จุดสังเกตของผู้สมัครที่น่าร่วมงานด้วย

จุดสังเกตของผู้สมัครที่น่าร่วมงานด้วย

แน่นอนว่าการพิจารณาผู้สมัครจาก Resume และการสัมภาษณ์งานอาจไม่ใช่เรื่องง่ายนัก โดยเฉพาะการประเมินเรื่อง Soft Skills ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่จับต้องได้น้อยกว่าเรื่องบุคลิกภาพหรือความสามารถด้าน Hard Skills จึงทำให้ HR หลายคนอาจมีคำถามหรือเกิดความลังเลใจว่าควรเลือกผู้สมัครแบบไหนดี?


ต่อไปนี้ คือ 5 คุณสมบัติสำคัญที่เราอยากแนะนำให้เป็นจุดสังเกตของผู้สมัครที่น่าร่วมงานด้วย ซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาสให้คุณได้ค้นพบบุคลากรที่มีคุณภาพและลดความเสี่ยงในการสรรหาพนักงานที่ผิดพลาดไปพร้อมๆ กัน

1.ทักษะการทำงานเป็นทีม

เนื่องจากงานส่วนใหญ่ต้องอาศัยความร่วมมือกับผู้อื่นและการทำงานเป็นทีม ในบางตำแหน่งอาจรวมถึงการเข้าไปบริหารจัดการงานของผู้อื่นด้วย หรือแม้แต่งานที่หลายคนมองว่าทำคนเดียวได้ เช่น การทำบัญชีหรือ การพัฒนาซอฟต์แวร์ก็ยังจำเป็นต้องติดต่อขอข้อมูลจำนวนมากจากผู้อื่น ด้วยเหตุนี้ ทักษะการทำงานเป็นทีมจึงเป็นสิ่งที่คุณควรมองหาจากผู้สมัครงานทุกคน


2.ความกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้

การเรียนรู้ตลอดชีวิตเป็นทักษะที่จำเป็นในโลกการทำงานยุคปัจจุบัน เพื่อก้าวให้ทันเทคโนโลยีและองค์ความรู้ที่เกิดขึ้นใหม่ตลอดเวลา ซึ่งอาจส่งผลให้ระบบและรูปแบบการทำงานในองค์กรต่างๆ ต้องเปลี่ยนตามไปด้วย คนที่หยุดเรียนรู้จึงมีความเสี่ยงที่จะถูกทิ้งไว้เบื้องหลัง แม้ว่าจะเคยมีความรู้หรือประสบการณ์ทำงานที่สั่งสมมายาวนานแค่ไหนก็อาจถูกคนรุ่นหลังไล่ตามทันในท้ายที่สุด

ดังนั้น ความสามารถในการเรียนรู้จึงเป็นคุณสมบัติที่สำคัญมากของพนักงาน ซึ่งไม่ได้จำกัดแค่การเรียนรู้ทักษะทางวิชาชีพใหม่ๆ เท่านั้น แต่ยังรวมถึงการพัฒนาทางด้านอารมณ์และจิตใจในฐานะมนุษย์คนหนึ่งด้วย


3.ทักษะในการสื่อสาร

ผู้สมัครงานทุกตำแหน่งควรมีทักษะในการสื่อสารขั้นพื้นฐานได้อย่างชัดเจนทั้งทางวาจาและลายลักษณ์อักษร รวมทั้งสามารถทำความเข้าใจในสิ่งที่ผู้อื่นสื่อสารได้อย่างถูกต้องด้วย แม้ว่าในบางตำแหน่งอาจไม่จำเป็นต้องใช้คำพูดได้ดี พูดเก่งหรือมีคารมคมคาย แต่ถ้าคนไหนสามารถทำได้ก็จะช่วยส่งเสริมให้ตัวเองดูโดดเด่นมากยิ่งขึ้น

ทั้งนี้ คุณอาจทดสอบผู้สมัครด้วยการให้ลองตั้งคำถามและตอบคำถามเกี่ยวกับโจทย์หรือหัวข้อที่กำหนด เพราะถ้าผู้สมัครมีปัญหาหรือขาดทักษะด้านการสื่อสารย่อมมีแนวโน้มที่จะส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการทำงานของทีมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ หากรับเข้ามาทำงานแล้ว


4.แรงจูงใจในตนเอง

พนักงานที่มีแรงจูงใจในตนเองมักจะชื่นชอบและหลงใหลในงานที่ทำมากจนกระทั่งอยากทำผลงานให้ออกมาดีที่สุด โดยไม่ได้คำนึงถึงรางวัลหรือผลตอบแทนมาเป็นแรงขับเคลื่อนในการทำงาน อย่างไรก็ตาม แรงจูงใจในที่นี้ไม่ได้หมายความว่า HR จะต้องพยายามค้นหาผู้สมัครที่ยอมอุทิศตนทำงานหนักอย่างเต็มที่โดยไม่บ่นหรือร้องขอเงินเดือนที่สูงขึ้น เพราะองค์กรที่ดีควรจ่ายค่าตอบแทนให้พนักงานที่มีศักยภาพอย่างสมเหตุสมผลรวมถึงการให้ความสำคัญกับเรื่อง Work Life Balance ด้วย


5.เข้ากับวัฒนธรรมองค์กรได้

วัฒนธรรมของแต่ละองค์กรสามารถเปลี่ยนแปลงและแตกต่างกันได้ ทักษะในการปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมองค์กรจึงไม่ใช่แค่เรื่องพื้นฐานง่ายๆ เช่น การรับประทานอาหารกลางวันหรือไปปาร์ตี้สังสรรค์กับเพื่อนร่วมงานหลังเลิกงาน แต่เป็นเรื่องของการทำความเข้าใจ ยอมรับและปรับตัวให้เข้ากับกฎระเบียบ เช่น การแต่งกาย เวลาเข้าออกงาน และรูปแบบการทำงานซึ่งอาจมีรายละเอียดที่แตกต่างกันไปในแต่ละทีม แม้จะอยู่ในองค์กรเดียวกันก็ตาม

ดังนั้น การสรรหาผู้สมัครที่มีคุณสมบัติสอดคล้องและเข้ากันได้กับทีมงานเดิมจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยลดเวลาในการปรับตัว ป้องกันปัญหาความขัดแย้ง ทำงานร่วมกันเป็นทีมได้อย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพ

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิก!


ที่มา : Link

 427
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

AI (Artificial Intelligence) หรือ ปัญญาประดิษฐ์ คือเทคโนโลยีที่ช่วยให้เครื่องจักรหรือคอมพิวเตอร์มีความสามารถในการคิดและทำงานในลักษณะที่คล้ายกับมนุษย์ โดยการนำข้อมูลจำนวนมากมาประมวลผลและตัดสินใจผ่านกระบวนการที่เรียกว่า การเรียนรู้ของเครื่อง (Machine Learning) หรือ การเรียนรู้เชิงลึก (Deep Learning) แล้ว AI จะเข้ามามีบทบาทในการพัฒนางาน HR อย่างไร
หลายๆ คนอาจจะกำลังลังเลกับเส้นทางชีวิตในการเลือกงานที่เหมาะสมกับตนเอง เพราะปัจจุบันมีหลากหลายอาชีพให้เลือก มีหลายสายงานให้ได้ลองทำ หากใครชอบความเป็นอิสระอาจจะเริ่มจากการทำงานฟรีแลนซ์ หรืออีกหนึ่งรูปแบบที่คนส่วนใหญ่เลือกทำงานกันคือ การทำงานในออฟฟิศ หรือที่เราเรียกกันว่า "มนุษย์เงินเดือน" แน่นอนว่ามันมีทั้งข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันไป แต่บทความนี้เราจะมาบอกข้อดีของการทำงานเป็นมนุษย์เงินเดือน ที่มีข้อดีอยู่มากมายจนบางทีคุณอาจจะคาดไม่ถึงด้วยซ้ำ งั้นเรามาดูกันสิว่าการที่เราเป็นมนุษย์เงินเดือนนั้นมีข้อดีอะไรบ้าง

เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการจัดการบริหารงานบุคคล และพัฒนาบุคลากรในองค์กร โดยใช้ในการประเมินพนักงานตามสองเกณฑ์หลัก ได้แก่ ศักยภาพ (Potential) และผลงาน (Performance) เครื่องมือนี้ช่วยให้ผู้บริหารสามารถระบุพนักงานที่มีศักยภาพสูงและผลงานดี เพื่อพัฒนาและเตรียมพวกเขาให้รับบทบาทที่สำคัญในอนาคต ได้รับการนำเสนอครั้งแรกในปี 1970 โดยบริษัท McKinsey & Company โดยเป็นเครื่องมือสำหรับประเมินศักยภาพและประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน และนับตั้งแต่นั้นมา เครื่องมือนี้ก็ได้รับความนิยมและถูกใช้กันอย่างแพร่หลายโดยองค์กรต่าง ๆ ทั่วโลก
เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการจัดการบริหารงานบุคคล และพัฒนาบุคลากรในองค์กร โดยใช้ในการประเมินพนักงานตามสองเกณฑ์หลัก ได้แก่ ศักยภาพ (Potential) และผลงาน (Performance) เครื่องมือนี้ช่วยให้ผู้บริหารสามารถระบุพนักงานที่มีศักยภาพสูงและผลงานดี เพื่อพัฒนาและเตรียมพวกเขาให้รับบทบาทที่สำคัญในอนาคต ได้รับการนำเสนอครั้งแรกในปี 1970 โดยบริษัท McKinsey & Company โดยเป็นเครื่องมือสำหรับประเมินศักยภาพและประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน และนับตั้งแต่นั้นมา เครื่องมือนี้ก็ได้รับความนิยมและถูกใช้กันอย่างแพร่หลายโดยองค์กรต่าง ๆ ทั่วโลก
Background Checks คือการตรวจสอบประวัติอย่างละเอียด ครอบคลุมทั้งด้านข้อมูลส่วนตัว, ประวัติอาชญากรรม, ภาวะทางการเงิน, การศึกษา ตลอดจนบริบทอื่น ๆ ที่ส่งผลกับตำแหน่งที่สมัครเข้ามา
สวัสดิการที่องค์กรมอบให้แก่พนักงาน กับ สวัสดิการที่พนักงานต้องการ นั้น บางเรื่องก็เป็นสิ่งที่ตรงกัน ส่วนบางเรื่องก็เป็นสิ่งที่ต่างความเห็นกัน ในเรื่องนี้จากทาง Jobthai (jobthai.com) เคยทำบทความนำเสนอผลการสำรวจความคิดเห็นจากคนทำงานทั่วประเทศในประเด็นที่ว่า “สวัสดิการที่คนทำงานต้องการจากองค์กร” ซึ่งเป็นการทำผลสำรวจจากคนทำงานที่เป็นพนักงานทั่วไปจำนวน 7,420 คน ทั่วประเทศ โดยมีผลการสำรวจออกมาดังนี้
เคยได้ยินคำว่า Flexible Time กันอยู่บ่อย ๆ ว่าแต่เอ๊ะ มันคืออะไร ??
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์