• หน้าแรก

  • News

  • HR Articles

  • กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ อยู่มานานอย่าลืมคำนวณให้ดีก่อนลาออก

กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ อยู่มานานอย่าลืมคำนวณให้ดีก่อนลาออก

  • หน้าแรก

  • News

  • HR Articles

  • กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ อยู่มานานอย่าลืมคำนวณให้ดีก่อนลาออก

กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ อยู่มานานอย่าลืมคำนวณให้ดีก่อนลาออก


“ลาออก” เป็นหนึ่งสิ่งที่เชื่อได้ว่าต้องเคยเกิดขึ้นในชีวิตของคนแทบทุกคน ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลที่ว่าอยากเปลี่ยนงาน หรือจะเกษียณก็ตาม นอกจากการวางแผนหางานใหม่ การทำเรื่องลาออกกับบริษัท จัดการเอกสารต่าง ๆ การวางแผนการเงินก็เป็นอีกเรื่องสำคัญที่หลายคนให้ความสำคัญ แต่อาจจะมีเรื่องเงิน ๆ ทอง ๆ ที่หลายคนมองข้ามในช่วงลาออก นั่นก็คือการจัดการเงินที่อยู่ใน “กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ”

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือ Provident Fund

คือ กองทุนที่นายจ้างและลูกจ้างร่วมกันจัดตั้งขึ้นด้วยความสมัครไจ เอาไว้เป็นเงินออมให้ลูกจ่ายได้ใช้จ่ายตอนเกษียณอายุ ออกจากงาน หรือทุพพลภาพ หรือเป็นหลักประกันให้แก่ครอบครัวหากลูกจ้างเสียชีวิต ซึ่งเงินจำนวนนี้จะถูกหักออกจากเงินเดือนของลูกจ้างทุกเดือน เรียกว่า “เงินสะสม” และนายจ้างมักจะช่วยสะสมเงินอีกครึ่งหนึ่งเข้าไป เรียกว่า “เงินสมทบ”

จากนั้นก็จะนำเงินจำนวนนี้ไปลงทุนในกองทุนหรือหลักทรัพย์ต่าง ๆ ให้มีผลกำไรงอกเงยต่อไป ซึ่งหากลูกจ้างตัดสินใจลาออกแล้ว เงินในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพก็เป็นเงินอีกก้อนหนึ่งที่ลูกจ้างต้องวางแผนจัดการด้วย แนะนำให้อ่านและทำความเข้าใจกับเงื่อนไขและข้อบังคับของกองทุนที่บริษัทใช้ลงทุนก่อนเพื่อให้สามารถตัดสินใจได้ว่าจะวางแผนจัดการกับเงินก้อนนี้อย่างไรดี

โดยที่เงินในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจะแบ่งออกเป็นหลัก ๆ 2 ประเภท คือ

  1. เงินสะสมและผลประโยชน์จากเงินสะสม เป็นเงินส่วนที่ลูกจ้างหรือสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจ่ายสะสมเข้ามาที่กองทุนทุกเดือน ซึ่งถ้าความเป็นสมาชิกกองทุนสิ้นสุดลง ลูกจ้างมีสิทธิได้รับเงินก้อนนี้รวมไปถึงดอกเบี้ยหรือผลประโยชน์ที่ได้จากเงินกองนี้เต็มจำนวนไม่ว่าจะอยู่ในกรณีใด ๆ
  2. เงินสมทบและผลประโยชน์จากเงินสมทบ เป็นเงินส่วนที่นายจ้างช่วยจ่ายสมทบเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้กับลูกจ้าง ซึ่งถ้าเกิดลูกจ้างลาออกหรือความเป็นสมาชิกกองทุนสิ้นสุดลง ลูกจ้างอาจจะได้เงินส่วนนี้คืนไม่เต็มจำนวน ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขและข้อบังคับของกองทุน ซึ่งส่วนใหญ่แล้วบริษัทจะกำหนดคืนเงินส่วนนี้ให้กับลูกจ้างตามเงื่อนไขอายุงานที่ลูกจ้างทำงานกับบริษัท เพื่อเป็นการรักษาพนักงานให้ทำงานกับบริษัทในระยะยาว

มาดูตัวอย่างการคืนเงินสมทบและผลประโยชน์จากเงินกองนี้กัน

อายุงานน้อยกว่า 1 ปี มีสิทธิได้รับเงินสมทบ 10%

อายุงานตั้งแต่ 1 ขึ้นไป แต่ไม่ถึง 2 ปี มีสิทธิได้รับเงินสมทบ 20%

อายุงานตั้งแต่ 2 ขึ้นไป แต่ไม่ถึง 3 ปี มีสิทธิได้รับเงินสมทบ 40%

อายุงานตั้งแต่ 3 ขึ้นไป แต่ไม่ถึง 4 ปี มีสิทธิได้รับเงินสมทบ 50%

อายุงานตั้งแต่ 4 ขึ้นไป แต่ไม่ถึง 5 ปี มีสิทธิได้รับเงินสมทบ 80%

อายุงานมากกว่า 5 ปี ขึ้นไป มีสิทธิได้รับเงินสมทบ 100%

หากมีการนำเงินออกจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจะต้องมีการเสียภาษีจากเงินที่เป็นผลประโยชน์ที่ได้จากกองทุน แต่ถ้าลูกจ้างมีอายุครบ 55 ปี จะถือว่า “เกษียณอายุ” หากนำเงินออกจากกองทุนหลังจากช่วงอายุนี้จะได้รับการยกเว้นภาษีจากเงินทั้งจำนวน

ถ้าลาออกแล้วจะทำอย่างไรกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพดี

เมื่อศึกษาเงื่อนไขและข้อบังคับของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ตัวเองส่งอยู่ดีแล้ว ก็มาถึงขั้นตอนการตัดสินใจว่าจะทำอย่างไรกับเงินส่วนนี้ดี ซึ่งมีอยู่ 3 ทางเลือกให้ได้ลองพิจารณา

  1. คงเงินไว้ในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเดิม

แม้ว่าตัวคุณจะลาออกจากบริษัทแล้ว แต่คุณก็ยังสามารถเลือกที่จะเก็บเงินของคุณไว้ในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเดิมได้ถ้าคุณยังถูกใจกับนโยบายของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของบริษัทเดิม แต่คุณจะต้องเสียค่าธรรมเนียมการคงเงินไว้จำนวน 500 บาทต่อปี

  1. โอนย้ายไปยังกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของที่ทำงานใหม่

หากลองศึกษากองทุนสำรองเลี้ยงชีพของที่ทำงานใหม่แล้วเกิดถูกใจนโยบาย ก็สามารถเลือกที่จะย้ายเงินจำนวนนี้เข้าไปในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของที่ทำงานใหม่ได้เลย วิธีจะทำให้คุณไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมคงเงินรายปี และก็เริ่มสะสมเงินและได้รับผลประโยชน์งอกเงิยจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของที่ทำงานใหม่ต่อไปได้อย่างสบาย ๆ

  1. โอนย้ายไปยังกองทุนรวม RMF for PVD

วิธีนี้เหมาะมาก ๆ สำหรับคนที่ตัดสินใจลาออกจากงานแล้วมาทำธุรกิจส่วนตัว หรือเข้าทำงานที่ใหม่ที่ไม่มี Provident Fund เพราะไม่ต้องเสียภาษีตอนนำเงินออกจากกองทุน ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมคงเงินรายปี เพียงแต่แค่ทำเรื่องโอนย้ายเงินเข้ากองทุน RMF (Retirement Mutual Fund) หรือ “กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ” ที่คุณสนใจจะลงทุนอยู่

แต่ข้อควรระวังก็คือ ไม่ใช่ทุก บลจ. ที่จะเปิดรับการโอนย้ายเงินเข้าไปได้ คุณความศึกษาเงื่อนไขและข้อบังคับของกองทุน RMF ที่คุณสนใจก่อนทำเรื่องโอนย้ายเงินเข้าไป

เป้าหมายหลักของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพคือให้พนักงานบริษัทหรือลูกจ้างได้มีหลักประกันชีวิต มีเงินใช้ในยามแก่เฒ่า และสนับสนุนให้คนวางแผนการเงินและออมเงินในระยะยาว ดังนั้นคุณจึงควรที่จะศึกษาเงื่อนไข ข้อบังคับและนโยบายของกองทุนให้ดี ดูผลการดำเนินงานของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเป็นประจำทุกปี เพื่อจะได้วางแผนการเงินได้อย่างถูกต้องและเข้ากับไลฟ์สไตล์ชีวิตของคุณเอง

เมื่อถึงเวลาที่ต้อง “ลาออกครั้งสุดท้าย” อย่างน้อย ๆ คุณก็จะได้มีเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่สะสมมาไปใช้จ่ายหรือลงทุนเลี้ยงชีวิตของคุณต่อไป

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิก!!



ที่มา : LINK

 698
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

แน่นอนว่าปัจจุบันเทคโนโลยีกลายเป็นทักษะที่มีความสำคัญอย่างมากที่ทุกสาขาอาชีพต้องมีความเกี่ยวข้องไม่มากก็น้อย หากได้ทำงานร่วมกับมนุษย์ก็จะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพงานให้ดียิ่งขึ้น โดยทาง jobthai ได้รวบรวมทักษะสำคัญของคนที่ทำงานในปี 2025 ที่ต้องมีติดตัวไว้
AI (Artificial Intelligence) หรือ ปัญญาประดิษฐ์ คือเทคโนโลยีที่ช่วยให้เครื่องจักรหรือคอมพิวเตอร์มีความสามารถในการคิดและทำงานในลักษณะที่คล้ายกับมนุษย์ โดยการนำข้อมูลจำนวนมากมาประมวลผลและตัดสินใจผ่านกระบวนการที่เรียกว่า การเรียนรู้ของเครื่อง (Machine Learning) หรือ การเรียนรู้เชิงลึก (Deep Learning) แล้ว AI จะเข้ามามีบทบาทในการพัฒนางาน HR อย่างไร
หลายๆ คนอาจจะกำลังลังเลกับเส้นทางชีวิตในการเลือกงานที่เหมาะสมกับตนเอง เพราะปัจจุบันมีหลากหลายอาชีพให้เลือก มีหลายสายงานให้ได้ลองทำ หากใครชอบความเป็นอิสระอาจจะเริ่มจากการทำงานฟรีแลนซ์ หรืออีกหนึ่งรูปแบบที่คนส่วนใหญ่เลือกทำงานกันคือ การทำงานในออฟฟิศ หรือที่เราเรียกกันว่า "มนุษย์เงินเดือน" แน่นอนว่ามันมีทั้งข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันไป แต่บทความนี้เราจะมาบอกข้อดีของการทำงานเป็นมนุษย์เงินเดือน ที่มีข้อดีอยู่มากมายจนบางทีคุณอาจจะคาดไม่ถึงด้วยซ้ำ งั้นเรามาดูกันสิว่าการที่เราเป็นมนุษย์เงินเดือนนั้นมีข้อดีอะไรบ้าง

เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการจัดการบริหารงานบุคคล และพัฒนาบุคลากรในองค์กร โดยใช้ในการประเมินพนักงานตามสองเกณฑ์หลัก ได้แก่ ศักยภาพ (Potential) และผลงาน (Performance) เครื่องมือนี้ช่วยให้ผู้บริหารสามารถระบุพนักงานที่มีศักยภาพสูงและผลงานดี เพื่อพัฒนาและเตรียมพวกเขาให้รับบทบาทที่สำคัญในอนาคต ได้รับการนำเสนอครั้งแรกในปี 1970 โดยบริษัท McKinsey & Company โดยเป็นเครื่องมือสำหรับประเมินศักยภาพและประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน และนับตั้งแต่นั้นมา เครื่องมือนี้ก็ได้รับความนิยมและถูกใช้กันอย่างแพร่หลายโดยองค์กรต่าง ๆ ทั่วโลก
เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการจัดการบริหารงานบุคคล และพัฒนาบุคลากรในองค์กร โดยใช้ในการประเมินพนักงานตามสองเกณฑ์หลัก ได้แก่ ศักยภาพ (Potential) และผลงาน (Performance) เครื่องมือนี้ช่วยให้ผู้บริหารสามารถระบุพนักงานที่มีศักยภาพสูงและผลงานดี เพื่อพัฒนาและเตรียมพวกเขาให้รับบทบาทที่สำคัญในอนาคต ได้รับการนำเสนอครั้งแรกในปี 1970 โดยบริษัท McKinsey & Company โดยเป็นเครื่องมือสำหรับประเมินศักยภาพและประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน และนับตั้งแต่นั้นมา เครื่องมือนี้ก็ได้รับความนิยมและถูกใช้กันอย่างแพร่หลายโดยองค์กรต่าง ๆ ทั่วโลก
Background Checks คือการตรวจสอบประวัติอย่างละเอียด ครอบคลุมทั้งด้านข้อมูลส่วนตัว, ประวัติอาชญากรรม, ภาวะทางการเงิน, การศึกษา ตลอดจนบริบทอื่น ๆ ที่ส่งผลกับตำแหน่งที่สมัครเข้ามา
สวัสดิการที่องค์กรมอบให้แก่พนักงาน กับ สวัสดิการที่พนักงานต้องการ นั้น บางเรื่องก็เป็นสิ่งที่ตรงกัน ส่วนบางเรื่องก็เป็นสิ่งที่ต่างความเห็นกัน ในเรื่องนี้จากทาง Jobthai (jobthai.com) เคยทำบทความนำเสนอผลการสำรวจความคิดเห็นจากคนทำงานทั่วประเทศในประเด็นที่ว่า “สวัสดิการที่คนทำงานต้องการจากองค์กร” ซึ่งเป็นการทำผลสำรวจจากคนทำงานที่เป็นพนักงานทั่วไปจำนวน 7,420 คน ทั่วประเทศ โดยมีผลการสำรวจออกมาดังนี้
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์