย่างต่อเนื่อง รายการบัญชีที่เข้าใจง่าย และเกิดขึ้นเป็นประจำ (Recurring Items)
          5. กำไรที่สะท้อนผลการดำเนินงานที่เกิดขึ้นตรงตามความเป็นจริง และสามารถใช้คาดคะเนกำไรในอนาคตได้ (Predictable Earnings)
 
          ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือ ภาษีที่จัดเก็บจากบุคคลทั่วไป หรือจากหน่วยภาษีที่มีลักษณะพิเศษตามที่กฎหมายกำหนด โดยปกติจัดเก็บเป็นปี รายได้ที่เกิดขึ้นในปีใดๆ ผู้มีรายได้มีหน้าที่ต้องนำไปแสดงรายการตนเองตามแบบแสดงรายการภาษีที่กำหนดภายในเดือนมกราคมถึงมีนาคมของปีถัดไป สำหรับผู้มีเงินได้บางกรณีกฎหมายยังกำหนดให้ยื่นแบบฯเสียภาษีตอนครึ่งปีสำหรับรายได้ที่เกิดขึ้นจริงในช่วงครึ่งปีแรก เพื่อเป็นการบรรเทาภาระภาษีที่ต้องชำระและเงินได้บางกรณีกฎหมายกำหนดให้ผู้จ่ายทำหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายจากเงินได้ที่จ่ายบางส่วนเพื่อให้มีการทยอยชำระภาษีขณะที่มีเงินได้เกิดขึ้นอีกด้วย
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
           1. บุคคลธรรมดา คือ ผู้ที่มีเงินได้ประเภทต่างๆ ตามประมวลกฎหมายรัษฎากรกำหนดไว้ต้องเสียภาษีเงินได้ ไม่ว่าจะเป็น ทารกผู้เยาว์ หรือผู้ที่ศาลสั่งให้เป็นบุคคลไรความสามารถ โดยผู้มีเงินได้จะต้องมีแหล่งที่อยู่ในประเทศไทย หรืออยู่ในประเทศไทยในปีภาษีไม่น้อยกว่า 180  วัน
           2. ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
               2.1ห้างหุ้นส่วนสามัญ หมายถึง ห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล มีบุคคลตั้งแต่ 2   คนขึ้นไป ตกลงเข้าหุ้นกันเพื่อร่วมกันทำธุรกิจตามวัตถุประสงค์จะแบ่งปันกำไรอันพึงจะได้
               2.2 คณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคล หมายถึง บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปตกลงทำกิจการร่วมกัน โดยไม่มีวัตถุประสงค์ที่แบ่งผลกำไรอันพึงจะได้
           3. ผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษ หมายถึง บุคคลธรรมดาที่มีเงินได้ถึงเกณฑ์ต้องเสียภาษี แต่ได้ถึงความตายระหว่างปีภาษีก่อนที่จะยื่น แบบแสดงรายการเสียภาษีแม้ว่าจะสิ้นสภาพบุคคลไปแล้ว แต่กฎหมายกำหนดให้เป็นหน้าที่ของผู้จัดการมรดกทายาท หรือผู้ครองทรัพย์มรดก มีหน้าที่ไปยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีแทน
           4. กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง หมายถึง กองมรดกของผู้ตายที่ยังไม่ได้แบ่งให้กับทายาทในปีภาษีถัดจากปีที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย หากกองมรดกดังกล่าวมีเงินได้ถึงเกณฑ์ต้องเสียภาษีผู้จัดการมรดก ทายาท หรือผู้ครอบครองมรดก มีหน้าที่ในการยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษี
           5. วิสาหกิจชุมชน ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนเฉพาะที่เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลเมื่อมีเงินได้เกิดขึ้นแล้ว ผู้มีหน้าที่เสียภาษีจะต้องทำคือ
               5.1 ขอมีเลข และบัตรประจำตัวผู้เสียภาษี ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่มีเงินได้เกิดขึ้น ยื่นคำขอได้ที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่
               5.2 ยื่นแบบแสดงรายการ ปกติปีละ 1 ครั้ง เงินได้ของปีใด ก็ยื่นแบบแสดงรายการภายในวันที่ 31 มีนาคม ของปีถัดไป เว้นแต่ เงินได้ บางลักษณะ เช่น การให้เช่า ทรัพย์สิน เงินได้จาก วิชาชีพอิสระเงินได้จาก การรับเหมา เงินได้ จากธุรกิจ การพาณิชย์ เป็นต้น จะต้องยื่นแบบแสดงรายการตอนกลางปี สำหรับเงินได้ ที่เกิดขึ้นใน 6 เดือนแรก ภายในเดือนกันยายน ของทุกปีการยื่นแบบแสดงรายการภาษีบุคคลธรรมคาครึ่งปี บางกรณีก็กำหนดผู้จ่ายเงินได้ทำการหักภาษีเงินได้บุคคลธรรมคา ณ ที่ง่าย นำส่งต่อกรมสรรพากร และบางกรณี ก็กำหนดให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินเรียกเก็บภาษีก่อนถึงกำหนดเวลาได้ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมคาครึ่งปี ภาษีเงินได้บุคคธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย ตลอดจนภาษีเงินได้บุคคลธรรมคาที่ประเมินให้ชำระล่วงหน้านี้ ถือเป็นเครดิตในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสิ้นปีดังนั้น ในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแต่ละปี จึงอาจมีกรณีเสียภาษีเพิ่มเติม หรือบางกรณีอาจได้รับภาษีคืนก็ได้ เช่น ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายเกินกว่าที่จะต้องเสีย เป็นต้น ผู้ฝ่าฝืนไม่เสียภาษีอาจถูกประเมินให้เสียภาษีพร้อมด้วยเบี้ยปรับและหรือเงินเพิ่ม ซึ่งอาจถูกคำเนินการอาขัดหรือยึดทรัพย์สินขายทอดตลาดนำเงินไปชำระภาษี ตลอดจนอาจถูกคำเนินคดีอาญาได้
 
          กรมสรรพากร คือ หน่วยงานภาครัฐหน่วยงานหนึ่ง สังกัดกระทรวงการคลัง มีภารกิจเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษี การเสนอแนะ การใช้นโขบายทางภาษีอากรเพื่อให้ได้ภาษีตามเป้าหมายอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม เป็นกลไกลในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ให้เกิดความสมัครใจในการเสียภาษี ภายใด้วิสัยทัศน์ในปัจจุบันคือ จัดเก็บภาษีทันสมัย ใส่ใจบริการ ยึดมั่นธรรมาภิบาล เพื่อพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมไทย กรอบการบริหารงานภายใต้ยุทธศาสตร์กรมสรรพากร 5 ปี(พ.ศ. 2559 - 2563) และ แผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 - 2560 ขับเคลื่อนด้วย3 ยุทธศาสตร์ ดังนี้ ยุทธศาสตร์ที่
          1. รักษาเสถียรภาพทางรายได้ภาษีอย่างยั่งยืน มีเป้าประสงค์ คือการเสริมสร้าง การปฏิบัติทางภาษีให้ถูกต้อง ทั้งในด้านการบริหารจัดเก็บภาษี การเสริมสร้างความสมัครใจ และการปฏิบัติ ทางภาษีของผู้ประกอบการให้ถูกต้อง ยุทธศาสตร์ที่
          2. พัฒนาระบบการบริหารและการบริการเพื่อเสริมสร้างการแข่งขันทางเศรษฐกิจ และสังคม มีเป้าประสงค์ คือ การเสริมสร้างศักยภาพการแข่งขันของประเทศ การลดต้นทุนในการปฏิบัติ ทางภาษีและต้นทุนในการจัดเก็บภาษี และการเสริมสร้างความมั่นคงปลอดภัยและเสถียรภาพของระบบ ICT ยุทธศาสตร์
          3. เสริมสร้างธรรมาภิบาลและสภาพแวดล้อมการทำงานในองค์กร มีเป้าประสงค์ คือ การเสริมสร้างสภาพแวดล้อมการทำงาน การมีธรรมาภิบาลในองค์กร มีค่านิยม และวัฒนธรรมองค์กร ที่เข้มแข็งสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ดี มีความรู้ ความสามารถ มีความเชี่ยวชาญในงานที่รับผิดชอบ และมีความสุข (ประสงค์,2559) อีกทั้ง มีการทบทวนงานวิจัยคังต่อไปนี้ ศิริวัฒน์ เปลี่ยนบางยาง (2558 งานวิจัยนี้ ศึกษา ประสิทธิผลการให้บริการสาธารณะอิเล็กทรอนิกส์ของการยื่นแบบและชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประสิทธิผลการให้บริการสาธารณะอิเล็กทรอนิกส์ของการยื่นแบบและชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ด้านความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ ทั้ง ง ค้าน ประกอบด้วย การได้รับบริการอย่างเสมอภาค การให้บริการที่ตรงเวลาการให้บริการอย่างเพียงพอ การให้บริการอย่างต่อเนื่อง และการให้บริการอย่างก้าวหน้า พบว่า มีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมาก และปัจจัยคุณภาพบริการอิเล็กทรอนิกส์ และปัจจัยการยอมรับบริการอิเล็กทรอนิกส์ มีความสัมพันธ์ กับประสิทธิผลการให้บริการสาธารณะอิเล็กทรอนิกส์
          แบบและชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดานฤมล ชินโคตรพงศ์ (2560) ศึกษาเกี่ยวกับ กระบวนการตัดสินใจลงทุนเพื่อลดหย่อนภาษีของนักลงทุนรายย่อยในเขตกรุงเทพมหานครนักลงทุนรายย่อยในเขตกรุงเทพมหานครนักลงทุนรายย่อยในเขตกรุงเทพมหานครที่มีเพศ อายุ รายได้ วัตถุประสงค์ในการลงทุน และบุคคลที่มีอิทธิพลต่อการลงทุนต่างกัน ทำให้กระบวนการตัดสินใจเพื่อการลดหย่อนภาษีต่างกัน และปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านการส่งเสริมการขาย ด้านบุคคล ด้านการสร้างและนำเสนอลักษณะทางกายภาพ และด้านกระบวนการ มีผลต่อกระบวนการตัดสินใจลงทุนเพื่อการลดหย่อนภาษี ของนักลงทุนรายย่อยในเขตกรุงเทพมหานกรวราพรเปรมพาณิชย์นุกูล (2561) ศึกษาผลกระทบของความรอบรู้ในการวางแผนภาษีที่มีต่อประสิทธิภาพ การวางแผนภาษี และเพื่อทดสอบผลกระทบของการสนับสนุนจากฝ่ายบริหารที่มีต่อความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ในการวางแผนภาษีกับประสิทธิภาพการวางแผนภาษีของผู้บริหารฝ่ายบัญชีธุรกิจ SMEs ในประเทศไทย มีข้ออเสนอแนะว่า ดังนั้น ธุรกิจ SMEs ในประเทศไทย ควรสนับสนุนให้บุคลากรทุกฝ่าข โคยเฉพาะอย่างยิ่ง ฝ่ายบัญชีให้มีความรู้และมีความเชี่ยวชาญด้านกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังกับเกี่ยวกับภาษีอากร เพื่อให้การวางแผนภาษีของธุรกิจเป็นไปอย่างถูกต้อง ครบถ้วนและสามารถใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีได้สูงสุดอย่างมีประสิทธิภาชิดตะวัน ชนะกุล (2561) งานวิจัยนี้ศึกษาถึงภาระภาษีและการเติบโตของเศรษฐกิจไทยโดยการศึกษาใช้ข้อมูลรายไตรมาสของประเทศไทยระหว่างปี พ.ศ.2536-2559 พบว่า การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทยมีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้ามกับ ภาระภาษีที่เก็บจากแรงงาน ในขณะที่ภาระภาษีที่เก็บจากการบริโภคและภาระภาษีที่ เก็บจากทุน ไม่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ

เงินได้อันเป็นเหตุให้ต้องนำไปรวมคำนวณภาษี
แหล่งที่มาของเงินได้ ซึ่งแบ่งเป็นเงินได้จากแหล่งในประเทศและนอกประเทศ เงินได้จากแหล่งต่างๆนี้จะต้องนำไปรวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือไม่ ให้พิจารณา ดังนี้
1. เงินได้เกิดจากแหล่งในประเทศ หมายถึง เงินได้ที่เกิดขึ้น หรือเป็นผลสืบเนื่องจากมี
          1.1หน้าที่งานที่ทำในประเทศไทย หรือ
          1.2กิจการที่ทำในประเทศไทย หรือ
          1.3กิจการของนายจ้างในประเทศไทย หรือ
          1.4ทรัพย์สินที่อยู่ในประเทศไทย (ดอกเบี้ย เงินปันผล ค่าเช่า ฯลฯ)
2. เงินได้เกิดจากแหล่งนอกประเทศไทย หมายถึง เงินได้ที่เกิดขึ้นหรือเป็นผลสืบเนื่องจากมี
          2.1หน้าที่งานที่ทำในต่างประเทศ หรือ
          2.2กิจการที่ทำในต่างประเทศ หรือ
          2.3ทรัพย์สินที่อยู่ในต่างประเทศ
 
สรุป
          จากผู้มีเงินได้ประกอบอาชีพแตกต่างกัน มีความยากง่ายหรือต้นทุนที่แตกต่างกัน เพื่อความ เป็นธรรม ในกฎหมายจึงได้แบ่งลักษณะเงินได้(พึงประเมิน) ออกเป็นกลุ่มๆ ตามความเหมาะสมเพื่อกำหนด
 วิธีคำนวณภาษีให้เกิดความเป็นธรรมมากที่สุด คือ
1. เงินได้ประเภทที่ 1 ได้แก่ เงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน ไม่ว่าจะเป็น
          - เงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง โบนัส เบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญ
          - เงินค่าเช่าบ้านที่ได้รับจากนายจ้าง
          - เงินที่คำนวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้าน ซึ่งนายจ้างให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่า
          - เงินที่นายจ้างจ่ายชำระหนี้ใด ๆ ซึ่งลูกจ้างมีหน้าที่ต้องชำระ
          - เงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใด ๆ บรรดาที่ได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน เช่น มูลค่าของการได้รับประทานอาหาร เป็นต้น
2. เงินได้ประเภทที่ 2 ได้แก่ เงินได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการรับทำงานให้ ไม่ว่าจะเป็น
          - ค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า ค่าส่วนลด
          - เงินอุดหนุนในงานที่ทำ เบี้ยประชุม บำเหน็จ โบนัส
          - เงินค่าเช่าบ้านที่ได้รับเนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการรับทำงานให้
          - เงินที่คำนวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้าน ที่ผู้จ่ายเงินได้ให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่า
          - เงินที่ผู้จ่ายเงินได้จ่ายชำระหนี้ใด ๆ ซึ่งผู้มีเงินได้มีหน้าที่ต้องชำระ
          - เงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใด ๆ บรรดาที่ได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำหรือ จากการรับทำงานให้นั้น ไม่ว่าหน้าที่หรือตำแหน่งงาน หรืองานที่รับทำให้นั้นจะเป็นการประจำหรือชั่วคราว
3. เงินได้ประเภทที่ 3 ได้แก่ ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์หรือสิทธิอย่างอื่น เงินปี หรือเงินได้ที่มีลักษณะ เป็นเงินรายปีอันได้มาจากพินัยกรรม นิติกรรมอย่างอื่น หรือคำพิพากษาของศาล
4. เงินได้ประเภทที่ 4 ได้แก่ ดอกเบี้ย เงินปันผล เงินส่วนแบ่งกำไร เงินลดทุน เงินเพิ่มทุน ผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนหุ้น ฯลฯ เป็นต้น
          (ก) ดอกเบี้ยพันธบัตร ดอกเบี้ยเงินฝาก ดอกเบี้ยหุ้นกู้ ดอกเบี้ยตั๋วเงิน ดอกเบี้ยเงินกู้ยืม ไม่ว่าจะมี หลักประกันหรือไม่ ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่อยู่ในบังคับต้องถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายตามกฎหมายว่าด้วยภาษีเงินได้ปิโตรเลียมเฉพาะส่วนที่เหลือจากถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายตามกฎหมายดังกล่าว หรือผลต่างระหว่างราคาไถ่ถอน กับราคาจำหน่ายตั๋วเงินหรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่บริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่น เป็นผู้ออกและจำหน่ายครั้งแรกในราคาต่ำกว่าราคาไถ่ถอน รวมทั้งเงินได้ที่มีลักษณะทำนองเดียวกันกับดอกเบี้ย ผลประโยชน์หรือค่าตอบแทนอื่น ๆ ที่ได้จากการให้กู้ยืมหรือจากสิทธิเรียกร้องในหนี้ทุกชนิดไม่ว่าจะมีหลักประกันหรือไม่ก็ตาม
          (ข) เงินปันผล เงินส่วนแบ่งของกำไร หรือประโยชน์อื่นใดที่ได้จากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล กองทุนรวม หรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายไทยให้จัดตั้งขึ้นโดยเฉพาะสำหรับให้กู้ยืมเงิน ฯลฯ
          (ค) เงินโบนัสที่จ่ายแก่ผู้ถือหุ้น หรือผู้เป็นหุ้นส่วนในบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
          (ง) เงินลดทุนของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเฉพาะส่วนที่จ่ายไม่เกินกว่ากำไรและเงินที่กันไว้รวมกัน
          (จ) เงินเพิ่มทุนของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งตั้งจากกำไรที่ได้มาหรือรับช่วงกันไว้รวมกัน
          (ฉ) ผลประโยชน์ที่ได้จากการที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลควบเข้ากันหรือรับช่วงกันหรือ เลิกกัน ซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าเงินทุน
          (ช) ผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนการเป็นหุ้นส่วนหรือโอนหุ้น หุ้นกู้ พันธบัตร หรือตั๋วเงิน หรือ ตราสารแสดงสิทธิในหนี้ ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่นเป็นผู้ออก ทั้งนี้เฉพาะซึ่งตีราคา เป็นเงินได้เกินกว่าที่ลงทุน
          เงินได้ประเภทที่ 4 ในหลาย ๆ กรณี กฎหมายให้สิทธิที่จะเลือกเสียภาษีโดยวิธีหักภาษี ณ ที่จ่าย แทนการนำไปรวมคำนวณกับเงินได้อื่นตามหลักทั่วไป ซึ่งจะทำให้ผู้มีเงินได้ที่ต้องเสียภาษีตามบัญชีอัตราภาษี ในอัตราที่สูงกว่าอัตราภาษี หัก ณ ที่จ่าย สามารถประหยัดภาษีได้
5. เงินได้ประเภทที่ 5 เงินได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน เงินหรือประโยชน์อย่างอื่น ที่ได้เนื่องจาก
          - การให้เช่าทรัพย์สิน
          - การผิดสัญญาเช่าซื้อทรัพย์สิน
          - การผิดสัญญาซื้อขายเงินผ่อนซึ่งผู้ขายได้รับคืนทรัพย์สินที่ซื้อขายนั้นโดยไม่ต้องคืนเงินหรือประโยชน์ที่ได้รับไว้แล้ว
6.เงินได้ประเภทที่ 6 ได้แก่ เงินได้จากวิชาชีพอิสระ คือวิชากฎหมาย การประกอบโรคศิลป วิศวกรรม สถาปัตยกรรม การบัญชี ประณีตศิลปกรรม หรือวิชาชีพอื่นซึ่งจะได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดชนิดไว้
7.เงินได้ประเภทที่ 7 ได้แก่ เงินได้จากการรับเหมาที่ผู้รับเหมาต้องลงทุนด้วยการจัดหาสัมภาระ ในส่วนสำคัญนอกจากเครื่องมือ
8.เงินได้ประเภทที่ 8 ได้แก่ เงินได้จากการธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่ง การขายอสังหาริมทรัพย์ หรือการอื่นนอกจากที่ระบุไว้ในประเภทที่ 1 ถึงประเภทที่ 7 แล้ว


ขอบคุณบทความจาก : SPU
 905
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

AI (Artificial Intelligence) หรือ ปัญญาประดิษฐ์ คือเทคโนโลยีที่ช่วยให้เครื่องจักรหรือคอมพิวเตอร์มีความสามารถในการคิดและทำงานในลักษณะที่คล้ายกับมนุษย์ โดยการนำข้อมูลจำนวนมากมาประมวลผลและตัดสินใจผ่านกระบวนการที่เรียกว่า การเรียนรู้ของเครื่อง (Machine Learning) หรือ การเรียนรู้เชิงลึก (Deep Learning) แล้ว AI จะเข้ามามีบทบาทในการพัฒนางาน HR อย่างไร
หลายๆ คนอาจจะกำลังลังเลกับเส้นทางชีวิตในการเลือกงานที่เหมาะสมกับตนเอง เพราะปัจจุบันมีหลากหลายอาชีพให้เลือก มีหลายสายงานให้ได้ลองทำ หากใครชอบความเป็นอิสระอาจจะเริ่มจากการทำงานฟรีแลนซ์ หรืออีกหนึ่งรูปแบบที่คนส่วนใหญ่เลือกทำงานกันคือ การทำงานในออฟฟิศ หรือที่เราเรียกกันว่า "มนุษย์เงินเดือน" แน่นอนว่ามันมีทั้งข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันไป แต่บทความนี้เราจะมาบอกข้อดีของการทำงานเป็นมนุษย์เงินเดือน ที่มีข้อดีอยู่มากมายจนบางทีคุณอาจจะคาดไม่ถึงด้วยซ้ำ งั้นเรามาดูกันสิว่าการที่เราเป็นมนุษย์เงินเดือนนั้นมีข้อดีอะไรบ้าง

เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการจัดการบริหารงานบุคคล และพัฒนาบุคลากรในองค์กร โดยใช้ในการประเมินพนักงานตามสองเกณฑ์หลัก ได้แก่ ศักยภาพ (Potential) และผลงาน (Performance) เครื่องมือนี้ช่วยให้ผู้บริหารสามารถระบุพนักงานที่มีศักยภาพสูงและผลงานดี เพื่อพัฒนาและเตรียมพวกเขาให้รับบทบาทที่สำคัญในอนาคต ได้รับการนำเสนอครั้งแรกในปี 1970 โดยบริษัท McKinsey & Company โดยเป็นเครื่องมือสำหรับประเมินศักยภาพและประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน และนับตั้งแต่นั้นมา เครื่องมือนี้ก็ได้รับความนิยมและถูกใช้กันอย่างแพร่หลายโดยองค์กรต่าง ๆ ทั่วโลก
เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการจัดการบริหารงานบุคคล และพัฒนาบุคลากรในองค์กร โดยใช้ในการประเมินพนักงานตามสองเกณฑ์หลัก ได้แก่ ศักยภาพ (Potential) และผลงาน (Performance) เครื่องมือนี้ช่วยให้ผู้บริหารสามารถระบุพนักงานที่มีศักยภาพสูงและผลงานดี เพื่อพัฒนาและเตรียมพวกเขาให้รับบทบาทที่สำคัญในอนาคต ได้รับการนำเสนอครั้งแรกในปี 1970 โดยบริษัท McKinsey & Company โดยเป็นเครื่องมือสำหรับประเมินศักยภาพและประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน และนับตั้งแต่นั้นมา เครื่องมือนี้ก็ได้รับความนิยมและถูกใช้กันอย่างแพร่หลายโดยองค์กรต่าง ๆ ทั่วโลก
Background Checks คือการตรวจสอบประวัติอย่างละเอียด ครอบคลุมทั้งด้านข้อมูลส่วนตัว, ประวัติอาชญากรรม, ภาวะทางการเงิน, การศึกษา ตลอดจนบริบทอื่น ๆ ที่ส่งผลกับตำแหน่งที่สมัครเข้ามา
สวัสดิการที่องค์กรมอบให้แก่พนักงาน กับ สวัสดิการที่พนักงานต้องการ นั้น บางเรื่องก็เป็นสิ่งที่ตรงกัน ส่วนบางเรื่องก็เป็นสิ่งที่ต่างความเห็นกัน ในเรื่องนี้จากทาง Jobthai (jobthai.com) เคยทำบทความนำเสนอผลการสำรวจความคิดเห็นจากคนทำงานทั่วประเทศในประเด็นที่ว่า “สวัสดิการที่คนทำงานต้องการจากองค์กร” ซึ่งเป็นการทำผลสำรวจจากคนทำงานที่เป็นพนักงานทั่วไปจำนวน 7,420 คน ทั่วประเทศ โดยมีผลการสำรวจออกมาดังนี้
เคยได้ยินคำว่า Flexible Time กันอยู่บ่อย ๆ ว่าแต่เอ๊ะ มันคืออะไร ??
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์