1.เลือกทำธุรกิจที่เป็นตัวเอง
การจะเลือกทำอะไรสักอย่าง เราควรเริ่มทำจากความชอบ หรือเริ่มทำจากความถนัดก่อน เช่นเดียวกับการ เปิดบริษัท แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น สิ่งที่ควรต้องนำมาประกอบการพิจารณายังรวมไปถึง ตลาดในช่วงเวลานั้น หากทำอะไรที่เป็นการสวนกระแสมาก ๆ เราต้องมั่นใจว่า เรามีดีพอ แต่หากทำอะไรตามกระแส ก็ต้องสร้างความแตกต่างของธุรกิจของตัวเอง เฟ้นหาจุดเด่นออกมาให้ได้ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคุณมีความสามารถหรือทำงานด้านกราฟิกดีไซน์ คุณอาจ เปิดบริษัท เพราะต้องการรับงานด้านนี้มาทำเพิ่ม เป็นการใช้ความสามารถของตัวเองในการทำงาน และยังช่วยประหยัดงบในการจ้างพนักงานด้วย
2.เลือกรูปแบบบริษัท
การเลือกรูปแบบบริษัทที่เหมาะสม เพื่อดำเนินการจดทะเบียนได้อย่างถูกต้อง เหมาะสมกับประเภทธุรกิจของเรา โดยแบ่งเป็นดังนี้
2.1 เจ้าของคนเดียว
คือมีคน ๆ เดียวเป็นเจ้าของธุรกิจ ลงทุนเอง และแบกความรับผิดชอบทั้งหมดของบริษัทไว้ ทางกฎหมายจะเรียกว่าเป็น “บุคคลธรรมดา” เมื่อจดทะเบียนบริษัท และต้องทำการยื่นแบบภาษี จะเป็น “ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา” และหากบริษัทของคุณต้องมีการจดทะเบียนพาณิชย์ตาม พรบ. ทะเบียนพาณิชย์ ก็ต้องดำเนินการจดด้วย
2.2 ห้างหุ้นส่วนสามัญ
เมื่อมีบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปร่วมกันลงทุน จนกลายเป็นหุ้นส่วน โดยรูปแบบของการลงทุน อาจมาในรูปของสินทรัพย์ แรงงาน หรือเงินก็ได้ มีสถานะ เป็น “บุคคลธรรมดา” จดทะเบียนด้วยการเสีย “ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา” แต่ถ้าห้างหุ้นส่วนสามัญ ไปจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ก็จะมีสภาพเป็นนิติบุคคล ยื่น “ภาษีเงินได้นิติบุคคล” นั่นเอง
2.3 ห้างหุ้นส่วนจำกัด แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
2.4 บริษัทจำกัด
มีหุ้นส่วน 3 คนขึ้นไปมาร่วมลงทุน แต่ละหุ้นมีมูลค่าเท่ากัน แต่ “ผู้ถือหุ้น” แต่ละคนอาจมีจำนวนหุ้นไม่เท่ากันได้ ผู้ถือหุ้นแต่ละคนจะได้ส่วนแบ่งกำไรของบริษัท ตามสัดส่วนหุ้นที่ตนเองถืออยู่ และมีส่วนรับผิดชอบไม่เกินมูลค่าหุ้นที่ตนเองถืออยู่ ข้อดีคือ มีความน่าเชื่อถือที่สุด อัตราภาษีเงินได้ขั้นสูงสุดต่ำกว่าบุคคลธรรมดา
3.ขั้นตอนการจดทะเบียนบริษัท
สิ่งสำคัญที่ต้องทำจากนั้นคือการจดทะเบียนบริษัท ซึ่งหลัก ๆ จะมีขั้นตอนดังนี้
3.1 ตรวจและจองชื่อบริษัท ไปทำการตรวจและจองชื่อบริษัทที่ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ตรวจสอบได้ทางเว็บไซต์ โดยจองได้ 3 ชื่อ แต่ต้องไม่เคยจดทะเบียนไปแล้ว
3.2 จดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิ หรือ ข้อมูลสำคัญการจัดตั้งบริษัท กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ภายใน 30 วัน นับจากวันที่นายทะเบียนรับรองชื่อบริษัท โดยข้อมูลในหนังสือบริคณห์สนธิ ประกอบด้วย
3.3 ยื่นคำขอจดทะเบียนบริษัท โดยเตรียมเอกสาร ดังนี้
3.4 ระยะเวลาในการจดทะเบียน
4.ค่าธรรมเนียม
แน่นอนว่าจดทะเบียน เปิดบริษัท ต้องมีค่าธรรมเนียม ดังนี้
5.หน้าที่แต่ละเดือนในฐานะบริษัท
พอเป็นรูปแบบของบริษัท ก็จะมีหน้าที่และภาระผูกพันตามมา คือ
6.ต้องมีพนักงานไหม
ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของเจ้าของบริษัทเลยว่า มีความจำเป็นต้องมีพนักงานไหม และต้องมีจำนวนกี่คน ตำแหน่งอะไรบ้าง หากช่วงแรกงานยังไม่มาก คุณสามารถลงมือทำได้เอง อาจใช้จ้างเป็น outsource ไปก่อน เช่น พนักงานบัญชี เป็นต้น
7.มีแผนธุรกิจพร้อม
แผนธุรกิจสำคัญมาก เป็นตัวขับเคลื่อนและกำหนดทิศทางของบริษัทคุณเลยก็ว่าได้ จะประสบความสำเร็จหรือว่าจะแป็ก ซึ่งแผนธุรกิจสามารถปรับเปลี่ยนได้ระหว่างทาง โดยต้องมีการกำหนดแผนคร่าว ๆ เช่น รายรับ รายจ่าย กำไร ต้นทุน จะดึงดูดลูกค้าได้อย่างไร
8.ดูเรื่องกฎหมายให้ดี
หากคุณมีกำลังทรัพย์แนะนำให้จ้างทนายที่ปรึกษา และควรศึกษาและทำความเข้าใจ กฎหมายแรงงานเอาไว้ให้ดี ทำสัญญาจ้างแรงงานเมื่อมีพนักงาน กำหนดระเบียบพนักงานและ สวัสดิการพนักงานต่าง ๆ การจ่ายเงินชดเชยตามกฎหมาย รวมไปถึงกฎหมายระเบียบบริษัท การจัดตั้งบริษัท ก็ควรมีความรู้และศึกษาไว้
9.เลือกทำเลที่ตั้ง
สถานที่ตั้งของที่ทำงานหากเลือกได้ควรอยู่ในพื้นที่เข้าออกสะดวกง่ายต่อการติดต่องาน และจัดทำ Website และช่องทาง Social Media ต่าง ๆ เพื่อเแสดงผลงาน และแจ้งที่อยู่ในการติดต่อ ให้ธุรกิจมีความสะดวก รวดเร็ว ทั้งการหาพนักงาน ติดต่อธุรกิจ การขายสินค้าและบริการต่าง ๆ นั่นเอง
10.ตรวจสอบเงินลงทุน
เรื่องสำคัญสำหรับการเปิดบริษัท ก็คือเงินทุน ซึ่งขึ้นอยู่กับรูปแบบของบริษัท ที่คุณจะเปิดด้วย หรือธุรกิจว่าต้องใช้เงินทุนมากน้อยแค่ไหน และต้องไม่ลืมเตรียมเงินในส่วนของการดำเนินการจัดตั้งบริษัทด้วย รวมถึงค่าเช่าสถานที่ เงินเดือนพนักงาน และเงินทุนสำรอง
ที่มา : LINK